“สิงห์” เปิดยุทธศาสตร์ใหม่ ปรับรูปแบบไร่บุญรอดที่เชียงรายเป็น สิงห์ปาร์คเชียงราย เปิดกว้างเป็นแหล่งท่องเที่ยวใหม่ พร้อมพัฒนาสินค้าวางขายสู่ตลาดวงกว้าง ปีนี้ทุ่มงบอีก 500 ล้านบาทพัฒนาต่อเนื่อง ผุดพูลวิลลาสิ้นปีนี้
นายอิทธิกร บรรจบดี ผู้จัดการประจำสำนักกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สิงห์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด เปิดเผยว่า ทางกลุ่มสิงห์ได้ตั้งบริษัท บุญรอดฟาร์ม จำกัด เพื่อทำหน้าที่บริหารและจัดการสิงห์ปาร์คเชียงราย ซึ่งเดิมชื่อ ไร่บุญรอด ตั้งอยู่ที่จังหวัดเชียงรา ย ซึ่งจากเดิมอยู่ในความดูแลของบริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด โดยสิงห์ปาร์คเชียงรายมีพื้นที่รวม 8,000 กว่าไร่ เปิดดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2526 แล้ว
เนื่องจากแต่เดิมพื้นที่ดังกล่าวเป็นฟาร์มปิดใช้ในการเพาะปลูกการเกษตรของกลุ่มสิงห์ และใช้ในการพัฒนาสายพันธุ์ผลไม้ต่างๆ เพื่อใช้ในการผลิต แต่ขณะนี้ได้เปิดบางส่วนเป็นสถานที่ท่องเที่ยวซึ่งเริ่มตั้งแต่ปีที่แล้ว มีคนเข้ามาเที่ยวประมาณ 3,400 คนต่อวัน จึงต้องมีการพัฒนาและปรับรูปแบบต่างๆ เพื่อให้มีความเหมาะสม แต่ยังคงเปิดให้เข้าฟรี คาดว่าจะเริ่มเก็บค่าผ่านประตูประมาณปลายปีนี้
สิงห์ปาร์คมีการพัฒนาต่อเนื่องมาตลอด ซึ่งปัจจุบันใช้พื้นที่ไปแล้ว 4,000 กว่าไร่ พื้นที่หลักๆ ใช้เป็นฟาร์มปลูกพืชพันธุ์ต่างๆ และลานกิจกรรม นอกนั้นก็มีพื้นที่ปลูกชา รวม 600 ไร่ ปลูกยางพารา 2,600 ไร่ และผลไม้ต่างๆ เช่น พุทรา มะเฟือง สตรอเบอร์รี เมลอน เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ผลผลิตส่วนใหญ่ เช่น ผลไม้ยังคงจำหน่ายอยู่ในเชียงรายเท่านั้น ทั้งในรูปแบบสดและแบบอบแห้ง ใช้ชื่อแบรนด์ว่า “บุญรอดฟาร์ม” เช่น น้ำเสาวรส น้ำใบหม่อน ส่วนใบชาส่งออกในรูปแบบโออีเอ็มไปยังไต้หวันและจีนเป็นหลัก จะเริ่มขยายไปตะวันออกกลางและยุโรป มีกำลังผลิตชาประมาณ 15 ตันต่อเดือน
อย่างไรก็ตาม ยังอยู่ระหว่างการพัฒนาพื้นที่เชิงพักผ่อนในรูปแบบพูลวิลลาประมาณ 20 หลัง คาดว่าจะแล้วเสร็จปลายปีนี้เพื่อเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยว และขยายโซนร้านอาหารภูภิรมย์จาก 120 ที่นั่งเป็น 300 ที่นั่ง ซึ่งทางกลุ่มบุญรอดมีเป้าหมายที่จะพัฒนาสิงห์ปาร์คเชียงรายให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ทางการเกษตรเป็นศูนย์ให้การเรียนรู้เรื่องชา เพราะที่นี่เป็นโรงงานชาที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน และต้องการให้เป็นที่พักผ่อนที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตร ภายใต้คอนเซ็ปต์ ทำอย่างไรให้ภาคการเกษตร ธรรมชาติ และชุมชนสามารถอยู่ร่วมกันได้
ทั้งนี้ ปีนี้ตั้งงบประมาณลงทุนรวมไว้ที่ 200 ล้านบาทเพื่อพัฒนาสิ่งต่างๆ เช่น สร้างที่พักแบบพูลวิลลา การขยายแปลงปลูกผลไม้ต่างๆ เพื่อเพิ่มกำลังผลิตและพัฒนาคุณภาพต่อเนื่อง และมีแผนที่จะนำผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ผลิตได้นำมาขายในกรุงเทพฯ ด้วย แต่ต้องรอให้มีความพร้อมทางด้านกำลังผลิตก่อน สำหรับรายได้จากสิงห์ปาร์คเชียงรายนี้ปัจจุบันมีประมาณหลักร้อยล้านบาท แต่คาดว่าภายใน 3 ปีจากนี้จะมีรายได้รวมเป็น 500 ล้านบาท โดยคาดว่ารายได้จากภาคการท่องเที่ยวจะมี 60% ซึ่งปัจจุบันรายได้จากการจำหน่ายชามีสัดส่วนมากที่สุดกว่า 80%
นายอิทธิกร บรรจบดี ผู้จัดการประจำสำนักกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สิงห์ คอร์ปอเรชั่น จำกัด เปิดเผยว่า ทางกลุ่มสิงห์ได้ตั้งบริษัท บุญรอดฟาร์ม จำกัด เพื่อทำหน้าที่บริหารและจัดการสิงห์ปาร์คเชียงราย ซึ่งเดิมชื่อ ไร่บุญรอด ตั้งอยู่ที่จังหวัดเชียงรา ย ซึ่งจากเดิมอยู่ในความดูแลของบริษัท บุญรอดบริวเวอรี่ จำกัด โดยสิงห์ปาร์คเชียงรายมีพื้นที่รวม 8,000 กว่าไร่ เปิดดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2526 แล้ว
เนื่องจากแต่เดิมพื้นที่ดังกล่าวเป็นฟาร์มปิดใช้ในการเพาะปลูกการเกษตรของกลุ่มสิงห์ และใช้ในการพัฒนาสายพันธุ์ผลไม้ต่างๆ เพื่อใช้ในการผลิต แต่ขณะนี้ได้เปิดบางส่วนเป็นสถานที่ท่องเที่ยวซึ่งเริ่มตั้งแต่ปีที่แล้ว มีคนเข้ามาเที่ยวประมาณ 3,400 คนต่อวัน จึงต้องมีการพัฒนาและปรับรูปแบบต่างๆ เพื่อให้มีความเหมาะสม แต่ยังคงเปิดให้เข้าฟรี คาดว่าจะเริ่มเก็บค่าผ่านประตูประมาณปลายปีนี้
สิงห์ปาร์คมีการพัฒนาต่อเนื่องมาตลอด ซึ่งปัจจุบันใช้พื้นที่ไปแล้ว 4,000 กว่าไร่ พื้นที่หลักๆ ใช้เป็นฟาร์มปลูกพืชพันธุ์ต่างๆ และลานกิจกรรม นอกนั้นก็มีพื้นที่ปลูกชา รวม 600 ไร่ ปลูกยางพารา 2,600 ไร่ และผลไม้ต่างๆ เช่น พุทรา มะเฟือง สตรอเบอร์รี เมลอน เป็นต้น
อย่างไรก็ตาม ผลผลิตส่วนใหญ่ เช่น ผลไม้ยังคงจำหน่ายอยู่ในเชียงรายเท่านั้น ทั้งในรูปแบบสดและแบบอบแห้ง ใช้ชื่อแบรนด์ว่า “บุญรอดฟาร์ม” เช่น น้ำเสาวรส น้ำใบหม่อน ส่วนใบชาส่งออกในรูปแบบโออีเอ็มไปยังไต้หวันและจีนเป็นหลัก จะเริ่มขยายไปตะวันออกกลางและยุโรป มีกำลังผลิตชาประมาณ 15 ตันต่อเดือน
อย่างไรก็ตาม ยังอยู่ระหว่างการพัฒนาพื้นที่เชิงพักผ่อนในรูปแบบพูลวิลลาประมาณ 20 หลัง คาดว่าจะแล้วเสร็จปลายปีนี้เพื่อเปิดเป็นแหล่งท่องเที่ยว และขยายโซนร้านอาหารภูภิรมย์จาก 120 ที่นั่งเป็น 300 ที่นั่ง ซึ่งทางกลุ่มบุญรอดมีเป้าหมายที่จะพัฒนาสิงห์ปาร์คเชียงรายให้เป็นศูนย์การเรียนรู้ทางการเกษตรเป็นศูนย์ให้การเรียนรู้เรื่องชา เพราะที่นี่เป็นโรงงานชาที่ใหญ่ที่สุดในอาเซียน และต้องการให้เป็นที่พักผ่อนที่ท่องเที่ยวเชิงเกษตร ภายใต้คอนเซ็ปต์ ทำอย่างไรให้ภาคการเกษตร ธรรมชาติ และชุมชนสามารถอยู่ร่วมกันได้
ทั้งนี้ ปีนี้ตั้งงบประมาณลงทุนรวมไว้ที่ 200 ล้านบาทเพื่อพัฒนาสิ่งต่างๆ เช่น สร้างที่พักแบบพูลวิลลา การขยายแปลงปลูกผลไม้ต่างๆ เพื่อเพิ่มกำลังผลิตและพัฒนาคุณภาพต่อเนื่อง และมีแผนที่จะนำผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ผลิตได้นำมาขายในกรุงเทพฯ ด้วย แต่ต้องรอให้มีความพร้อมทางด้านกำลังผลิตก่อน สำหรับรายได้จากสิงห์ปาร์คเชียงรายนี้ปัจจุบันมีประมาณหลักร้อยล้านบาท แต่คาดว่าภายใน 3 ปีจากนี้จะมีรายได้รวมเป็น 500 ล้านบาท โดยคาดว่ารายได้จากภาคการท่องเที่ยวจะมี 60% ซึ่งปัจจุบันรายได้จากการจำหน่ายชามีสัดส่วนมากที่สุดกว่า 80%