“ซีพี” ลุ้นสิ้นปีนี้ได้ไลเซนส์เปิดเซเว่นอีเลฟเว่นในจีนแน่ พร้อมขอต่ออินโดจีนอีกรับเปิดเออีซี เตรียมงบ 30,000 ล้านบาทลุยในไทย วางเป้าอีก 5 ปีทะลุ 10,000 สาขา ปีนี้ทุ่ม 6.5 พันล้านสกัดคู่แข่งเปิดอีก 550 สาขา
นายปิยะวัฒน์ ฐิตะสัทธาวรกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ในเครือซีพี ผู้บริหารร้านเซเว่น อีเลฟเว่น เปิดเผยว่า บริษัทฯ มั่นใจว่าอย่างช้าที่สุดภายในปลายปีนี้บริษัทฯ น่าจะได้รับอนุมัติหรือได้รับไลเซนส์จากบริษัทแม่ของเซเว่นฯ ในการเข้าไปดำเนินกิจการร้านเซเว่น อีเลฟเว่นในประเทศจีนจำนวน 1 โซน หลังจากที่ได้ทำเรื่องยื่นขออนุญาตไปยังบริษัทแม่ของเซเว่น อีเลฟเว่นที่ต่างประเทศมานานแล้ว
บริษัทแม่ของเซเว่นฯ ได้แบ่งพื้นที่ทางธุรกิจในประเทศจีนไว้เป็น 10 โซน แต่ละโซนมีประชากรจำนวน 120 ล้านคน ซึ่งได้มอบไลเซนส์ให้แก่กลุ่มธุรกิจดำเนินการไปแล้ว 5 โซน ประกอบด้วย 1. เซเว่นฯ จากญี่ปุ่นรับสิทธิ์โซนปักกิ่ง และเฉิงตู 2. เซเว่นฯ จากฮ่องกงรับสิทธิ์โซนกว่างโจว 3. เซเว่นฯ จากไต้หวันรับสิทธิ์โซนเซี่ยงไฮ้ จึงเหลืออีก 6 โซนที่ยังไม่ได้ให้ไลเซนส์ใคร
“บริษัทฯ คาดว่าหากได้รับสิทธิ์ในปีนี้แล้ว ปีหน้าก็คงจะเริ่มดำเนินการทันที และคาดว่าภายใน 3 ปีแรกธุรกิจจะสามารถอยู่ตัวได้ โดยแยกอีกทีมต่างประเทศขึ้นมาดูแลต่างจากประเทศไทย” นายปิยะวัฒน์กล่าว
อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ได้รับไลเซนส์จีนแน่นอนแล้ว จากนั้นบริษัทฯ จะขอไลเซนส์เพิ่มเติมอีกพร้อมกันทีเดียวในตลาดอินโดจีน คือ กัมพูชา ลาว เวียดนาม รวมทั้งพม่าด้วย เพื่อเป็นการรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซีในปี 2558 ที่ตลาดจะเปิดกว้าง ไม่ใช่แค่ไทยเท่านั้น
ในปี 2558 ที่เปิดเออีซีแล้วตลาดจะไม่ใช่แค่คนไทยเพียง 65-70 ล้านคนอีกต่อไป แต่ตลาดจะเพิ่มเป็น 600 กว่าล้านคนจาก 10 ประเทศในกลุ่มเออีซีที่ไม่มีพรมแดนมากั้นอีกแล้วในการทำธุรกิจ อีกทั้งจำนวนประชากรนักท่องเที่ยวต่างชาติจะเพิ่มจาก 5.5 ล้านคนในปี 2554 เป็น 8 ล้านคนในปี 2558 หรือเติบโต 45% ซึ่งจะทำให้มีประชากรที่เข้ามาเป็นลูกค้าเพิ่มขึ้นด้วย
นายปิยะวัฒน์กล่าวว่า สาเหตุที่บริษัทฯ มั่นใจว่าจะได้รับสิทธิ์ดังกล่าวเพิ่มนั้น เนื่องจากว่าเซเว่น อีเลฟเว่นในประเทศไทยประสบความสำเร็จอย่างมากตั้งแต่อดีตที่ผ่านมา ทำให้บริษัทแม่เล็งเห็นถึงศักยภาพของไทย เนื่องจากเซเว่นฯ ไทยเติบโตเฉลี่ย 10% มาตลอด และมีปริมาณลูกค้าเข้าร้านต่อวันต่อสาขาเฉลี่ย 1,426 คนซึ่งมากที่สุดทั่วโลก การเติบโตด้านยอดขายจากสาขาเดิม 10.9% อันดับที่ 1 จากเดิมอันดับที่ 3 ของโลกในปี 2554
ปัจจุบันมีสาขาในไทยรวม 6,822 สาขา เฉลี่ยเปิดสาขาใหม่ประมาณ 500-550 สาขาต่อปี จากเดิมช่วงแรกเปิด 400-450 สาขาต่อปี และตั้งเป้าหมายระยะยาวจะมีสาขาครบ 10,000 แห่ง และใช้งบรวม 30,000 ล้านบาทภายในปี 2561 หรืออีก 5 ปีจากนี้เร็วกว่าเป้าหมายเดิมที่ตั้งไว้ประมาณ 6-7 ปี ซึ่งเซเว่นฯ มีส่วนแบ่งตลาดอันดับที่ 1 ในตลาดคอนวีเนียนสโตร์ด้วยแชร์ 75%
สำหรับแผนการลงทุนปี 2556 บริษัทฯ ตั้งงบการลงทุนไว้ที่ 6,000-6,500 ล้านบาท แบ่งเป็นงบ 3,000 ล้านบาท ใช้สำหรับขยายสาขาใหม่เฉลี่ย 550 สาขา งบ 1,500 ล้านบาท ใช้สำหรับการก่อสร้างและการขยายศูนย์กระจายสินค้าต่างๆ งบ 1,000 ล้านบาทใช้สำหรับลงทุนเรื่องระบบไอทีต่างๆ 4. งบที่เหลือสำหรับการลงทุนสร้างโรงงานผลิตอาหาร งบการตลาด งบกิจกรรมต่างๆ ตั้งเป้าหมายการเติบโตเฉลี่ยปีละ 13-15%
กลยุทธ์การขยายสาขาจะเน้นเพิ่มปริมาณแฟรนไชส์มากขึ้นเป็น 57-58% จากเดิมสัดส่วน 56% ที่เหลือเป็นสาขาของบริษัทฯฯ ต้องพยายามเจาะตลาดหัวเมืองรองและตลาดต่างจังหวัดมากขึ้น การขยายกลุ่มอาหารมากขึ้นจากเดิมสัดส่วนรายได้จากอาหาร 75% การเน้นซีอาร์เอ็มและลอยัลตีโปรแกรมมากขึ้น เน้นสินค้าไพรเวตแบรนด์มากขึ้น พัฒนาเทคโนโลยีในการดำเนินธุรกิจ และร่วมมือกับซัปพลายเออร์มากขึ้นเพื่อสร้างความแตกต่างจากตลาด
“ตลาดคอนวีเนียนสโตร์ทุกวันนี้มีรายใหม่เข้ามาถือว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะทำให้ตลาดรวมเติบโตมากขึ้นกว่าเดิม แต่การแข่งขันก็สูงขึ้นเช่นกัน” นายปิยะวัฒน์กล่าว
ทั้งนี้ ไทยเป็นประเทศที่มีสาขาเซเว่น อีเลฟเว่นมากที่สุดอันดับ 3 โดยญี่ปุ่นมีมากสุดอันดับ 1 ของโลกด้วยปริมาณ 14,579 สาขา อันดับ 2 คือ อเมริกา มีจำนวน 7,558 สาขา ไทยอันดับ 3 คือ 6,773 สาขา และเกาหลีใต้อันดับ 4 จำนวน 6,621 สาขา
นายปิยะวัฒน์ ฐิตะสัทธาวรกุล กรรมการผู้จัดการ บริษัท ซีพี ออลล์ จำกัด (มหาชน) ในเครือซีพี ผู้บริหารร้านเซเว่น อีเลฟเว่น เปิดเผยว่า บริษัทฯ มั่นใจว่าอย่างช้าที่สุดภายในปลายปีนี้บริษัทฯ น่าจะได้รับอนุมัติหรือได้รับไลเซนส์จากบริษัทแม่ของเซเว่นฯ ในการเข้าไปดำเนินกิจการร้านเซเว่น อีเลฟเว่นในประเทศจีนจำนวน 1 โซน หลังจากที่ได้ทำเรื่องยื่นขออนุญาตไปยังบริษัทแม่ของเซเว่น อีเลฟเว่นที่ต่างประเทศมานานแล้ว
บริษัทแม่ของเซเว่นฯ ได้แบ่งพื้นที่ทางธุรกิจในประเทศจีนไว้เป็น 10 โซน แต่ละโซนมีประชากรจำนวน 120 ล้านคน ซึ่งได้มอบไลเซนส์ให้แก่กลุ่มธุรกิจดำเนินการไปแล้ว 5 โซน ประกอบด้วย 1. เซเว่นฯ จากญี่ปุ่นรับสิทธิ์โซนปักกิ่ง และเฉิงตู 2. เซเว่นฯ จากฮ่องกงรับสิทธิ์โซนกว่างโจว 3. เซเว่นฯ จากไต้หวันรับสิทธิ์โซนเซี่ยงไฮ้ จึงเหลืออีก 6 โซนที่ยังไม่ได้ให้ไลเซนส์ใคร
“บริษัทฯ คาดว่าหากได้รับสิทธิ์ในปีนี้แล้ว ปีหน้าก็คงจะเริ่มดำเนินการทันที และคาดว่าภายใน 3 ปีแรกธุรกิจจะสามารถอยู่ตัวได้ โดยแยกอีกทีมต่างประเทศขึ้นมาดูแลต่างจากประเทศไทย” นายปิยะวัฒน์กล่าว
อย่างไรก็ตาม หลังจากที่ได้รับไลเซนส์จีนแน่นอนแล้ว จากนั้นบริษัทฯ จะขอไลเซนส์เพิ่มเติมอีกพร้อมกันทีเดียวในตลาดอินโดจีน คือ กัมพูชา ลาว เวียดนาม รวมทั้งพม่าด้วย เพื่อเป็นการรองรับการเปิดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือเออีซีในปี 2558 ที่ตลาดจะเปิดกว้าง ไม่ใช่แค่ไทยเท่านั้น
ในปี 2558 ที่เปิดเออีซีแล้วตลาดจะไม่ใช่แค่คนไทยเพียง 65-70 ล้านคนอีกต่อไป แต่ตลาดจะเพิ่มเป็น 600 กว่าล้านคนจาก 10 ประเทศในกลุ่มเออีซีที่ไม่มีพรมแดนมากั้นอีกแล้วในการทำธุรกิจ อีกทั้งจำนวนประชากรนักท่องเที่ยวต่างชาติจะเพิ่มจาก 5.5 ล้านคนในปี 2554 เป็น 8 ล้านคนในปี 2558 หรือเติบโต 45% ซึ่งจะทำให้มีประชากรที่เข้ามาเป็นลูกค้าเพิ่มขึ้นด้วย
นายปิยะวัฒน์กล่าวว่า สาเหตุที่บริษัทฯ มั่นใจว่าจะได้รับสิทธิ์ดังกล่าวเพิ่มนั้น เนื่องจากว่าเซเว่น อีเลฟเว่นในประเทศไทยประสบความสำเร็จอย่างมากตั้งแต่อดีตที่ผ่านมา ทำให้บริษัทแม่เล็งเห็นถึงศักยภาพของไทย เนื่องจากเซเว่นฯ ไทยเติบโตเฉลี่ย 10% มาตลอด และมีปริมาณลูกค้าเข้าร้านต่อวันต่อสาขาเฉลี่ย 1,426 คนซึ่งมากที่สุดทั่วโลก การเติบโตด้านยอดขายจากสาขาเดิม 10.9% อันดับที่ 1 จากเดิมอันดับที่ 3 ของโลกในปี 2554
ปัจจุบันมีสาขาในไทยรวม 6,822 สาขา เฉลี่ยเปิดสาขาใหม่ประมาณ 500-550 สาขาต่อปี จากเดิมช่วงแรกเปิด 400-450 สาขาต่อปี และตั้งเป้าหมายระยะยาวจะมีสาขาครบ 10,000 แห่ง และใช้งบรวม 30,000 ล้านบาทภายในปี 2561 หรืออีก 5 ปีจากนี้เร็วกว่าเป้าหมายเดิมที่ตั้งไว้ประมาณ 6-7 ปี ซึ่งเซเว่นฯ มีส่วนแบ่งตลาดอันดับที่ 1 ในตลาดคอนวีเนียนสโตร์ด้วยแชร์ 75%
สำหรับแผนการลงทุนปี 2556 บริษัทฯ ตั้งงบการลงทุนไว้ที่ 6,000-6,500 ล้านบาท แบ่งเป็นงบ 3,000 ล้านบาท ใช้สำหรับขยายสาขาใหม่เฉลี่ย 550 สาขา งบ 1,500 ล้านบาท ใช้สำหรับการก่อสร้างและการขยายศูนย์กระจายสินค้าต่างๆ งบ 1,000 ล้านบาทใช้สำหรับลงทุนเรื่องระบบไอทีต่างๆ 4. งบที่เหลือสำหรับการลงทุนสร้างโรงงานผลิตอาหาร งบการตลาด งบกิจกรรมต่างๆ ตั้งเป้าหมายการเติบโตเฉลี่ยปีละ 13-15%
กลยุทธ์การขยายสาขาจะเน้นเพิ่มปริมาณแฟรนไชส์มากขึ้นเป็น 57-58% จากเดิมสัดส่วน 56% ที่เหลือเป็นสาขาของบริษัทฯฯ ต้องพยายามเจาะตลาดหัวเมืองรองและตลาดต่างจังหวัดมากขึ้น การขยายกลุ่มอาหารมากขึ้นจากเดิมสัดส่วนรายได้จากอาหาร 75% การเน้นซีอาร์เอ็มและลอยัลตีโปรแกรมมากขึ้น เน้นสินค้าไพรเวตแบรนด์มากขึ้น พัฒนาเทคโนโลยีในการดำเนินธุรกิจ และร่วมมือกับซัปพลายเออร์มากขึ้นเพื่อสร้างความแตกต่างจากตลาด
“ตลาดคอนวีเนียนสโตร์ทุกวันนี้มีรายใหม่เข้ามาถือว่าเป็นเรื่องที่ดี เพราะทำให้ตลาดรวมเติบโตมากขึ้นกว่าเดิม แต่การแข่งขันก็สูงขึ้นเช่นกัน” นายปิยะวัฒน์กล่าว
ทั้งนี้ ไทยเป็นประเทศที่มีสาขาเซเว่น อีเลฟเว่นมากที่สุดอันดับ 3 โดยญี่ปุ่นมีมากสุดอันดับ 1 ของโลกด้วยปริมาณ 14,579 สาขา อันดับ 2 คือ อเมริกา มีจำนวน 7,558 สาขา ไทยอันดับ 3 คือ 6,773 สาขา และเกาหลีใต้อันดับ 4 จำนวน 6,621 สาขา