นางลาเอล เบรนนาร์ด เจ้าหน้าที่ระดับสูงฝ่ายกิจการเศรษฐกิจระหว่างประเทศของกระทรวงการคลังสหรัฐ เปิดเผยว่า สหรัฐสนับสนุนบทบาทของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (ไอเอ็มเอฟ) ในการช่วยเหลือยูโรโซนใน การฟื้นฟูเสถียรภาพทางการเงิน
ทั้งนี้ นางเบรนนาร์ดกล่าวในระหว่างการประชุมที่กรุงวอชิงตันก่อนเข้า ร่วมการประชุมรมว.คลังและเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางของกลุ่มจี-20 ที่กรุงมอสโกในสัปดาห์นี้
การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ล่าช้าของยุโรป มีแนวโน้มที่จะเป็นประเด็นสำคัญของการหารือในการประชุม รวมถึงความเสี่ยงที่เป็นไปได้ในตลาดเกิดใหม่ และการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน
ไอเอ็มเอฟเริ่มเป็นหุ้นส่วนกับสถาบันต่างๆของยุโรปมานานหลายปีเพื่อช่วยยับยั้งวิกฤติหนี้ในยุโรป และป้องกันไม่ให้ลุกลามไปยังส่วนที่เหลือของโลก แต่ไอเอ็มเอฟต้องจัดการกับกฏเกณฑ์และรูปแบบการดำเนินการที่แตกต่างกัน ซึ่งทำให้เจ้าหน้าที่บางคนเรียกร้องให้ไอเอ็มเอฟมีบทบาทน้อยลงในมาตรการช่วยเหลือยุโรปในอนาคต
ในการประชุมครั้งที่ผ่านๆมา สหรัฐได้สนับสนุนให้ประเทศยุโรปที่มียอดเกินดุลการค้า อาทิ เยอรมนี ให้ความสำคัญกับการเพิ่มอุปสงค์ภายในประเทศเพื่อที่จะช่วยหนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
นางเบรนนาร์ดเรียกร้องให้ยุโรปมีแผนอุปสงค์เพื่อหนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และดำเนินการอย่างรวดเร็วไปสู่การจัดตั้งสหภาพธนาคาร
สหรัฐระบุว่าจะเข้าร่วมการประชุมกลุ่มจี-20 ด้วยเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งที่สุดนับตั้งแต่กลุ่มจี-20 เริ่มจัดการประชุมครั้งแรกในปี 2008 ส่งผลให้สหรัฐอยู่ในสถานะ การต่อรองที่ดีกว่า ขณะที่ดำเนินการผลักดัน มาตรการการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
นางเบรนนาร์ดระบุว่า ความเสี่ยงต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกจากตลาดเกิดใหม่ได้ลดลงอย่างมาก แม้ได้รับผลกระทบจากเงินทุนไหลออก ขณะที่ตลาดวิตกเกี่ยวกับการยุตินโยบายการเงินที่ผ่อนคลายเป็นพิเศษของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)
นางเบรนนาร์ดกล่าวว่า เศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาบางแห่งเผชิญกับความเสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากความเสี่ยงทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นพร้อมกับวิกฤติการเมือง และสหรัฐกำลังตรวจสอบสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด
ทั้งนี้ ความไร้เสถียรภาพทางการเมืองประกอบกับการคาดการณ์เกี่ยวกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ชะงักงันได้กระตุ้นให้เกิดการประท้วงและความไม่สงบทางสังคมในหลายๆประเทศ อาทิ ตุรกี, บราซิล และอียิปต์ในช่วง หลายสัปดาห์ที่ผ่านมา
"แต่ประเทศตลาดเกิดใหม่จำนวนมากมีขีดความสามารถในระดับสูงที่จะสนับสนุนอุปสงค์ภายในประเทศ และส่งเสริมการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก" นางเบรนนาร์ด กล่าว “ประเทศจำนวนมากอยู่ในกลุ่มจี-20 และเราจะยังคงให้ความสำคัญกับกลุ่มนี้"
(ข่าวจากสำนักข่าว รอยเตอร์)
T.Thammasak
ทั้งนี้ นางเบรนนาร์ดกล่าวในระหว่างการประชุมที่กรุงวอชิงตันก่อนเข้า ร่วมการประชุมรมว.คลังและเจ้าหน้าที่ธนาคารกลางของกลุ่มจี-20 ที่กรุงมอสโกในสัปดาห์นี้
การฟื้นตัวทางเศรษฐกิจที่ล่าช้าของยุโรป มีแนวโน้มที่จะเป็นประเด็นสำคัญของการหารือในการประชุม รวมถึงความเสี่ยงที่เป็นไปได้ในตลาดเกิดใหม่ และการชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน
ไอเอ็มเอฟเริ่มเป็นหุ้นส่วนกับสถาบันต่างๆของยุโรปมานานหลายปีเพื่อช่วยยับยั้งวิกฤติหนี้ในยุโรป และป้องกันไม่ให้ลุกลามไปยังส่วนที่เหลือของโลก แต่ไอเอ็มเอฟต้องจัดการกับกฏเกณฑ์และรูปแบบการดำเนินการที่แตกต่างกัน ซึ่งทำให้เจ้าหน้าที่บางคนเรียกร้องให้ไอเอ็มเอฟมีบทบาทน้อยลงในมาตรการช่วยเหลือยุโรปในอนาคต
ในการประชุมครั้งที่ผ่านๆมา สหรัฐได้สนับสนุนให้ประเทศยุโรปที่มียอดเกินดุลการค้า อาทิ เยอรมนี ให้ความสำคัญกับการเพิ่มอุปสงค์ภายในประเทศเพื่อที่จะช่วยหนุนการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจ
นางเบรนนาร์ดเรียกร้องให้ยุโรปมีแผนอุปสงค์เพื่อหนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจ และดำเนินการอย่างรวดเร็วไปสู่การจัดตั้งสหภาพธนาคาร
สหรัฐระบุว่าจะเข้าร่วมการประชุมกลุ่มจี-20 ด้วยเศรษฐกิจที่แข็งแกร่งที่สุดนับตั้งแต่กลุ่มจี-20 เริ่มจัดการประชุมครั้งแรกในปี 2008 ส่งผลให้สหรัฐอยู่ในสถานะ การต่อรองที่ดีกว่า ขณะที่ดำเนินการผลักดัน มาตรการการขยายตัวทางเศรษฐกิจ
นางเบรนนาร์ดระบุว่า ความเสี่ยงต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจโลกจากตลาดเกิดใหม่ได้ลดลงอย่างมาก แม้ได้รับผลกระทบจากเงินทุนไหลออก ขณะที่ตลาดวิตกเกี่ยวกับการยุตินโยบายการเงินที่ผ่อนคลายเป็นพิเศษของธนาคารกลางสหรัฐ (เฟด)
นางเบรนนาร์ดกล่าวว่า เศรษฐกิจของประเทศกำลังพัฒนาบางแห่งเผชิญกับความเสี่ยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากความเสี่ยงทางเศรษฐกิจเกิดขึ้นพร้อมกับวิกฤติการเมือง และสหรัฐกำลังตรวจสอบสถานการณ์ดังกล่าวอย่างใกล้ชิด
ทั้งนี้ ความไร้เสถียรภาพทางการเมืองประกอบกับการคาดการณ์เกี่ยวกับการขยายตัวทางเศรษฐกิจที่ชะงักงันได้กระตุ้นให้เกิดการประท้วงและความไม่สงบทางสังคมในหลายๆประเทศ อาทิ ตุรกี, บราซิล และอียิปต์ในช่วง หลายสัปดาห์ที่ผ่านมา
"แต่ประเทศตลาดเกิดใหม่จำนวนมากมีขีดความสามารถในระดับสูงที่จะสนับสนุนอุปสงค์ภายในประเทศ และส่งเสริมการขยายตัวของเศรษฐกิจโลก" นางเบรนนาร์ด กล่าว “ประเทศจำนวนมากอยู่ในกลุ่มจี-20 และเราจะยังคงให้ความสำคัญกับกลุ่มนี้"
(ข่าวจากสำนักข่าว รอยเตอร์)
T.Thammasak