สำนักงานพลังงานสากล (IEA) เปิดเผยว่า การผลิตน้ำมันจากหินดินดาน (shale oil) ที่เพิ่มขึ้นในสหรัฐจะช่วยตอบสนองความต้องการน้ำมันใหม่ส่วนใหญ่ของโลกในช่วง 5 ปีข้างหน้า แม้เศรษฐกิจโลกกระเตื้องขึ้น และ แทบไม่เหลือโอกาสสำหรับกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) ที่จะเพิ่มการผลิตน้ำมันโดยไม่เสี่ยงต่อการรปรับลดลงของราคาน้ำมัน
การคาดการณ์ของ IEA มีขึ้นในรายงานรอบครึ่งปีซึ่งวิเคราะห์แนวโน้ม อุปสงค์และอุปทานน้ำมันทั่วโลกใ
นระยะกลาง
"อเมริกาเหนือได้สร้างความประหลาดใจด้านอุปทานซึ่งกำลังส่งผลไปทั่วโลก" นางมาเรีย แวน เดอร์ โฮเวน ประธาน IEA กล่าว
"ข่าวดีก็คือเรื่องนี้กำลังช่วยคลายความตึงตัวของตลาดที่ดำเนินมาหลายปี" นางมาเรียกล่าว โดยราคาน้ำมันปรับตัวอยู่ใกล้ระดับ 103 ดอลลาร์/บาร์เรล เมื่อวานนี้ ซึ่งต่ำกว่ามากจากระดับสูงสุดของปี 2008 ที่ 147 ดอลลาร์
IEA คาดว่า อุปสงค์น้ำมันทั่วโลกจะเพิ่มขึ้น 8% ระหว่างปี 2012- 2018 สู่ระดับ 96.7 ล้านบาร์เรล/วันโดยอิงกับการคาดการณ์ในเชิงบวกของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ โลกที่ราว 3-4.5% ต่อปีในช่วงดังกล่าว
IEA ระบุว่า อุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นจะได้รับการตอบสนองจากการผลิตนอกกลุ่มโอเปกเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 10% ระหว่างปี 2012-2018 สู่ 59.31 ล้านบาร์เรล/วัน และปรับเพิ่มประมาณการผลผลิต นอกกลุ่มโอเปกในปี 2017 อีก 1 ล้านบาร์เรล/วัน เมื่อเทียบกับรายงานครั้งก่อนในเดือนต.ค. 2012
IEA ระบุว่า สหรัฐจะขึ้นมาแซงหน้ารัสเซียในการเป็นผู้ผลิตน้ำมันนอกกลุ่มโอเปกรายใหญ่ที่สุดของโลกอย่างเร็วที่สุดในปี 2015 ซึ่งอาจจะทำให้โอเปกมีปริมาณผลผลิตอยู่ที่ราวระดับปัจจุบันที่ 30 ล้านบาร์เรล/ วันในช่วง 5 ปีข้างหน้า
IEA ได้ปรับลดประมาณการณ์อุปสงค์สำหรับน้ำมันดิบของโอเปก ในปี 2017 ลงสู่ 29.99 ล้านบาร์เรล/วัน โดยลดลง 1.22 ล้านบาร์เรล/วัน จากรายงานครั้งก่อนเมื่อ 6 เดือนที่แล้ว
IEA ระบุว่า กำลังการผลิตส่วนเกินของโอเปกจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 25% สู่ 6.4 ล้านบาร์เรล/วันหรือ 6.6% ของอุปสงค์ทั่วโลก ซึ่งจะเป็นปริมาณน้ำมันสำรองเพิ่มเติมต่อแนวโน้มการตึงตัวของอุปทาน
การนำเทคโนโลยีในการผลิต shale oil ของสหรัฐมาใช้นั้นอาจช่วยให้รัสเซียและจีนสามารถเพิ่มการผลิตน้ำมันจากแหล่งสำรองพิเศษ แต่โครงการใหม่ๆอาจชะลอตัวในพื้นที่อื่นๆ
IEA ระบุว่า "สมาชิกหลายรายของโอเปกอาจจะเผชิญกับอุปสรรคใหม่ๆ โดยเฉพาะในแอฟริกาเหนือและใต้ทะเลทรายซาฮาร่า ขณะที่ผลกระทบจากอาหรับสปริง (Arab Spring) ซึ่งประชาชนลุกฮือขึ้นมาท้าทายอำนาจของผู้นำเผด็จการนั้น กำลังส่งผลกระทบต่อการลงทุนและการขยายกำลัง การผลิต"
"การปรับลดกำลังการผลิตของโอเปกนั้นบางส่วนได้ถูกชดเชยโดยการ ขยายตัวของกำลังการผลิตที่แข็งแกร่งเกินคาดของซาอุดิอาระเบียซึ่งสะท้อน ถึงโครงการพัฒนาใหม่ที่มีการประกาศออกมา" IEA ระบุ
IEA เปิดเผยว่า กำลังการผลิตน้ำมันดิบของอิหร่านมีแนวโน้มที่จะ ลดลงมากถึง 1 ล้านบาร์เรล/วัน สู่ 2.38 ล้านบาร์เรล/วันภายในปี 2018 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบหลายสิบปีอันเนื่องมาจากมาตรการคว่ำบาตรขอ
งชาติตะวันตก
IEA ระบุว่า ดุลการขยายตัวของอุปทานทั่วโลกซึ่งมีการแบ่งแยกระหว่างกลุ่มโอเปกและกลุ่มนอกโอเปกเมื่อไม่นานมานี้นั้น กำลังมีความโน้มเอียงไปที่กลุ่มนอกโอเปก
"อเมริกาเหนือมีส่วนแบ่งการขยายตัวของอุปทานเพิ่มขึ้นทั้งในกลุ่มนอกโอเปกและทั่วโลกมากขึ้น" IEA ระบุเสริม
ส่วนในด้านอื่นๆที่เกี่ยวกับห่วงโซ่อุปทานซึ่งได้แก่อุปสงค์, การกลั่นน้ำมัน, การค้าหรือการจัดเก็บและการขนส่งนั้น การขยายตัวอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจประเทศตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนานั้นกำลังส่งผล กระทบ โดยคาดว่าประเทศเหล่านี้จะแซงหน้าประเทศที่พัฒนาแล้วในด้านการใช้ผลิตภัณฑ์น้ำมันตั้งแต่ไตรมาส 2 ของปีนี้ ซึ่งจะทำให้อุปสงค์น้ำมันทั่วโลกเพิ่มขึ้นจาก 49% ในปี 2012 สู่ระดับมากกว่า 54% ภายในปี
2018
IEA ระบุว่า นอกเหนือจากการขยายตัวในประเทศบราซิล, จีน, รัสเซีย, อินเดีย, ซาอุดิอาระเบียและแอฟริกาใต้นั้น ประเทศจำนวนมากในแอฟริกาก็มีการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้นด้วย
IEA ยังคาดการณ์ถึงการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมการกลั่นน้ำมันทั่วโลก ขณะที่ประเทศต่างๆ อาทิ อินเดียและซาอุดิอาระเบียจะเพิ่มกำลังการกลั่นน้ำมันใหม่
การขยายกำลังการกลั่นน้ำมันทั่วโลกจะแซงหน้าการขยายตัวของอุปทานต้นนำ และการขยายตัวของอุปสงค์ ซึ่งจะทำให้มาร์จิ้นการกลั่นเผชิญแรง กดดัน โดยโรงกลั่นที่มีต้นทุนเพิ่มขึ้นจะเผชิญกับการแข่งขันที่ดุเดือดมากขึ้น
"โรงกลั่นน้ำมันในยุโรปมีความเสี่ยงสูงมากที่จะปิดกิจการในอนาคต" IEA ระบุ
IEA ระบุเสริมว่า การผลิตที่พุ่งขึ้นในสหรัฐส่งผลกระทบให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการกำหนดราคาก๊าซธรรมชาติ ซึ่งจะท้าทายต่อความเชื่อดั้งเดิมที่ว่า ผลผลิตจากน้ำมันจะยังคงครองตลาดเชื้อเพลิงสำหรับการขนส่ง
"ก๊าซธรรมชาติที่มีราคาถูกและมีปริมาณมากนั้นได้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจสหรัฐไปสู่การใช้เชื้อเพลิงดังกล่าวในวงกว้าง" IEA ระบุ โดยก๊าซธรรมชาติจะมีส่วนแบ่งในตลาดเชื้อเพลิงสำหรับการขนส่งทางบกเพิ่มขึ้นสู่ 2.5% ในปี 2018 จาก 1.4% ในปี 2010
(ข่าวจากสำนักข่าว รอยเตอร์)
T.Thammsak
การคาดการณ์ของ IEA มีขึ้นในรายงานรอบครึ่งปีซึ่งวิเคราะห์แนวโน้ม อุปสงค์และอุปทานน้ำมันทั่วโลกใ
นระยะกลาง
"อเมริกาเหนือได้สร้างความประหลาดใจด้านอุปทานซึ่งกำลังส่งผลไปทั่วโลก" นางมาเรีย แวน เดอร์ โฮเวน ประธาน IEA กล่าว
"ข่าวดีก็คือเรื่องนี้กำลังช่วยคลายความตึงตัวของตลาดที่ดำเนินมาหลายปี" นางมาเรียกล่าว โดยราคาน้ำมันปรับตัวอยู่ใกล้ระดับ 103 ดอลลาร์/บาร์เรล เมื่อวานนี้ ซึ่งต่ำกว่ามากจากระดับสูงสุดของปี 2008 ที่ 147 ดอลลาร์
IEA คาดว่า อุปสงค์น้ำมันทั่วโลกจะเพิ่มขึ้น 8% ระหว่างปี 2012- 2018 สู่ระดับ 96.7 ล้านบาร์เรล/วันโดยอิงกับการคาดการณ์ในเชิงบวกของกองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF) ต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจ โลกที่ราว 3-4.5% ต่อปีในช่วงดังกล่าว
IEA ระบุว่า อุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นจะได้รับการตอบสนองจากการผลิตนอกกลุ่มโอเปกเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 10% ระหว่างปี 2012-2018 สู่ 59.31 ล้านบาร์เรล/วัน และปรับเพิ่มประมาณการผลผลิต นอกกลุ่มโอเปกในปี 2017 อีก 1 ล้านบาร์เรล/วัน เมื่อเทียบกับรายงานครั้งก่อนในเดือนต.ค. 2012
IEA ระบุว่า สหรัฐจะขึ้นมาแซงหน้ารัสเซียในการเป็นผู้ผลิตน้ำมันนอกกลุ่มโอเปกรายใหญ่ที่สุดของโลกอย่างเร็วที่สุดในปี 2015 ซึ่งอาจจะทำให้โอเปกมีปริมาณผลผลิตอยู่ที่ราวระดับปัจจุบันที่ 30 ล้านบาร์เรล/ วันในช่วง 5 ปีข้างหน้า
IEA ได้ปรับลดประมาณการณ์อุปสงค์สำหรับน้ำมันดิบของโอเปก ในปี 2017 ลงสู่ 29.99 ล้านบาร์เรล/วัน โดยลดลง 1.22 ล้านบาร์เรล/วัน จากรายงานครั้งก่อนเมื่อ 6 เดือนที่แล้ว
IEA ระบุว่า กำลังการผลิตส่วนเกินของโอเปกจะเพิ่มขึ้นมากกว่า 25% สู่ 6.4 ล้านบาร์เรล/วันหรือ 6.6% ของอุปสงค์ทั่วโลก ซึ่งจะเป็นปริมาณน้ำมันสำรองเพิ่มเติมต่อแนวโน้มการตึงตัวของอุปทาน
การนำเทคโนโลยีในการผลิต shale oil ของสหรัฐมาใช้นั้นอาจช่วยให้รัสเซียและจีนสามารถเพิ่มการผลิตน้ำมันจากแหล่งสำรองพิเศษ แต่โครงการใหม่ๆอาจชะลอตัวในพื้นที่อื่นๆ
IEA ระบุว่า "สมาชิกหลายรายของโอเปกอาจจะเผชิญกับอุปสรรคใหม่ๆ โดยเฉพาะในแอฟริกาเหนือและใต้ทะเลทรายซาฮาร่า ขณะที่ผลกระทบจากอาหรับสปริง (Arab Spring) ซึ่งประชาชนลุกฮือขึ้นมาท้าทายอำนาจของผู้นำเผด็จการนั้น กำลังส่งผลกระทบต่อการลงทุนและการขยายกำลัง การผลิต"
"การปรับลดกำลังการผลิตของโอเปกนั้นบางส่วนได้ถูกชดเชยโดยการ ขยายตัวของกำลังการผลิตที่แข็งแกร่งเกินคาดของซาอุดิอาระเบียซึ่งสะท้อน ถึงโครงการพัฒนาใหม่ที่มีการประกาศออกมา" IEA ระบุ
IEA เปิดเผยว่า กำลังการผลิตน้ำมันดิบของอิหร่านมีแนวโน้มที่จะ ลดลงมากถึง 1 ล้านบาร์เรล/วัน สู่ 2.38 ล้านบาร์เรล/วันภายในปี 2018 ซึ่งเป็นระดับต่ำสุดในรอบหลายสิบปีอันเนื่องมาจากมาตรการคว่ำบาตรขอ
งชาติตะวันตก
IEA ระบุว่า ดุลการขยายตัวของอุปทานทั่วโลกซึ่งมีการแบ่งแยกระหว่างกลุ่มโอเปกและกลุ่มนอกโอเปกเมื่อไม่นานมานี้นั้น กำลังมีความโน้มเอียงไปที่กลุ่มนอกโอเปก
"อเมริกาเหนือมีส่วนแบ่งการขยายตัวของอุปทานเพิ่มขึ้นทั้งในกลุ่มนอกโอเปกและทั่วโลกมากขึ้น" IEA ระบุเสริม
ส่วนในด้านอื่นๆที่เกี่ยวกับห่วงโซ่อุปทานซึ่งได้แก่อุปสงค์, การกลั่นน้ำมัน, การค้าหรือการจัดเก็บและการขนส่งนั้น การขยายตัวอย่างรวดเร็วของเศรษฐกิจประเทศตลาดเกิดใหม่และประเทศกำลังพัฒนานั้นกำลังส่งผล กระทบ โดยคาดว่าประเทศเหล่านี้จะแซงหน้าประเทศที่พัฒนาแล้วในด้านการใช้ผลิตภัณฑ์น้ำมันตั้งแต่ไตรมาส 2 ของปีนี้ ซึ่งจะทำให้อุปสงค์น้ำมันทั่วโลกเพิ่มขึ้นจาก 49% ในปี 2012 สู่ระดับมากกว่า 54% ภายในปี
2018
IEA ระบุว่า นอกเหนือจากการขยายตัวในประเทศบราซิล, จีน, รัสเซีย, อินเดีย, ซาอุดิอาระเบียและแอฟริกาใต้นั้น ประเทศจำนวนมากในแอฟริกาก็มีการใช้น้ำมันเพิ่มขึ้นด้วย
IEA ยังคาดการณ์ถึงการเปลี่ยนแปลงในอุตสาหกรรมการกลั่นน้ำมันทั่วโลก ขณะที่ประเทศต่างๆ อาทิ อินเดียและซาอุดิอาระเบียจะเพิ่มกำลังการกลั่นน้ำมันใหม่
การขยายกำลังการกลั่นน้ำมันทั่วโลกจะแซงหน้าการขยายตัวของอุปทานต้นนำ และการขยายตัวของอุปสงค์ ซึ่งจะทำให้มาร์จิ้นการกลั่นเผชิญแรง กดดัน โดยโรงกลั่นที่มีต้นทุนเพิ่มขึ้นจะเผชิญกับการแข่งขันที่ดุเดือดมากขึ้น
"โรงกลั่นน้ำมันในยุโรปมีความเสี่ยงสูงมากที่จะปิดกิจการในอนาคต" IEA ระบุ
IEA ระบุเสริมว่า การผลิตที่พุ่งขึ้นในสหรัฐส่งผลกระทบให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการกำหนดราคาก๊าซธรรมชาติ ซึ่งจะท้าทายต่อความเชื่อดั้งเดิมที่ว่า ผลผลิตจากน้ำมันจะยังคงครองตลาดเชื้อเพลิงสำหรับการขนส่ง
"ก๊าซธรรมชาติที่มีราคาถูกและมีปริมาณมากนั้นได้ส่งผลให้เกิดการเปลี่ยนแปลงของเศรษฐกิจสหรัฐไปสู่การใช้เชื้อเพลิงดังกล่าวในวงกว้าง" IEA ระบุ โดยก๊าซธรรมชาติจะมีส่วนแบ่งในตลาดเชื้อเพลิงสำหรับการขนส่งทางบกเพิ่มขึ้นสู่ 2.5% ในปี 2018 จาก 1.4% ในปี 2010
(ข่าวจากสำนักข่าว รอยเตอร์)
T.Thammsak