- แบงค์ออฟไซปรัสธนาคารใหญ่ที่สุดในไซปรัส ยึดเงินผู้ฝากที่เกินบัญชีละ 1 แสนยูโรแล้วแปลงเงินฝากให้เป็นหุ้น ClassA เสร็จสิ้นไปแล้ว 1 ใน 3 ของเงินฝากเกินบัญชีละ 1แสนยูโรที่ไม่ได้รับการประกันอีกต่อไป เพื่อแลกกับเงินช่วยเหลือ 1หมื่นล้านยูโรจาก ECBทั้งนี้ มาตรการของ ECB ที่มีต่อไซปรัสได้รับเสียงวิจารณ์ในเชิงลบอย่างมากและอาจผลักดันให้ผู้ฝากเงินจากประเทศในยูโรโซนต้องหาทางนำเงินไปลงทุนในประเทศอื่นhเพื่อปกป้องความมั่งคั่งของตนไว้
- มูดีส์ลดอันดับความน่าเชื่อถือของสโลเวเนียลง2 ขั้น สู่ Ba1 หรือระดับขยะพร้อมให้แนวโน้มความน่าเชื่อถือของประเทศเป็นลบ เนื่องจากคุณภาพสินทรัพย์ถดถอยลงและหนี้สินของรัฐบาลสูงขึ้น
- ธนาคารกลางเยอรมนีคัดค้านมาตรการของ FED เรื่องให้ธนาคารต่างชาติขนาดใหญ่เพิ่มทุนให้กับธนาคารสาขาในสหรัฐเนื่องจากจะก่อให้เกิดความผันผวนต่อระบบสถาบันการเงินโลกมากกว่าจะเกิดเสถียรภาพ
- ความเชื่อมั่นผู้บริโภคของอังกฤษเดือน เม.ย.ลดลงสู่ -27 จากเดิม -26 ในเดือนมี.ค. เนื่องจากหนี้สินภาคครัวเรือนเพิ่มขึ้นในขณะที่การเพิ่มขึ้นของค่าจ้างอยู่ในระดับต่ำ ส่งผลต่อความสามารถในการจับจ่ายใช้สอย
- อัตราเงินเฟ้อยูโรโซนเดือน เม.ย.อยู่ที่ 1.2% จาก 1.7% ในเดือนก่อนหน้าซึ่งต่ำกว่ากรอบเป้าหมาย 2% ที่ ECB กำหนดไว้ทำให้นักวิเคราะห์ส่วนใหญ่คาดว่า ECB จะลดอัตราดอกเบี้ยนโยบายลง0.25% เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในภูมิภาค
- อัตราการว่างงานของอิตาลีเดือน มี.ค. อยู่ที่ 11.5% สูงสุดในรอบ20 เดือน สะท้อนว่าเศรษฐกิจยังคงทรงตัวหลังจากถดถอยมานานกว่า 2 ทศวรรษ
- อัตราว่างงานของเยอรมนีเดือน เม.ย. เพิ่มขึ้น 4,000 คนสู่ 2.94 ล้านคน เนื่องจากการฟื้นตัวของเศรษฐกิจยังไม่มากพอที่จะก่อให้เกิดการจ้างงาน ทั้งนี้ IMF ไอเอ็มเอฟคาดการณ์ว่าGDP เยอรมนีในปีนี้จะขยายตัว 0.6%
- ความเชื่อมั่นผู้บริโภคของสหรัฐเดือน เม.ย. เพิ่มขึ้นสูงสุดในรอบ 5 เดือนสู่68.1 จาก 61.9 ในเดือนก่อนสะท้อนความเชื่อมั่นของชาวอเมริกันที่มีต่อเศรษฐกิจและรายได้ส่วนบุคคลที่ปรับตัวดีขึ้น
- ดัชนีราคาบ้านใน 20 เมืองของสหรัฐเดือน มี.ค.เพิ่มขึ้น 9.3% เมื่อเทียบเป็นรายปีโดยได้รับปัจจัยบวกจากอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่อยู่ในระดับต่ำ การลดลงของจำนวนบ้านที่เสนอขายในตลาดและการฟื้นตัวของตลาดที่อยู่อาศัย
- ดัชนีผู้จัดการฝ่ายจัดซื้อ (PMI) ภาคบริการของจีนเดือนเม.ย. ลดลงสู่ 50.6 จากเดิม 50.9 ในเดือนก่อนสะท้อนว่าการฟื้นตัวของเศรษฐกิจจีนยังไม่แข็งแกร่งพอเมื่อพิจารณาจากปัจจัยพื้นฐาน
- ผลผลิตภาคอุตสาหกรรมของเกาหลีใต้เดือน มี.ค.ลดลง 2.6% เมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าหลังจากค่าเงินเยนอ่อนค่าลง ซึ่งเป็นผลดีต่อภาคการส่งออกของญี่ปุ่นแต่ส่งผลกระทบรุนแรงต่อเศรษฐกิจเกาหลีใต้ โดยในรอบ 6เดือนที่ผ่านมา เงินเยนอ่อนค่าลงไปแล้วประมาณ 19% เมื่อเทียบกับดอลล่าร์สหรัฐ ขณะที่เงินวอนอ่อนค่าลง 1%
- GDP ไต้หวันในไตรมาสแรกปีนี้ขยายตัวเพิ่มขึ้น 1.54%จากเดิม 3.72% ในไตรมาสก่อนหน้าซึ่งต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ เนื่องจากความต้องการสินค้านำเข้าของสหรัฐและจีนชะลอตัวลงส่งผลให้เศรษฐกิจขยายตัวในระดับต่ำ
- ธปท. เปิดเผยว่า เศรษฐกิจไทยเดือน มี.ค.ส่งสัญญาณชะลอตัว หลังจากที่การบริโภคและการลงทุนภาคเอกชนติดลบเมื่อเทียบกับเดือนก่อนหน้าเนื่องจากการนำเข้าสินค้าทุนลดลง อย่างไรก็ตาม ความเชื่อมั่นในภาวะเศรษฐกิจยังดีอยู่สะท้อนจากดัชนีความเชื่อมั่นทางธุรกิจเดือน มี.ค.ที่เพิ่มขึ้นจากเดือนก่อนหน้าสู่ระดับ54.4 ส่วนอัตราเงินเฟ้อทั่วไปเดือน มี.ค.อยู่ที่ 2.69% จากระดับ3.23% เนื่องมาจากการชะลอตัวลงของราคาพลังงานและอาหารสำเร็จรูป
- อัตราเงินเฟ้อทั่วไปของไทยในเดือนเมย. ลดลงเกินคาดมาอยู่ที่ 2.4%อันเป็นระดับต่ำสุดในช่วงที่เคยเกิดวิกฤติ โดยนักวิเคราะห์คาดไว้ที่ 2.7% ทั้งนี้หมวดพลังงานลดลง 1.81% ลดลงมากที่สุดจากเดือนก่อน หรือเพิ่มขึ้นเพียง 3.1%นับจากต้นปีถึงเดือน เม.ย. ในขณะที่เพิ่มขึ้น 6.2% หากนับจากต้นปีถึงเดือน มี.ค. ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อพื้นฐาน(ไม่รวมราคาสินค้าในหมวดอาหารสดและพลังงาน)ก็ลดลงเกินคาดมาอยู่ที่1.18% (เดือนก่อนเป็น 1.23%) โดยนักวิเคราะห์คาดไว้ที่1.30% ทำให้อัตราเงินเฟ้อทั่วไปและอัตราเงินเฟ้อพื้นฐานตั้งแต่ต้นปีถึงปัจจุบันอยู่ที่2.92% และ 1.39%
- ยังไม่มีการออกมาตรการดูแลค่าเงินบาทหลังผลการประชุม กนง.นัดพิเศวานนี้ แต่กนง.กำลังติดตามเรื่องค่าเงินบาทอย่างใกล้ชิดและได้มีการประเมินผลบวกลบอย่างต่อเนื่อง ซึ่งพบว่าการแข็งค่าของเงินบาทในช่วงที่ผ่านมาเกิดจากปัจจัยพื้นฐานของเศรษฐกิจไทยทำให้นักลงทุนต่างชาติเกิดความเชื่อมั่นและเข้ามาลงทุนมากขึ้น
- SET Index ปิดที่ 1,597.86 จุด เพิ่มขึ้น 12.93จุด หรือ +0.82% ด้วยมูลค่าซื้อขาย 51,696.62 ล้านบาท โดยดัชนีเคลื่อนไหวในแดนบวกตลอดทั้งวัน ซึ่งเป็นไปในทิศทางเดียวกับตลาดหุ้นเพื่อนบ้านจากปัจจัยเสริมภายในประเทศที่บริษัทต่างๆมีการประกาศงบการเงินและตัวเลขทางเศรษฐกิจของสหรัฐที่ออกมาดี
- พันธบัตรรัฐบาลไทยให้ผลตอบแทนลดลงทุกช่วงอายุ ระหว่าง -0.01% ถึง -0.03% สำหรับวันนี้มีการประมูลพันธบัตร ธปท. 14วัน วงเงิน 30,000 ล้านบาท