หลายคนคงสงสัยว่า ทำไมเมื่อผมพูดถึงแนวคิดในเรื่องของการลงทุนเพื่อสร้างความมั่งคั่ง หลังจากที่เราเริ่มมีเงินออม เพื่อให้เงินทำงานแทนเราในการสร้างผลตอบแทนที่ดี ทางเลือกในการลงทุนอันดับแรกๆ ที่ผมแนะนำคือการเริ่มตั้งต้นที่ “หุ้น” เป็นตัวยืนพื้นก่อน
คำตอบไม่มีอะไรสลับซับซ้อนหรอกครับ หากคุณดูอัตราผลตอบแทนเชิงเปรียบเทียบย้อนหลังไปตั้งแต่ ปี2542-2552 ของหุ้น พันธบัตร และเงินฝาก อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยของหุ้นก็ยังสามารถให้ผลตอบแทนเฉลี่ยสูงถึง 17.59% ในบางปีเช่นปี 2546 มีผลตอบแทนสูงสุดถึง 107.24% แต่ก็มีความเสี่ยงสูงเช่นกัน คื่อ ในบางปีเช่นปี 2543 ผลตอบแทนติดลบถึง 44.22% (ดูตารางประกอบ)
เพราะอย่างนี้ หากเราต้องการผลตอบแทนจากการลงทุนที่สูง แต่ก็มีความเสี่ยงมาก เราก็ควรวางน้ำหนักไปที่การลงทุนใน “หุ้น”ก่อน แล้วจึงค่อยๆเพิ่มสัดส่วนของทางเลือกในการลงทุนประเภทอื่น เช่น เงินฝากประจำ ตราสารหนี้ หรือ กองทุนรวม เข้าไปผสม เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ต้องการ โดยมีความเสี่ยงที่ยอมรับได้
คำถามที่ต้องคิดต่อไปก็คือ ในฐานะผู้ออมที่ต้องการเน้นการลงทุนในระยะยาว จะมีวิธีการอย่างไรที่จะไม่กลายเป็น ”แมงเม่า”บินพลัดหลงเข้าไปในตลาดหุ้น ตกเป็นเหยื่อของการเล่นแบบเก็งกำไรของบรรดานักลงทุนอีกประเภทหนึ่งที่หิวกระหายในผลกำไรแบบวันต่อวัน
Jesse Livermore เซียนหุ้นที่ถูกยกให้เห็นตำนานคนหนึ่งของวงการหุ้นที่เสียชีวิตไปนานแล้ว เคยพูดไว้ว่า “ตลาดหุ้นคือที่อันตรายมาก สำหรับคนที่ไม่ชอบทำการบ้าน คนโง่ และคนชอบรวยทางลัด” ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นว่า หากคุณเป็นคนหนึ่งที่มีคุณสมบัติครบถ้วน คือ ขี้เกียจ โง่ และ โลภ คุณก็พร้อมที่จะเป็น “แมงเม่า”ได้อย่างเต็มรูปแบบ
หลักการสำคัญ สำหรับนักลงทุนที่แท้จริง ตามแนวคิดของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ตำนานที่มีชีวิตของวงการหุ้น เผยเคล็ดลับในการลงทุนของเขาไว้ว่าเขาจะให้ความสำคัญกับ “การเลือกบริษัทที่ดี ในราคาที่เหมาะสม และถือครองมันเอาไว้ตราบที่มันยังเป็นกิจการที่ดีอยู่”
คำถามในใจหลายๆคนที่ตามมาก็คือ ถึงแม้เราจะสามารถศึกษาหาข้อมูล เพื่อเลือก “หุ้นในดวงใจ” ได้ แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่า ตรงไหนคือราคาที่เหมาะสมที่จะเข้าไปซื้อหุ้นที่เราสนใจ
หากเราเข้าใจหลักการว่า ตามปกติแล้วราคาหุ้นกับกำไรมักจะเดินไปในเส้นทางเดียวกันเสมอ ถึงแม้ในบางจังหวะราคาหุ้นอาจจะเคลื่อนห่างออกไปจาก เส้นกำไรอยู่บ้าง แต่ในที่สุดก็จะวิ่งกลับมาอยู่ในแนวเดียวกัน คำถามเรื่องจังหวะราคาที่เหมาะสมจึงอาจจะไม่ใช่ปัญหาใหญ่โตจนเกินไปนัก และสามารถปลดล็อคได้ด้วยแนวคิดในเรื่องของ การลงทุนแบบเฉลี่ยต้นทุน หรือ Dollar Cost Averaging-DCA ที่ผมเคยกล่าวถึงไปแล้ว
เทคนิคการลงทุนแบบนี้ นอกเหนือจากจะเหมาะสำหรับคนที่เริ่มมีเงินออมเดือนละไม่มาก แต่อยากลงทุนในหุ้นเพื่อหวังผลตอบแทนในระยะยาวแล้ว ยังช่วยในการสร้างวินัยการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ
ที่สำคัญมันยังช่วยให้คุณไม่ต้องมารีๆรอๆ มัวแต่รำ“ฉุยฉาย”เวลาจะตัดสินใจ “ซื้อ” หุ้นที่คุณเห็นว่าเป็นกิจการที่ดี และเห็นว่าระดับราคาเมื่อเทียบกับกำไรแล้วอยู่ในช่วงที่เหมาะสม
การลงทุนในรูปแบบนี้ ยังสามารถลดความเสี่ยงและให้ผลตอบแทนที่ดีในการลงทุนระยะยาว เพราะมันช่วยในการลดความผันผวนของราคา “หุ้น”ที่ลงทุน โดยใช้เงินลงทุนที่เท่าๆกันทุกงวด ตามระยะเวลาที่กำหนด และเป็นการใช้ประโยชน์จากภาวะตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงขึ้นๆลงๆ แทนการที่จะต้องมาคาดคะเนจังหวะสูงต่ำของตลาดฯ จนทำให้บางคนต้องเสียเวลาเฝ้าหน้าจอคอมพิวเตอร์ทุกวัน
เพราะจำนวนเม็ดเงินลงทุนที่เท่าๆกันในแต่ละงวดที่คุณลงทุนไป จะทำให้คุณได้รับ “หุ้น” มากขึ้นเมื่อราคาหลักทรัพย์ลดลง และจะได้ “หุ้น” น้อยลงเมื่อราคาหลักทรัพย์สูงขึ้น ทำให้คุณสามารถลดต้นทุนเฉลี่ยของการลงทุนได้ โดยไม่ต้องสนใจความผันผวนของราคาในแต่ละขณะ
เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น เราลองสมมุติการลงทุนขึ้นมา ตามตัวอย่างดังนี้ สมมุติว่าคุณตัดสินใจลงทุนในหุ้น A ทุกๆวันที่ 25 ของเดือนเป็นระยะเวลา 1 ปี ด้วยเงินลงทุน 1,000บาท
ตัวอย่าง การลงทุนแบบเฉลี่ยต้นทุน (Dollar Cost Averaging)
จากตารางจะเห็นได้ว่าการลงทุนแบบเฉลี่ยต้นทุน (DCA) นั้นจะทำให้ต้นทุนเฉลี่ยต่อหุ้น (11บาท) ต่ำกว่าราคาหุ้นเฉลี่ย (12.58 บาท) สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าราคาหุ้นนั้นจะปรับตัวขึ้นลงตลอดเวลา ในขณะที่จำนวนเงินลงทุนที่เท่ากันทุกๆเดือน จะทำให้คุณได้หุ้นในปริมาณที่เพิ่มขึ้นในกรณีราคาหุ้นลดลง ส่วนกรณีที่ราคาหุ้นสูงขึ้นก็จะได้หุ้นในปริมาณที่น้อยลง ซึ่งจะทำให้คุณสามารถลดต้นทุนเฉลี่ยของการลงทุนได้ โดยต้นทุนเฉลี่ยในพอร์ตการลงทุนของคุณจะต่ำกว่าราคาหุ้นเฉลี่ยของตลาดฯเสมอ
ยิ่งไปกว่านั้น การลงทุนในแบบนี้ ยังสามารถลดความเสี่ยงจากการลงทุนในหุ้นได้จริงกับทุกๆสภาวะตลาดฯ กล่าวคือผู้ลงทุนจะมีต้นทุนเฉลี่ยต่ำกว่าราคาหุ้นเฉลี่ยของตลาดฯเสมอไม่ว่ากรณีหุ้นขึ้นหรือหุ้นลงก็ตาม
เมื่อเป็นเช่นนี้ก็หมายความว่า อัตราผลกำไรจากการลงทุนจะสูงในกรณีที่หุ้นขึ้นและอัตราผลขาดทุนจะต่ำในกรณีหุ้นลง เพราะว่าผู้ลงทุนมีต้นทุนเฉลี่ยต่ำกว่าราคาหุ้นเฉลี่ยของตลาดฯเสมอ และที่น่าสังเกตไปกว่านั้นก็คือยิ่งราคาหุ้นมีความผันผวนมากเท่าไร การลงุทนแบบ DCA จะยิ่งช่วยลดต้นทุนในการลงทุนลงได้มากขึ้นเท่านั้น ซึ่งจะเหมาะอย่างยิ่งสำหรับตลาดหุ้นฯที่มีความผันผวนสูงอย่างเช่นตลาดหุ้นบ้านเรายังไงล่ะครับ
มาถึงตรงนี้ คงไม่ต้องบอกนะครับว่า ในภาวะที่ตลาดหุ้นฯไทยวิ่งเป็น “กระทิง” เปลี่ยวแบบนี้ ยังสามารถเข้าไปซื้อหุ้นได้อีกหรือไม่ คำตอบ มันอยู่ตรงหน้าคุณแล้วครับ
คำตอบไม่มีอะไรสลับซับซ้อนหรอกครับ หากคุณดูอัตราผลตอบแทนเชิงเปรียบเทียบย้อนหลังไปตั้งแต่ ปี2542-2552 ของหุ้น พันธบัตร และเงินฝาก อัตราผลตอบแทนเฉลี่ยของหุ้นก็ยังสามารถให้ผลตอบแทนเฉลี่ยสูงถึง 17.59% ในบางปีเช่นปี 2546 มีผลตอบแทนสูงสุดถึง 107.24% แต่ก็มีความเสี่ยงสูงเช่นกัน คื่อ ในบางปีเช่นปี 2543 ผลตอบแทนติดลบถึง 44.22% (ดูตารางประกอบ)
เพราะอย่างนี้ หากเราต้องการผลตอบแทนจากการลงทุนที่สูง แต่ก็มีความเสี่ยงมาก เราก็ควรวางน้ำหนักไปที่การลงทุนใน “หุ้น”ก่อน แล้วจึงค่อยๆเพิ่มสัดส่วนของทางเลือกในการลงทุนประเภทอื่น เช่น เงินฝากประจำ ตราสารหนี้ หรือ กองทุนรวม เข้าไปผสม เพื่อให้ได้ผลตอบแทนที่ต้องการ โดยมีความเสี่ยงที่ยอมรับได้
คำถามที่ต้องคิดต่อไปก็คือ ในฐานะผู้ออมที่ต้องการเน้นการลงทุนในระยะยาว จะมีวิธีการอย่างไรที่จะไม่กลายเป็น ”แมงเม่า”บินพลัดหลงเข้าไปในตลาดหุ้น ตกเป็นเหยื่อของการเล่นแบบเก็งกำไรของบรรดานักลงทุนอีกประเภทหนึ่งที่หิวกระหายในผลกำไรแบบวันต่อวัน
Jesse Livermore เซียนหุ้นที่ถูกยกให้เห็นตำนานคนหนึ่งของวงการหุ้นที่เสียชีวิตไปนานแล้ว เคยพูดไว้ว่า “ตลาดหุ้นคือที่อันตรายมาก สำหรับคนที่ไม่ชอบทำการบ้าน คนโง่ และคนชอบรวยทางลัด” ซึ่งพิสูจน์ให้เห็นว่า หากคุณเป็นคนหนึ่งที่มีคุณสมบัติครบถ้วน คือ ขี้เกียจ โง่ และ โลภ คุณก็พร้อมที่จะเป็น “แมงเม่า”ได้อย่างเต็มรูปแบบ
หลักการสำคัญ สำหรับนักลงทุนที่แท้จริง ตามแนวคิดของ วอร์เรน บัฟเฟตต์ตำนานที่มีชีวิตของวงการหุ้น เผยเคล็ดลับในการลงทุนของเขาไว้ว่าเขาจะให้ความสำคัญกับ “การเลือกบริษัทที่ดี ในราคาที่เหมาะสม และถือครองมันเอาไว้ตราบที่มันยังเป็นกิจการที่ดีอยู่”
คำถามในใจหลายๆคนที่ตามมาก็คือ ถึงแม้เราจะสามารถศึกษาหาข้อมูล เพื่อเลือก “หุ้นในดวงใจ” ได้ แต่เราจะรู้ได้อย่างไรว่า ตรงไหนคือราคาที่เหมาะสมที่จะเข้าไปซื้อหุ้นที่เราสนใจ
หากเราเข้าใจหลักการว่า ตามปกติแล้วราคาหุ้นกับกำไรมักจะเดินไปในเส้นทางเดียวกันเสมอ ถึงแม้ในบางจังหวะราคาหุ้นอาจจะเคลื่อนห่างออกไปจาก เส้นกำไรอยู่บ้าง แต่ในที่สุดก็จะวิ่งกลับมาอยู่ในแนวเดียวกัน คำถามเรื่องจังหวะราคาที่เหมาะสมจึงอาจจะไม่ใช่ปัญหาใหญ่โตจนเกินไปนัก และสามารถปลดล็อคได้ด้วยแนวคิดในเรื่องของ การลงทุนแบบเฉลี่ยต้นทุน หรือ Dollar Cost Averaging-DCA ที่ผมเคยกล่าวถึงไปแล้ว
เทคนิคการลงทุนแบบนี้ นอกเหนือจากจะเหมาะสำหรับคนที่เริ่มมีเงินออมเดือนละไม่มาก แต่อยากลงทุนในหุ้นเพื่อหวังผลตอบแทนในระยะยาวแล้ว ยังช่วยในการสร้างวินัยการลงทุนอย่างสม่ำเสมอ
ที่สำคัญมันยังช่วยให้คุณไม่ต้องมารีๆรอๆ มัวแต่รำ“ฉุยฉาย”เวลาจะตัดสินใจ “ซื้อ” หุ้นที่คุณเห็นว่าเป็นกิจการที่ดี และเห็นว่าระดับราคาเมื่อเทียบกับกำไรแล้วอยู่ในช่วงที่เหมาะสม
การลงทุนในรูปแบบนี้ ยังสามารถลดความเสี่ยงและให้ผลตอบแทนที่ดีในการลงทุนระยะยาว เพราะมันช่วยในการลดความผันผวนของราคา “หุ้น”ที่ลงทุน โดยใช้เงินลงทุนที่เท่าๆกันทุกงวด ตามระยะเวลาที่กำหนด และเป็นการใช้ประโยชน์จากภาวะตลาดที่มีการเปลี่ยนแปลงขึ้นๆลงๆ แทนการที่จะต้องมาคาดคะเนจังหวะสูงต่ำของตลาดฯ จนทำให้บางคนต้องเสียเวลาเฝ้าหน้าจอคอมพิวเตอร์ทุกวัน
เพราะจำนวนเม็ดเงินลงทุนที่เท่าๆกันในแต่ละงวดที่คุณลงทุนไป จะทำให้คุณได้รับ “หุ้น” มากขึ้นเมื่อราคาหลักทรัพย์ลดลง และจะได้ “หุ้น” น้อยลงเมื่อราคาหลักทรัพย์สูงขึ้น ทำให้คุณสามารถลดต้นทุนเฉลี่ยของการลงทุนได้ โดยไม่ต้องสนใจความผันผวนของราคาในแต่ละขณะ
เพื่อให้เห็นภาพชัดขึ้น เราลองสมมุติการลงทุนขึ้นมา ตามตัวอย่างดังนี้ สมมุติว่าคุณตัดสินใจลงทุนในหุ้น A ทุกๆวันที่ 25 ของเดือนเป็นระยะเวลา 1 ปี ด้วยเงินลงทุน 1,000บาท
ตัวอย่าง การลงทุนแบบเฉลี่ยต้นทุน (Dollar Cost Averaging)
จากตารางจะเห็นได้ว่าการลงทุนแบบเฉลี่ยต้นทุน (DCA) นั้นจะทำให้ต้นทุนเฉลี่ยต่อหุ้น (11บาท) ต่ำกว่าราคาหุ้นเฉลี่ย (12.58 บาท) สาเหตุที่เป็นเช่นนั้นก็เพราะว่าราคาหุ้นนั้นจะปรับตัวขึ้นลงตลอดเวลา ในขณะที่จำนวนเงินลงทุนที่เท่ากันทุกๆเดือน จะทำให้คุณได้หุ้นในปริมาณที่เพิ่มขึ้นในกรณีราคาหุ้นลดลง ส่วนกรณีที่ราคาหุ้นสูงขึ้นก็จะได้หุ้นในปริมาณที่น้อยลง ซึ่งจะทำให้คุณสามารถลดต้นทุนเฉลี่ยของการลงทุนได้ โดยต้นทุนเฉลี่ยในพอร์ตการลงทุนของคุณจะต่ำกว่าราคาหุ้นเฉลี่ยของตลาดฯเสมอ
ยิ่งไปกว่านั้น การลงทุนในแบบนี้ ยังสามารถลดความเสี่ยงจากการลงทุนในหุ้นได้จริงกับทุกๆสภาวะตลาดฯ กล่าวคือผู้ลงทุนจะมีต้นทุนเฉลี่ยต่ำกว่าราคาหุ้นเฉลี่ยของตลาดฯเสมอไม่ว่ากรณีหุ้นขึ้นหรือหุ้นลงก็ตาม
เมื่อเป็นเช่นนี้ก็หมายความว่า อัตราผลกำไรจากการลงทุนจะสูงในกรณีที่หุ้นขึ้นและอัตราผลขาดทุนจะต่ำในกรณีหุ้นลง เพราะว่าผู้ลงทุนมีต้นทุนเฉลี่ยต่ำกว่าราคาหุ้นเฉลี่ยของตลาดฯเสมอ และที่น่าสังเกตไปกว่านั้นก็คือยิ่งราคาหุ้นมีความผันผวนมากเท่าไร การลงุทนแบบ DCA จะยิ่งช่วยลดต้นทุนในการลงทุนลงได้มากขึ้นเท่านั้น ซึ่งจะเหมาะอย่างยิ่งสำหรับตลาดหุ้นฯที่มีความผันผวนสูงอย่างเช่นตลาดหุ้นบ้านเรายังไงล่ะครับ
มาถึงตรงนี้ คงไม่ต้องบอกนะครับว่า ในภาวะที่ตลาดหุ้นฯไทยวิ่งเป็น “กระทิง” เปลี่ยวแบบนี้ ยังสามารถเข้าไปซื้อหุ้นได้อีกหรือไม่ คำตอบ มันอยู่ตรงหน้าคุณแล้วครับ