นราธิวาส - ผู้ประกอบการจำหน่ายข้าวสารค้าส่งรายใหญ่ของ อ.สุไหงโก-ลก ระบุสารปนเปื้อนในข้าวสาร มีการดำเนินการตามกระบวนการผลิตทั่วไปเพื่อรักษาคุณภาพของข้าว แต่ไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค
นายกู้เกียรติ บูรพาพงศ์ ผู้ประกอบการค้าส่งข้าวสารรายใหญ่ของอำเภอสุไหงโก-ลก กล่าวว่า จากกรณีกระแสข่าวเกี่ยวกับสารปนเปื้อนในข้าวสารที่เข้าโครงการจำนำข้าวกับรัฐบาล ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการจำหน่ายข้าวสารในพื้นที่แต่อย่างใด โดยร้านค้าส่วนใหญ่ต่างมีคำสั่งซื้อในระดับปกติ แต่จะมีบ้างเป็นบางช่วงที่ลดปริมาณการซื้อลง เนื่องจากมีการจัดโครงการจำหน่ายสินค้าธงฟ้าที่ลดค่าครองชีพให้แก่ประชาชนในพื้นที่ ทำให้ประชนแห่ซื้อข้าวสารราคาถูกมาเก็บไว้บริโภค ซึ่งก็กระทบเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ในฐานะที่ตนเองเป็นผู้ประกอบการซึ่งมีโรงสีข้าวเป็นของตนเองตั้งอยู่ที่ จ.ชัยนาท จึงอยากทำความเข้าใจเกี่ยวกับกรณีสารปนเปื้อนในข้าวสารว่า ผลผลิตทางการเกษตรส่วนใหญ่มีอายุสั้น เช่นเดียวกับข้าวสาร ที่กรณีที่ข้าวใหม่จะมีความชื้นสูง ซึ่งภายใน 2 สัปดาห์หากไม่ได้มีการระบายออกจำหน่ายก็จะมีความชื้นเพิ่มขึ้น และประมาณ 1 เดือน หากไม่ได้ผ่านกระบวนรักษาคุณภาพของข้าวสาร ทั้งการอบ ฆ่าเชื้อรวมทั้งกระบวนการป้องกันและกำจัดมอด หรือเชื้อราก็จะส่งผลให้ข้าวสารได้รับความเสียหายแล้ว ซึ่งข้าวสารไม่ใช้พวกวัสดุประเภทเหล็ก หรือพลาสติกที่จะนำมารีไซเคิลเพื่อใช้ซ้ำได้ ดังนั้น ในส่วนของกระบวนการที่ดำเนินเพื่อรักษาคุณภาพของข้าวสารที่โรงสีในโครงการจำนำข้าวของรัฐบาลดำเนินการอยู่นั้นถือเป็นเรื่องปกติ
อีกทั้งเมื่อประชาชนซื้อข้าวสารมาบริโภค ก่อนหุงข้าวซาวน้ำล้างข้าว 2-3 ครั้ง สารต่างๆ ที่ติดอยู่กับข้าวสารก็จะถูกชะล้างออกไปทั้งหมดโดยไม่มีการตกค้างแต่อย่างใด ซึ่งตนเองไม่สามารถพิสูจน์ให้เห็นในเชิงวิชาการได้ แต่ที่ผ่านมา ก็บริโภคข้าวทุกวันจนเข้าสู่วัย 70 ปีแล้ว แต่สุขภาพยังแข็งแรงไม่ได้มีโรคภัยไข้เจ็บ หรือได้รับสารพิษตกค้างจากข้าวสารที่ผลิตภายในประเทศแต่อย่างใด ในเรื่องนี้จึงอยากให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายที่มีเจตนาดีต่อชาวนา และผู้ประกอบการจำหน่ายข้าวสารที่ถูกสังคมจับตาอยู่ในขณะนี้ด้วย
นายกู้เกียรติ บูรพาพงศ์ ผู้ประกอบการค้าส่งข้าวสารรายใหญ่ของอำเภอสุไหงโก-ลก กล่าวว่า จากกรณีกระแสข่าวเกี่ยวกับสารปนเปื้อนในข้าวสารที่เข้าโครงการจำนำข้าวกับรัฐบาล ไม่ได้ส่งผลกระทบต่อการจำหน่ายข้าวสารในพื้นที่แต่อย่างใด โดยร้านค้าส่วนใหญ่ต่างมีคำสั่งซื้อในระดับปกติ แต่จะมีบ้างเป็นบางช่วงที่ลดปริมาณการซื้อลง เนื่องจากมีการจัดโครงการจำหน่ายสินค้าธงฟ้าที่ลดค่าครองชีพให้แก่ประชาชนในพื้นที่ ทำให้ประชนแห่ซื้อข้าวสารราคาถูกมาเก็บไว้บริโภค ซึ่งก็กระทบเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
อย่างไรก็ตาม ในฐานะที่ตนเองเป็นผู้ประกอบการซึ่งมีโรงสีข้าวเป็นของตนเองตั้งอยู่ที่ จ.ชัยนาท จึงอยากทำความเข้าใจเกี่ยวกับกรณีสารปนเปื้อนในข้าวสารว่า ผลผลิตทางการเกษตรส่วนใหญ่มีอายุสั้น เช่นเดียวกับข้าวสาร ที่กรณีที่ข้าวใหม่จะมีความชื้นสูง ซึ่งภายใน 2 สัปดาห์หากไม่ได้มีการระบายออกจำหน่ายก็จะมีความชื้นเพิ่มขึ้น และประมาณ 1 เดือน หากไม่ได้ผ่านกระบวนรักษาคุณภาพของข้าวสาร ทั้งการอบ ฆ่าเชื้อรวมทั้งกระบวนการป้องกันและกำจัดมอด หรือเชื้อราก็จะส่งผลให้ข้าวสารได้รับความเสียหายแล้ว ซึ่งข้าวสารไม่ใช้พวกวัสดุประเภทเหล็ก หรือพลาสติกที่จะนำมารีไซเคิลเพื่อใช้ซ้ำได้ ดังนั้น ในส่วนของกระบวนการที่ดำเนินเพื่อรักษาคุณภาพของข้าวสารที่โรงสีในโครงการจำนำข้าวของรัฐบาลดำเนินการอยู่นั้นถือเป็นเรื่องปกติ
อีกทั้งเมื่อประชาชนซื้อข้าวสารมาบริโภค ก่อนหุงข้าวซาวน้ำล้างข้าว 2-3 ครั้ง สารต่างๆ ที่ติดอยู่กับข้าวสารก็จะถูกชะล้างออกไปทั้งหมดโดยไม่มีการตกค้างแต่อย่างใด ซึ่งตนเองไม่สามารถพิสูจน์ให้เห็นในเชิงวิชาการได้ แต่ที่ผ่านมา ก็บริโภคข้าวทุกวันจนเข้าสู่วัย 70 ปีแล้ว แต่สุขภาพยังแข็งแรงไม่ได้มีโรคภัยไข้เจ็บ หรือได้รับสารพิษตกค้างจากข้าวสารที่ผลิตภายในประเทศแต่อย่างใด ในเรื่องนี้จึงอยากให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่ายที่มีเจตนาดีต่อชาวนา และผู้ประกอบการจำหน่ายข้าวสารที่ถูกสังคมจับตาอยู่ในขณะนี้ด้วย