ธนาคารกลางจีน (PBOC) ส่งสัญญาณว่า ทางธนาคารกลางเตรียมที่จะปรับเปลี่ยนแผนยุทธศาสตร์ทางการเงิน เพื่อสกัดกั้นกระแสเงินเก็งกำไรที่ไหลเข้าประเทศ ในขณะที่รัฐบาลจีนประสบความยากลำบาก ในการควบคุมกระแสเงินทุนที่หลั่งไหลเข้ามาจากตลาดต่างประเทศ
ธนาคารกลางจีนออกมาเคลื่อนไหวเมื่อวานนี้ ในขณะที่มีรายงานว่ายอดส่งออกของจีนพุ่งขึ้นสูงเกินคาด โดยการดีดตัวขึ้นของการส่งออกอาจจะบ่งชี้ว่า ทั้งเศรษฐกิจจีนและอุปสงค์ในตลาดโลกต่างก็ฟื้นตัวขึ้น อย่างไรก็ดี นักเศรษฐศาสตร์ตั้งข้อสงสัยว่า ยอดส่งออกของจีนอาจจะอยู่ในระดับที่สูงเกินจริง เพราะนักลงทุนบางรายอาจปิดบังการเก็งกำไรในสกุลเงินหยวนในรูปของการชำระเงินทางการค้า
การไหลเข้าของกระแสเงินดังกล่าวอาจส่งผลให้หยวนแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วมาก จนถึงขั้นที่เป็นการทำลายเสถียรภาพของการส่งออกและเศรษฐกิจจีนในวงกว้าง และด้วยเหตุนี้ธนาคารกลางจีนจึงเริ่มต้น เข้าแทรกแซงตลาดสกุลเงินในประเทศอย่างหนักในปีนี้ โดยได้เข้าซื้อดอลลาร์และเทขายหยวนออกมา
การแทรกแซงดังกล่าวก่อให้เกิดคำถามตามมาว่า ธนาคารกลางจีนควรทำเช่นใดในการสกัดกั้นเงินหยวนที่ธนาคารกลางขายออกมา ไม่ให้ส่งผลกระทบต่อตลาดภายในประเทศจนทำให้ตลาดบิดเบือนไป
ในช่วงเช้าวานนี้จีนได้สอบถามบริษัทดีลเลอร์ชั้นนำในตลาดอินเตอร์แบงก์เกี่ยวกับอุปสงค์ในตั๋วเงินคลังประเภทอายุ 3 เดือน และในอีกไม่กี่ชั่วโมงต่อมา ธนาคารกลางจีนก็ได้ประกาศเมื่อวานนี้หลังจากตลาดการเงิน ปิดทำการว่า ทางธนาคารกลางจะเปิดประมูลตั๋วเงินคลังประเภท 3 เดือน ในวงเงิน 1 หมื่นล้านหยวน (1.6 พันล้านดอลลาร์) ในวันนี้ โดยตั๋วเงินคลังเป็นสิ่งที่ใช้ในการดูดซับสภาพคล่องออกจากตลาด และมีอายุราว 3 เดือนจนถึง 3 ปี ขณะที่ธนาคารกลางจีนไม่ได้ออกตั๋วเงินคลังใหม่เลยนับตั้งแต่ปี 2011 เป็นต้นมา
ในช่วงที่ผ่านมา ธนาคารกลางจีนได้หันไปพึ่งพาการทำข้อตกลงซื้อคืนพันธบัตรระยะสั้นเป็นหลัก โดยใช้วิธีการดังกล่าวในการดูดซับเม็ดเงินออกจากตลาดหรืออัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ตลาดอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นวิธีการที่ธนาคารกลางในประเทศพัฒนาแล้วนิยมใช้กัน
การที่ธนาคารกลางจีนหันมาออกตั๋วเงินคลังอีกครั้งบ่งชี้ว่า ธนาคารกลางจีนเตรียมที่จะดูดซับเม็ดเงินระยะยาวออกจากตลาดอย่างเป็นระบบเพื่อสกัดผลกระทบจากกระแสเงินร้อนที่หลั่งไหลเข้าประเทศ ซึ่งการทำเช่นนี้อาจจะส่งผลกระทบต่ออัตราดอกเบี้ย, ความเชื่อมั่นในตลาด และการเติบโตของเศรษฐกิจจีน
ในช่วงไม่กี่วันก่อนหน้านี้ สำนักงานควบคุมกฎระเบียบตลาดปริวรรตเงินตราของจีน เพิ่งออกกฎใหม่เพื่อใช้ในการปราบปรามการปิดบังกระแสเงินร้อนที่ไหลเข้าจีนในรูปของการชำระเงินทางการค้า
ครั้งสุดท้ายที่รัฐบาลจีนปรับเปลี่ยนวิธีการในการจัดการกับกระแสเงินเกิดขึ้นในเดือนก.พ. แต่ในครั้งนั้นตลาดหุ้นจีนดิ่งลงอย่างรุนแรง เนื่องจากนักลงทุนกังวลว่า การปรับเปลี่ยนวิธีการดังกล่าวอาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า จีนกำลังจะคุมเข้มนโยบายการเงินในวงกว้าง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ
ธนาคารกลางจีนจำเป็นต้องรักษาสมดุลระหว่างความเสี่ยงที่การปรับเปลี่ยนดังกล่าวจะส่งผลกระทบในทางลบต่อตลาด และผลกระทบในทางลบที่เศรษฐกิจในวงกว้างจะได้รับจากกระแสเงินที่ไหลเข้าประเทศ โดยกระแส เงินไหลเข้านี้จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อภาคการส่งออก และมีสัญญาณบ่งชี้ว่า เงินดังกล่าวได้ไหลเข้าสู่ช่องทางการเก็งกำไร เช่น ตลาดอสังหาริมทรัพย์ แทนที่จะไหลเข้าสู่ภาคเศรษฐกิจที่แท้จริงด้วย
รอยเตอร์ประเมินว่า เงินเก็งกำไรที่ไหลเข้าสู่จีนตามตัวเลขอย่างเป็นทางการมีปริมาณราว 1.81 แสนล้านดอลลาร์ในไตรมาสแรก โดยได้รับแรงหนุนบางส่วนจากการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายในสหรัฐ
และยุโรป
อย่างไรก็ดี ตัวเลขประเมินนี้อยู่ต่ำกว่าตัวเลขที่แท้จริง เพราะไม่ได้ครอบคลุมเม็ดเงินเก็งกำไรที่ถูกซุกซ่อนไว้ในรูปของการชำระเงินทางการค้า
เงินไหลเข้านี้มีส่วนช่วยหนุนหยวนให้ขึ้นไปทำสถิติสูงสุดใหม่เมื่อเทียบกับดอลลาร์หลายครั้งในปีนี้ และสิ่งนี้เป็นปัจจัยที่ดึงดูดให้มีการเก็งกำไรมากยิ่งขึ้นไปอีก โดยหยวนปิดตลาดวานนี้ที่ 6.1410 หยวน/ ดอลลาร์ และแข็งค่าขึ้น 1.5 % จากช่วงต้นปีนี้ หลังจากที่หยวนดีดตัวขึ้นในระดับสูงกว่า 1 % เล็กน้อยในปี 2012
ถึงแม้จีนควบคุมบัญชีทุนอย่างเข้มงวด แต่ก็ไม่ได้ปิดกั้นบัญชีทุนทั้งหมด และเงินเก็งกำไรที่ไหลเข้าประเทศบางส่วนก็เข้ามาทางช่องทางที่ถูกกฎหมาย
อย่างไรก็ดี จีนกังวลกับสองประเด็นหลักด้วยกัน โดยประเด็นแรกก็คือ บริษัทการค้าภายในประเทศได้ลงทุนมากเกินไปตามการคาดการณ์ที่ว่า หยวนจะแข็งค่าขึ้น โดยบริษัทกลุ่มนี้ได้กู้ยืมเงินดอลลาร์ที่จำเป็น ต้องใช้ในการทำการค้ากับบริษัทต่างชาติ โดยมีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มสกุลเงินหยวนในคลังของตน และนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ก็มองว่า การทำเช่นนี้เป็นสิ่งที่ไม่สามารถดำเนินต่อไปได้นาน
ประเด็นที่สองก็คือ บริษัทหลายแห่งปลอมแปลงการทำธุรกรรมทางการค้า เพื่อที่ตนเองจะได้ครอบครองสกุลเงินหยวนมากยิ่งขึ้น และการทำเช่นนี้ก็ส่งผลให้ตัวเลขเศรษฐกิจมหภาคบิดเบือนไปจากความเป็นจริง และสร้างความอับอายให้แก่ผู้ควบคุมกฎระเบียบ
ทางการจีนระบุว่า ยอดส่งออกพุ่งขึ้น 14.7 % ต่อปีในเดือนเม.ย. ซึ่งสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ 10.3 % อย่างไรก็ดี ตัวเลขนี้ทำให้นักเศรษฐศาสตร์ตั้งข้อสงสัยว่า กิจกรรมทางการเงินของผู้ส่งออกและเงินเก็งกำไรที่ไหล เข้าประเทศอาจจะส่งผลให้ยอดส่งออกอยู่สูงเกินความเป็นจริง ในขณะที่อุปสงค์ที่แท้จริงอยู่ในภาวะอ่อนแอ
นักเศรษฐศาสตร์ระบุว่า สิ่งที่น่าสงสัยมากเป็นพิเศษก็คือ การที่ยอดส่งออกจากจีนไปยังฮ่องกงและเขตการค้าพิเศษพุ่งขึ้นสูงมากในเดือนมี.ค.และเม.ย. ซึ่งแตกต่างเป็นอย่างมากจากยอดส่งออกไปยังตลาดปลายทางขั้นสุดท้ายในสหรัฐและยุโรป นอกจากนี้ ยอดส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียก็อยู่ในภาวะซบเซา
นายหลุยส์ คุยจ์ และนางทิฟฟานี ฉิว ซึ่งเป็นนักเศรษฐศาสตร์ของธนาคาร RBS ประเมินว่า ยอดส่งออกที่แท้จริงของจีนเติบโตขึ้นเพียง 5.7 % ในเดือนเม.ย. ส่วนอัตราการเติบโตอีก 9 % ที่เหลือเกิดจากการปลอมแปลงใบกำกับการขาย เพื่อที่บริษัทการค้าจะได้ถือครองสกุลเงินหยวนมากยิ่งขึ้น
ดีลเลอร์ระหว่างธนาคารกล่าวว่า การที่จีนกลับมาออกตั๋วเงินคลังในครั้งนี้จะไม่สร้างความตื่นตระหนกในตลาด เพราะนักลงทุนรู้ดีว่า จีนกำลังประสบปัญหา เรื่องกระแสเงินร้อน หลังจากที่จีนเคยออกประกาศเตือนหลายครั้งในเรื่องนี้
ตลาดหุ้นและตลาดเงินจีนปรับตัวในทางบวกเมื่อวานนี้ โดยอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินจีนร่วงลง โดยได้รับแรงกดดันจากการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางจีนจะปล่อยให้มีเม็ดเงินหลั่งไหลเข้าสู่ตลาดเงินมากยิ่งขึ้น โดยผ่านทางปฏิบัติการซื้อขายพันธบัตรในตลาดในวันนี้
นายหลิว จุนหยู นักวิเคราะห์ของธนาคารไชน่า เมอร์แชนท์ กล่าวว่า ตลาดไม่ได้มองว่า ความเคลื่อนไหวของธนาคารกลางจีนในครั้งนี้เป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า จีนกำลงจะคุมเข้มนโยบายการเงินโดยใช้วิธีปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หรือปรับเพิ่มสัดส่วนการกันสำรองของธนาคารพาณิชย์ (RRR) โดยวิธีการทั้งสองวิธีนี้จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงและยั่งยืนต่อปริมาณฐานเงินของจีน และอาจส่งผลลบต่อเศรษฐกิจ
นายหลิวกล่าวว่า "เมื่อพิจารณาจากตัวเลขเศรษฐกิจที่อ่อนแอมากและจากตัวเลขการค้าที่น่าสงสัยในระยะนี้ ธนาคารกลางจีนก็มีแนวโน้มที่จะตรึงนโยบายการเงินไว้ตามเดิม และทำให้นโยบายอยู่ในภาวะเป็นกลาง"
(ข่าวจาก สำนักข่าว รอยเตอร์)
T.Thammasak
ธนาคารกลางจีนออกมาเคลื่อนไหวเมื่อวานนี้ ในขณะที่มีรายงานว่ายอดส่งออกของจีนพุ่งขึ้นสูงเกินคาด โดยการดีดตัวขึ้นของการส่งออกอาจจะบ่งชี้ว่า ทั้งเศรษฐกิจจีนและอุปสงค์ในตลาดโลกต่างก็ฟื้นตัวขึ้น อย่างไรก็ดี นักเศรษฐศาสตร์ตั้งข้อสงสัยว่า ยอดส่งออกของจีนอาจจะอยู่ในระดับที่สูงเกินจริง เพราะนักลงทุนบางรายอาจปิดบังการเก็งกำไรในสกุลเงินหยวนในรูปของการชำระเงินทางการค้า
การไหลเข้าของกระแสเงินดังกล่าวอาจส่งผลให้หยวนแข็งค่าขึ้นอย่างรวดเร็วมาก จนถึงขั้นที่เป็นการทำลายเสถียรภาพของการส่งออกและเศรษฐกิจจีนในวงกว้าง และด้วยเหตุนี้ธนาคารกลางจีนจึงเริ่มต้น เข้าแทรกแซงตลาดสกุลเงินในประเทศอย่างหนักในปีนี้ โดยได้เข้าซื้อดอลลาร์และเทขายหยวนออกมา
การแทรกแซงดังกล่าวก่อให้เกิดคำถามตามมาว่า ธนาคารกลางจีนควรทำเช่นใดในการสกัดกั้นเงินหยวนที่ธนาคารกลางขายออกมา ไม่ให้ส่งผลกระทบต่อตลาดภายในประเทศจนทำให้ตลาดบิดเบือนไป
ในช่วงเช้าวานนี้จีนได้สอบถามบริษัทดีลเลอร์ชั้นนำในตลาดอินเตอร์แบงก์เกี่ยวกับอุปสงค์ในตั๋วเงินคลังประเภทอายุ 3 เดือน และในอีกไม่กี่ชั่วโมงต่อมา ธนาคารกลางจีนก็ได้ประกาศเมื่อวานนี้หลังจากตลาดการเงิน ปิดทำการว่า ทางธนาคารกลางจะเปิดประมูลตั๋วเงินคลังประเภท 3 เดือน ในวงเงิน 1 หมื่นล้านหยวน (1.6 พันล้านดอลลาร์) ในวันนี้ โดยตั๋วเงินคลังเป็นสิ่งที่ใช้ในการดูดซับสภาพคล่องออกจากตลาด และมีอายุราว 3 เดือนจนถึง 3 ปี ขณะที่ธนาคารกลางจีนไม่ได้ออกตั๋วเงินคลังใหม่เลยนับตั้งแต่ปี 2011 เป็นต้นมา
ในช่วงที่ผ่านมา ธนาคารกลางจีนได้หันไปพึ่งพาการทำข้อตกลงซื้อคืนพันธบัตรระยะสั้นเป็นหลัก โดยใช้วิธีการดังกล่าวในการดูดซับเม็ดเงินออกจากตลาดหรืออัดฉีดเม็ดเงินเข้าสู่ตลาดอย่างรวดเร็ว ซึ่งเป็นวิธีการที่ธนาคารกลางในประเทศพัฒนาแล้วนิยมใช้กัน
การที่ธนาคารกลางจีนหันมาออกตั๋วเงินคลังอีกครั้งบ่งชี้ว่า ธนาคารกลางจีนเตรียมที่จะดูดซับเม็ดเงินระยะยาวออกจากตลาดอย่างเป็นระบบเพื่อสกัดผลกระทบจากกระแสเงินร้อนที่หลั่งไหลเข้าประเทศ ซึ่งการทำเช่นนี้อาจจะส่งผลกระทบต่ออัตราดอกเบี้ย, ความเชื่อมั่นในตลาด และการเติบโตของเศรษฐกิจจีน
ในช่วงไม่กี่วันก่อนหน้านี้ สำนักงานควบคุมกฎระเบียบตลาดปริวรรตเงินตราของจีน เพิ่งออกกฎใหม่เพื่อใช้ในการปราบปรามการปิดบังกระแสเงินร้อนที่ไหลเข้าจีนในรูปของการชำระเงินทางการค้า
ครั้งสุดท้ายที่รัฐบาลจีนปรับเปลี่ยนวิธีการในการจัดการกับกระแสเงินเกิดขึ้นในเดือนก.พ. แต่ในครั้งนั้นตลาดหุ้นจีนดิ่งลงอย่างรุนแรง เนื่องจากนักลงทุนกังวลว่า การปรับเปลี่ยนวิธีการดังกล่าวอาจเป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า จีนกำลังจะคุมเข้มนโยบายการเงินในวงกว้าง ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อเศรษฐกิจ
ธนาคารกลางจีนจำเป็นต้องรักษาสมดุลระหว่างความเสี่ยงที่การปรับเปลี่ยนดังกล่าวจะส่งผลกระทบในทางลบต่อตลาด และผลกระทบในทางลบที่เศรษฐกิจในวงกว้างจะได้รับจากกระแสเงินที่ไหลเข้าประเทศ โดยกระแส เงินไหลเข้านี้จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงต่อภาคการส่งออก และมีสัญญาณบ่งชี้ว่า เงินดังกล่าวได้ไหลเข้าสู่ช่องทางการเก็งกำไร เช่น ตลาดอสังหาริมทรัพย์ แทนที่จะไหลเข้าสู่ภาคเศรษฐกิจที่แท้จริงด้วย
รอยเตอร์ประเมินว่า เงินเก็งกำไรที่ไหลเข้าสู่จีนตามตัวเลขอย่างเป็นทางการมีปริมาณราว 1.81 แสนล้านดอลลาร์ในไตรมาสแรก โดยได้รับแรงหนุนบางส่วนจากการดำเนินนโยบายการเงินแบบผ่อนคลายในสหรัฐ
และยุโรป
อย่างไรก็ดี ตัวเลขประเมินนี้อยู่ต่ำกว่าตัวเลขที่แท้จริง เพราะไม่ได้ครอบคลุมเม็ดเงินเก็งกำไรที่ถูกซุกซ่อนไว้ในรูปของการชำระเงินทางการค้า
เงินไหลเข้านี้มีส่วนช่วยหนุนหยวนให้ขึ้นไปทำสถิติสูงสุดใหม่เมื่อเทียบกับดอลลาร์หลายครั้งในปีนี้ และสิ่งนี้เป็นปัจจัยที่ดึงดูดให้มีการเก็งกำไรมากยิ่งขึ้นไปอีก โดยหยวนปิดตลาดวานนี้ที่ 6.1410 หยวน/ ดอลลาร์ และแข็งค่าขึ้น 1.5 % จากช่วงต้นปีนี้ หลังจากที่หยวนดีดตัวขึ้นในระดับสูงกว่า 1 % เล็กน้อยในปี 2012
ถึงแม้จีนควบคุมบัญชีทุนอย่างเข้มงวด แต่ก็ไม่ได้ปิดกั้นบัญชีทุนทั้งหมด และเงินเก็งกำไรที่ไหลเข้าประเทศบางส่วนก็เข้ามาทางช่องทางที่ถูกกฎหมาย
อย่างไรก็ดี จีนกังวลกับสองประเด็นหลักด้วยกัน โดยประเด็นแรกก็คือ บริษัทการค้าภายในประเทศได้ลงทุนมากเกินไปตามการคาดการณ์ที่ว่า หยวนจะแข็งค่าขึ้น โดยบริษัทกลุ่มนี้ได้กู้ยืมเงินดอลลาร์ที่จำเป็น ต้องใช้ในการทำการค้ากับบริษัทต่างชาติ โดยมีจุดประสงค์เพื่อเพิ่มสกุลเงินหยวนในคลังของตน และนักเศรษฐศาสตร์ส่วนใหญ่ก็มองว่า การทำเช่นนี้เป็นสิ่งที่ไม่สามารถดำเนินต่อไปได้นาน
ประเด็นที่สองก็คือ บริษัทหลายแห่งปลอมแปลงการทำธุรกรรมทางการค้า เพื่อที่ตนเองจะได้ครอบครองสกุลเงินหยวนมากยิ่งขึ้น และการทำเช่นนี้ก็ส่งผลให้ตัวเลขเศรษฐกิจมหภาคบิดเบือนไปจากความเป็นจริง และสร้างความอับอายให้แก่ผู้ควบคุมกฎระเบียบ
ทางการจีนระบุว่า ยอดส่งออกพุ่งขึ้น 14.7 % ต่อปีในเดือนเม.ย. ซึ่งสูงกว่าตัวเลขคาดการณ์ที่ 10.3 % อย่างไรก็ดี ตัวเลขนี้ทำให้นักเศรษฐศาสตร์ตั้งข้อสงสัยว่า กิจกรรมทางการเงินของผู้ส่งออกและเงินเก็งกำไรที่ไหล เข้าประเทศอาจจะส่งผลให้ยอดส่งออกอยู่สูงเกินความเป็นจริง ในขณะที่อุปสงค์ที่แท้จริงอยู่ในภาวะอ่อนแอ
นักเศรษฐศาสตร์ระบุว่า สิ่งที่น่าสงสัยมากเป็นพิเศษก็คือ การที่ยอดส่งออกจากจีนไปยังฮ่องกงและเขตการค้าพิเศษพุ่งขึ้นสูงมากในเดือนมี.ค.และเม.ย. ซึ่งแตกต่างเป็นอย่างมากจากยอดส่งออกไปยังตลาดปลายทางขั้นสุดท้ายในสหรัฐและยุโรป นอกจากนี้ ยอดส่งออกไปยังประเทศเพื่อนบ้านในเอเชียก็อยู่ในภาวะซบเซา
นายหลุยส์ คุยจ์ และนางทิฟฟานี ฉิว ซึ่งเป็นนักเศรษฐศาสตร์ของธนาคาร RBS ประเมินว่า ยอดส่งออกที่แท้จริงของจีนเติบโตขึ้นเพียง 5.7 % ในเดือนเม.ย. ส่วนอัตราการเติบโตอีก 9 % ที่เหลือเกิดจากการปลอมแปลงใบกำกับการขาย เพื่อที่บริษัทการค้าจะได้ถือครองสกุลเงินหยวนมากยิ่งขึ้น
ดีลเลอร์ระหว่างธนาคารกล่าวว่า การที่จีนกลับมาออกตั๋วเงินคลังในครั้งนี้จะไม่สร้างความตื่นตระหนกในตลาด เพราะนักลงทุนรู้ดีว่า จีนกำลังประสบปัญหา เรื่องกระแสเงินร้อน หลังจากที่จีนเคยออกประกาศเตือนหลายครั้งในเรื่องนี้
ตลาดหุ้นและตลาดเงินจีนปรับตัวในทางบวกเมื่อวานนี้ โดยอัตราดอกเบี้ยในตลาดเงินจีนร่วงลง โดยได้รับแรงกดดันจากการคาดการณ์ที่ว่า ธนาคารกลางจีนจะปล่อยให้มีเม็ดเงินหลั่งไหลเข้าสู่ตลาดเงินมากยิ่งขึ้น โดยผ่านทางปฏิบัติการซื้อขายพันธบัตรในตลาดในวันนี้
นายหลิว จุนหยู นักวิเคราะห์ของธนาคารไชน่า เมอร์แชนท์ กล่าวว่า ตลาดไม่ได้มองว่า ความเคลื่อนไหวของธนาคารกลางจีนในครั้งนี้เป็นสัญญาณบ่งชี้ว่า จีนกำลงจะคุมเข้มนโยบายการเงินโดยใช้วิธีปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ย หรือปรับเพิ่มสัดส่วนการกันสำรองของธนาคารพาณิชย์ (RRR) โดยวิธีการทั้งสองวิธีนี้จะส่งผลกระทบอย่างรุนแรงและยั่งยืนต่อปริมาณฐานเงินของจีน และอาจส่งผลลบต่อเศรษฐกิจ
นายหลิวกล่าวว่า "เมื่อพิจารณาจากตัวเลขเศรษฐกิจที่อ่อนแอมากและจากตัวเลขการค้าที่น่าสงสัยในระยะนี้ ธนาคารกลางจีนก็มีแนวโน้มที่จะตรึงนโยบายการเงินไว้ตามเดิม และทำให้นโยบายอยู่ในภาวะเป็นกลาง"
(ข่าวจาก สำนักข่าว รอยเตอร์)
T.Thammasak