สมาคมมีเดียเอเยนซีและธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทยเผยสัดส่วนการตลาดโฆษณาผ่านสื่อดิจิตอลทุกประเภทขยายตัวจาก 1% เป็น 5% ในเวลาเพียงปีเดียว แต่โทรทัศน์ดาวเทียมและเคเบิลมีโอกาสโตได้ด้วยจุดเด่นด้านจำนวนความถี่ในการเผยแพร่ด้วยงบประมาณที่ต่ำกว่า รวมถึงจำนวนผู้ชมที่สูงถึง 44% ขณะที่มูลค่าตลาดงบโฆษณารวมฟรีทีวีครึ่งแรกปี 2556 ทะลุ 28,285 ล้านบาท
นายไตรลุจน์ นวะมะรัตน์ อุปนายกสมาคมมีเดียเอยนซี่และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ปัจจุบันสื่อโฆษณาเข้าถึงผู้บริโภคได้ในทุกช่องทางมากขึ้น โดยเฉพาะสื่อดิจิตอลโดยรวม ทั้งอินเทอร์เน็ต สมาร์ทโฟน ป้ายโฆษณา LED และอื่นๆ ถือว่าเริ่มมีบทบาทและส่งผลกระทบต่อสื่อโทรทัศน์มากที่สุด โดยเฉพาะในแง่ของเม็ดเงินโฆษณา ซึ่งเมื่อ 2-3 ปีก่อนสื่อโทรทัศน์มีส่วนแบ่งมากถึง 50-60% ในขณะที่สื่อดิจิตอลมีส่วนแบ่งเพียง 1% และขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง 5% ในปี 2555
“ส่วนแบ่ง 5% แม้จะดูเป็นตัวเลขน้อย แต่ในความเป็นจริงแล้วมีมูลค่าค่อนข้างสูงเพราะเท่ากับแย่งส่วนแบ่งจากสื่อโทรทัศน์ถึง 20% ด้วยเหตุนี้สื่อโทรทัศน์จึงจำเป็นต้องปรับปรุงพัฒนาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและรอบด้าน เพราะสถานการณ์การแข่งขันในตลาดเริ่มเป็นปัจจัยสำคัญที่กำหนดให้สื่อโทรทัศน์ต้องแข่งขันกับสื่อทุกประเภท”
สำหรับโทรทัศน์ดาวเทียมและเคเบิลซึ่งปัจจุบันมีประมาณ 300 ช่องนั้น แม้จะยังคงมีส่วนแบ่งการตลาดเพียง 6-7% แต่ก็ถือว่ามีแนวโน้มและส่งสัญญาณในทิศทางที่ดีขึ้นมาก เนื่องจากมีจำนวนผู้ชมเพิ่มมากขึ้นคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 44% ทั้งยังมีข้อได้เปรียบฟรีทีวีในแง่ของจำนวนความถี่ในการเผยแพร่โฆษณาเป็นจำนวนหลายครั้งภายใต้งบประมาณที่น้อยกว่ามาก
“พฤติกรรมการรับชมข้อมูลข่าวสารจากโทรทัศน์ดาวทียมและเคเบิลถือว่ามีความแตกต่างจากผู้ชมฟรีทีวีทั่วไป เนื่องจากมีกลุ่มผู้ชมเฉพาะอย่างชัดเจน จึงทำให้การโฆษณามีประสิทธิภาพและเห็นผลได้ในเวลารวดเร็ว โดยเจ้าของสินค้าและบริการใช้งบประมาณไม่มากนัก แต่สามารถเจาะกลุ่มเป้าหมายได้ตรงจุดมากกว่า”
นายไตรลุจน์กล่าวด้วยว่า โทรทัศน์ดาวเทียมละเคเบิลทีวีต้องถือว่าโทรทัศน์ภาคพื้นดินเป็นเพื่อนบ้านที่ไม่ใช่คู่แข่งขันกัน จึงจำเป็นต้องพัฒนารายการให้ได้มาตรฐานทัดเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นรายการข่าว ละคร เกมโชว์ หรือวาไรตี้ ประการสำคัญจำเป็นต้องให้ความสำคัญในการทำตลาดเพื่อเพิ่มความสนใจจากผู้ให้งบประมาณโฆษณา ด้วยการเน้นความแปลกใหม่และแตกต่างของทุกรายการไม่ให้เหมือนรายการของฟรีทีวีและโทรทัศน์ภาคพื้นดินทั่วไป
สื่อทีวี 5 เดือนแรกปี 56 ทะลุ 28,285 ล้าน
บริษัท นีลเส็น มีเดีย รีเสิร์ช ประเทศไทย ระบุว่า ตลาดงบโฆษณาเดือนพฤษภาคม ปี 2556 เพียงเดือนเดียวมีมูลค่ารวม 9,757 ล้านบาท ตกลง 1.90% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปี 2555 ที่มี 9,946 ล้านบาท โดยสื่อทีวีมีมูลค่า 6,008 ล้านบาท เพิ่ม 1.90% จากเดิมที่มี 5,896 ล้านบาท สื่อวิทยุมีมูลค่า 542 ล้านบาท เพิ่ม 0.18% จากเดิมมูลค่า 542 ล้านบาท สื่อหนังสือพิมพ์มูลค่า 1,233 ล้านบาท ตกลง 3.45% จากเดิม 1,277 ล้านบาท และสื่อนิตยสารมูลค่า 425 ล้านบาท ตกลง 9.77% จากเดิมมูลค่า 471 ล้านบาท
ส่วนสื่อรองอย่างสื่อโรงหนังมูลค่า 579 ล้านบาท ตกลง 31.64% จากเดิมมูลค่า 847 ล้านบาท สื่อกลางแจ้งมูลค่า 348 ล้านบาท ตกลง 9.61% จากเดิมมูลค่า 385 ล้านบาท สื่อเคลื่อนที่มูลค่า 276 ล้านบาท เพิ่ม 13.58% จากเดิม 243 ล้านบาท สื่ออินสโตร์มูลค่า 260 ล้านบาท เพิ่ม 10.17% จากเดิมมูลค่า 236 ล้านบาท สื่ออินเทอร์เน็ตมูลค่า 86 ล้านบาท เพิ่ม 75.51% จากเดิมมูลค่า 49 ล้านบาท
สำหรับตลาดรวมช่วงมกราคม-พฤษภาคม หรือ 5 เดือนแรกปี 2556 เทียบกับช่วงเดียวกันปี 2555 พบว่า ตลาดรวม 5 เดือนแรกปี 2556 อยู่ที่ 45,627 ล้านบาท เพิ่ม 1.10% จากเดิมมูลค่า 45,129 ล้านบาท โดยสื่อทีวีมูลค่า 28,285 ล้านบาท เพิ่ม 3.57% จากเดิมมูลค่า 27,309 ล้านบาท สื่อวิทยุมูลค่า 2,452 ล้านบาทเท่าเดิม สื่อหนังสือพิมพ์มูลค่า 5,900 ล้านบาท ตกลง 3.18% จากเดิม 6,094 ล้านบาท สื่อนิตยสารมูลค่า 2,080 ล้านบาท ตกลง 2.58% จากเดิมมูลค่า 2,135 ล้านบาท
สื่อโรงหนังมูลค่า 2,455 ล้านบาท ตกลง 17.67% จากเดิมมูลค่า 2,982 ล้านบาท สื่อกลางแจ้งมูลค่า 1,711 ล้านบาท ตกลง 8.40% จากเดิมมูลค่า 1,868 ล้านบาท สื่อเคลื่อนที่มูลค่ารวม 1,329 ล้านบาท เติบโต 22.60% จากเดิมมูลค่า 1,084 ล้านบาท สื่ออินสโตร์มูลค่า 1,053 ล้านบาท เพิ่ม 8.22% จากเดิมมูลค่า 973 ล้านบาท สื่ออินเทอร์เน็ตมูลค่า 363 ล้านบาท เพิ่ม 55.13% จากเดิมมูลค่า 234 ล้านบาท
นายไตรลุจน์ นวะมะรัตน์ อุปนายกสมาคมมีเดียเอยนซี่และธุรกิจสื่อแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ปัจจุบันสื่อโฆษณาเข้าถึงผู้บริโภคได้ในทุกช่องทางมากขึ้น โดยเฉพาะสื่อดิจิตอลโดยรวม ทั้งอินเทอร์เน็ต สมาร์ทโฟน ป้ายโฆษณา LED และอื่นๆ ถือว่าเริ่มมีบทบาทและส่งผลกระทบต่อสื่อโทรทัศน์มากที่สุด โดยเฉพาะในแง่ของเม็ดเงินโฆษณา ซึ่งเมื่อ 2-3 ปีก่อนสื่อโทรทัศน์มีส่วนแบ่งมากถึง 50-60% ในขณะที่สื่อดิจิตอลมีส่วนแบ่งเพียง 1% และขยายตัวเพิ่มขึ้นถึง 5% ในปี 2555
“ส่วนแบ่ง 5% แม้จะดูเป็นตัวเลขน้อย แต่ในความเป็นจริงแล้วมีมูลค่าค่อนข้างสูงเพราะเท่ากับแย่งส่วนแบ่งจากสื่อโทรทัศน์ถึง 20% ด้วยเหตุนี้สื่อโทรทัศน์จึงจำเป็นต้องปรับปรุงพัฒนาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องและรอบด้าน เพราะสถานการณ์การแข่งขันในตลาดเริ่มเป็นปัจจัยสำคัญที่กำหนดให้สื่อโทรทัศน์ต้องแข่งขันกับสื่อทุกประเภท”
สำหรับโทรทัศน์ดาวเทียมและเคเบิลซึ่งปัจจุบันมีประมาณ 300 ช่องนั้น แม้จะยังคงมีส่วนแบ่งการตลาดเพียง 6-7% แต่ก็ถือว่ามีแนวโน้มและส่งสัญญาณในทิศทางที่ดีขึ้นมาก เนื่องจากมีจำนวนผู้ชมเพิ่มมากขึ้นคิดเป็นสัดส่วนประมาณ 44% ทั้งยังมีข้อได้เปรียบฟรีทีวีในแง่ของจำนวนความถี่ในการเผยแพร่โฆษณาเป็นจำนวนหลายครั้งภายใต้งบประมาณที่น้อยกว่ามาก
“พฤติกรรมการรับชมข้อมูลข่าวสารจากโทรทัศน์ดาวทียมและเคเบิลถือว่ามีความแตกต่างจากผู้ชมฟรีทีวีทั่วไป เนื่องจากมีกลุ่มผู้ชมเฉพาะอย่างชัดเจน จึงทำให้การโฆษณามีประสิทธิภาพและเห็นผลได้ในเวลารวดเร็ว โดยเจ้าของสินค้าและบริการใช้งบประมาณไม่มากนัก แต่สามารถเจาะกลุ่มเป้าหมายได้ตรงจุดมากกว่า”
นายไตรลุจน์กล่าวด้วยว่า โทรทัศน์ดาวเทียมละเคเบิลทีวีต้องถือว่าโทรทัศน์ภาคพื้นดินเป็นเพื่อนบ้านที่ไม่ใช่คู่แข่งขันกัน จึงจำเป็นต้องพัฒนารายการให้ได้มาตรฐานทัดเทียมกัน ไม่ว่าจะเป็นรายการข่าว ละคร เกมโชว์ หรือวาไรตี้ ประการสำคัญจำเป็นต้องให้ความสำคัญในการทำตลาดเพื่อเพิ่มความสนใจจากผู้ให้งบประมาณโฆษณา ด้วยการเน้นความแปลกใหม่และแตกต่างของทุกรายการไม่ให้เหมือนรายการของฟรีทีวีและโทรทัศน์ภาคพื้นดินทั่วไป
สื่อทีวี 5 เดือนแรกปี 56 ทะลุ 28,285 ล้าน
บริษัท นีลเส็น มีเดีย รีเสิร์ช ประเทศไทย ระบุว่า ตลาดงบโฆษณาเดือนพฤษภาคม ปี 2556 เพียงเดือนเดียวมีมูลค่ารวม 9,757 ล้านบาท ตกลง 1.90% เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันปี 2555 ที่มี 9,946 ล้านบาท โดยสื่อทีวีมีมูลค่า 6,008 ล้านบาท เพิ่ม 1.90% จากเดิมที่มี 5,896 ล้านบาท สื่อวิทยุมีมูลค่า 542 ล้านบาท เพิ่ม 0.18% จากเดิมมูลค่า 542 ล้านบาท สื่อหนังสือพิมพ์มูลค่า 1,233 ล้านบาท ตกลง 3.45% จากเดิม 1,277 ล้านบาท และสื่อนิตยสารมูลค่า 425 ล้านบาท ตกลง 9.77% จากเดิมมูลค่า 471 ล้านบาท
ส่วนสื่อรองอย่างสื่อโรงหนังมูลค่า 579 ล้านบาท ตกลง 31.64% จากเดิมมูลค่า 847 ล้านบาท สื่อกลางแจ้งมูลค่า 348 ล้านบาท ตกลง 9.61% จากเดิมมูลค่า 385 ล้านบาท สื่อเคลื่อนที่มูลค่า 276 ล้านบาท เพิ่ม 13.58% จากเดิม 243 ล้านบาท สื่ออินสโตร์มูลค่า 260 ล้านบาท เพิ่ม 10.17% จากเดิมมูลค่า 236 ล้านบาท สื่ออินเทอร์เน็ตมูลค่า 86 ล้านบาท เพิ่ม 75.51% จากเดิมมูลค่า 49 ล้านบาท
สำหรับตลาดรวมช่วงมกราคม-พฤษภาคม หรือ 5 เดือนแรกปี 2556 เทียบกับช่วงเดียวกันปี 2555 พบว่า ตลาดรวม 5 เดือนแรกปี 2556 อยู่ที่ 45,627 ล้านบาท เพิ่ม 1.10% จากเดิมมูลค่า 45,129 ล้านบาท โดยสื่อทีวีมูลค่า 28,285 ล้านบาท เพิ่ม 3.57% จากเดิมมูลค่า 27,309 ล้านบาท สื่อวิทยุมูลค่า 2,452 ล้านบาทเท่าเดิม สื่อหนังสือพิมพ์มูลค่า 5,900 ล้านบาท ตกลง 3.18% จากเดิม 6,094 ล้านบาท สื่อนิตยสารมูลค่า 2,080 ล้านบาท ตกลง 2.58% จากเดิมมูลค่า 2,135 ล้านบาท
สื่อโรงหนังมูลค่า 2,455 ล้านบาท ตกลง 17.67% จากเดิมมูลค่า 2,982 ล้านบาท สื่อกลางแจ้งมูลค่า 1,711 ล้านบาท ตกลง 8.40% จากเดิมมูลค่า 1,868 ล้านบาท สื่อเคลื่อนที่มูลค่ารวม 1,329 ล้านบาท เติบโต 22.60% จากเดิมมูลค่า 1,084 ล้านบาท สื่ออินสโตร์มูลค่า 1,053 ล้านบาท เพิ่ม 8.22% จากเดิมมูลค่า 973 ล้านบาท สื่ออินเทอร์เน็ตมูลค่า 363 ล้านบาท เพิ่ม 55.13% จากเดิมมูลค่า 234 ล้านบาท