“อสมท” เดินหน้ารุกทีวีดิจิตอลตามแผนแม่บทต่อเนื่อง 5 ปี ภายใต้งบลงทุน 6,000 ล้านบาท ผนึกหน่วยงานเอกชน-รัฐ 10 แห่งลุยเต็มพิกัด ดึง 3 ฟรีทีวีให้บริการสถานีส่งสัญญาณเน็ตเวิร์กเดียว จับมือ 5 หน่วยงานรัฐชิงประมูลไลเซนส์ทีวีดิจิตอลสาธารณะ กอดคอ “สามารถ-ล็อกซ์เล่ย์” ทดลองอุปกรณ์
นายเอนก เพิ่มวงศ์เสนีย์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้ตั้งงบประมาณการลงทุนไว้รวม 6,000 ล้านบาทภายในช่วงแผนการดำเนินงาน 5 ปี (ปี 2556-2560) เพื่อการก้าวเข้าสู่ยุคทีวีดิจิตอลสมบูรณ์แบบตามแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ 1 ระหว่างปี 2555-2559 ภายใต้โรดแมป “โกดิจิทัล” ของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.)
โดยเฉพาะเป้าหมายของ อสมท ที่ต้องการขอใบอนุญาตดำเนินการทีวีดิจิตอลครบทั้ง 4 ประเภท ประกอบด้วย 1. สิ่งอำนวยความสะดวก (เสา-สถานีส่งสัญญาณ) 2. โครงข่ายส่งสัญญาณ (Multiplexer : MUX) 3. ช่องรายการ รวม 3 ช่อง คือ เอชดี, ช่องเด็ก SD และช่องวาไรตี SD และ 4. บริการประยุกต์ (โมบายล์และอินเตอร์แอ็กทีฟทีวี)
ทั้งนี้ ภายในเฟสแรก ทาง อสมท ได้ร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อทดลองออกอากาศทีวีดิจิตอล และการให้บริการด้านต่างๆ ในการส่งสัญญาณทีวีดิจิตอล ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนรวม 10 หน่วยงาน
โดยภาคเอกชนมี 2 ราย คือ บริษัท สามารถ คอร์ปอเรชั่น จำกัด กับบริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) เพื่อร่วมกันทดลองอุปกรณ์ส่งสัญญาณโทรทัศน์ระบบดิจิตอล DVB-T2
นายเอนกกล่าวว่า การเซ็นเอ็มโอยูกับหน่วยงานภาครัฐที่จะขอใบอนุญาตช่องทีวีดิจิตอล สาธารณะจะให้บริการด้านการเช่าใช้ “โครงข่าย” (MUX) รวมทั้งความร่วมมือในการใช้ทรัพยากรด้านอุปกรณ์ สตูดิโอผลิตรายการ และบุคลากร
ในส่วนภาครัฐนั้นได้ร่วมมือกับผู้ประกอบการสถานีฟรีทีวี กลุ่มหน่วยงานภาครัฐ 3 ราย คือ ไทยพีบีเอส, กองทัพบกช่อง 5 และช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ เพื่อให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวก หรือเสาและสถานีส่งสัญญาณทีวีดิจิตอลทั่วประเทศภายใต้ “เน็ตเวิร์ก” เดียว เพื่อลดต้นทุนการลงทุนในสถานีส่งสัญญาณ และเสาส่งสัญญาณโครงข่ายเสริม
การร่วมมือดังกล่าวนี้จะรวมถึง อสมท ด้วย ที่จะทำการเลือกสถานีส่งสัญญาณที่ดีที่สุดในแต่ละพื้นที่ของแต่ละหน่วยงานเพื่อให้เป็นสถานีส่งสัญญาณในระบบทีวีดิจิตอลต่อไป นอกจากนั้นจะร่วมมือกับผู้ให้บริการสถานีส่งสัญญาณโทรคมนาคมที่มีความเหมาะสมเพื่อใช้เป็นสถานีเสริมด้วย
นายเอนกกล่าวต่อว่า ส่วนอีก 5 หน่วยงานที่ อสมท ได้ร่วมมือกันลงนามบันทึกข้อตกลงเบื้องต้นหรือเอ็มโอยูครั้งนี้เป็นภาครัฐ ประกอบด้วย กระทรวงสาธารณสุข, กระทรวงศึกษาธิการ, กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และรัฐสภา ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นหน่วยงานรัฐที่มีแผนงานที่จะยื่นขอใบอนุญาตประกอบกิจการ “ทีวีดิจิตอล สาธารณะ” จาก กสทช.ด้วย
ขณะเดียวกัน อสมท ยังเตรียมเซ็นเอ็มโอยูเพิ่มเติมกับอีก 3 กระทรวงเพื่อขอใบอนุญาตทีวีดิจิตอลสาธารณะด้วยเช่นกัน ประกอบด้วย กระทรวงกลาโหม, กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกระทรวงแรงงานที่จะร่วมมือกับสำนักงานประกันสังคม
นายธีระพงษ์ โสดาศรี อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ กล่าวว่า ทางกรมฯ ได้เตรียมงบประมาณไว้ 3,000 ล้านบาทตามแผนงานทีวีดิจิตอลเพื่อลงทุนอุปกรณ์ส่งสัญญาณระบบดิจิตอลในสถานีส่งสัญญาณเพื่อให้บริการด้านสิ่งอำนวยความสะดวก, บริการโครงข่าย (MUX) 1 โครงข่าย และช่องรายการทีวีดิจิตอลสาธารณะ 1 ช่อง
นายเอนก เพิ่มวงศ์เสนีย์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท อสมท จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้ตั้งงบประมาณการลงทุนไว้รวม 6,000 ล้านบาทภายในช่วงแผนการดำเนินงาน 5 ปี (ปี 2556-2560) เพื่อการก้าวเข้าสู่ยุคทีวีดิจิตอลสมบูรณ์แบบตามแผนแม่บทกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ ฉบับที่ 1 ระหว่างปี 2555-2559 ภายใต้โรดแมป “โกดิจิทัล” ของคณะกรรมการกิจการกระจายเสียง กิจการโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.)
โดยเฉพาะเป้าหมายของ อสมท ที่ต้องการขอใบอนุญาตดำเนินการทีวีดิจิตอลครบทั้ง 4 ประเภท ประกอบด้วย 1. สิ่งอำนวยความสะดวก (เสา-สถานีส่งสัญญาณ) 2. โครงข่ายส่งสัญญาณ (Multiplexer : MUX) 3. ช่องรายการ รวม 3 ช่อง คือ เอชดี, ช่องเด็ก SD และช่องวาไรตี SD และ 4. บริการประยุกต์ (โมบายล์และอินเตอร์แอ็กทีฟทีวี)
ทั้งนี้ ภายในเฟสแรก ทาง อสมท ได้ร่วมมือกับหน่วยงานต่างๆ เพื่อทดลองออกอากาศทีวีดิจิตอล และการให้บริการด้านต่างๆ ในการส่งสัญญาณทีวีดิจิตอล ทั้งภาครัฐ และภาคเอกชนรวม 10 หน่วยงาน
โดยภาคเอกชนมี 2 ราย คือ บริษัท สามารถ คอร์ปอเรชั่น จำกัด กับบริษัท ล็อกซเล่ย์ จำกัด (มหาชน) เพื่อร่วมกันทดลองอุปกรณ์ส่งสัญญาณโทรทัศน์ระบบดิจิตอล DVB-T2
นายเอนกกล่าวว่า การเซ็นเอ็มโอยูกับหน่วยงานภาครัฐที่จะขอใบอนุญาตช่องทีวีดิจิตอล สาธารณะจะให้บริการด้านการเช่าใช้ “โครงข่าย” (MUX) รวมทั้งความร่วมมือในการใช้ทรัพยากรด้านอุปกรณ์ สตูดิโอผลิตรายการ และบุคลากร
ในส่วนภาครัฐนั้นได้ร่วมมือกับผู้ประกอบการสถานีฟรีทีวี กลุ่มหน่วยงานภาครัฐ 3 ราย คือ ไทยพีบีเอส, กองทัพบกช่อง 5 และช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ เพื่อให้บริการสิ่งอำนวยความสะดวก หรือเสาและสถานีส่งสัญญาณทีวีดิจิตอลทั่วประเทศภายใต้ “เน็ตเวิร์ก” เดียว เพื่อลดต้นทุนการลงทุนในสถานีส่งสัญญาณ และเสาส่งสัญญาณโครงข่ายเสริม
การร่วมมือดังกล่าวนี้จะรวมถึง อสมท ด้วย ที่จะทำการเลือกสถานีส่งสัญญาณที่ดีที่สุดในแต่ละพื้นที่ของแต่ละหน่วยงานเพื่อให้เป็นสถานีส่งสัญญาณในระบบทีวีดิจิตอลต่อไป นอกจากนั้นจะร่วมมือกับผู้ให้บริการสถานีส่งสัญญาณโทรคมนาคมที่มีความเหมาะสมเพื่อใช้เป็นสถานีเสริมด้วย
นายเอนกกล่าวต่อว่า ส่วนอีก 5 หน่วยงานที่ อสมท ได้ร่วมมือกันลงนามบันทึกข้อตกลงเบื้องต้นหรือเอ็มโอยูครั้งนี้เป็นภาครัฐ ประกอบด้วย กระทรวงสาธารณสุข, กระทรวงศึกษาธิการ, กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, สำนักงานตำรวจแห่งชาติ และรัฐสภา ซึ่งทั้งหมดนี้เป็นหน่วยงานรัฐที่มีแผนงานที่จะยื่นขอใบอนุญาตประกอบกิจการ “ทีวีดิจิตอล สาธารณะ” จาก กสทช.ด้วย
ขณะเดียวกัน อสมท ยังเตรียมเซ็นเอ็มโอยูเพิ่มเติมกับอีก 3 กระทรวงเพื่อขอใบอนุญาตทีวีดิจิตอลสาธารณะด้วยเช่นกัน ประกอบด้วย กระทรวงกลาโหม, กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ และกระทรวงแรงงานที่จะร่วมมือกับสำนักงานประกันสังคม
นายธีระพงษ์ โสดาศรี อธิบดีกรมประชาสัมพันธ์ กล่าวว่า ทางกรมฯ ได้เตรียมงบประมาณไว้ 3,000 ล้านบาทตามแผนงานทีวีดิจิตอลเพื่อลงทุนอุปกรณ์ส่งสัญญาณระบบดิจิตอลในสถานีส่งสัญญาณเพื่อให้บริการด้านสิ่งอำนวยความสะดวก, บริการโครงข่าย (MUX) 1 โครงข่าย และช่องรายการทีวีดิจิตอลสาธารณะ 1 ช่อง