ตั้งแต่ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ร่วมมือ กับสมาคมบริษัทจัดการกองทุน และ คณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (กลต.) เริ่มดำเนิน “โครงการให้เงินทำงานผ่านกองทุนรวม” ในช่วงที่ผมทำงานอยู่ที่ ตลาดหลักทรัพย์ฯ เมื่อปี 2545 เราได้มีส่วนในการสร้างนักลงทุนหน้าใหม่ๆเพิ่มขึ้นอย่างน่าตื่นตาตื่นใจ
จากตัวเลขล่าสุดเมื่อปี 2552 คาดว่า มีผู้เปิดบัญชีถือหน่วยลงทุนสูงถึง 2,390,897 บัญชี เทียบกับในปี 2545 ที่เราเริ่มโครงการมีเพียง 557,549 บัญชี ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า เราได้ทำให้คนจำนวนมากได้รู้จักทางเลือกในการลงทุน โดยเฉพาะกับ คนที่มีเงินน้อย ไม่มีความรู้ และ ไม่มีเวลา แต่ต้องการให้เงินทำงาน เพื่อสร้างผลตอบแทน ผ่านกลไกของ “กองทุนรวม” ซึ่งบรรดาบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม หรือ บลจ.เขานำมาชี้ชวนให้เรานำเงินของเราไปลงขันร่วมลงทุน
ปัจจุบัน บลจ.จะมีการออกกองทุนประเภทต่างๆออกมาเป็นระยะๆเพื่อระดมทุนจากผู้ที่สนใจ โดยจะให้ซื้อในรูปของ หน่วยลงทุน ซึ่งตามปกติจะเริ่มต้นที่หน่วยละ 10 บาท พร้อมทั้งกำหนดอัตราขั้นต่ำของการซื้อเอาไว้
แต่ละกองทุนฯนอกจากจะต้องมีชื่อ และตัวย่อที่จะใช้เรียกแล้ว จะต้องมีข้อมูลหลักๆ คือ วัตถุประสงค์- มูลค่า- อายุ และนโยบายการลงทุน ของแต่ละกองทุนฯ
ในการบริหารงานกองทุนฯ จะมีทีมงานในการบริหารแต่ละกองทุนฯให้เป็นไปตามนโยบายที่กำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวน โดยทุกๆวันจะมีการประชุมInvestment Committee ประมวลความเคลื่อนไหวประกอบการตัดสินใจในการซื้อ-ขาย เพื่อปรับลดหรือเพิ่มน้ำหนักในการลงทุนในแต่ละวันให้ทันต่อสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงของตลาดเงิน-ตลาดทุนโลก
นอกจากนี้เมื่อถึงสิ้นวัน บลจ.จะต้องมีหน้าที่ในการรายงาน ตัวเลขสินทรัพย์สุทธิของกองทุนฯ หรือ Net Asset Value - NAV เพื่อลงประกาศในสื่อสิ่งพิมพ์ และ ในเวบไซด์ของ สมาคมฯทุกๆวัน เพื่อให้ผู้ลงทุนมีข้อมูลใช้ในการประกอบการตัดสินใจ
ตัวเลข NAV มีความสำคัญ เพราะมันสะท้อนถึงผลการดำเนินงานของแต่ละกองทุนฯ เนื่องจากมาจากการคำนวณสินทรัพย์ และผลตอบแทนสุทธิที่มีอยู่ทั้งหมดของแต่ละกองทุนฯ หักด้วยค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ
ยิ่งไปกว่านั้นทุกๆสิ้นเดือน บลจ.ยังมีหน้าที่ในการจัดส่งผลการดำเนินงานในรอบเดือนของทุกๆกองทุนฯที่อยู่ในการบริหารงานของแต่ละแห่งไปยังผู้ถือหน่วยลงทุน
ทุกวันนี้ รูปแบบหลักๆของกองทุนรวม จะมี 2 ลักษณะคือ กองทุนปิด และกองทุนเปิด
กองทุนปิด หมายถึงกองทุนที่มีการกำหนดมูลค่าของกองทุน และ กำหนดเวลาไถ่ถอนที่แน่นอน แต่เพื่อให้ผู้ลงทุนมีสภาพคล่องในการไถ่ถอนการลงทุนก่อนกำหนด ก็อาจจะมีการนำกองทุนประเภทนี้ไปจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหุ้น ราคาก็จะมีการเคลื่อนไหวตามภาวะตลาด
กองทุนเปิด หมายถึงกองทุนที่ไม่กำหนดระยะเวลาไถ่ถอนที่แน่นอน รวมทั้งวงเงิน ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถที่จะติดต่อซื้อ-ขายกับ บลจ.ตามเวลาที่กำหนดไว้ของแต่ละกองทุนฯ เช่นเดือนละครั้ง สัปดาห์ละครั้ง หรือทุกวันทำการ โดยจะคำนวณผลตอบแทนให้ตามราคา NAV ณ วันที่มีการซื้อหรือขาย
นอกจากนี้ ยังมีการแบ่งกองทุนฯ ตามประเภทของสินทรัพย์ที่ไปลงทุน เช่น กองทุนตราสารหนี้ กองทุนหุ้น กองทุนผสมแบบยืดหยุ่น หรือ ในระยะหลังๆก็จะมีการแตกย่อยลึกลงไปในรูปแบบของกองทุนพิเศษ ประเภทของสินทรัพย์อื่นๆอีก เช่นกองทุนทองคำ กองทุนน้ำมัน กองทุนอสังหาริมทรัพย์ หรือ กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ
สำหรับกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ RMF และกองทุนรวมหุ้นระยะยาว LTFนั้น เป็นกองทุนอีกประเภทหนึ่งที่เปรียบเสมือน “คู่แฝดมหัศจรยย์” ที่นอกจากจะเป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนที่ดีแล้ว ยังเป็น “ตัวช่วย” ในการช่วยลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของเรา และ เป็นตัวช่วยที่ดีในการลงทุนเพื่อวัยเกษียณ
อย่างไรก็ตาม ผลพวงจากกระแสตื่นตัวในการลงทุนของผู้คนจำนวนมาก ทำให้บลจ.แต่ละแห่งมีการออกกองทุนฯประเภทต่างๆออกมาเป็นระยะๆ เพื่อดึงดูดเม็ดเงินจากผู้ลงทุน โดยแต่ละแห่งก็จะพยายามออกแบบกองทุนฯให้ตรงกับความต้องการและแนวโน้มของตลาดในแต่ละช่วงเวลา
คำถามก็คือ นักลงทุนควรจะใช้หลักเกณฑ์อะไรในการพิจารณาเลือกซื้อ-ขายกองทุนฯ
ในกรณีที่เป็นกองทุนฯใหม่ที่กำลังจะเสนอขาย สิ่งที่นักลงทุนต้องศึกษาก็คือ รายละเอียดของกองทุนฯ ซึ่งจะอยู่ใน หนังสือชี้ชวน (Prospectus)
สำหรับกองทุนฯเปิดที่มีการดำเนินการอยู่ตามปกติ หลักการเบื้องต้น ก่อนจะซื้อกองทุนฯใด ก็ต้องมั่นใจเสียก่อนว่า ตรงกับวัตถุประสงค์ของเราในขณะนั้น เช่น ในขณะนี้เราเห็นแนวโน้มตลาดหุ้นอยู่ในช่วงขาขึ้น แต่เรายังไม่กล้า”เสี่ยง” ที่จะนำเงินไปลงทุนในหุ้นตัวใดตัวหนึ่ง เราก็อาจจะเริ่มตั้งโจทย์ในเบื้องต้น มุ่งเข้าไปศึกษา บรรดากองทุนฯหุ้นที่มีอยู่ในปัจจุบัน
เพื่อหาจุดเริ่มต้นในการเปรียบเทียบ เราอาจจะลองไปศึกษาถึงผลการดำเนินการย้อนหลังของแต่ละกองทุนฯ ซึ่งปัจจุบัน มีสถาบันที่จัดทำตารางเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของกองทุนฯต่างๆ คือ Lipper และ Morning Star ซึ่งสามารถจะเปรียบเทียบ ผลการดำเนินงานย้อนหลัง ได้ตั้งแต่ 3-6 เดือน 1-3-5 ปี ซึ่งนอกจากจะมีการจัดอันดับให้แล้ว ยังสามารถดูผลตอบแทนเฉลี่ยย้อนหลังได้ด้วย
หลังจากที่เราลดตัวเลือกให้เหลือน้อยลงได้แล้ว เช่นอาจจะเหลือ Short list สัก 1-3 กองทุนฯ จึงเริ่มมาโฟกัสลึกลงไปในรายละเอียด “ไส้ใน” ของแต่ละกองทุนฯว่า มีการลงทุนในหุ้นอะไรอยู่บ้าง เพราะหุ้น หรือ หลักทรัพย์ ที่ลงทุนอยู่นั้นจะเป็นตัวสะท้อนว่า กองทุนฯนั้นมีโอกาสที่จะให้ผลตอบแทนได้ดีหรือไม่อย่างไร
สิ่งที่ต้องระมัดระวังก็คือ การวัดผลการดำเนินการของกองทุนฯโดยดูเฉพาะ NAV หรือราคาต่อหน่วยลงทุน ณ ขณะนั้นว่า NAV ของใครสูงหรือต่ำกว่ากัน ทั้งๆที่ แต่ละกองทุนฯอาจจะมีการออกขายในเวลาที่แตกต่างกัน หรือการไปดูเฉพาะผลการดำเนินงานย้อนหลังเป็นหลัก ก็ไม่ได้เป็นหลักประกันความสำเร็จในอนาคต
สุดท้ายอย่าลืมมีวินัย จัดทำบัญชีบันทึกการซื้อ-ขาย กองทุนฯไว้อย่างละเอียด และหมั่นตรวจสอบผลการดำเนินงานทุกๆเดือน เพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยน หรือโยกพอร์ตการลงทุนของเราได้อย่างเท่าทันสถานการณ์
ถึงแม้จะเชื่อใจว่า ให้เงินทำงานผ่านกองทุนรวมฯ มีมืออาชีพเขามาบริหาร แต่ก็อย่าปล่อยให้เป็น “ตลกร้าย” ถึงขนาดตอบตัวเองไม่ได้เหมือนกันว่า มีกองทุนฯอะไรที่ถืออยู่ในมือบ้าง
จากตัวเลขล่าสุดเมื่อปี 2552 คาดว่า มีผู้เปิดบัญชีถือหน่วยลงทุนสูงถึง 2,390,897 บัญชี เทียบกับในปี 2545 ที่เราเริ่มโครงการมีเพียง 557,549 บัญชี ซึ่งสะท้อนให้เห็นว่า เราได้ทำให้คนจำนวนมากได้รู้จักทางเลือกในการลงทุน โดยเฉพาะกับ คนที่มีเงินน้อย ไม่มีความรู้ และ ไม่มีเวลา แต่ต้องการให้เงินทำงาน เพื่อสร้างผลตอบแทน ผ่านกลไกของ “กองทุนรวม” ซึ่งบรรดาบริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุนรวม หรือ บลจ.เขานำมาชี้ชวนให้เรานำเงินของเราไปลงขันร่วมลงทุน
ปัจจุบัน บลจ.จะมีการออกกองทุนประเภทต่างๆออกมาเป็นระยะๆเพื่อระดมทุนจากผู้ที่สนใจ โดยจะให้ซื้อในรูปของ หน่วยลงทุน ซึ่งตามปกติจะเริ่มต้นที่หน่วยละ 10 บาท พร้อมทั้งกำหนดอัตราขั้นต่ำของการซื้อเอาไว้
แต่ละกองทุนฯนอกจากจะต้องมีชื่อ และตัวย่อที่จะใช้เรียกแล้ว จะต้องมีข้อมูลหลักๆ คือ วัตถุประสงค์- มูลค่า- อายุ และนโยบายการลงทุน ของแต่ละกองทุนฯ
ในการบริหารงานกองทุนฯ จะมีทีมงานในการบริหารแต่ละกองทุนฯให้เป็นไปตามนโยบายที่กำหนดไว้ในหนังสือชี้ชวน โดยทุกๆวันจะมีการประชุมInvestment Committee ประมวลความเคลื่อนไหวประกอบการตัดสินใจในการซื้อ-ขาย เพื่อปรับลดหรือเพิ่มน้ำหนักในการลงทุนในแต่ละวันให้ทันต่อสถานการณ์ความเปลี่ยนแปลงของตลาดเงิน-ตลาดทุนโลก
นอกจากนี้เมื่อถึงสิ้นวัน บลจ.จะต้องมีหน้าที่ในการรายงาน ตัวเลขสินทรัพย์สุทธิของกองทุนฯ หรือ Net Asset Value - NAV เพื่อลงประกาศในสื่อสิ่งพิมพ์ และ ในเวบไซด์ของ สมาคมฯทุกๆวัน เพื่อให้ผู้ลงทุนมีข้อมูลใช้ในการประกอบการตัดสินใจ
ตัวเลข NAV มีความสำคัญ เพราะมันสะท้อนถึงผลการดำเนินงานของแต่ละกองทุนฯ เนื่องจากมาจากการคำนวณสินทรัพย์ และผลตอบแทนสุทธิที่มีอยู่ทั้งหมดของแต่ละกองทุนฯ หักด้วยค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการ
ยิ่งไปกว่านั้นทุกๆสิ้นเดือน บลจ.ยังมีหน้าที่ในการจัดส่งผลการดำเนินงานในรอบเดือนของทุกๆกองทุนฯที่อยู่ในการบริหารงานของแต่ละแห่งไปยังผู้ถือหน่วยลงทุน
ทุกวันนี้ รูปแบบหลักๆของกองทุนรวม จะมี 2 ลักษณะคือ กองทุนปิด และกองทุนเปิด
กองทุนปิด หมายถึงกองทุนที่มีการกำหนดมูลค่าของกองทุน และ กำหนดเวลาไถ่ถอนที่แน่นอน แต่เพื่อให้ผู้ลงทุนมีสภาพคล่องในการไถ่ถอนการลงทุนก่อนกำหนด ก็อาจจะมีการนำกองทุนประเภทนี้ไปจดทะเบียนซื้อขายในตลาดหุ้น ราคาก็จะมีการเคลื่อนไหวตามภาวะตลาด
กองทุนเปิด หมายถึงกองทุนที่ไม่กำหนดระยะเวลาไถ่ถอนที่แน่นอน รวมทั้งวงเงิน ผู้ถือหน่วยลงทุนสามารถที่จะติดต่อซื้อ-ขายกับ บลจ.ตามเวลาที่กำหนดไว้ของแต่ละกองทุนฯ เช่นเดือนละครั้ง สัปดาห์ละครั้ง หรือทุกวันทำการ โดยจะคำนวณผลตอบแทนให้ตามราคา NAV ณ วันที่มีการซื้อหรือขาย
นอกจากนี้ ยังมีการแบ่งกองทุนฯ ตามประเภทของสินทรัพย์ที่ไปลงทุน เช่น กองทุนตราสารหนี้ กองทุนหุ้น กองทุนผสมแบบยืดหยุ่น หรือ ในระยะหลังๆก็จะมีการแตกย่อยลึกลงไปในรูปแบบของกองทุนพิเศษ ประเภทของสินทรัพย์อื่นๆอีก เช่นกองทุนทองคำ กองทุนน้ำมัน กองทุนอสังหาริมทรัพย์ หรือ กองทุนรวมที่ลงทุนในต่างประเทศ
สำหรับกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ RMF และกองทุนรวมหุ้นระยะยาว LTFนั้น เป็นกองทุนอีกประเภทหนึ่งที่เปรียบเสมือน “คู่แฝดมหัศจรยย์” ที่นอกจากจะเป็นการลงทุนที่ให้ผลตอบแทนที่ดีแล้ว ยังเป็น “ตัวช่วย” ในการช่วยลดหย่อนภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาของเรา และ เป็นตัวช่วยที่ดีในการลงทุนเพื่อวัยเกษียณ
อย่างไรก็ตาม ผลพวงจากกระแสตื่นตัวในการลงทุนของผู้คนจำนวนมาก ทำให้บลจ.แต่ละแห่งมีการออกกองทุนฯประเภทต่างๆออกมาเป็นระยะๆ เพื่อดึงดูดเม็ดเงินจากผู้ลงทุน โดยแต่ละแห่งก็จะพยายามออกแบบกองทุนฯให้ตรงกับความต้องการและแนวโน้มของตลาดในแต่ละช่วงเวลา
คำถามก็คือ นักลงทุนควรจะใช้หลักเกณฑ์อะไรในการพิจารณาเลือกซื้อ-ขายกองทุนฯ
ในกรณีที่เป็นกองทุนฯใหม่ที่กำลังจะเสนอขาย สิ่งที่นักลงทุนต้องศึกษาก็คือ รายละเอียดของกองทุนฯ ซึ่งจะอยู่ใน หนังสือชี้ชวน (Prospectus)
สำหรับกองทุนฯเปิดที่มีการดำเนินการอยู่ตามปกติ หลักการเบื้องต้น ก่อนจะซื้อกองทุนฯใด ก็ต้องมั่นใจเสียก่อนว่า ตรงกับวัตถุประสงค์ของเราในขณะนั้น เช่น ในขณะนี้เราเห็นแนวโน้มตลาดหุ้นอยู่ในช่วงขาขึ้น แต่เรายังไม่กล้า”เสี่ยง” ที่จะนำเงินไปลงทุนในหุ้นตัวใดตัวหนึ่ง เราก็อาจจะเริ่มตั้งโจทย์ในเบื้องต้น มุ่งเข้าไปศึกษา บรรดากองทุนฯหุ้นที่มีอยู่ในปัจจุบัน
เพื่อหาจุดเริ่มต้นในการเปรียบเทียบ เราอาจจะลองไปศึกษาถึงผลการดำเนินการย้อนหลังของแต่ละกองทุนฯ ซึ่งปัจจุบัน มีสถาบันที่จัดทำตารางเปรียบเทียบผลการดำเนินงานของกองทุนฯต่างๆ คือ Lipper และ Morning Star ซึ่งสามารถจะเปรียบเทียบ ผลการดำเนินงานย้อนหลัง ได้ตั้งแต่ 3-6 เดือน 1-3-5 ปี ซึ่งนอกจากจะมีการจัดอันดับให้แล้ว ยังสามารถดูผลตอบแทนเฉลี่ยย้อนหลังได้ด้วย
หลังจากที่เราลดตัวเลือกให้เหลือน้อยลงได้แล้ว เช่นอาจจะเหลือ Short list สัก 1-3 กองทุนฯ จึงเริ่มมาโฟกัสลึกลงไปในรายละเอียด “ไส้ใน” ของแต่ละกองทุนฯว่า มีการลงทุนในหุ้นอะไรอยู่บ้าง เพราะหุ้น หรือ หลักทรัพย์ ที่ลงทุนอยู่นั้นจะเป็นตัวสะท้อนว่า กองทุนฯนั้นมีโอกาสที่จะให้ผลตอบแทนได้ดีหรือไม่อย่างไร
สิ่งที่ต้องระมัดระวังก็คือ การวัดผลการดำเนินการของกองทุนฯโดยดูเฉพาะ NAV หรือราคาต่อหน่วยลงทุน ณ ขณะนั้นว่า NAV ของใครสูงหรือต่ำกว่ากัน ทั้งๆที่ แต่ละกองทุนฯอาจจะมีการออกขายในเวลาที่แตกต่างกัน หรือการไปดูเฉพาะผลการดำเนินงานย้อนหลังเป็นหลัก ก็ไม่ได้เป็นหลักประกันความสำเร็จในอนาคต
สุดท้ายอย่าลืมมีวินัย จัดทำบัญชีบันทึกการซื้อ-ขาย กองทุนฯไว้อย่างละเอียด และหมั่นตรวจสอบผลการดำเนินงานทุกๆเดือน เพื่อให้สามารถปรับเปลี่ยน หรือโยกพอร์ตการลงทุนของเราได้อย่างเท่าทันสถานการณ์
ถึงแม้จะเชื่อใจว่า ให้เงินทำงานผ่านกองทุนรวมฯ มีมืออาชีพเขามาบริหาร แต่ก็อย่าปล่อยให้เป็น “ตลกร้าย” ถึงขนาดตอบตัวเองไม่ได้เหมือนกันว่า มีกองทุนฯอะไรที่ถืออยู่ในมือบ้าง