การลงทุนในเศรษฐกิจมหภาคในปี 2013 นักวิเคราะห์ให้มุมมองน้ำหนักการลงทุนในตลาดหุ้นมากกว่าการลงทุนนในตลาดตราสารหนี้ เห็นได้จากดัชนี MSCI World ให้ผลตอบแทนการลงทุนโดยรวมตั้งแต่ต้นปีจนถึงปัจจุบันที่ราว 7.4% ในขณะที่ผลตอบแทนในตราสารหนี้ให้ผลตอบแทนเพียง 3.8% ในช่วงเวลาเดียวกัน ส่วนกลยุทธ์การลงทุนในปี 2013 หลายฝ่ายยังคงมุมมองให้ลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงมากกว่าการลงทุนในตราสารหนี้ และมุมมองการลงทุนต่อตราสารหนี้ในตลาด EM-Asia จะมีมุมมองให้นักลงทุนพิจารณาดังนี้
เนื่องจาก
ส่วนทรัพย์สินปลอดภัยที่ออกโดยรัฐบาลประเทศต่างๆและตราสารหนี้ภาคเอกชนของสหรัฐที่มีอันดับน่าลงทุนที่มีราคาแพงนั้นเป็นสิ่งที่ผ่านไปแล้ว เป็นผลมาจากแรงกดดันจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้จัดการพอร์ตลงทุนค่อยๆหันไปไปหาสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงเพื่อให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า ในปีที่ผ่านมา ตราสารหนี้ที่มีอัตราผลตอบแทนสูงในตลาดเอเชียและสหรัฐฯปรับตัวขึ้นโดดเด่นที่สุด เนื่องจากผู้จัดการพอร์ตลงทุนเน้นการลงทุนในตราสารที่มีผลตอบแทนสุงเพื่อเพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุน แต่ตอนนี้การลงทุนในตราสารประเภทนี้ไม่สามารถสร้างผลตอบแทนหรือความสนใจในการลงทุนอีก เพราะสินทรัพย์ปลอดภัยที่ออกโดยรัฐบาลประเทศต่างๆนั้น รวมถึงตราสารหนี้ภาคเอกชนของสหรัฐฯที่มีอันดับความน่าเชื่อถือในระดับน่าลงทุนนั้น อยู่ในระดับที่ค่อนข้างแพงมาเป็นเวลานานแล้ว และสำหรับตลาด EM-Asia ที่ปรับตัวโดดเด่นในปีที่ผ่านมา
ภาวะการซื้อขายหุ้นของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหุ้นเอเชีย 7 แห่ง ในช่วงสัปดาห์ที่สิ้นสุด ณ วันที่ 25 ม.ค.พบว่า นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิสูงสุด ในตลาดหุ้นญี่ปุ่นคิดเป็นมูลค่า 2,377 ล้านดอลลาร์ หรือราว 71,040 ล้านบาท และขายสุทธิเพียงแห่งเดียวในตลาดหุ้นเกาหลีใต้คิดเป็นมูลค่า 429 ล้านดอลลาร์ หรือราว 12,821 ล้านบาท ขณะที่ซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทยคิดเป็นมูลค่า 184 ล้าน ดอลลาร์ หรือราว 5,499 ล้านบาท
นับตั้งแต่ต้นปีนี้ นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิสูงสุดในตลาดหุ้นญี่ปุ่นคิดเป็น มูลค่า 7,374 ล้านดอลลาร์หรือ 220,384 ล้านบาท ขณะที่ซื้อสุทธิในตลาดหุ้น ไทยคิดเป็นมูลค่า 434 ล้านดอลลาร์ หรือราว 12,970 ล้านบาท และขายสุทธิ สูงสุดในตลาดหุ้นเกาหลีใต้คิดเป็นมูลค่า 648 ล้านดอลลาร์ หรือราว 19,366 ล้านบาท
(ข้อมูลจาก บทวิเคราะห์ของ Phillip Capital Research และสำนักข่าวรอยเตอร์)
T.Thammasak.
- ปรับลดน้ำหนักการลงทุนในตราสารหนี้สกุลเงินสหรัฐในตลาด EM-Asia เป็นต่ำกว่าตลาด
- ปรับลดน้ำหนักการลงทุนในตราสารหนี้สกุลเงินท้องถิ่นในตลาด EM-Asia เป็นเท่าตลาด
- คงการลงทุนมากว่าตลาดในตราสารหนี้ที่ให้ผลตอบแทนสูงในตลาด EM-Asia และสหรัฐฯ
- ปรับลดน้ำหนักการลงทุนในหลักทรัพย์ประเภทที่มีสินเชื่อบ้านเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน(MBS) ของสหรัฐ
เนื่องจาก
- ตราสารหนี้สกุลเงินสหรัฐในตลาด EM-Asia ซื้อขายเกินมูลค่าที่เหมาะสมแล้ว
- การอ่อนตัวลงของสกุลเงินสหรัฐเทียบกับสกุลเงินประเทศเกิดใหม่ในเอเชีย น่าจะเป็นการปรับโครงสร้างครั้งใหม่ของสกุลเงินสหรัฐฯ
- อัตราดอกเบี้ยน่าจะกลับสู่ระดับปกติ เพราะอัตราการเติบโตที่ปรับตัวดีขึ้น
- พอร์ตการลงทุนเน้นลงทุนมากกว่าตลาดในตราสารหนี้มากเกินไปตั้งแต่ปีที่แล้ว จึงเป็นสาเหตุให้กลับมาเน้นการลงทุ้นในตลาดหุ้นมากขึ้น
ส่วนทรัพย์สินปลอดภัยที่ออกโดยรัฐบาลประเทศต่างๆและตราสารหนี้ภาคเอกชนของสหรัฐที่มีอันดับน่าลงทุนที่มีราคาแพงนั้นเป็นสิ่งที่ผ่านไปแล้ว เป็นผลมาจากแรงกดดันจากอัตราผลตอบแทนพันธบัตรที่ยังมีอยู่อย่างต่อเนื่อง ทำให้ผู้จัดการพอร์ตลงทุนค่อยๆหันไปไปหาสินทรัพย์ที่มีความเสี่ยงเพื่อให้ผลตอบแทนที่ดีกว่า ในปีที่ผ่านมา ตราสารหนี้ที่มีอัตราผลตอบแทนสูงในตลาดเอเชียและสหรัฐฯปรับตัวขึ้นโดดเด่นที่สุด เนื่องจากผู้จัดการพอร์ตลงทุนเน้นการลงทุนในตราสารที่มีผลตอบแทนสุงเพื่อเพิ่มผลตอบแทนจากการลงทุน แต่ตอนนี้การลงทุนในตราสารประเภทนี้ไม่สามารถสร้างผลตอบแทนหรือความสนใจในการลงทุนอีก เพราะสินทรัพย์ปลอดภัยที่ออกโดยรัฐบาลประเทศต่างๆนั้น รวมถึงตราสารหนี้ภาคเอกชนของสหรัฐฯที่มีอันดับความน่าเชื่อถือในระดับน่าลงทุนนั้น อยู่ในระดับที่ค่อนข้างแพงมาเป็นเวลานานแล้ว และสำหรับตลาด EM-Asia ที่ปรับตัวโดดเด่นในปีที่ผ่านมา
ภาวะการซื้อขายหุ้นของนักลงทุนต่างชาติในตลาดหุ้นเอเชีย 7 แห่ง ในช่วงสัปดาห์ที่สิ้นสุด ณ วันที่ 25 ม.ค.พบว่า นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิสูงสุด ในตลาดหุ้นญี่ปุ่นคิดเป็นมูลค่า 2,377 ล้านดอลลาร์ หรือราว 71,040 ล้านบาท และขายสุทธิเพียงแห่งเดียวในตลาดหุ้นเกาหลีใต้คิดเป็นมูลค่า 429 ล้านดอลลาร์ หรือราว 12,821 ล้านบาท ขณะที่ซื้อสุทธิในตลาดหุ้นไทยคิดเป็นมูลค่า 184 ล้าน ดอลลาร์ หรือราว 5,499 ล้านบาท
นับตั้งแต่ต้นปีนี้ นักลงทุนต่างชาติซื้อสุทธิสูงสุดในตลาดหุ้นญี่ปุ่นคิดเป็น มูลค่า 7,374 ล้านดอลลาร์หรือ 220,384 ล้านบาท ขณะที่ซื้อสุทธิในตลาดหุ้น ไทยคิดเป็นมูลค่า 434 ล้านดอลลาร์ หรือราว 12,970 ล้านบาท และขายสุทธิ สูงสุดในตลาดหุ้นเกาหลีใต้คิดเป็นมูลค่า 648 ล้านดอลลาร์ หรือราว 19,366 ล้านบาท
(ข้อมูลจาก บทวิเคราะห์ของ Phillip Capital Research และสำนักข่าวรอยเตอร์)
T.Thammasak.