สภาทองคำโลก (WGC) ระบุว่า อุปสงค์ทองโดยรวมได้ดิ่งลงแตะระดับต่ำสุดในรอบ 4 ปีในไตรมาส 2 ถึงแม้อุปสงค์ในเครื่องประดับทอง, ทองแท่ง และเหรียญทองพุ่งสูงขึ้น โดยการร่วงลงดังกล่าวเป็นเพราะนักลงทุนได้ถอนเงินลงทุนออกจากกองทุนทอง และธนาคารกลางทั่วโลกปรับลดปริมาณการซื้อทองลงกว่า 50 %
ราคาทองในตลาดสปอตดิ่งลง 200 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงเวลาเพียง 2 วัน ในเดือนเม.ย. ซึ่งถือเป็นการทรุดตัวลงครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 30 ปี และราคาทองก็รูดลงอีกครั้งหนึ่งในเดือนมิ.ย. อย่างไรก็ดี การร่วงลงของราคาทั้ง 2 ครั้ง ช่วยกระตุ้นให้อุปสงค์ในเหรียญทองและทองแท่งพุ่งขึ้นทำสถิติสูงสุดที่ 507.6 ตันในไตรมาส 2 และคำสั่งซื้อเครื่องประดับทองก็ทะยานขึ้นแตะจุดสูงสุดในรอบเกือบ 5 ปีที่ 575.5 ตัน
สภาทองคำโลกระบุว่า อุปสงค์ทองของผู้บริโภค ซึ่งครอบคลุมเครื่องประดับทอง, ทองแท่ง และเหรียญทอง พุ่งกว่า 50 % สู่ 1,083 ตันในไตรมาส 2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีก่อน
อย่างไรก็ดี กองทุน ETF ทองซึ่งจำหน่ายหลักทรัพย์ที่ได้รับการค้ำประกันจากทอง ขายทองสุทธิ 402.2 ตันในไตรมาส 2 ในขณะที่ธนาคารกลางทั่วโลกซื้อทองเพียง 71.1 ตันในไตรมาส 2 โดยปรับลดลง 93.4 ตันจากระดับการเข้าซื้อ 164.5 ตันในไตรมาส 2/2012 ซึ่งปัจจัย 2 ประการดังกล่าวส่งผลให้อุปสงค์ทองโดยรวมดิ่งลง 12 % สู่ 856.3 ตันในไตรมาส 2 ซึ่งถือเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ไตรมาส 2/2009
นายมาร์คัส กรับบ์ กรรมการผู้จัดการฝ่ายการลงทุนของสภาทองโลกกล่าวว่า "เห็นได้ชัดว่าอุปสงค์ทองจะลดลงในปีนี้หากวัดเป็นตัน"
"ปัจจัยสำคัญก็คือ ทองที่กองทุน ETF เทขายออกมานั้น จะได้รับคำสั่งซื้อจากนักลงทุนประเภทอื่นๆในระดับที่ดีเพียงใด และได้รับคำสั่งซื้อจากภาคอื่นๆที่เติบโตอย่างแข็งแกร่ง อย่างเช่นภาคเครื่องประดับมากน้อยเพียงใด"
สภาทองคำโลกระบุว่า กองทุน ETF ทองขายทองออกมาเป็นจำนวน 578.7 ตันในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ โดยได้รับแรงกดดันจากการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจะปรับลดขนาดมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ในอนาคต
ราคาทองดิ่งลงมาแล้วราว 20 % ในปีนี้ และได้ลงไปแตะจุดต่ำสุดรอบ 3 ปีที่ 1,180.71 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในเดือนมิ.ย. โดยราคาทองอยู่ที่ระดับราว 1,320 ดอลลาร์ในปัจจุบัน และรูดลงมาแล้วราว 600 ดอลลาร์ จากสถิติสูงสุดที่ 1,920.30 ดอลลาร์ที่ทำไว้ในเดือนก.ย. 2011
สภาทองคำโลกคาดว่า ภาครัฐบาลจะซื้อทองเพียง 300-350 ตันในปีนี้ โดยลดลงจาก 544.4 ตันในปี 2012 โดยปริมาณการซื้อทองของภาครัฐบาลในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ลดลง 100 ตัน
นายกรับบ์กล่าวว่า ความผันผวนของราคาทองในปีนี้มีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อกำหนดเวลาของธนาคารกลางในการซื้อทอง
อินเดียและจีนเป็นสองประเทศที่มีอุปสงค์ทองจากผู้บริโภคสูงที่สุดในโลก โดยอุปสงค์ในเครื่องประดับทอง, ทองแท่ง และเหรียญทองในอินเดียพุ่งขึ้น 71 % สู่ 310 ตัน ในขณะที่อุปสงค์ดังกล่าวในจีีนทะยานขึ้น 87 % สู่ 275.7 ตัน
จีนถือเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดสำหรับทองแท่งและเหรียญทอง ส่วนอินเดียเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดสำหรับเครื่องประดับทอง โดยปริมาณการบริโภคเครื่องประดับทองในอินเดียอยู่ที่ 188 ตัน
อุปสงค์ในเครื่องประดับทองในตลาดโลกพุ่งขึ้นกว่า 1 ใน 3 สู่ 575.5ตันในไตรมาส 2 โดยปรับขึ้น 154.7 ตันจาก 420.8 ตันในไตรมาส 2/2012 ขณะที่อุปสงค์ในเครื่องประดับทองร่วงลงในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เนื่องจากการพุ่งขึ้นของราคาทองส่งผลกระทบต่ออุปสงค์
ในภูมิภาคตะวันออกกลางนั้น อุปสงค์ในเครื่องประดับทองพุ่งขึ้นราว 1 ใน 3 ในขณะที่อุปสงค์ในเหรียญทองและทองแท่งทะยานขึ้นราว 2 ใน 3
ความต้องการซื้อทองของผู้บริโภคในตุรกีพุ่งขึ้น 73 % สู่ 64.3 ตัน
อุปสงค์ในเครื่องประดับทองในสหรัฐปรับตัวขึ้น 2 % สู่ 20.3 ตัน ในไตรมาส 2 และถือเป็นการเพิ่มขึ้น 2 ไตรมาสติดต่อกัน ขณะที่การปรับตัวขึ้นในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ถือเป็นการปรับขึ้นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2005 เป็นต้นมา
นายกรับบ์กล่าวว่า "การปรับขึ้นในสหรัฐเป็นผลมาจากการร่วงลงของราคาทอง และเป็นผลมาจากการที่เศรษฐกิจสหรัฐปรับตัวดีขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป และเราก็คาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะฟื้นตัวขึ้นต่อไป"
อุปสงค์ในเหรียญทองและทองแท่งในสหรัฐพุ่งขึ้นเกือบ 2 เท่า สู่ 24.3 ตัน ในขณะที่อุปสงค์ในเหรียญทองและทองแท่งในยุโรปทะยานขึ้น 14 % สู่ 85.8 ตัน อย่างไรก็ดี อุปสงค์ในเครื่องประดับทองลดลงเล็กน้อยในยุโรป โดยเฉพาะในอังกฤษและอิตาลี
ในส่วนของอุปทานนั้น อุปทานทองลดลงสู่ 1,025.5 ตัน จาก 1,087.9 ตันในไตรมาส 2/2012 โดยอุปทานทองจากเหมืองพุ่งขึ้น 18.2 ตัน สู่ 717.2 ตัน แต่ปริมาณเศษทองที่เข้าสู่ตลาดดิ่งลง 20 % สู่ 308.3 ตัน
นายกรับบ์กล่าวว่า "ตัวเลขการรีไซเคิลทองนี้ถือเป็นระดับที่ต่ำที่สุดในรอบหลายไตรมาส และเป็นผลจากการดิ่งลงของราคาทองในเดือน เม.ย."
(ข่าวจากสำนักข่าว รอยเตอร์)
T.Thammasak
ราคาทองในตลาดสปอตดิ่งลง 200 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในช่วงเวลาเพียง 2 วัน ในเดือนเม.ย. ซึ่งถือเป็นการทรุดตัวลงครั้งใหญ่ที่สุดในรอบ 30 ปี และราคาทองก็รูดลงอีกครั้งหนึ่งในเดือนมิ.ย. อย่างไรก็ดี การร่วงลงของราคาทั้ง 2 ครั้ง ช่วยกระตุ้นให้อุปสงค์ในเหรียญทองและทองแท่งพุ่งขึ้นทำสถิติสูงสุดที่ 507.6 ตันในไตรมาส 2 และคำสั่งซื้อเครื่องประดับทองก็ทะยานขึ้นแตะจุดสูงสุดในรอบเกือบ 5 ปีที่ 575.5 ตัน
สภาทองคำโลกระบุว่า อุปสงค์ทองของผู้บริโภค ซึ่งครอบคลุมเครื่องประดับทอง, ทองแท่ง และเหรียญทอง พุ่งกว่า 50 % สู่ 1,083 ตันในไตรมาส 2 เมื่อเทียบกับไตรมาสเดียวกันในปีก่อน
อย่างไรก็ดี กองทุน ETF ทองซึ่งจำหน่ายหลักทรัพย์ที่ได้รับการค้ำประกันจากทอง ขายทองสุทธิ 402.2 ตันในไตรมาส 2 ในขณะที่ธนาคารกลางทั่วโลกซื้อทองเพียง 71.1 ตันในไตรมาส 2 โดยปรับลดลง 93.4 ตันจากระดับการเข้าซื้อ 164.5 ตันในไตรมาส 2/2012 ซึ่งปัจจัย 2 ประการดังกล่าวส่งผลให้อุปสงค์ทองโดยรวมดิ่งลง 12 % สู่ 856.3 ตันในไตรมาส 2 ซึ่งถือเป็นระดับต่ำสุดนับตั้งแต่ไตรมาส 2/2009
นายมาร์คัส กรับบ์ กรรมการผู้จัดการฝ่ายการลงทุนของสภาทองโลกกล่าวว่า "เห็นได้ชัดว่าอุปสงค์ทองจะลดลงในปีนี้หากวัดเป็นตัน"
"ปัจจัยสำคัญก็คือ ทองที่กองทุน ETF เทขายออกมานั้น จะได้รับคำสั่งซื้อจากนักลงทุนประเภทอื่นๆในระดับที่ดีเพียงใด และได้รับคำสั่งซื้อจากภาคอื่นๆที่เติบโตอย่างแข็งแกร่ง อย่างเช่นภาคเครื่องประดับมากน้อยเพียงใด"
สภาทองคำโลกระบุว่า กองทุน ETF ทองขายทองออกมาเป็นจำนวน 578.7 ตันในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ โดยได้รับแรงกดดันจากการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด) อาจะปรับลดขนาดมาตรการผ่อนคลายเชิงปริมาณ (QE) ในอนาคต
ราคาทองดิ่งลงมาแล้วราว 20 % ในปีนี้ และได้ลงไปแตะจุดต่ำสุดรอบ 3 ปีที่ 1,180.71 ดอลลาร์ต่อออนซ์ในเดือนมิ.ย. โดยราคาทองอยู่ที่ระดับราว 1,320 ดอลลาร์ในปัจจุบัน และรูดลงมาแล้วราว 600 ดอลลาร์ จากสถิติสูงสุดที่ 1,920.30 ดอลลาร์ที่ทำไว้ในเดือนก.ย. 2011
สภาทองคำโลกคาดว่า ภาครัฐบาลจะซื้อทองเพียง 300-350 ตันในปีนี้ โดยลดลงจาก 544.4 ตันในปี 2012 โดยปริมาณการซื้อทองของภาครัฐบาลในช่วงครึ่งแรกของปีนี้ลดลง 100 ตัน
นายกรับบ์กล่าวว่า ความผันผวนของราคาทองในปีนี้มีแนวโน้มที่จะส่งผลกระทบต่อกำหนดเวลาของธนาคารกลางในการซื้อทอง
อินเดียและจีนเป็นสองประเทศที่มีอุปสงค์ทองจากผู้บริโภคสูงที่สุดในโลก โดยอุปสงค์ในเครื่องประดับทอง, ทองแท่ง และเหรียญทองในอินเดียพุ่งขึ้น 71 % สู่ 310 ตัน ในขณะที่อุปสงค์ดังกล่าวในจีีนทะยานขึ้น 87 % สู่ 275.7 ตัน
จีนถือเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดสำหรับทองแท่งและเหรียญทอง ส่วนอินเดียเป็นตลาดที่ใหญ่ที่สุดสำหรับเครื่องประดับทอง โดยปริมาณการบริโภคเครื่องประดับทองในอินเดียอยู่ที่ 188 ตัน
อุปสงค์ในเครื่องประดับทองในตลาดโลกพุ่งขึ้นกว่า 1 ใน 3 สู่ 575.5ตันในไตรมาส 2 โดยปรับขึ้น 154.7 ตันจาก 420.8 ตันในไตรมาส 2/2012 ขณะที่อุปสงค์ในเครื่องประดับทองร่วงลงในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา เนื่องจากการพุ่งขึ้นของราคาทองส่งผลกระทบต่ออุปสงค์
ในภูมิภาคตะวันออกกลางนั้น อุปสงค์ในเครื่องประดับทองพุ่งขึ้นราว 1 ใน 3 ในขณะที่อุปสงค์ในเหรียญทองและทองแท่งทะยานขึ้นราว 2 ใน 3
ความต้องการซื้อทองของผู้บริโภคในตุรกีพุ่งขึ้น 73 % สู่ 64.3 ตัน
อุปสงค์ในเครื่องประดับทองในสหรัฐปรับตัวขึ้น 2 % สู่ 20.3 ตัน ในไตรมาส 2 และถือเป็นการเพิ่มขึ้น 2 ไตรมาสติดต่อกัน ขณะที่การปรับตัวขึ้นในช่วงไตรมาสแรกของปีนี้ถือเป็นการปรับขึ้นครั้งแรกนับตั้งแต่ปี 2005 เป็นต้นมา
นายกรับบ์กล่าวว่า "การปรับขึ้นในสหรัฐเป็นผลมาจากการร่วงลงของราคาทอง และเป็นผลมาจากการที่เศรษฐกิจสหรัฐปรับตัวดีขึ้นอย่างค่อยเป็นค่อยไป และเราก็คาดว่าเศรษฐกิจสหรัฐจะฟื้นตัวขึ้นต่อไป"
อุปสงค์ในเหรียญทองและทองแท่งในสหรัฐพุ่งขึ้นเกือบ 2 เท่า สู่ 24.3 ตัน ในขณะที่อุปสงค์ในเหรียญทองและทองแท่งในยุโรปทะยานขึ้น 14 % สู่ 85.8 ตัน อย่างไรก็ดี อุปสงค์ในเครื่องประดับทองลดลงเล็กน้อยในยุโรป โดยเฉพาะในอังกฤษและอิตาลี
ในส่วนของอุปทานนั้น อุปทานทองลดลงสู่ 1,025.5 ตัน จาก 1,087.9 ตันในไตรมาส 2/2012 โดยอุปทานทองจากเหมืองพุ่งขึ้น 18.2 ตัน สู่ 717.2 ตัน แต่ปริมาณเศษทองที่เข้าสู่ตลาดดิ่งลง 20 % สู่ 308.3 ตัน
นายกรับบ์กล่าวว่า "ตัวเลขการรีไซเคิลทองนี้ถือเป็นระดับที่ต่ำที่สุดในรอบหลายไตรมาส และเป็นผลจากการดิ่งลงของราคาทองในเดือน เม.ย."
(ข่าวจากสำนักข่าว รอยเตอร์)
T.Thammasak