ภาวะสภาพคล่องหดตัวเป็นเวลานาน 3 สัปดาห์ในตลาดเงินจีนส่งผลให้ต้นทุนการกู้ยืมพุ่งขึ้นอย่างมาก, ตลาดหุ้นจีนดิ่งลงแตะจุดต่ำสุดรอบ 4 ปี และส่งผลกระทบต่อตลาดการเงินทั่วโลกในช่วงที่ผ่านมา
ทั้งนี้ ความเป็นมาของภาวะตึงตัวดังกล่าว และบทบาทของธนาคารกลางจีนในการแก้ไขปัญหานี้ มีดังต่อไปนี้:-
*สาเหตุของวิกฤติ
สาเหตุใหญ่ที่สุดที่ทำให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินจีนพุ่งขึ้นอย่างฉับพลัน คือการที่สำนักปริวรรตเงินตราของรัฐบาลจีน (SAFE) ปราบปรามการเก็งกำไรในค่าเงินในช่วงปลายเดือนเม.ย. โดย SAFE จำกัดความสามารถของธนาคารพาณิชย์จีนในการนำเงินของธนาคารไปใช้ในการลงทุนตามการเก็งความเป็นไปได้ที่ว่าหยวนจะแข็งค่าขึ้น ขณะที่ SAFE ตั้งเป้าที่จะทำให้บริษัทต่างๆยุติการใช้สินเชื่อดอลลาร์เป็นเครื่องมือหนึ่งในการเก็งกำไรจากการแข็งค่าของหยวน
ความเคลื่อนไหวนี้ของ SAFE บ่งชี้ว่า รัฐบาลจีนไม่พอใจต่อกระแสเงินเก็งกำไรที่หลั่งไหลเข้าประเทศซึ่งมีส่วนหนุนให้หยวนแข็งค่าขึ้น โดยมาตรการของ SAFE ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ลดปริมาณการซื้อเงินตราต่างประเทศลงอย่างมากในเดือนพ.ค.และมิ.ย. และทำให้สภาพคล่องหดหายไปจากตลาด
ปัจจัยที่มีความสำคัญรองลงมาคือผลกระทบจากการคุมเข้มกฎระเบียบใน วงกว้างต่อผลิตภัณฑ์ในการบริหารความมั่งคั่ง (WMP) ของธนาคารพาณิชย์ และต่อการทำธุรกรรมระหว่างกองทุนในงบดุลและนอกงบดุลของธนาคารพาณิชย์นับตั้งแต่ต้นปีนี้
ผู้ควบคุมกฎระเบียบของจีนบังคับให้ธนาคารใช้เงินทุนของตนเองมากยิ่งขึ้น ในการซื้อสินทรัพย์ที่อยู่นอกงบดุล และการทำเช่นนี้ก็ส่งผลให้สภาพคล่องของธนาคารลดลง และทำให้ธนาคารได้รับผลกระทบมากย่ิ่งขึ้นในกรณีที่เกิดภาวะขาดแคลนเงินสด
ปัจจัยอื่นๆที่ส่งผลให้เกิดภาวะขาดแคลนสภาพคล่องคือปัจจัยด้านฤดูกาล โดยบริษัทหลายแห่งต้องการเงินสดมากเป็นพิเศษในช่วงต้นเดือนมิ.ย.เพื่อเตรียมไว้ใช้สำหรับวันหยุด และเพื่อใช้ในการชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลด้วย ในขณะที่ภาคธนาคารประเมินอุปสงค์ในสภาพคล่องสำหรับช่วงเวลานี้ต่ำเกินไป
*เพราะเหตุใดธนาคารกลางจีน (PBOC) จึงปล่อยให้ตลาดเงินตึงตัว
วิกฤตการณ์ในครั้งนี้เป็นสิ่งที่ธนาคารกลางจีนตั้งใจให้เกิดขึ้นด้วยเช่นกัน โดยธนาคารกลางจีนไม่ยอมเข้ามาแทรกแซงตลาด และปล่อยให้ธนาคารพาณิชย์แข่งขันกันเองในการกู้เงินจากตลาดเงิน ซึ่งการทำเช่นนี้เท่ากับเป็นการส่งสัญญาณต่อธนาคารพาณิชย์ว่า ธนาคารพาณิชย์ควรพึ่งพาเงินฝากเป็นหลักในการปล่อย สินเชื่อ แทนที่จะพึ่งพาตลาดเงินที่ไม่มีความแน่นอน
ธนาคารขนาดกลางและขนาดเล็กหลายแห่งถือครอง WMP จำนวนมาก ซึ่งให้ดอกเบี้ยราว 10 % ต่อปี อย่างไรก็ดี WMP เหล่านี้พึ่งพาเงินกู้และสภาพคล่องระยะสั้นจากธนาคารกลางจีน
รัฐบาลจีนตระหนักดีถึงความเสี่ยงในผลิตภัณฑ์ทางการเงินเหล่านี้ และตั้งใจที่จะสอนบทเรียนให้แก่ธนาคารพาณิชย์ในเรื่องการบริหารความเสี่ยง
ในช่วงที่ตลาดเงินเริ่มประสบภาวะสภาพคล่องหดตัวนั้น อัตราดอกเบี้ยอินเตอร์แบงก์ได้พุ่งขึ้นถึง 15 % และธนาคารพาณิชย์ก็ขอร้องให้ธนาคารกลางจีนช่วยผ่อนคลายสถานการณ์ในตลาดเงิน แต่ธนาคารกลางจีนไม่ยอมทำตามคำขอร้องนี้แต่อย่างใด
มาตรการนี้ของธนาคารกลางจีนตั้งเป้าไปที่ธนาคารขนาดเล็กที่พึ่งพาตลาดเงินระยะสั้นในการระดมสภาพคล่องที่จำเป็น โดยถึงแม้ธนาคารขนาดเล็กหลายแห่งมีสัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ที่ 75 % แต่ธนาคารเหล่านี้ก็มีสัดส่วนสินเชื่อที่สูงกว่านั้นมากในความเป็นจริง เพราะมีการจำหน่าย WMP และผลิตภัณฑ์อื่นๆ
*ธนาคารกลางจีนตอบรับต่อสถานการณ์อย่างไร และส่งสัญญาณอะไรออกมา
หลังจากธนาคารกลางจีนแทบไม่แสดงความเห็นในช่วงสองสัปดาห์แรกและปฏิเสธข่าวที่ว่าทางธนาคารกลางอัดฉีดเงินทุนให้แก่ธนาคารบางแห่งธนาคารกลางก็ได้ผ่อนคลายท่าทีลงในสัปดาห์นี้
ธนาคารกลางจีนประกาศในวันอังคารว่า ธนาคารกลางจีนได้เข้าช่วยเหลือธนาคารบางแห่งแล้ว และพร้อมที่จะดำเนินการอีกครั้งในฐานะผู้ปล่อยกู้แหล่งสุดท้ายเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ประสบปัญหาขาดแคลนเงินสดระยะสั้น โดย ประกาศนี้แสดงให้ตลาดเห็นว่า ธนาคารกลางจีนผ่อนคลายจุดยืนที่แข็งกร้าวลงแล้ว
อัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตร (อาร์/พี) ระยะ 7 วัน ซึ่งเป็นมาตรวัดอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์จีนใช้ในการปล่อยกู้ระหว่างกัน เปิดตลาดวานนี้ร่วงลง 0.24 % สู่ 7.20 % อย่างไรก็ดี อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวยังคงอยู่สูงกว่าค่าเฉลี่ยที่ 3-4 % ถึงแม้ดิ่งลงมาแล้วจากระดับ 15 % ในช่วงที่วิกฤติทวีความรุนแรง
สถานการณ์นี้สอดคล้องกับความเห็นของหลายคนที่ว่า ธนาคารกลางจีนไม่ต้องการจะปล่อยให้ภาวะสภาพคล่องหดตัวดำเนินต่อไปเป็นเวลานานเกินไป เพราะสิ่งนี้อาจจะขัดขวางการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของจีนในปัจจุบันนี้ อยู่ในระดับต่ำที่สุดเท่าที่กลุ่มผู้นำประเทศจีนจะยอมรับได้
*ธนาคารกลางจีนสามารถทำสิ่งใดได้บ้างในการบรรเทาภาวะสภาพคล่องหดตัว
หลังจากธนาคารกลางจีนได้ลงโทษธนาคารที่ปล่อยกู้มากเกินไปโดยใช้ภาวะสภาพคล่องหดตัวแล้ว ธนาคารกลางจีนก็ได้ประกาศในวันอังคารว่าธนาคารกลางจีนจะจัดหาเงินสดให้แก่สถาบันการเงินที่สนับสนุนภาคเศรษฐกิจ ที่แท้จริง
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระยะ 1 วัน และ 7 วันดิ่งลงในวันอังคารและวันพุธซึ่งสิ่งนี้บ่งชี้ว่า ธนาคารกลางจีนได้เร่ิมผ่อนคลายสภาพคล่องในตลาดเงินแล้ว
ธนาคารกลางจีนระบุในวันอังคารว่า ธนาคารกลางจีนได้จัดสรรเงินสดให้แก่สถาบันการเงินบางแห่งที่ประสบปัญหาขาดแคลนเงินสดชั่วคราว และจะทำเช่นนี้ต่อไปถ้าหากมีความจำเป็น หลังจากตลาดหุ้นจีนดิ่งลงแตะจุดต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2009
ธนาคารกลางจีนมีเครื่องมือหลายอย่างที่สามารถนำมาใช้หนุนสภาพคล่องในตลาดอินเตอร์แบงก์ โดยธนาคารกลางจีนดำเนินปฏิบัติการซื้อขายพันธบัตรในตลาดเปิด (OMO) ทุกวันอังคารและพฤหัสบดี และธนาคารกลางจีนก็ได้ อัดฉีดเม็ดเงินสุทธิเข้าสู่ตลาดในช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมาผ่านทางปฏิบัติการนี้และสามารถเร่งอัดฉีดเม็ดเงินจำนวนมากกว่านี้เข้าสู่ตลาดได้ด้วย
ธนาคารกลางจีนได้ปรับเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ OMO ในช่วงต้นปีนี้ โดยใช้ปฏิบัติการอัดฉีดสภาพคล่องระยะสั้น (SLO) โดย SLO จะช่วยลดช่องว่างระหว่างปฏิบัติการซื้อขายพันธบัตรรอบปกติ และการใช้เครื่องมือนี้่ จะขึ้นอยู่กับดุลพินิจของธนาคารกลางจีน ขณะที่มีข่าวที่ไม่ได้รับการยืนยันในช่วงต้นเดือนนี้ว่า ธนาคารกลางจีนได้อัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ตลาดผ่านทาง SLO
นอกจากนี้ ธนาคารกลางจีนสามารถปรับลดสัดส่วนการกันสำรองของธนาคารพาณิชย์ (RRR) ได้ด้วย โดยสัดส่วนนี้คือปริมาณเงินที่ธนาคารพาณิชย์จำเป็นต้องนำมาฝากไว้ที่ธนาคารกลาง ขณะที่ธนาคารกลางจีนเคยใช้ RRR เป็นเครื่องมือในการควบคุมสภาพคล่องและลดทอนผลกระทบที่เกิดจากการโยกย้ายเงินทุนมาแล้วในอดีต โดยธนาคารกลางจีนคง RRR ไว้ที่ 20 % นับตั้งแต่เดือนพ.ค. 2012 ถึงแม้อัตราเงินเฟ้อร่วงลงมาแล้ว
ในระยะยาวนั้น ธนาคารกลางจีนอาจจะใช้มาตรการอื่นๆในการแก้ไขปัญหาเช่น การปรับปรุงกฎระเบียบธนาคาร เพื่อปราบปรามพฤติกรรมแบบเสี่ยงสูง เพื่อที่ธนาคารกลางจีนจะได้ไม่ต้องใช้ภาวะตลาดเงินหดตัวในการลงโทษธนาคารพาณิชย์อีก
(ข่าวจากสำนักข่าว รอยเตอร์)
T.Thammasak
ทั้งนี้ ความเป็นมาของภาวะตึงตัวดังกล่าว และบทบาทของธนาคารกลางจีนในการแก้ไขปัญหานี้ มีดังต่อไปนี้:-
*สาเหตุของวิกฤติ
สาเหตุใหญ่ที่สุดที่ทำให้อัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินจีนพุ่งขึ้นอย่างฉับพลัน คือการที่สำนักปริวรรตเงินตราของรัฐบาลจีน (SAFE) ปราบปรามการเก็งกำไรในค่าเงินในช่วงปลายเดือนเม.ย. โดย SAFE จำกัดความสามารถของธนาคารพาณิชย์จีนในการนำเงินของธนาคารไปใช้ในการลงทุนตามการเก็งความเป็นไปได้ที่ว่าหยวนจะแข็งค่าขึ้น ขณะที่ SAFE ตั้งเป้าที่จะทำให้บริษัทต่างๆยุติการใช้สินเชื่อดอลลาร์เป็นเครื่องมือหนึ่งในการเก็งกำไรจากการแข็งค่าของหยวน
ความเคลื่อนไหวนี้ของ SAFE บ่งชี้ว่า รัฐบาลจีนไม่พอใจต่อกระแสเงินเก็งกำไรที่หลั่งไหลเข้าประเทศซึ่งมีส่วนหนุนให้หยวนแข็งค่าขึ้น โดยมาตรการของ SAFE ส่งผลให้ธนาคารพาณิชย์ลดปริมาณการซื้อเงินตราต่างประเทศลงอย่างมากในเดือนพ.ค.และมิ.ย. และทำให้สภาพคล่องหดหายไปจากตลาด
ปัจจัยที่มีความสำคัญรองลงมาคือผลกระทบจากการคุมเข้มกฎระเบียบใน วงกว้างต่อผลิตภัณฑ์ในการบริหารความมั่งคั่ง (WMP) ของธนาคารพาณิชย์ และต่อการทำธุรกรรมระหว่างกองทุนในงบดุลและนอกงบดุลของธนาคารพาณิชย์นับตั้งแต่ต้นปีนี้
ผู้ควบคุมกฎระเบียบของจีนบังคับให้ธนาคารใช้เงินทุนของตนเองมากยิ่งขึ้น ในการซื้อสินทรัพย์ที่อยู่นอกงบดุล และการทำเช่นนี้ก็ส่งผลให้สภาพคล่องของธนาคารลดลง และทำให้ธนาคารได้รับผลกระทบมากย่ิ่งขึ้นในกรณีที่เกิดภาวะขาดแคลนเงินสด
ปัจจัยอื่นๆที่ส่งผลให้เกิดภาวะขาดแคลนสภาพคล่องคือปัจจัยด้านฤดูกาล โดยบริษัทหลายแห่งต้องการเงินสดมากเป็นพิเศษในช่วงต้นเดือนมิ.ย.เพื่อเตรียมไว้ใช้สำหรับวันหยุด และเพื่อใช้ในการชำระภาษีเงินได้นิติบุคคลด้วย ในขณะที่ภาคธนาคารประเมินอุปสงค์ในสภาพคล่องสำหรับช่วงเวลานี้ต่ำเกินไป
*เพราะเหตุใดธนาคารกลางจีน (PBOC) จึงปล่อยให้ตลาดเงินตึงตัว
วิกฤตการณ์ในครั้งนี้เป็นสิ่งที่ธนาคารกลางจีนตั้งใจให้เกิดขึ้นด้วยเช่นกัน โดยธนาคารกลางจีนไม่ยอมเข้ามาแทรกแซงตลาด และปล่อยให้ธนาคารพาณิชย์แข่งขันกันเองในการกู้เงินจากตลาดเงิน ซึ่งการทำเช่นนี้เท่ากับเป็นการส่งสัญญาณต่อธนาคารพาณิชย์ว่า ธนาคารพาณิชย์ควรพึ่งพาเงินฝากเป็นหลักในการปล่อย สินเชื่อ แทนที่จะพึ่งพาตลาดเงินที่ไม่มีความแน่นอน
ธนาคารขนาดกลางและขนาดเล็กหลายแห่งถือครอง WMP จำนวนมาก ซึ่งให้ดอกเบี้ยราว 10 % ต่อปี อย่างไรก็ดี WMP เหล่านี้พึ่งพาเงินกู้และสภาพคล่องระยะสั้นจากธนาคารกลางจีน
รัฐบาลจีนตระหนักดีถึงความเสี่ยงในผลิตภัณฑ์ทางการเงินเหล่านี้ และตั้งใจที่จะสอนบทเรียนให้แก่ธนาคารพาณิชย์ในเรื่องการบริหารความเสี่ยง
ในช่วงที่ตลาดเงินเริ่มประสบภาวะสภาพคล่องหดตัวนั้น อัตราดอกเบี้ยอินเตอร์แบงก์ได้พุ่งขึ้นถึง 15 % และธนาคารพาณิชย์ก็ขอร้องให้ธนาคารกลางจีนช่วยผ่อนคลายสถานการณ์ในตลาดเงิน แต่ธนาคารกลางจีนไม่ยอมทำตามคำขอร้องนี้แต่อย่างใด
มาตรการนี้ของธนาคารกลางจีนตั้งเป้าไปที่ธนาคารขนาดเล็กที่พึ่งพาตลาดเงินระยะสั้นในการระดมสภาพคล่องที่จำเป็น โดยถึงแม้ธนาคารขนาดเล็กหลายแห่งมีสัดส่วนสินเชื่อต่อเงินฝากอยู่ที่ 75 % แต่ธนาคารเหล่านี้ก็มีสัดส่วนสินเชื่อที่สูงกว่านั้นมากในความเป็นจริง เพราะมีการจำหน่าย WMP และผลิตภัณฑ์อื่นๆ
*ธนาคารกลางจีนตอบรับต่อสถานการณ์อย่างไร และส่งสัญญาณอะไรออกมา
หลังจากธนาคารกลางจีนแทบไม่แสดงความเห็นในช่วงสองสัปดาห์แรกและปฏิเสธข่าวที่ว่าทางธนาคารกลางอัดฉีดเงินทุนให้แก่ธนาคารบางแห่งธนาคารกลางก็ได้ผ่อนคลายท่าทีลงในสัปดาห์นี้
ธนาคารกลางจีนประกาศในวันอังคารว่า ธนาคารกลางจีนได้เข้าช่วยเหลือธนาคารบางแห่งแล้ว และพร้อมที่จะดำเนินการอีกครั้งในฐานะผู้ปล่อยกู้แหล่งสุดท้ายเพื่อช่วยเหลือผู้ที่ประสบปัญหาขาดแคลนเงินสดระยะสั้น โดย ประกาศนี้แสดงให้ตลาดเห็นว่า ธนาคารกลางจีนผ่อนคลายจุดยืนที่แข็งกร้าวลงแล้ว
อัตราดอกเบี้ยซื้อคืนพันธบัตร (อาร์/พี) ระยะ 7 วัน ซึ่งเป็นมาตรวัดอัตราดอกเบี้ยที่ธนาคารพาณิชย์จีนใช้ในการปล่อยกู้ระหว่างกัน เปิดตลาดวานนี้ร่วงลง 0.24 % สู่ 7.20 % อย่างไรก็ดี อัตราดอกเบี้ยดังกล่าวยังคงอยู่สูงกว่าค่าเฉลี่ยที่ 3-4 % ถึงแม้ดิ่งลงมาแล้วจากระดับ 15 % ในช่วงที่วิกฤติทวีความรุนแรง
สถานการณ์นี้สอดคล้องกับความเห็นของหลายคนที่ว่า ธนาคารกลางจีนไม่ต้องการจะปล่อยให้ภาวะสภาพคล่องหดตัวดำเนินต่อไปเป็นเวลานานเกินไป เพราะสิ่งนี้อาจจะขัดขวางการเติบโตทางเศรษฐกิจ โดยอัตราการเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (จีดีพี) ของจีนในปัจจุบันนี้ อยู่ในระดับต่ำที่สุดเท่าที่กลุ่มผู้นำประเทศจีนจะยอมรับได้
*ธนาคารกลางจีนสามารถทำสิ่งใดได้บ้างในการบรรเทาภาวะสภาพคล่องหดตัว
หลังจากธนาคารกลางจีนได้ลงโทษธนาคารที่ปล่อยกู้มากเกินไปโดยใช้ภาวะสภาพคล่องหดตัวแล้ว ธนาคารกลางจีนก็ได้ประกาศในวันอังคารว่าธนาคารกลางจีนจะจัดหาเงินสดให้แก่สถาบันการเงินที่สนับสนุนภาคเศรษฐกิจ ที่แท้จริง
อัตราดอกเบี้ยกู้ยืมระยะ 1 วัน และ 7 วันดิ่งลงในวันอังคารและวันพุธซึ่งสิ่งนี้บ่งชี้ว่า ธนาคารกลางจีนได้เร่ิมผ่อนคลายสภาพคล่องในตลาดเงินแล้ว
ธนาคารกลางจีนระบุในวันอังคารว่า ธนาคารกลางจีนได้จัดสรรเงินสดให้แก่สถาบันการเงินบางแห่งที่ประสบปัญหาขาดแคลนเงินสดชั่วคราว และจะทำเช่นนี้ต่อไปถ้าหากมีความจำเป็น หลังจากตลาดหุ้นจีนดิ่งลงแตะจุดต่ำสุดนับตั้งแต่ปี 2009
ธนาคารกลางจีนมีเครื่องมือหลายอย่างที่สามารถนำมาใช้หนุนสภาพคล่องในตลาดอินเตอร์แบงก์ โดยธนาคารกลางจีนดำเนินปฏิบัติการซื้อขายพันธบัตรในตลาดเปิด (OMO) ทุกวันอังคารและพฤหัสบดี และธนาคารกลางจีนก็ได้ อัดฉีดเม็ดเงินสุทธิเข้าสู่ตลาดในช่วง 3 สัปดาห์ที่ผ่านมาผ่านทางปฏิบัติการนี้และสามารถเร่งอัดฉีดเม็ดเงินจำนวนมากกว่านี้เข้าสู่ตลาดได้ด้วย
ธนาคารกลางจีนได้ปรับเพิ่มประสิทธิภาพในการใช้ OMO ในช่วงต้นปีนี้ โดยใช้ปฏิบัติการอัดฉีดสภาพคล่องระยะสั้น (SLO) โดย SLO จะช่วยลดช่องว่างระหว่างปฏิบัติการซื้อขายพันธบัตรรอบปกติ และการใช้เครื่องมือนี้่ จะขึ้นอยู่กับดุลพินิจของธนาคารกลางจีน ขณะที่มีข่าวที่ไม่ได้รับการยืนยันในช่วงต้นเดือนนี้ว่า ธนาคารกลางจีนได้อัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ตลาดผ่านทาง SLO
นอกจากนี้ ธนาคารกลางจีนสามารถปรับลดสัดส่วนการกันสำรองของธนาคารพาณิชย์ (RRR) ได้ด้วย โดยสัดส่วนนี้คือปริมาณเงินที่ธนาคารพาณิชย์จำเป็นต้องนำมาฝากไว้ที่ธนาคารกลาง ขณะที่ธนาคารกลางจีนเคยใช้ RRR เป็นเครื่องมือในการควบคุมสภาพคล่องและลดทอนผลกระทบที่เกิดจากการโยกย้ายเงินทุนมาแล้วในอดีต โดยธนาคารกลางจีนคง RRR ไว้ที่ 20 % นับตั้งแต่เดือนพ.ค. 2012 ถึงแม้อัตราเงินเฟ้อร่วงลงมาแล้ว
ในระยะยาวนั้น ธนาคารกลางจีนอาจจะใช้มาตรการอื่นๆในการแก้ไขปัญหาเช่น การปรับปรุงกฎระเบียบธนาคาร เพื่อปราบปรามพฤติกรรมแบบเสี่ยงสูง เพื่อที่ธนาคารกลางจีนจะได้ไม่ต้องใช้ภาวะตลาดเงินหดตัวในการลงโทษธนาคารพาณิชย์อีก
(ข่าวจากสำนักข่าว รอยเตอร์)
T.Thammasak