เอไทม์ปิดตำนานคลื่นฮอต เอฟเอ็ม หลังหมดสัญญา เล็งดึงกลับมาอีกครั้งในรูปแบบใหม่ในอนาคต หวัง กสทช.ชัดเจน เตรียมลุยวิทยุดิจิตอลเต็มสูบ มั่นใจดันรายได้ทั้งปีโต 10% แตะ 1,200 ล้านบาท
นางสายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (สายธุรกิจสื่อ) บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปีนี้เอไทม์เหลือคลื่นวิทยุเพียง 3 คลื่น คือ ชิล เอฟเอ็ม 89, 94 อีเอฟเอ็ม และกรีนเวฟ 106.5 เอฟเอ็ม ส่วน 91.5 ฮอต เอฟเอ็ม หลังหมดสัญญาสัมปทานลงเมื่อสิ้นเดือน ธ.ค. ปีที่ผ่านมา ซึ่งทางบริษัทตัดสินใจที่จะไม่ต่อสัญญาต่อหลังจากพบว่าไลฟ์สไตล์วัยรุ่นเปลี่ยนแปลงไป เข้าถึงเทคโนโลยีมากขึ้น
ขณะที่สื่อวิทยุยังคงย่ำอยู่กับที่ เทคโนโลยีไม่ได้ถูกพัฒนาตาม ส่วนหนึ่งมาจากการหยุดรอดูสถานการณ์ของสื่อวิทยุว่าจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด จากการที่ กสทช.เข้ามากำกับดูแล แต่ถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีกฎระเบียบออกมาชัดเจน ทำให้ทั้งเจ้าของสถานีวิทยุและผู้เช่าคลื่นวิทยุเองจึงยังไม่มีการลงทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อให้ทันต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงไปในสังคมปัจจุบัน
“ส่วนสำคัญที่ต้องยุติคลื่นฮอต เอฟเอ็ม มาจากการหมดสัญญาสัมปทานเป็นหลัก บวกกับในช่วง 2-3 ปีคลื่นนี้มีภาวะการขาดทุนบ้างเล็กน้อย แต่เมื่อรวมรายได้วิทยุเข้าด้วยกันยังไปได้ดีอยู่ ทั้งนี้ บริษัทยังมีแผนที่จะนำฮอต เอฟเอ็มกลับมาอีกครั้งในอนาคต โดยอาจจะกลับมาในรูปแบบคลื่นวิทยุดิจิตอล หรือสื่ออื่นๆ แทน เพราะฮอต เอฟเอ็มถือเป็นคลื่นที่สร้างตำนานและเรื่องราวต่างๆ ที่ผ่านมากว่า 20 ปี”
อย่างไรก็ตาม พบว่าปัจจุบันวัยรุ่นหันมาฟังคลื่นวิทยุในเครือมากขึ้นทั้งอีเอฟเอ็ม และกรีนเวฟ การที่ฮอตเอฟเอ็มหายไป แต่ฐานผู้ฟังยังคงอยู่เท่าเดิม ซึ่งปัจจุบันฐานผู้ฟังของ 3คลื่นจะถูกแบ่งตามรูปแบบการใช้ชีวิต ไลฟ์สไตล์ มากกว่าแบ่งตามระดับอายุอย่างที่ผ่านมา เช่น คลื่นชิล เอฟเอ็ม 89 ได้ปรับรูปแบบรายการด้วยคอนเซ็ปต์ ชิล เอฟเอ็ม 89 คลื่นเดียว กิน เที่ยว ชอป เป็นต้น
นางสายทิพย์กล่าวต่อว่า การที่เหลือวิทยุอยู่ 3 คลื่น บริษัทจะต้องทำให้ทั้ง 3 คลื่นมีรายได้มากขึ้น ทดแทนรายได้จากฮอต เอฟเอ็มที่หายไป จะมีการจัดกิจกรรมมากขึ้น หรือมีคอนเทนต์ใหม่ๆ ซึ่งรายได้จากกลุ่มคลื่นวิทยุจะยังคงสร้างรายได้เป็นสัดส่วน 70% รองลงมา คือ โชว์บิซ 15% โดยปีนี้จำนวนงานใกล้เคียงปีก่อน, เคเบิลทีวี ช่องกรีนแชนเนล 10% ซึ่งปีนี้มีแนวโน้มการเติบโตของรายได้มากสุด และทราเวลอีก 5%
ทั้งนี้ มองว่าสื่อวิทยุยังเป็นสื่อหลักและยังคงอยู่คู่กับคนไทยได้อีกนาน เพียงแต่ช่องทางการรับฟังคลื่นวิทยุเปลี่ยนแปลงไปเท่านั้น เห็นได้จากภาพรวมตลาดโฆษณาในสื่อวิทยุที่ยังโตได้กว่า 10% ในปีที่ผ่านมา
นางสายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (สายธุรกิจสื่อ) บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ปีนี้เอไทม์เหลือคลื่นวิทยุเพียง 3 คลื่น คือ ชิล เอฟเอ็ม 89, 94 อีเอฟเอ็ม และกรีนเวฟ 106.5 เอฟเอ็ม ส่วน 91.5 ฮอต เอฟเอ็ม หลังหมดสัญญาสัมปทานลงเมื่อสิ้นเดือน ธ.ค. ปีที่ผ่านมา ซึ่งทางบริษัทตัดสินใจที่จะไม่ต่อสัญญาต่อหลังจากพบว่าไลฟ์สไตล์วัยรุ่นเปลี่ยนแปลงไป เข้าถึงเทคโนโลยีมากขึ้น
ขณะที่สื่อวิทยุยังคงย่ำอยู่กับที่ เทคโนโลยีไม่ได้ถูกพัฒนาตาม ส่วนหนึ่งมาจากการหยุดรอดูสถานการณ์ของสื่อวิทยุว่าจะเปลี่ยนแปลงไปในทิศทางใด จากการที่ กสทช.เข้ามากำกับดูแล แต่ถึงขณะนี้ก็ยังไม่มีกฎระเบียบออกมาชัดเจน ทำให้ทั้งเจ้าของสถานีวิทยุและผู้เช่าคลื่นวิทยุเองจึงยังไม่มีการลงทุนพัฒนาเทคโนโลยีเพื่อให้ทันต่อสถานการณ์การเปลี่ยนแปลงไปในสังคมปัจจุบัน
“ส่วนสำคัญที่ต้องยุติคลื่นฮอต เอฟเอ็ม มาจากการหมดสัญญาสัมปทานเป็นหลัก บวกกับในช่วง 2-3 ปีคลื่นนี้มีภาวะการขาดทุนบ้างเล็กน้อย แต่เมื่อรวมรายได้วิทยุเข้าด้วยกันยังไปได้ดีอยู่ ทั้งนี้ บริษัทยังมีแผนที่จะนำฮอต เอฟเอ็มกลับมาอีกครั้งในอนาคต โดยอาจจะกลับมาในรูปแบบคลื่นวิทยุดิจิตอล หรือสื่ออื่นๆ แทน เพราะฮอต เอฟเอ็มถือเป็นคลื่นที่สร้างตำนานและเรื่องราวต่างๆ ที่ผ่านมากว่า 20 ปี”
อย่างไรก็ตาม พบว่าปัจจุบันวัยรุ่นหันมาฟังคลื่นวิทยุในเครือมากขึ้นทั้งอีเอฟเอ็ม และกรีนเวฟ การที่ฮอตเอฟเอ็มหายไป แต่ฐานผู้ฟังยังคงอยู่เท่าเดิม ซึ่งปัจจุบันฐานผู้ฟังของ 3คลื่นจะถูกแบ่งตามรูปแบบการใช้ชีวิต ไลฟ์สไตล์ มากกว่าแบ่งตามระดับอายุอย่างที่ผ่านมา เช่น คลื่นชิล เอฟเอ็ม 89 ได้ปรับรูปแบบรายการด้วยคอนเซ็ปต์ ชิล เอฟเอ็ม 89 คลื่นเดียว กิน เที่ยว ชอป เป็นต้น
นางสายทิพย์กล่าวต่อว่า การที่เหลือวิทยุอยู่ 3 คลื่น บริษัทจะต้องทำให้ทั้ง 3 คลื่นมีรายได้มากขึ้น ทดแทนรายได้จากฮอต เอฟเอ็มที่หายไป จะมีการจัดกิจกรรมมากขึ้น หรือมีคอนเทนต์ใหม่ๆ ซึ่งรายได้จากกลุ่มคลื่นวิทยุจะยังคงสร้างรายได้เป็นสัดส่วน 70% รองลงมา คือ โชว์บิซ 15% โดยปีนี้จำนวนงานใกล้เคียงปีก่อน, เคเบิลทีวี ช่องกรีนแชนเนล 10% ซึ่งปีนี้มีแนวโน้มการเติบโตของรายได้มากสุด และทราเวลอีก 5%
ทั้งนี้ มองว่าสื่อวิทยุยังเป็นสื่อหลักและยังคงอยู่คู่กับคนไทยได้อีกนาน เพียงแต่ช่องทางการรับฟังคลื่นวิทยุเปลี่ยนแปลงไปเท่านั้น เห็นได้จากภาพรวมตลาดโฆษณาในสื่อวิทยุที่ยังโตได้กว่า 10% ในปีที่ผ่านมา