ราคาน้ำมันดิบเบรนท์ทรงตัวเหนือระดับ 104 ดอลลาร์/บาร์เรล ในวันนี้ โดยฟื้นตัวขึ้นจากการร่วงลงในช่วงแรก หลังจากข้อมูลระบุว่า การนำเข้าน้ำมันดิบของจีนเพิ่มขึ้นในเดือนเม.ย. แต่ความวิตกเกี่ยวกับอุปสงค์โลกที่ชะลอตัวลง ได้สกัดช่วงบวกในตลาด
ราคาน้ำมันดิบส่งมอบเดือนมิ.ย.ที่ตลาดนิวยอร์คบวก 0.19 ดอลลาร์ 95.81 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากปิดวานนี้ลดลง 0.54 ดอลลาร์ อยู่ที่ 95.62 ดอลลาร์/บาร์เรล
จีนเปิดเผยว่า การนำเข้าน้ำมันดิบรายวันของจีนพุ่งขึ้น 3.7% ในเดือน เม.ย.จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว และเพิ่มขึ้น 3.5% จากเดือนมี.ค. ขณะที่โรงกลั่นได้ฉวยโอกาสจากราคาที่ร่วงลงเพื่อเพิ่มสต็อก
แต่ความวิตกเกี่ยวกับการบริโภค หลังจากสำนักงานพลังงานสารสนเทศด้านการพลังงาน (EIA) ของสหรัฐได้ปรับลดคาดการณ์อุปสงค์น้ำมันโลก ในปีนี้นั้น เป็นปัจจัยกระทบความเชื่อมั่นของนักลงทุน
จีนนำเข้าน้ำมันดิบ 23.08 ล้านตัน หรือ 5.62 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือนที่แล้ว ซึ่งเพิ่มขึ้นจากระดับ 5.42 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว และ 5.43 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือนมี.ค.
แต่ในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ การนำเข้าน้ำมันดิบลดลง 0.9% ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากฐานเปรียบเทียบที่ระดับสูงของการนำเข้าในไตรมาสแรกปีที่แล้ว แต่ก็สะท้อนถึงอุปสงค์ที่ชะลอตัวลง ท่ามกลางความวิตกเกี่ยวกับภาวะการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของจีนด้วย
ราคาน้ำมันอาจจะเผชิญกับแรงกดดัน เมื่อพิจารณาจากการคาดการณ์ตลาดที่มีอุปทานจำนวนมาก และอุปสงค์โลกที่ชะลอตัว
EIA ปรับลดคาดการณ์อุปสงค์น้ำมันในปีนี้ลงสู่ระดับ 890,000 บาร์เรลต่อวัน ซึ่งลดลง 70,000 บาร์เรลต่อวันจากการคาดการณ์ในเดือน ที่แล้ว และได้ปรับลดคาดการณ์ในปี 2014 ลง 120,000 บาร์เรลต่อวัน
สู่ระดับ 1.21 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยอุปสงค์เพิ่มขึ้นมากกว่า 2.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพียงเล็กน้อยภายในเวลา 2 ปี
ขณะเดียวกัน EIA คาดว่าอุปทานน้ำมันจากประเทศนอกกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) จะเพิ่มขึ้น 1.11 ล้านบาร์เรลต่อวันในปีนี้ และจะเพิ่มขึ้นอีก 1.77 ล้านบาร์เรลต่อวันในปีหน้า ซึ่งเท่ากับเพิ่มขึ้นเกือบ 2.9 ล้านบาร์เรลต่อวันในช่วงเวลาเดียวกัน
การปิโตรเลียมสหรัฐ (API) ซึ่งเป็นหน่วยงานของเอกชนได้เปิดเผยตัวเลขสต็อกน้ำมันประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 3 พ.ค. โดยระบุว่า สต็อกน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น 680,000 บาร์เรล, สต็อกน้ำมันกลั่นเพิ่มขึ้น 1.1 ล้านบาร์เรล และสต็อกน้ำมันเบนซินลดลง 186,000 บาร์เรล
EIA จะเปิดเผยตัวเลขสต็อกน้ำมันประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 3 พ.ค. ในวันพุธ โดยโพลล์รอยเตอร์คาดว่า สต็อกน้ำมันดิบอาจเพิ่มขึ้น 1.9 ล้านบาร์เรล, สต็อกน้ำมันกลั่นอาจเพิ่มขึ้น 500,000 บาร์เรล, สต็อกน้ำมัน เบนซินอาจลดลง 400,000 บาร์เรล และอัตราการใช้กำลังการกลั่นน้ำมันอาจเพิ่มขึ้น 0.5%
นายหวัง เถา นักวิเคราะห์ทางเทคนิคของรอยเตอร์กล่าวว่า คาดว่าราคาน้ำมันดิบเบรนท์จะทดสอบแนวรับที่ระดับ 103.77 ดอลลาร์ โดยมีโอกาสสูงที่ราคาจะร่วงลงอีกสู่ระดับ 102.43 ดอลลาร์ ส่วนราคาน้ำมันดิบ นิวยอร์คจะร่วงทะลุแนวรับที่ระดับ 94.65 ดอลลาร์ และจะร่วงใกล้ระดับ 93.58 ดอลลาร์
(ข่าวจากสำนักข่าว รอยเตอร์)
T.Thammasak
ราคาน้ำมันดิบส่งมอบเดือนมิ.ย.ที่ตลาดนิวยอร์คบวก 0.19 ดอลลาร์ 95.81 ดอลลาร์/บาร์เรล หลังจากปิดวานนี้ลดลง 0.54 ดอลลาร์ อยู่ที่ 95.62 ดอลลาร์/บาร์เรล
จีนเปิดเผยว่า การนำเข้าน้ำมันดิบรายวันของจีนพุ่งขึ้น 3.7% ในเดือน เม.ย.จากช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว และเพิ่มขึ้น 3.5% จากเดือนมี.ค. ขณะที่โรงกลั่นได้ฉวยโอกาสจากราคาที่ร่วงลงเพื่อเพิ่มสต็อก
แต่ความวิตกเกี่ยวกับการบริโภค หลังจากสำนักงานพลังงานสารสนเทศด้านการพลังงาน (EIA) ของสหรัฐได้ปรับลดคาดการณ์อุปสงค์น้ำมันโลก ในปีนี้นั้น เป็นปัจจัยกระทบความเชื่อมั่นของนักลงทุน
จีนนำเข้าน้ำมันดิบ 23.08 ล้านตัน หรือ 5.62 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือนที่แล้ว ซึ่งเพิ่มขึ้นจากระดับ 5.42 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือนเดียวกันของปีที่แล้ว และ 5.43 ล้านบาร์เรลต่อวันในเดือนมี.ค.
แต่ในช่วง 4 เดือนแรกของปีนี้ การนำเข้าน้ำมันดิบลดลง 0.9% ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากฐานเปรียบเทียบที่ระดับสูงของการนำเข้าในไตรมาสแรกปีที่แล้ว แต่ก็สะท้อนถึงอุปสงค์ที่ชะลอตัวลง ท่ามกลางความวิตกเกี่ยวกับภาวะการฟื้นตัวทางเศรษฐกิจของจีนด้วย
ราคาน้ำมันอาจจะเผชิญกับแรงกดดัน เมื่อพิจารณาจากการคาดการณ์ตลาดที่มีอุปทานจำนวนมาก และอุปสงค์โลกที่ชะลอตัว
EIA ปรับลดคาดการณ์อุปสงค์น้ำมันในปีนี้ลงสู่ระดับ 890,000 บาร์เรลต่อวัน ซึ่งลดลง 70,000 บาร์เรลต่อวันจากการคาดการณ์ในเดือน ที่แล้ว และได้ปรับลดคาดการณ์ในปี 2014 ลง 120,000 บาร์เรลต่อวัน
สู่ระดับ 1.21 ล้านบาร์เรลต่อวัน โดยอุปสงค์เพิ่มขึ้นมากกว่า 2.1 ล้านบาร์เรลต่อวัน เพียงเล็กน้อยภายในเวลา 2 ปี
ขณะเดียวกัน EIA คาดว่าอุปทานน้ำมันจากประเทศนอกกลุ่มประเทศผู้ส่งออกน้ำมัน (โอเปก) จะเพิ่มขึ้น 1.11 ล้านบาร์เรลต่อวันในปีนี้ และจะเพิ่มขึ้นอีก 1.77 ล้านบาร์เรลต่อวันในปีหน้า ซึ่งเท่ากับเพิ่มขึ้นเกือบ 2.9 ล้านบาร์เรลต่อวันในช่วงเวลาเดียวกัน
การปิโตรเลียมสหรัฐ (API) ซึ่งเป็นหน่วยงานของเอกชนได้เปิดเผยตัวเลขสต็อกน้ำมันประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 3 พ.ค. โดยระบุว่า สต็อกน้ำมันดิบเพิ่มขึ้น 680,000 บาร์เรล, สต็อกน้ำมันกลั่นเพิ่มขึ้น 1.1 ล้านบาร์เรล และสต็อกน้ำมันเบนซินลดลง 186,000 บาร์เรล
EIA จะเปิดเผยตัวเลขสต็อกน้ำมันประจำสัปดาห์สิ้นสุดวันที่ 3 พ.ค. ในวันพุธ โดยโพลล์รอยเตอร์คาดว่า สต็อกน้ำมันดิบอาจเพิ่มขึ้น 1.9 ล้านบาร์เรล, สต็อกน้ำมันกลั่นอาจเพิ่มขึ้น 500,000 บาร์เรล, สต็อกน้ำมัน เบนซินอาจลดลง 400,000 บาร์เรล และอัตราการใช้กำลังการกลั่นน้ำมันอาจเพิ่มขึ้น 0.5%
นายหวัง เถา นักวิเคราะห์ทางเทคนิคของรอยเตอร์กล่าวว่า คาดว่าราคาน้ำมันดิบเบรนท์จะทดสอบแนวรับที่ระดับ 103.77 ดอลลาร์ โดยมีโอกาสสูงที่ราคาจะร่วงลงอีกสู่ระดับ 102.43 ดอลลาร์ ส่วนราคาน้ำมันดิบ นิวยอร์คจะร่วงทะลุแนวรับที่ระดับ 94.65 ดอลลาร์ และจะร่วงใกล้ระดับ 93.58 ดอลลาร์
(ข่าวจากสำนักข่าว รอยเตอร์)
T.Thammasak