คงต้องยอมรับว่า ภายใต้กระแสของลัทธิบริโภคนิยมสุดขั้วอย่างในปัจจุบัน ผู้คนในสังคมต้องเผชิญกับ พายุและมรสุมของการโฆษณา ประชาสัมพันธ์ ผ่านสื่อประเภทต่างๆที่พยายามกระตุ้นให้มีพฤติกรรมการใช้จ่าย เพียงเพื่อตอบโจทย์ความต้องการ “ชั่ววูบ” จนทำให้มีคนจำนวนไม่น้อยที่ทนแรงต้านทานไม่ไหว ตกลงสู่หุบเหวและกระดักของไลฟ์สไตล์ที่แสนฟุ่มเฟือย จนยากที่จะปีนป่ายกลับขึ้นมาเผชิญกับความจริงของชีวิต
มีคนจำนวนมากในสังคมชนชั้นกลางในปัจจุบันที่มี “ทัศนคติอันตราย” ใช้เงินซื้อทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อเติมเต็มความต้องการ (Want) ที่ไม่มีวันเต็ม อยากใช้ชีวิตอย่างคนรวย โดยคิดเพียงขอให้มี “ความสุข” ในวันนี้ เพียงเพราะไม่อยากจะไปคิดถึงอนาคตที่ยังมาไม่ถึงกันทั้งนั้น
เป็นเรื่องน่าแปลกนะครับ ในบรรดาสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า “มนุษย์” ทุกคน มีสักกี่คนที่ไม่“กลัวตาย” ทุกคนก็อยากมีชีวิตที่ยืนยาวกันทั้งนั้น แต่ทำไมเรากลับไม่คิดจะเตรียมตัวสำหรับอนาคต แต่เลือกที่จะผลัดผ่อนจนเวลาที่เสียไปวันแล้ววันเล่า จนบางครั้งก็ทำให้ทุกอย่างเกือบจะสายเกินไป
มีบางคนบอกว่า อาจเป็นเพราะจิตใต้สำนึกลึกๆของคนส่วนใหญ่กลัว “ความตาย” ที่ไม่รู้จะมาถึงตัวเองเมื่อไร ทำให้บางคนใช้เป็นข้ออ้างแก้ตัวว่า “ไม่คิดจะเตรียมตัวเพื่ออนาคต เพราะถึงเวลาที่ตายไปก็เอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง” แต่เคยคิดไหมครับว่า ตราบใดที่เรายังไม่ตายชีวิตก็ต้องดำเนินต่อไป สิ่งสำคัญคือ ควรทำอย่างไรที่จะมีชีวิตอยู่กับปัจจุบัน โดยปราศจากความกลัว
มีกรณีตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นถึง ความสับสนในการใช้ชีวิตของ ผู้คนในยุคนี้อย่างชัดเจน ซึ่งมาจากคุณพีระศักดิ์ ที่เป็นแฟนประจำของรายการวิทยุ “ปฏิบัติการพลิกชีวิต”
คุณพีระศักดิ์ มีครอบครัวแล้ว มีลูก 2 คน ปัจจุบันทำงานอยู่ในแวดวงสถาบันการเงิน ทั้งตัวเขาและภรรยามีรายได้รวมกันสูงถึงเดือนละประมาณ 1.8 แสนบาท ในขณะที่มีภาระค่าใช้จ่ายจำเป็นในแต่ละเดือนไม่สูงนัก เพราะพักอาศัยอยู่กับพ่อ-แม่ และมีรถยนต์ 1 คัน
ปัญหาของคุณพีระศักดิ์ ที่เขายอมรับอย่างไม่ปิดบังก็คือ ปัญหาเรื่องของค่าใช้จ่ายในการบริโภคในแต่ละเดือนที่เขาอดแปลกใจไม่ได้ว่า ทำไมเขาไม่เหลือเงินเก็บ โดยปัจจุบันมีเงินในบัญชีอยู่เพียงประมาณ 1 ล้านบาท
เพราะอยู่ในแวดวงสถาบันการเงิน ทำให้เขาพอจะมีความรู้เรื่องเงินๆทองๆ และมีการลงทุนในรูปของ กองทุนรวม หุ้นกู้ และ ทำประกันชีวิตเอาไว้บ้าง แต่ก็ดูจะไม่ได้เป็นการวางแผนอะไรที่เป็นระบบมากนัก
คุณพีระศักดิ์ ยอมรับว่า ปัญหาใหญ่ของทั้งเขาและภรรยาก็คือ “เสพติด” ไลฟ์สไตล์ แบบ “ฟุ่มเฟือย” ในปัจจุบันจนยากจะถอนตัว
ทุกวันนี้ เขายังคงใช้จ่ายอย่างฟุ้งเฟื้อ จิบกาแฟ “สตาร์บัค” ทุกเช้า ไปนั่ง “ชิว ชิว” ตามผับ หรือ ห้องอาหารหรูๆตามโรงแรมสี่ดาวในยามเย็นเป็นประจำ ในขณะที่ภรรยาสุดรักก็มีพฤติกรรม เป็น “นักช็อป” เดินห้างสรรพสินค้าหรูๆ จับจ่ายซื้อสินค้า วิ่งไล่ตามแฟชั่นชนิดไม่ยอม “ตกเทรนด์”
ที่หนักหนาสาหัสไปกว่านั้น ทุกปี คุณพีระศักดิ์แกยังชอบบินไป มาเก๊า สิงคโปร์ เพื่อไปหา “ความสุข” ชั่ววูบใน “คาสิโน” ชื่อดัง ได้-เสีย ครั้งละหลายแสนบาท
คำถามก็คือ ทำอย่างไรที่จะทำให้เขาหยุดพฤติกรรมดังกล่าวลงได้ และสามารถจะมีเงินเก็บ เงินลงทุน เพื่ออนาคตมากกว่าที่เป็นอยู่ตอนนี้
ปัญหาของคุณพีระศักดิ์คง “โดนใจ” เพราะเหมือนกับใครอีกหลายๆคน คือ เสพติด ไลฟ์สไตล์ที่อยากจะ “ดูดี” มีกะตังค์ อาการนี้มันไม่ต่างอะไรกับ คนที่มีความบกพร่องทางอารมณ์ ที่อยากให้คนคิดว่า “ฉันรวย” ตลอดเวลา
หากพูดถึงความพร้อมในการเดินทางไปสู่เส้นทางการเปลี่ยนแปลงเพื่อพลิกชีวิต ต้องยอมรับว่า คุณพีระศักดิ์ มีความพร้อมเพราะมี “ต้นทุน” อยู่พอสมควร ทั้งในเรื่องของ ฐานะ รายได้ และ ความรู้เกี่ยวกับเรื่องเงินๆทองๆในปัจจุบัน
สิ่งที่ต้องปรับเปลี่ยนก็คือ ความพร้อมในเรื่องของ “จิตใจ” และทัศนคติในการใช้ชีวิตของทั้งเขาและภรรยา ซึ่งก็น่าจะพอมีความหวังอยู่บ้าง เพราะอย่างน้อยๆมาถึงตอนนี้ คุณพีระศักดิ์เองก็รู้ว่าหากปล่อยให้ชีวิตดำเนินต่อไปแบบนี้ คงมีปัญหาใหญ่แน่ในอนาคตจึงต้องมาขอคำปรึกษา
ไม่ต้องมองไปไกลถึงขนาดการเตรียมวางแผนเพื่อการเกษียณของทั้งคู่ แค่ลองจินตนาการถึงค่าใช้จ่ายในการศึกษาของลูกๆทั้งสองคน ซึ่งเรียนอยู่ในโรงเรียนนานาชาติ ก็คงเป็นค่าใช้จ่ายไม่น้อยในแต่ละปี
คำแนะนำก็คือ ทั้งคู่ (คุณพีระศักดิ์ และภรรยา) ต้องนั่งจับคุยกันสักครั้ง เพื่อมองไปในอนาคตยาวๆ ถามตัวเองว่า ”อะไรสำคัญที่สุดในชีวิต” ถ้าคำตอบคือ “ลูกและชีวิตครอบครัวที่มีความมั่นคง” ก็ต้องร่วมใจกันในการเริ่มต้นเดินเข้าสู่เส้นทางของการเปลี่ยนแปลง เพื่อไปสู่เป้าหมายที่กำหนด
ทั้งสองคนต้องตั้งคำมั่นสัญญาและสร้างพันธะทางจิตใจให้กันและกัน โดยอาจจะมองในมุมกลับว่า หากที่ผ่านมาเมื่อเวลาอยากได้อะไร ก็ต้องเอามาให้ได้ ทำไมไม่ลองเปลี่ยนมา ตั้งเป้าหมายว่า หากอยากมั่นคงในชีวิต ก็ต้องเอามันมาให้ได้เหมือนกัน
เพื่อสร้างแรงผลักที่แรงพอที่จะกระตุ้นให้เกิดความเปลี่ยนแปลง คุณอาจใช้ลูกทั้งสองคนเป็นเป้าหมายในระยะกลาง เพื่อกำหนด “วาระ”สำหรับปฏิบัติการเพื่อพลิกชีวิต “ลด-ละ-เลิก เพื่อลูก” หยุดพฤติกรรมการบริโภคที่ทำไปเพียงเพื่อตอบสนองความรู้สึกที่อยาก“ดูดี”ของตัวเอง โดยตั้งเป้าหมายในระยะกลางในตอนนี้ คือ ทำอย่างไรที่จะมีเงินพอที่จะส่งเสียลูกๆทั้งสองคน
หากยังไม่มั่นใจ เพราะหวั่นใจว่าจะมีไอ้เจ้าเสียงเล็กๆจะมาคอยกระซิบที่ข้างหู ปฏิบัติการชิงตัวคุณและภรรยากลับไปใช้ชีวิตแบบเดิมอีกครั้ง เพราะ “อดใจ”ไม่ไหว ก็ต้องใช้วิธี “บังคับโดยสมัครใจ” โดยการตัดเงินจากรายได้ในแต่ละเดือนของคุณแบบอัตโนมัติ เพื่อนำเงินไปลงทุนใน “กองทุนเพื่อลูกรัก” ของลูกทั้งสองคน และต้องให้เขาทั้งสองคนได้มีส่วนร่วมรับรู้ในสิ่งที่คุณและภรรยาร่วมกันปฏิบัติ เพื่อให้เขาเป็น “ตัวช่วย” ในการส่งแรงเชียร์คุณทั้งสองด้วยอีกแรง
จำนวนเงินที่จะตัดออกมาจากบัญชีในแต่ละเดือน คงต้องขึ้นอยู่กับ การทำบัญชีรับ-จ่ายรายเดือน โดยคุณต้องลองคำนวณค่าใช้จ่ายที่จำเป็นจริงๆในแต่ละเดือน โดยตัดรายจ่ายหนี้เพื่อบริโภคตามกระแสในอดีตของคุณ
ผมมั่นใจว่าจากรายได้ปัจจุบันของคุณและภรรยา สามารถที่จะดึงเม็ดเงินจากรายได้ในแต่ละเดือนได้ไม่ต่ำกว่า 3 หมื่นบาท มาตั้งเป็น “กองทุนเพื่อลูกรัก” ได้อย่างแน่นอน ซึ่งหากเม็ดเงินจำนวนนี้ถูกนำไปลงทุนในหุ้นพื้นฐานดีๆ กองทุนหุ้น หรือ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ผลตอบแทนจากการลงทุนของคุณก็จะยิ่งทำให้ กองทุนเพื่อลูกรัก เติบโตขึ้น
การได้เห็นตัวเลขในบัญชีของกองทุนเพื่อลูกรักที่เติบโตขึ้นในแต่ละเดือนมันน่าจะมีความสุข และอาจจะสนุกกว่า ความสุขชั่ววูบแบบในอดีตของคุณทั้งสองคน ลอง เริ่มต้นให้ได้เสียตั้งแต่วันนี้เลยนะครับ
มีคนจำนวนมากในสังคมชนชั้นกลางในปัจจุบันที่มี “ทัศนคติอันตราย” ใช้เงินซื้อทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อเติมเต็มความต้องการ (Want) ที่ไม่มีวันเต็ม อยากใช้ชีวิตอย่างคนรวย โดยคิดเพียงขอให้มี “ความสุข” ในวันนี้ เพียงเพราะไม่อยากจะไปคิดถึงอนาคตที่ยังมาไม่ถึงกันทั้งนั้น
เป็นเรื่องน่าแปลกนะครับ ในบรรดาสิ่งมีชีวิตที่เรียกว่า “มนุษย์” ทุกคน มีสักกี่คนที่ไม่“กลัวตาย” ทุกคนก็อยากมีชีวิตที่ยืนยาวกันทั้งนั้น แต่ทำไมเรากลับไม่คิดจะเตรียมตัวสำหรับอนาคต แต่เลือกที่จะผลัดผ่อนจนเวลาที่เสียไปวันแล้ววันเล่า จนบางครั้งก็ทำให้ทุกอย่างเกือบจะสายเกินไป
มีบางคนบอกว่า อาจเป็นเพราะจิตใต้สำนึกลึกๆของคนส่วนใหญ่กลัว “ความตาย” ที่ไม่รู้จะมาถึงตัวเองเมื่อไร ทำให้บางคนใช้เป็นข้ออ้างแก้ตัวว่า “ไม่คิดจะเตรียมตัวเพื่ออนาคต เพราะถึงเวลาที่ตายไปก็เอาอะไรไปไม่ได้สักอย่าง” แต่เคยคิดไหมครับว่า ตราบใดที่เรายังไม่ตายชีวิตก็ต้องดำเนินต่อไป สิ่งสำคัญคือ ควรทำอย่างไรที่จะมีชีวิตอยู่กับปัจจุบัน โดยปราศจากความกลัว
มีกรณีตัวอย่างที่สะท้อนให้เห็นถึง ความสับสนในการใช้ชีวิตของ ผู้คนในยุคนี้อย่างชัดเจน ซึ่งมาจากคุณพีระศักดิ์ ที่เป็นแฟนประจำของรายการวิทยุ “ปฏิบัติการพลิกชีวิต”
คุณพีระศักดิ์ มีครอบครัวแล้ว มีลูก 2 คน ปัจจุบันทำงานอยู่ในแวดวงสถาบันการเงิน ทั้งตัวเขาและภรรยามีรายได้รวมกันสูงถึงเดือนละประมาณ 1.8 แสนบาท ในขณะที่มีภาระค่าใช้จ่ายจำเป็นในแต่ละเดือนไม่สูงนัก เพราะพักอาศัยอยู่กับพ่อ-แม่ และมีรถยนต์ 1 คัน
ปัญหาของคุณพีระศักดิ์ ที่เขายอมรับอย่างไม่ปิดบังก็คือ ปัญหาเรื่องของค่าใช้จ่ายในการบริโภคในแต่ละเดือนที่เขาอดแปลกใจไม่ได้ว่า ทำไมเขาไม่เหลือเงินเก็บ โดยปัจจุบันมีเงินในบัญชีอยู่เพียงประมาณ 1 ล้านบาท
เพราะอยู่ในแวดวงสถาบันการเงิน ทำให้เขาพอจะมีความรู้เรื่องเงินๆทองๆ และมีการลงทุนในรูปของ กองทุนรวม หุ้นกู้ และ ทำประกันชีวิตเอาไว้บ้าง แต่ก็ดูจะไม่ได้เป็นการวางแผนอะไรที่เป็นระบบมากนัก
คุณพีระศักดิ์ ยอมรับว่า ปัญหาใหญ่ของทั้งเขาและภรรยาก็คือ “เสพติด” ไลฟ์สไตล์ แบบ “ฟุ่มเฟือย” ในปัจจุบันจนยากจะถอนตัว
ทุกวันนี้ เขายังคงใช้จ่ายอย่างฟุ้งเฟื้อ จิบกาแฟ “สตาร์บัค” ทุกเช้า ไปนั่ง “ชิว ชิว” ตามผับ หรือ ห้องอาหารหรูๆตามโรงแรมสี่ดาวในยามเย็นเป็นประจำ ในขณะที่ภรรยาสุดรักก็มีพฤติกรรม เป็น “นักช็อป” เดินห้างสรรพสินค้าหรูๆ จับจ่ายซื้อสินค้า วิ่งไล่ตามแฟชั่นชนิดไม่ยอม “ตกเทรนด์”
ที่หนักหนาสาหัสไปกว่านั้น ทุกปี คุณพีระศักดิ์แกยังชอบบินไป มาเก๊า สิงคโปร์ เพื่อไปหา “ความสุข” ชั่ววูบใน “คาสิโน” ชื่อดัง ได้-เสีย ครั้งละหลายแสนบาท
คำถามก็คือ ทำอย่างไรที่จะทำให้เขาหยุดพฤติกรรมดังกล่าวลงได้ และสามารถจะมีเงินเก็บ เงินลงทุน เพื่ออนาคตมากกว่าที่เป็นอยู่ตอนนี้
ปัญหาของคุณพีระศักดิ์คง “โดนใจ” เพราะเหมือนกับใครอีกหลายๆคน คือ เสพติด ไลฟ์สไตล์ที่อยากจะ “ดูดี” มีกะตังค์ อาการนี้มันไม่ต่างอะไรกับ คนที่มีความบกพร่องทางอารมณ์ ที่อยากให้คนคิดว่า “ฉันรวย” ตลอดเวลา
หากพูดถึงความพร้อมในการเดินทางไปสู่เส้นทางการเปลี่ยนแปลงเพื่อพลิกชีวิต ต้องยอมรับว่า คุณพีระศักดิ์ มีความพร้อมเพราะมี “ต้นทุน” อยู่พอสมควร ทั้งในเรื่องของ ฐานะ รายได้ และ ความรู้เกี่ยวกับเรื่องเงินๆทองๆในปัจจุบัน
สิ่งที่ต้องปรับเปลี่ยนก็คือ ความพร้อมในเรื่องของ “จิตใจ” และทัศนคติในการใช้ชีวิตของทั้งเขาและภรรยา ซึ่งก็น่าจะพอมีความหวังอยู่บ้าง เพราะอย่างน้อยๆมาถึงตอนนี้ คุณพีระศักดิ์เองก็รู้ว่าหากปล่อยให้ชีวิตดำเนินต่อไปแบบนี้ คงมีปัญหาใหญ่แน่ในอนาคตจึงต้องมาขอคำปรึกษา
ไม่ต้องมองไปไกลถึงขนาดการเตรียมวางแผนเพื่อการเกษียณของทั้งคู่ แค่ลองจินตนาการถึงค่าใช้จ่ายในการศึกษาของลูกๆทั้งสองคน ซึ่งเรียนอยู่ในโรงเรียนนานาชาติ ก็คงเป็นค่าใช้จ่ายไม่น้อยในแต่ละปี
คำแนะนำก็คือ ทั้งคู่ (คุณพีระศักดิ์ และภรรยา) ต้องนั่งจับคุยกันสักครั้ง เพื่อมองไปในอนาคตยาวๆ ถามตัวเองว่า ”อะไรสำคัญที่สุดในชีวิต” ถ้าคำตอบคือ “ลูกและชีวิตครอบครัวที่มีความมั่นคง” ก็ต้องร่วมใจกันในการเริ่มต้นเดินเข้าสู่เส้นทางของการเปลี่ยนแปลง เพื่อไปสู่เป้าหมายที่กำหนด
ทั้งสองคนต้องตั้งคำมั่นสัญญาและสร้างพันธะทางจิตใจให้กันและกัน โดยอาจจะมองในมุมกลับว่า หากที่ผ่านมาเมื่อเวลาอยากได้อะไร ก็ต้องเอามาให้ได้ ทำไมไม่ลองเปลี่ยนมา ตั้งเป้าหมายว่า หากอยากมั่นคงในชีวิต ก็ต้องเอามันมาให้ได้เหมือนกัน
เพื่อสร้างแรงผลักที่แรงพอที่จะกระตุ้นให้เกิดความเปลี่ยนแปลง คุณอาจใช้ลูกทั้งสองคนเป็นเป้าหมายในระยะกลาง เพื่อกำหนด “วาระ”สำหรับปฏิบัติการเพื่อพลิกชีวิต “ลด-ละ-เลิก เพื่อลูก” หยุดพฤติกรรมการบริโภคที่ทำไปเพียงเพื่อตอบสนองความรู้สึกที่อยาก“ดูดี”ของตัวเอง โดยตั้งเป้าหมายในระยะกลางในตอนนี้ คือ ทำอย่างไรที่จะมีเงินพอที่จะส่งเสียลูกๆทั้งสองคน
หากยังไม่มั่นใจ เพราะหวั่นใจว่าจะมีไอ้เจ้าเสียงเล็กๆจะมาคอยกระซิบที่ข้างหู ปฏิบัติการชิงตัวคุณและภรรยากลับไปใช้ชีวิตแบบเดิมอีกครั้ง เพราะ “อดใจ”ไม่ไหว ก็ต้องใช้วิธี “บังคับโดยสมัครใจ” โดยการตัดเงินจากรายได้ในแต่ละเดือนของคุณแบบอัตโนมัติ เพื่อนำเงินไปลงทุนใน “กองทุนเพื่อลูกรัก” ของลูกทั้งสองคน และต้องให้เขาทั้งสองคนได้มีส่วนร่วมรับรู้ในสิ่งที่คุณและภรรยาร่วมกันปฏิบัติ เพื่อให้เขาเป็น “ตัวช่วย” ในการส่งแรงเชียร์คุณทั้งสองด้วยอีกแรง
จำนวนเงินที่จะตัดออกมาจากบัญชีในแต่ละเดือน คงต้องขึ้นอยู่กับ การทำบัญชีรับ-จ่ายรายเดือน โดยคุณต้องลองคำนวณค่าใช้จ่ายที่จำเป็นจริงๆในแต่ละเดือน โดยตัดรายจ่ายหนี้เพื่อบริโภคตามกระแสในอดีตของคุณ
ผมมั่นใจว่าจากรายได้ปัจจุบันของคุณและภรรยา สามารถที่จะดึงเม็ดเงินจากรายได้ในแต่ละเดือนได้ไม่ต่ำกว่า 3 หมื่นบาท มาตั้งเป็น “กองทุนเพื่อลูกรัก” ได้อย่างแน่นอน ซึ่งหากเม็ดเงินจำนวนนี้ถูกนำไปลงทุนในหุ้นพื้นฐานดีๆ กองทุนหุ้น หรือ กองทุนรวมอสังหาริมทรัพย์ ผลตอบแทนจากการลงทุนของคุณก็จะยิ่งทำให้ กองทุนเพื่อลูกรัก เติบโตขึ้น
การได้เห็นตัวเลขในบัญชีของกองทุนเพื่อลูกรักที่เติบโตขึ้นในแต่ละเดือนมันน่าจะมีความสุข และอาจจะสนุกกว่า ความสุขชั่ววูบแบบในอดีตของคุณทั้งสองคน ลอง เริ่มต้นให้ได้เสียตั้งแต่วันนี้เลยนะครับ