“ดิจิตอลทีวี” ส่งผลพฤติกรรมผู้บริโภคเปลี่ยน มีช่องทางการรับชมมากขึ้น “นักการตลาด” ต้องเจาะลึก มุ่งสร้างคอนเทนต์มัดใจผู้ชมให้อยู่หมัด ชี้คอนเทนต์โชว์ทาเลนต์มาแรงทั้งไทยและเทศ “มายแชร์” ชี้ 6 เทรนด์ท้าทายนักการตลาดใน 2 ปีนี้
น.ส.นีลูฟาร์ ฟาวเลอร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท มายด์แชร์ ประเทศไทย เปิดเผยว่า ภาพรวมเม็ดเงินโฆษณาในปีคาดว่าจะเติบโต 12% หรือน่าจะมีมูลค่าที่ 126,621 ล้านบาท โดยมี 3 สื่อที่มีแนวโน้มเติบโตลดลง คือ หนังสือพิมพ์ น่าจะมีสัดส่วนอยู่ที่ 12.5%, วิทยุ 5.1% และแมกกาซีน 3.6% และมี 4 สื่อที่มีแนวโน้มเติบโตสูง คือ สื่อในโรงภาพยนตร์ เพิ่มสัดส่วนเป็น 7.1% จาก 7.0%, สื่อทรานซิต เพิ่มเป็น 3.1% จาก 2.6%, สื่ออินสโตร์ เพิ่มเป็น 3.2% จาก 2.6% และอินเทอร์เน็ต 0.7% จาก0.5% ส่วนสำคัญมาจากการขยายสาขาที่เพิ่มขึ้นทั้งโรงหนัง ห้างสรรพสินค้า เส้นทางรถไฟฟ้าที่ขยายส่วนต่อเพิ่มขึ้น รวมถึงพฤติกรรมผู้บริโภคที่เข้าถึงการใช้งานอินเทอร์เน็ตมากขึ้น
ทั้งนี้ พบว่าจากความเปลี่ยนต่างๆ ที่เกิดขึ้นนี้ ส่งผลให้มีการคาดการณ์เกี่ยวกับภาพรวมการสื่อสารการตลาดจะแบ่งได้ถึง 6 เทรนด์ในระยะ 2 ปีหลังจากนี้ คือ 1. สัดส่วนการรับชมแยกย่อยในสื่อที่หลากหลายมากขึ้น โดยเฉพาะการที่จะมีเรื่องของดิจิตอลทีวีเข้ามา ทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกในการรับชมมากขึ้น นักการตลาดควรพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารให้ครอบคลุมทุกช่องทางและมีระบบมากขึ้น 2. ดิจิตอลจะกลายเป็นสื่อที่นักการตลาดขาดไม่ได้ ซึ่งคาดการณ์ไว้ว่า สัดส่วนการเข้าถึงการใช้สื่อดิจิตอลผ่านมือถือจะกลายเป็น 50% ภายในปี 2558 จาก 25% ในปัจจุบัน โดยในปี 2558 นี้เวลาที่ใช้ในการรับชมสื่อดิจิตอลจะเพิ่มสูงขึ้นแซงสื่อทีวีโดยเฉพาะกลุ่มคนเมือง นักการตลาดควรเปลี่ยนสัดส่วนการสื่อให้เหมาะสมตามการเปลี่ยนแปลง
3. โซเชียลมีเดียจะถึงจุดอิ่มตัว จากปัจจุบันประเทศไทยมีการใช้เฟซบุ๊กกว่า 18 ล้านคน และกรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวงที่มีการใช้เฟซบุ๊กมากที่สุดในโลก แต่พบว่าแฟนเพจส่วนใหญ่ที่มีการโพสต์เนื้อหาต่างๆ นั้นมีเพียง 10% ของจำนวนผู้ที่กดไลก์เห็นการโพสต์ในครั้งนั้นๆ ดังนั้นนักการตลาดควรเน้นสร้างการรับรู้ผ่าน newsfeed ให้มากยิ่งขึ้น 4. มือถือจะกลายเป็นช่องทางหลักของการสื่อสาร โดยภายในปี 2559 การเสิร์ชหาข้อมูลผ่านมือมือจะมากกว่าเดสก์ท็อปถึง 3เท่า ดังนั้นแบรนด์ควรทำให้คอนเทนต์บนมือถือน่าใช้งานมากขึ้น และพัฒนาคอนเทนต์นี้เป็นช่องทางหลัก
5. การเติบโตของผู้ชมที่รับชมเนื้อหาจากหลายช่องทางพร้อมกัน ดังนั้นแต่ละแบรนด์ไม่ควรยึดติดอยู่กับสื่อหลักอีกต่อไป และควรให้ความสำคัญกับสื่อรองด้วย และ 6. ความต้องการใช้เครื่องมือที่สามารถวิเคราห์ข้อมูลมหาศาลที่มีอยู่ให้มีประโยชน์ทางการตลาดสูงสุด
“ถึงแม้พฤติกรรมของผู้ชมจะเข้าถึงช่องทางการับชมที่ากหลาย หรือมีการ้งานบนมือถือมากขึ้น แต่เชื่อว่าฟรีทีวียังเป็นสื่อหลักที่ยึดเวลาการรับชมของผู้บริโภคได้ดีที่สุด แม้ว่าจะเกิดดิจิตอลทีวี ทำให้มีช่องรายการให้รับชมเป็นสิบๆ ช่องก็ตาม ซึ่งพฤติกรรมนี้เกิดขึ้นมาแล้วที่อังกฤษ โดยพบว่าถึงแม้จะมีดิจิตอลทีวีเกิดขึ้น แต่ฐานผู้ชมยังคงนิยมดูรายการทางฟรีทีวีอยู่ดี” น.ส.นีลูฟาร์กล่าว
ด้าน น.ส.นภาพร เจตะวัฒนะ Head of Exchange บริษัท มายด์แชร์ ประเทศไทย กล่าวเสริมว่า จากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เข้าถึงและใช้งานบนหน้าจอต่างๆ มากกว่า 2 จอขึ้นไปในเวลาเดียวกัน เช่น ดูโทรทัศน์พร้อม้งานคู่ไปกับสมาร์ทโฟน หรือเทคโนโลยีดิติตอลทีวีที่จะเข้ามามีบทบาททำให้ผู้ชมมีทางเลือกในการรับชมเพิ่มขึ้นไปอีกนั้น มองว่านักการตลาดจะต้องเจาะลึกใน 2 ทางหลัก คือ 1. ในแง่ผู้บริโภค จะต้องมีการวิเคารห์ถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคให้ดี เพื่อนำไปสู่การเลือกใช้สื่อและจัดสรรเวลาการใช้สื่อให้เหมาะสมและมีความหลากหลายเข้าถึงผู้ชมให้มากที่สุด
และ 2. ในแง่ของนักการตลาดเองจะต้องมีการพัฒนารูปแบบคอนเทนต์ของการใช้สื่อให้มีประสิทธิภาพ และมั่นใจได้ว่าผู้ชมจะเห็นถึงการสื่อสารที่ต้องการส่งไป ดังนั้น คอนเทนต์ที่นำเสนอจะไม่หยุดแค่ภาพยนตร์โฆษณาอีกต่อไป แต่หมายถึงการเข้ามาเป็นผู้สนับสนุนหลัก หรือ เป็นเจ้าของรายการนั้นๆ ด้วย โดยมองว่าคอนเท้นท์รายการที่ผู้ชมปัจจุบันสนใจ คือ เรียลิตีโชว์ที่นำเสนอเกี่ยวกับทาเลนต์ต่างๆ ซึ่งปัจจุบันมีทั้งรายการดังจากต่างประเทศและในประเทศเองต่างก็หันมาผลิตรายการประเภทนี้มากยิ่งขึ้น
น.ส.นีลูฟาร์ ฟาวเลอร์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท มายด์แชร์ ประเทศไทย เปิดเผยว่า ภาพรวมเม็ดเงินโฆษณาในปีคาดว่าจะเติบโต 12% หรือน่าจะมีมูลค่าที่ 126,621 ล้านบาท โดยมี 3 สื่อที่มีแนวโน้มเติบโตลดลง คือ หนังสือพิมพ์ น่าจะมีสัดส่วนอยู่ที่ 12.5%, วิทยุ 5.1% และแมกกาซีน 3.6% และมี 4 สื่อที่มีแนวโน้มเติบโตสูง คือ สื่อในโรงภาพยนตร์ เพิ่มสัดส่วนเป็น 7.1% จาก 7.0%, สื่อทรานซิต เพิ่มเป็น 3.1% จาก 2.6%, สื่ออินสโตร์ เพิ่มเป็น 3.2% จาก 2.6% และอินเทอร์เน็ต 0.7% จาก0.5% ส่วนสำคัญมาจากการขยายสาขาที่เพิ่มขึ้นทั้งโรงหนัง ห้างสรรพสินค้า เส้นทางรถไฟฟ้าที่ขยายส่วนต่อเพิ่มขึ้น รวมถึงพฤติกรรมผู้บริโภคที่เข้าถึงการใช้งานอินเทอร์เน็ตมากขึ้น
ทั้งนี้ พบว่าจากความเปลี่ยนต่างๆ ที่เกิดขึ้นนี้ ส่งผลให้มีการคาดการณ์เกี่ยวกับภาพรวมการสื่อสารการตลาดจะแบ่งได้ถึง 6 เทรนด์ในระยะ 2 ปีหลังจากนี้ คือ 1. สัดส่วนการรับชมแยกย่อยในสื่อที่หลากหลายมากขึ้น โดยเฉพาะการที่จะมีเรื่องของดิจิตอลทีวีเข้ามา ทำให้ผู้บริโภคมีทางเลือกในการรับชมมากขึ้น นักการตลาดควรพัฒนากลยุทธ์การสื่อสารให้ครอบคลุมทุกช่องทางและมีระบบมากขึ้น 2. ดิจิตอลจะกลายเป็นสื่อที่นักการตลาดขาดไม่ได้ ซึ่งคาดการณ์ไว้ว่า สัดส่วนการเข้าถึงการใช้สื่อดิจิตอลผ่านมือถือจะกลายเป็น 50% ภายในปี 2558 จาก 25% ในปัจจุบัน โดยในปี 2558 นี้เวลาที่ใช้ในการรับชมสื่อดิจิตอลจะเพิ่มสูงขึ้นแซงสื่อทีวีโดยเฉพาะกลุ่มคนเมือง นักการตลาดควรเปลี่ยนสัดส่วนการสื่อให้เหมาะสมตามการเปลี่ยนแปลง
3. โซเชียลมีเดียจะถึงจุดอิ่มตัว จากปัจจุบันประเทศไทยมีการใช้เฟซบุ๊กกว่า 18 ล้านคน และกรุงเทพมหานครเป็นเมืองหลวงที่มีการใช้เฟซบุ๊กมากที่สุดในโลก แต่พบว่าแฟนเพจส่วนใหญ่ที่มีการโพสต์เนื้อหาต่างๆ นั้นมีเพียง 10% ของจำนวนผู้ที่กดไลก์เห็นการโพสต์ในครั้งนั้นๆ ดังนั้นนักการตลาดควรเน้นสร้างการรับรู้ผ่าน newsfeed ให้มากยิ่งขึ้น 4. มือถือจะกลายเป็นช่องทางหลักของการสื่อสาร โดยภายในปี 2559 การเสิร์ชหาข้อมูลผ่านมือมือจะมากกว่าเดสก์ท็อปถึง 3เท่า ดังนั้นแบรนด์ควรทำให้คอนเทนต์บนมือถือน่าใช้งานมากขึ้น และพัฒนาคอนเทนต์นี้เป็นช่องทางหลัก
5. การเติบโตของผู้ชมที่รับชมเนื้อหาจากหลายช่องทางพร้อมกัน ดังนั้นแต่ละแบรนด์ไม่ควรยึดติดอยู่กับสื่อหลักอีกต่อไป และควรให้ความสำคัญกับสื่อรองด้วย และ 6. ความต้องการใช้เครื่องมือที่สามารถวิเคราห์ข้อมูลมหาศาลที่มีอยู่ให้มีประโยชน์ทางการตลาดสูงสุด
“ถึงแม้พฤติกรรมของผู้ชมจะเข้าถึงช่องทางการับชมที่ากหลาย หรือมีการ้งานบนมือถือมากขึ้น แต่เชื่อว่าฟรีทีวียังเป็นสื่อหลักที่ยึดเวลาการรับชมของผู้บริโภคได้ดีที่สุด แม้ว่าจะเกิดดิจิตอลทีวี ทำให้มีช่องรายการให้รับชมเป็นสิบๆ ช่องก็ตาม ซึ่งพฤติกรรมนี้เกิดขึ้นมาแล้วที่อังกฤษ โดยพบว่าถึงแม้จะมีดิจิตอลทีวีเกิดขึ้น แต่ฐานผู้ชมยังคงนิยมดูรายการทางฟรีทีวีอยู่ดี” น.ส.นีลูฟาร์กล่าว
ด้าน น.ส.นภาพร เจตะวัฒนะ Head of Exchange บริษัท มายด์แชร์ ประเทศไทย กล่าวเสริมว่า จากพฤติกรรมของผู้บริโภคที่เข้าถึงและใช้งานบนหน้าจอต่างๆ มากกว่า 2 จอขึ้นไปในเวลาเดียวกัน เช่น ดูโทรทัศน์พร้อม้งานคู่ไปกับสมาร์ทโฟน หรือเทคโนโลยีดิติตอลทีวีที่จะเข้ามามีบทบาททำให้ผู้ชมมีทางเลือกในการรับชมเพิ่มขึ้นไปอีกนั้น มองว่านักการตลาดจะต้องเจาะลึกใน 2 ทางหลัก คือ 1. ในแง่ผู้บริโภค จะต้องมีการวิเคารห์ถึงพฤติกรรมของผู้บริโภคให้ดี เพื่อนำไปสู่การเลือกใช้สื่อและจัดสรรเวลาการใช้สื่อให้เหมาะสมและมีความหลากหลายเข้าถึงผู้ชมให้มากที่สุด
และ 2. ในแง่ของนักการตลาดเองจะต้องมีการพัฒนารูปแบบคอนเทนต์ของการใช้สื่อให้มีประสิทธิภาพ และมั่นใจได้ว่าผู้ชมจะเห็นถึงการสื่อสารที่ต้องการส่งไป ดังนั้น คอนเทนต์ที่นำเสนอจะไม่หยุดแค่ภาพยนตร์โฆษณาอีกต่อไป แต่หมายถึงการเข้ามาเป็นผู้สนับสนุนหลัก หรือ เป็นเจ้าของรายการนั้นๆ ด้วย โดยมองว่าคอนเท้นท์รายการที่ผู้ชมปัจจุบันสนใจ คือ เรียลิตีโชว์ที่นำเสนอเกี่ยวกับทาเลนต์ต่างๆ ซึ่งปัจจุบันมีทั้งรายการดังจากต่างประเทศและในประเทศเองต่างก็หันมาผลิตรายการประเภทนี้มากยิ่งขึ้น