- ยอดสั่งซื้อภาคโรงงานของเยอรมนีในเดือนมี.ค. พุ่งขึ้นสวนทางคาดการณ์ โดยยอดสั่งซื้อเพิ่มขึ้น2.2%จากเดือน ก.พ. บ่งชี้ถึงการกลับมาขยายตัวของเศรษฐกิจเยอรมนีอีกครั้งโดยยอดสั่งซื้อเพื่อการส่งออกเพิ่มขึ้น 2.7%ส่วนยอดขายภายในประเทศเพิ่มขึ้น 1.8% แต่ยอดสั่งซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคร่วงลง0.7%
- ก.การจ้างงานและสวัสดิการสังคมของสเปนรายงานว่าจำนวนผู้ว่างงานในสเปนลดลง 46,050คนมาอยู่ที่ 4,989,193 คนในเดือน เม.ย. ลดลง 2เดือนติดต่อกัน โดยลดลงในภาคก่อสร้าง 2.46% ในขณะที่ภาคเกษตรกรรมและภาคอุตสาหกรรมลดลง3.74% และ 0.85% ตามลำดับ ทั้งนี้ ส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการเริ่มต้นช่วงเทศกาลวันหยุดในหลายพื้นที่ของประเทศทำให้นายจ้างทำสัญญาจ้างพนักงานเพิ่มขึ้นในหลายภาคธุรกิจ
- ก.คลังอิตาลีรายงานว่ารายได้จากการจัดเก็บภาษีในไตรมาสแรกลดลง 0.3% ไปอยู่ที่ 8.78 หมื่นล้านยูโรซึ่งลดลง 223 ล้านยูโรจากไตรมาส 1 ปีก่อน โดยรายได้จากการจัดเก็บภาษีทางอ้อมลดลง 7.4% และรายได้จากภาษีมูลค่าเพิ่มลดลง 8.6% แต่ตัวเลขที่อ่อนแรงลงนั้นส่วนหนึ่งได้รับการชดเชยจากรายได้จากการจัดเก็บภาษีทางตรงที่เพิ่มขึ้น5.9%
- สมาคมผู้สร้างบ้านแห่งชาติของสหรัฐ รายงานว่า จำนวนตลาดที่อยู่อาศัยในประเทศที่เคยปรับตัวดีขึ้นทั่วสหรัฐกลับลดลงเป็นเดือนที่2 ติดต่อกันในเดือน พ.ค. โดยจำนวนตลาดที่ปรับตัวดีขึ้นในเดือน พ.ค. ลดลงเหลือ258 แห่งจาก 273แห่งในเดือน เม.ย. บ่งชี้ว่าการฟื้นตัวของตลาดที่อยู่อาศัยอาจจะชะลอความแรงลง
- IMFเปิดเผยว่าการขยายตัวของเศรษฐกิจในแถบละตินอเมริกาและแคริบเบียนจะดีดตัวขึ้น 3.5% ในปีนี้หลังจากขยายตัว 3% ในปีก่อน โดยได้รับการกระตุ้นจากอุปสงค์ภายนอกที่แข็งแกร่งกว่า จากสภาพทางการเงินที่ดีกว่า และจากนโยบายทางเศรษฐกิจที่ยืดหยุ่นกว่าในบางประเทศ
- ส.สถิติแห่งชาติออสเตรเลียรายงานว่าราคาบ้านในเขตเมืองหลวงของออสเตรเลียเพิ่มขึ้น 0.1% ในไตรมาสแรก หลังจากพุ่งขึ้น 2.0% ในไตรมาส 4ปีก่อน โดยดัชนีราคาบ้าน (ค่าเฉลี่ยแบบถ่วงน้ำหนักของเมืองหลวงทั้ง8 แห่งของออสเตรเลีย) สูงขึ้น 2.6%ในไตรมาสแรกเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีที่แล้ว
- เคร็กอีเมอร์สัน รมต.การค้าของออสเตรเลีย กล่าวว่า ออสเตรเลียเกินดุลการค้า 307 ล้านดอลลาร์ออสเตรเลียในเดือนมี.ค.เนื่องจากอุปสงค์ที่แข็งแกร่งจากเอเชียช่วยให้กลับมาเกินดุลครั้งแรกนับตั้งแต่เดือนธ.ค.2554 โดยยอดส่งออกไปจีนเพิ่มขึ้น16.5% ยอดส่งออกไปญี่ปุ่นเพิ่มขึ้นมากกว่า13% และยอดส่งออกไปยังสมาชิก 10 ประเทศของกลุ่มอาเซียนดีดตัวขึ้น9%
- สหพันธ์พลาธิการและการจัดซื้อของจีนรายงานว่าดัชนีการปรับตัวด้านโลจิสติกส์เดือน เม.ย.เป็น 54.8 ซึ่งลดลง 1.1จุด จาก 55.9 ในเดือน มี.ค. เนื่องจากคำสั่งซื้อล็อตใหม่และระดับสินค้าคงคลังเฉลี่ยลดลงแสดงว่าภาคอุตสาหกรรมโลจิสติกส์ยังเติบโตสม่ำเสมอแต่การลดลงของคำสั่งซื้อใหม่และปริมาณสต็อกสินค้าคงคลังบ่งชี้ถึงการขาดปัจจัยพื้นฐานที่แข็งแกร่งมาหนุนให้ขยายตัวต่อ
- ฮอนด้ามอเตอร์ ระบุว่ายอดขายรถยนต์ใหม่ของบริษัทในเดือน เม.ย.ในจีนลดลงจากปีก่อน 2.4% ไปอยู่ที่ 60,596คัน แต่สัดส่วนการลดลงของยอดขายในเดือนที่แล้วได้ชะลอลงจากที่เคยร่วงลงแรงถึง6.6% ในเดือน มี.ค. ซึ่งเป็นสัญญาณที่ดีขึ้นสำหรับยอดขายของฮอนด้าในตลาดรถยนต์ที่ใหญ่ที่สุดของโลกทั้งนี้ ตลาดจีนเคยมียอดขายตกต่ำลงเพราะความขัดแย้งด้านความสัมพันธ์ทวิภาคีในเรื่องหมู่เกาะเซนกากุในทะเลจีนตะวันออก
- ธ.กลางเกาหลีใต้รายงานว่าทุนสำรองเงินตราต่างประเทศเดือน เม.ย. พุ่งขึ้น 1.39 พันล้านดอลลาร์สู่ 3.288 แสนล้านดอลลาร์ ซึ่งใกล้ระดับสูงสุดเป็นประวัติการณ์ที่3.2891 แสนล้านดอลลาร์แล้ว เนื่องจากมูลค่าสินทรัพย์เช่นสกุลเงินยูโรปรับตัวเพิ่มขึ้นโดยในเดือนเม.ย.ยูโรแข็งค่าขึ้น 2.2% ขณะที่ปอนด์แข็งค่าขึ้น1.9% เมื่อเทียบกับดอลลาร์สหรัฐ
- ส.สถิติแห่งชาติฟิลิปปินส์ เปิดเผยว่าอัตราเงินเฟ้อชะลอตัวลง 2.6%ในเดือน เม.ย. เนื่องจากค่าใช้จ่ายด้านอาหารและค่าขนส่งลดลง โดยอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานลดลงถึง3.1% เมื่อเทียบเป็นรายปีอัตราเงินเฟ้อที่เกิดจากราคาอาหารเพียงอย่างเดียวลดลงเหลือ 2.1% ในเดือน เม.ย. ขณะที่ดัชนีการขนส่งปรับตัวลดลง 0.7% ต่อปี(หากไม่รวมพลังงานและอาหารบางประเภท) นอกจากนี้กลุ่มสินค้าโภคภัณฑ์ส่วนใหญ่ก็อยู่ในช่วงชะลอตัวลงเมื่อเทียบเป็นรายปีด้วย
- มาตรการที่ธปท.จะเตรียมไว้ใช้ในการดูแลค่าเงินบาท ประกอบด้วย
- มาตรการที่1 ห้ามต่างชาติซื้อพันธบัตรธปท.หรืออาจกำหนดระยะเวลาการถือครอง
- มาตรการที่2 ห้ามต่างชาติซื้อพันธบัตรระยะสั้นของรัฐบาลหรือรัฐวิสาหกิจที่มีอายุ3-6 เดือน
- มาตรการที่3 จัดเก็บภาษีและค่าธรรมเนียมเมื่อต่างชาติลงทุนในตราสารหนี้และได้ผลกำไร
- มาตรการที่4 บังคับให้ต่างชาติป้องกันความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนสำหรับเงินลงทุนในตลาดตราสารหนี้
- บุญทรงเตริยาภิรมย์ รมต.พาณิชย์รายงานที่ประชุม ครม.ว่า การที่เงินบาทผันผวนแข็งค่าไปถึง 28-29 บาทต่อดอลลาร์สหรัฐทำให้ผู้ส่งออกได้รับผลกระทบมากและขณะนี้ยังได้รับผลกระทบอย่างต่อเนื่องซึ่งอาจทำให้การขยายตัวของการส่งออกอาจไม่ถึงครึ่งและอาจไม่ขยายตัวตามที่รัฐบาลตั้งเป้าว่าจะขยายตัวร้อยละ 8-9
- SETIndex ปิดที่ 1,601.15 จุด เพิ่มขึ้น 22.20 จุด หรือ 1.41% ด้วยมูลค่าซื้อขาย 48,238.87 ล้านบาท โดยดัชนีลดลงไปทำระดับต่ำสุดของวันที่1572.74 จุด เนื่องจากขาดปัจจัยบวกใหม่มาหนุนการลงทุน อย่างไรก็ตาม ดัชนีได้ไต่ระดับจนทะลุ 1,600 จุด ไปปิดใกล้ระดับสูงสุดของวัน โดยได้แรงสนับสนุนจากหุ้นหลักกลุ่มพลังงานอย่างPTTGC (+3.9%) จากแรงเก็งกำไรผลประกอบการ กับ JAS (+5.1%)หลังรายงานกำไรสุทธิ 1Q56 ว่าอยู่ที่ 776ล้านบาท หรือเติบโต 33% QoQ และ 82% YoY ซึ่งดีกว่าที่ตลาดคาดว่าจะต่ำกว่า 700 ลบ.
- NIKKEI ปิดที่14,180.24 จุด เพิ่มขึ้น 3.6% โดยปิดบวกเหนือ 14,000เป็นครั้งแรกนับตั้งแต่เดือน มิ.ย. 2551 เนื่องจากตัวเลขจ้างงานเดือนเม.ย.ของสหรัฐออกมาดีกว่าคาด และเงินเยนเทียบดอลลาร์สหรัฐอ่อนค่าลงส่งผลให้หุ้นส่งออกปรับตัวขึ้น (Taiyo Yuden+9.2%, Sony Corp. +6.4%, Komatsu Ltd. +4.2%)
- ธ.กลางออสเตรเลียลดอัตราดอกเบี้ยลง 0.25% สู่ระดับต่ำสุดเป็นประวัติการณ์ที่2.75% ซึ่งเป็นการลดดอกเบี้ยครั้งแรกนับตั้งแต่ปลายปีที่แล้วเนื่องจากเศรษฐกิจได้รับผลกระทบจากการแข็งค่าของดอลลาร์ออสเตรเลียและแนวโน้มที่มีความผันผวนมากขึ้นของเศรษฐกิจโลก
- อัตราผลตอบแทนของพันธบัตรรัฐบาลปรับลดลง -0.04% ถึง-0.00%
- ราคาน้ำมัน WTIเพิ่มขึ้นตลอดกว่าสัปดาห์จากความตึงเครียดระหว่างอิสราเอลและซีเรียแต่การที่ซีเรียผลิตน้ำมันเพียงวันละประมาณ 400,000 bpdไม่น่าจะส่งผลต่อปัจจัยพื้นฐานน้ำมันมากนัก ส่วนปริมาณ Stockน้ำมันในสหรัฐยังเพิ่มขึ้นมากกว่าคาดในช่วงสองสัปดาห์ก่อนอีกทั้งตัวเลขเศรษฐกิจของทั้งสหรัฐ ยุโรป และจีน ที่ประกาศออกมาก็แย่กว่าคาด แสดงว่าจริงๆแล้ว ปัจจัยพื้นฐานน้ำมันไม่ได้แข็งแกร่งมาก ราคาที่ขึ้นจึงน่าจะเป็นผลจากSentimentของเหตุการณ์มากกว่า