แมงเม้าท์เล่าอินไซด์ มาแล้วจร้าาาา ค่อยยังชั่วหน่อยสำหรับภาพรวมตลาดหุ้นไทยวันศุกร์ที่รีบาวน์กลับขึ้นมาได้ หลังจากทั้งสัปดาห์ต้องพบกับเรื่องร้ายๆ จากความกังวลกับมาตรการอัดฉีดเม็ด QE ของสหรัฐที่จะหยุดหรือไม่หยุด ซึ่งกดดัชนีหุ้นไทยให้ร่วงระห่ำเริ่มตั้งแต่จันทร์ถึงพฤหัสให้ร่วงลงไปต่ำสุดคือ 1351 จุด ก่อนที่จะเด้งคืนกลับมาปิดที่ 1,465.27 จุด ย้ำให้ชัดว่านี่คือการเด้งกลับเท่านั้น ยังไม่ได้ดึงความมั่นใจของนักลงทุนว่านี่คือหยุดการเป็นเทรนขาลง จนกว่าจะกลับขึ้นมายืนเหนือ 1530 อีกครั้ง ซึ่งก็ต้องมานั่งลุ้นต่อไปถึงวันจันทร์
และก็ต้องใจตุ้มๆ ต่อมๆ เมื่อภาพของสหรัฐเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาไม่ได้โชว์เหนือซักเท่าไหร่ โดย ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ร่วงลง 105.90 จุด หรือ 0.70% ปิดที่ 15,070.18 จุด ดัชนี S&P 500 ปรับตัวลง 9.63 จุด หรือ 0.59% ปิดที่ 1,626.73 จุด และดัชนี Nasdaq ลดลง 21.81 จุด หรือ 0.63% ปิดที่ 3,423.56 จุด หลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อน ทั้งในเรื่อง ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐในเดือนพ.ค.ย่ำฐานทรงตัวอยู่ในระดับเดียวกับเดือนเม.ย. ขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิตขยับลงเล็กน้อยสู่ระดับ 77.6% จากระดับที่มีการทบทวนที่ 77.7% ในเดือนก่อนหน้านี้ ซึ่งถือเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าภาคโรงงานสหรัฐยังไม่ฟื้นตัวมากนัก
ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐช่วงต้นเดือนมิ.ย.ซึ่งจัดทำโดยรอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกน ร่วงลงแตะระดับ 82.7 จากระดับเดือนพ.ค.ที่ 84.5 และยอดขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของสหรัฐเพิ่มขึ้นแตะ 1.06 แสนล้านดอลลาร์ในไตรมาสที่ 1 ปี 2556 ซึ่งที่เพิ่มขึ้น 3.7% จากระดับไตรมาสที่ 4 ปีที่แล้ว ตลาดได้รับปัจจัยลบมากขึ้นเมื่อกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐปี 2557 ลงเหลือ 2.7% จากระดับคาดการณ์ในเดือนเม.ย.ที่ 3.0% ขณะเดียวกัน IMF ได้คงคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐปี 2556 ไว้ที่ 1.9% โดยระบุว่าการลดงบประมาณรายจ่ายจะส่งผลให้การขยายตัวของเศรษฐกิจลดลงราว 1.75%
เรียกได้ว่าเจอข่าวร้ายเข้ามา แต่นั้นก็ไม่เท่ากับการที่ต้องจับตา การประชุมของคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ ว่าจะเอาอย่างไรกับ QE หลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่ผันผวนออกมาแบบนี้!
ขณะที่ต่างชาติก็ยังกระหน่ำขายหุ้นไทยออกมา แม้จะมีเก็บบ้างบางส่วนใน SET ในปลายสัปดาห์ แต่ก็ไม่ได้มาก ขณะที่ตลาด SET FUTURES ก็ยังขายต่อ บล.เอเชียพลัส ก็มองว่ายังมีโอกาสที่ต่างชาติจะขายอีก จากสัปดาห์ที่ผ่านมา 10-13 มิ.ย. 2556 ต่างชาติเทขายสุทธิหุ้นไทย ราว 1.2หมื่นล้านบาท
โดยหากพิจารณารอบการซื้อของต่างชาติรอบล่าสุดตั้งแต่วันที่ 29 พ.ย. 2554 เป็นต้นมา ยอดซื้อสะสมสูงสุดที่ 1.06 แสนล้านบาท เมื่อวันที่ 4 ก.พ. 2556 หลังจากนั้น นักลงทุนกลุ่มนี้ได้เทขายออกมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 5 ก.พ. จนถึงวันที่ 12 มิ.ย. 2556 รวม 7.2 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็น 68% ของยอดซื้อสูงสุด
ซึ่งโดยปกติแล้ว ต่างชาติจะเทขายออกมาในแต่ละรอบราว 50-70% ของยอดซื้อสูงสุด จึงยังมีโอกาสที่ต่างชาติจะเทขายออกมาอีก เนื่องจากสัดส่วนการถือครองผ่าน NVDR ยังอยู่ในระดับที่สูง แต่น่าจะเป็นการขายสลับซื้อไม่เทขายอย่างหนักเหมือนรอบ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ดังนั้น คาดว่าแรงขายจากนี้น่าจะเริ่มเบาบาง อย่างไรก็ตามนักลงทุน
เห็นภาพแบบนี้ แมงเม้าท์ บอกได้คำเดียว ระยะสั้นหุ้นยังคงผันผวน และ จะยังไม่ดีหากไม่สามารถตีกลับขึ้นมาหายใจบน 1530 จุดได้ ฉะนั้น นั่งนิ่ง รอชัวร์ต่อไปก็ไม่เป็นไร หรือถ้าใจกล้าก็ต้องคัทลอสให้เป็นถ้ามันวกลงมา
บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย และบริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองแนวโน้มสัปดาห์นัเ ดัชนีน่าจะยังคงผันผวน โดยจับตามองรายงานตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ อาทิ ดัชนีราคาผู้บริโภค เครื่องชี้ที่อยู่อาศัย รวมทั้ง ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) ทั้งนี้ บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด คาดว่า ดัชนีจะมีแนวรับที่ 1,422 และ 1,337 ขณะที่แนวต้านคาดว่า จะอยู่ที่ 1,488 และ 1,494 ตามลำดับ
และก็ต้องใจตุ้มๆ ต่อมๆ เมื่อภาพของสหรัฐเมื่อวันศุกร์ที่ผ่านมาไม่ได้โชว์เหนือซักเท่าไหร่ โดย ดัชนีเฉลี่ยอุตสาหกรรมดาวโจนส์ร่วงลง 105.90 จุด หรือ 0.70% ปิดที่ 15,070.18 จุด ดัชนี S&P 500 ปรับตัวลง 9.63 จุด หรือ 0.59% ปิดที่ 1,626.73 จุด และดัชนี Nasdaq ลดลง 21.81 จุด หรือ 0.63% ปิดที่ 3,423.56 จุด หลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่อ่อน ทั้งในเรื่อง ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของสหรัฐในเดือนพ.ค.ย่ำฐานทรงตัวอยู่ในระดับเดียวกับเดือนเม.ย. ขณะที่อัตราการใช้กำลังการผลิตขยับลงเล็กน้อยสู่ระดับ 77.6% จากระดับที่มีการทบทวนที่ 77.7% ในเดือนก่อนหน้านี้ ซึ่งถือเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่าภาคโรงงานสหรัฐยังไม่ฟื้นตัวมากนัก
ส่วนดัชนีความเชื่อมั่นผู้บริโภคสหรัฐช่วงต้นเดือนมิ.ย.ซึ่งจัดทำโดยรอยเตอร์/มหาวิทยาลัยมิชิแกน ร่วงลงแตะระดับ 82.7 จากระดับเดือนพ.ค.ที่ 84.5 และยอดขาดดุลบัญชีเดินสะพัดของสหรัฐเพิ่มขึ้นแตะ 1.06 แสนล้านดอลลาร์ในไตรมาสที่ 1 ปี 2556 ซึ่งที่เพิ่มขึ้น 3.7% จากระดับไตรมาสที่ 4 ปีที่แล้ว ตลาดได้รับปัจจัยลบมากขึ้นเมื่อกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ได้ปรับลดคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐปี 2557 ลงเหลือ 2.7% จากระดับคาดการณ์ในเดือนเม.ย.ที่ 3.0% ขณะเดียวกัน IMF ได้คงคาดการณ์การขยายตัวของเศรษฐกิจสหรัฐปี 2556 ไว้ที่ 1.9% โดยระบุว่าการลดงบประมาณรายจ่ายจะส่งผลให้การขยายตัวของเศรษฐกิจลดลงราว 1.75%
เรียกได้ว่าเจอข่าวร้ายเข้ามา แต่นั้นก็ไม่เท่ากับการที่ต้องจับตา การประชุมของคณะกรรมการกำหนดนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐ ว่าจะเอาอย่างไรกับ QE หลังจากสหรัฐเปิดเผยข้อมูลเศรษฐกิจที่ผันผวนออกมาแบบนี้!
ขณะที่ต่างชาติก็ยังกระหน่ำขายหุ้นไทยออกมา แม้จะมีเก็บบ้างบางส่วนใน SET ในปลายสัปดาห์ แต่ก็ไม่ได้มาก ขณะที่ตลาด SET FUTURES ก็ยังขายต่อ บล.เอเชียพลัส ก็มองว่ายังมีโอกาสที่ต่างชาติจะขายอีก จากสัปดาห์ที่ผ่านมา 10-13 มิ.ย. 2556 ต่างชาติเทขายสุทธิหุ้นไทย ราว 1.2หมื่นล้านบาท
โดยหากพิจารณารอบการซื้อของต่างชาติรอบล่าสุดตั้งแต่วันที่ 29 พ.ย. 2554 เป็นต้นมา ยอดซื้อสะสมสูงสุดที่ 1.06 แสนล้านบาท เมื่อวันที่ 4 ก.พ. 2556 หลังจากนั้น นักลงทุนกลุ่มนี้ได้เทขายออกมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 5 ก.พ. จนถึงวันที่ 12 มิ.ย. 2556 รวม 7.2 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็น 68% ของยอดซื้อสูงสุด
ซึ่งโดยปกติแล้ว ต่างชาติจะเทขายออกมาในแต่ละรอบราว 50-70% ของยอดซื้อสูงสุด จึงยังมีโอกาสที่ต่างชาติจะเทขายออกมาอีก เนื่องจากสัดส่วนการถือครองผ่าน NVDR ยังอยู่ในระดับที่สูง แต่น่าจะเป็นการขายสลับซื้อไม่เทขายอย่างหนักเหมือนรอบ 2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ดังนั้น คาดว่าแรงขายจากนี้น่าจะเริ่มเบาบาง อย่างไรก็ตามนักลงทุน
เห็นภาพแบบนี้ แมงเม้าท์ บอกได้คำเดียว ระยะสั้นหุ้นยังคงผันผวน และ จะยังไม่ดีหากไม่สามารถตีกลับขึ้นมาหายใจบน 1530 จุดได้ ฉะนั้น นั่งนิ่ง รอชัวร์ต่อไปก็ไม่เป็นไร หรือถ้าใจกล้าก็ต้องคัทลอสให้เป็นถ้ามันวกลงมา
บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย และบริษัทศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองแนวโน้มสัปดาห์นัเ ดัชนีน่าจะยังคงผันผวน โดยจับตามองรายงานตัวเลขเศรษฐกิจสหรัฐฯ ที่สำคัญ อาทิ ดัชนีราคาผู้บริโภค เครื่องชี้ที่อยู่อาศัย รวมทั้ง ผลการประชุมคณะกรรมการนโยบายการเงินของธนาคารกลางสหรัฐฯ (FOMC) ทั้งนี้ บริษัทหลักทรัพย์กสิกรไทย จำกัด คาดว่า ดัชนีจะมีแนวรับที่ 1,422 และ 1,337 ขณะที่แนวต้านคาดว่า จะอยู่ที่ 1,488 และ 1,494 ตามลำดับ