กูรูการตลาด “กูเกิล เฟซบุ๊ก เอ็นโซโก้” ชี้กลยุทธ์มาร์เกตติ้ง ดิจิตอลบูม เทคโนโลยีเปลี่ยนพฤติกรรมผู้บริโภคอยู่ในโลกออนไลน์ 16 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ การตัดสินใจซื้อสินค้าต้องหาข้อมูล เพื่อนในเฟซบุ๊กมีอิทธิพลสูง แนะนักการตลาดปรับตัวลุยการตลาดบนโลกออนไลน์ ชูกุญแจแห่งความสำเร็จ แฟนเพจต้องการสิทธิประโยชน์ โปรโมชันล่อใจ
วันนี้ (13 พ.ย.) สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทยจัดงานสัมมนาขึ้นในหัวข้อ Marketing in a Digital Era โดยมีนางสาวพรทิพย์ กองชุน หัวหน้าฝ่ายการตลาดกูเกิล ประเทศไทย กล่าวถึงบทบาทของดิจิตอลว่า ทุกวันนี้คนจะใช้อุปกรณ์การสื่อสาร 1 ใน 4 ที่ต้องมีคือ สมาร์ทโฟน แล็ปท็อป แท็บเลต หรือโทรทัศน์ และคงปฏิเสธไม่ได้ว่าพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปมาก ย้อนไปเมื่อ 5-6 ปีการซื้อสินค้าจะถูกกระตุ้นผ่านสื่อ และจะตัดสินใจซื้อสินค้าหรือไม่ต้องไปดูที่ชั้นวางสินค้า แต่ในยุคนี้เป็นการกระตุ้นผ่านสื่อเพื่อสร้างการรับรู้และจากนั้นก็หาข้อมูลโดยการค้นหาจากกูเกิล แต่การตัดสินใจซื้อไม่ได้อยู่ที่ ณ ร้านค้าอีกต่อไป ซึ่งเรียกยุคนี้ว่า The Zero Moment of Truth
จากการสำรวจพบว่าอัตราการค้นหาข้อมูลของผู้บริโภคไทยเป็นเวลาช่วงไพรม์ไทม์ ซึ่งเป็นช่วงที่คนดูละครทีวีและก็ใช้เวลาค้นหาไปด้วย โดย 75% ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการ หรือเรียกว่า 8 ใน 10 คนจะใช้วิธีการค้นหา โดยคนไทยใช้เวลา 16.6 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในการใช้คอมพิวเตอร์มากกว่าการดูทีวีด้วยซ้ำ สำหรับ กูเกิล ก็เป็นเครื่องมือตัวหนึ่งในโลกดิจิตอลมีเดียที่จะช่วยบอกถึงเทรนด์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นของโลกได้ อย่าง google trends ซึ่งเราจะได้รับรู้ว่าคนไทยและทั่วโลกค้นหาอะไรกัน อย่างตอนนี้กระแสที่แรงในไทยคือ การค้นหาละครเรื่องแรงเงา รองเท้าฟิตฟลอป ฯลฯ หรือกระทั่งกูเกิล พลัส เป็นเสมือนโซเชียลมีเดีย แพลตฟอร์ม
โดยยกตัวอย่างแบรนด์ที่ใช้เครื่องมือดังกล่าวแล้วประสบความสำเร็จ เช่น jeban.com “สร้างเป็นคอมมูนิตีสำหรับสาวๆ ที่ชื่นชอบการแต่งหน้า มีการสาธิตการแต่งหน้ารูปแบบต่างๆ อย่างไรก็ตาม สินค้าบางประเภทเหมาะสำหรับการขายในโลกออนไลน์ โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจบริการท่องเที่ยว โรงแรม ร้านอาหาร แต่ขณะที่สินค้าบางกลุ่มก็ไม่เหมาะต่อการซื้อขายทางออนไลน์ เช่น รถยนต์ อสังหาริมทรัพย์ แต่กุญแจแห่งความสำเร็จคือ การทำตลาดโซเชียลมีเดียพบว่า 78% ของคนใช้ออนไลน์มีเดีย ฟังและรับรู้ผ่านคนรอบข้าง และ 84% ออนไลน์มีเดียเป็นข้อมูลการตัดสินใจซื้อ หรือสรุปว่าคนจะไม่ฟังคนขายสินค้าอีกต่อไปแต่จะฟังจากคนรอบข้าง
เฟซบุ๊กชี้แฟนเพจหวังรับสิทธิประโยชน์
นางสาวปุณณดา เหลืองอร่าม ผู้จัดการฝ่ายขายเครือข่ายทางสังคมเฟซบุ๊ก กล่าวว่า ขณะนี้มีคนเข้าใช้เฟซบุ๊กที่แอ็กทีฟทั่วโลกร่วม 950 ล้านคน โดยพบว่าประเทศไทยมีคนใช้เฟซบุ๊ก 17.5 ล้านคน แบ่งออกเป็นผู้ชาย 51% และผู้หญิง 49% แต่ตัวเลขที่น่าสนใจคือ กรุงเทพฯ จัดว่าเป็นจังหวัดที่มีการคนสมัครเฟซบุ๊กมากที่สุดในโลก โดยมีจำนวน 9 ล้านคน โดยพฤติกรรมของคนไทยที่ใช้เฟซบุ๊กคือ มีการโพสต์ข้อความ 148 ล้านครั้งต่อเดือน และ 1,100 ล้านครั้งเป็นการแสดงความคิดเห็นคนอื่น กด like ราว 1.5 ล้านครั้ง การอัปโหลดรูปภาพ 247 ล้านครั้ง แต่ขณะนี้เฟซบุ๊กได้ลบจำนวนผู้ใช้เฟซบุ๊กออก 83 ล้านคน เนื่องจากพบว่าโดยมากเป็นคนเดียวแล้วเปิดขึ้นมาใช้หลายเพจ หรือบางคนมีอาชีพรับกด like
เฟซบุ๊กก็เป็นดิจิตอลมีเดียอีกตัวหนึ่งเช่นกัน ยกตัวอย่างกรณีสตาร์บัคส์ต้องการทำอีเวนต์ หรือทำโปรโมชัน สมัยก่อนเรามักจะแจกใบปลิว แต่การใช้โซเชียลมีเดียแค่มีแฟนเพจคลิก 1 ครั้งก็เท่ากับสามารถทำให้คนเห็นเพิ่มขึ้นมากมาย ซึ่งพบว่าผู้ใช้เฟซบุ๊ก 1 คนมีเพื่อนโดยเฉลี่ย 210 คน สิ่งสำคัญที่องค์กรหรือแบรนด์สินค้าต้องพึงระลึกคือ แฟนเพจบนเฟซบุ๊กมีความคาดหวังว่าจะได้รับผลประโยชน์ของการเป็นแฟนเพจ หรือมีเนื้อหาที่ดีโดนใจถึงเป็นแฟนเพจ และสิ่งสำคัญลูกค้าส่วนใหญ่รอส่วนลด มีการแจกบัตรฟรี ฯลฯ
เอ็นโซโก้ชู 6 เครื่องมือขายสินค้าออนไลน์
ด้านนายทอม ศรีวรากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ก่อตั้ง บริษัทเอ็นโซโก้ จำกัด กล่าวว่า ประเทศไทยมีประชากร 67 ล้านคน โดยมี 24 ล้านคนที่ใช้ออนไลน์ และพบว่า 43% มีการซื้อสินค้าจากออนไลน์ หรือมีจำนวนคนราว 10 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากเมื่อ 2 ปีที่แล้วมีเพียง 7 ล้านคน ส่งผลให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนร่วม 6 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็น การสั่งซื้อสินค้าสำหรับผู้บริโภค 1.5 หมื่นล้านบาท และระหว่างธุรกิจกับธุรกิจ 4.5 หมื่นล้านบาท ส่วนหนึ่งเพราะการซื้อสินค้าทางออนไลน์สะดวก และสินค้าหรือบริการนั้นๆ มีราคาที่ถูกกว่าเมื่อไปซื้อสินค้า ณ ร้านค้า โดยเฉลี่ยการซื้อสินค้าผ่านทางออนไลน์คนไทยราว 1.3 หมื่นบาท
“สิ่งที่น่าสนใจ การ follow ขายสินค้าในทวิตเตอร์ได้ผลดีกว่าการแชร์ในเฟซบุ๊ก และสิ่งที่ผู้บริโภคสนใจที่จะได้รับจากการขายทางออนไลน์ คือมูลค่าที่จะได้รับและโดยเฉพาะการทำโปรโมชัน นอกจากนี้ยังมีอีก 6 เครื่องมือสำหรับการขับเคลื่อน การสร้างเรตติ้งวิว เรตแสดงความคิดเห็น แนะนำเพื่อนต่อๆ กัน การทำเป็นคอมมูนิตีหรือฟอรัม การแชร์ข้อมูลการซื้อขาย หรือกระทั่งการทำแอปพลิเคชันต่างๆ”
ดิจิตอลมีเดียปฏิวัติวงการสื่อสารมวลชน
นายสุทธิชัย หยุ่น ประธานกรรมการบริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในปี 2557 หรืออีก 2 ปีข้างหน้านี้ทุกอย่างจะเป็นโมบายล์ทั้งหมด หรือชีวิตของคนจะมีความสัมพันธ์กับดิจิตอลตลอดเวลา โดยพบว่าขณะนี้มีคนใช้อินเทอร์เน็ต 21% และใช้ดิจิตอลเมล 45% และดิจิตอลมีเดียก็กลายเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง อาทิ โซเชียลมีเดียเข้ามาช่วยปฏิวัติวงการข่าว ปรับให้การนำเสนอข่าวเป็นการสื่อสารสองทางมากขึ้น จากเดิมที่จะเป็นการสื่อสารเพียงทางเดียว อาทิ การให้ผู้ชมทางบ้านเข้ามาแสดงความคิดเห็นหัวข่าวหรือบอกเล่าถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้น หรือกระทั่งเอื้อการทำงานถ่ายภาพ คลิป วิดีโอ ให้มีการนำเสนอข่าวได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
ไม่เพียงเท่านั้น ในแง่ของการตลาด โซเชียลมีเดียเป็นเครื่องมือในการทดลองตลาดได้ผลดี สามารถสร้างการรับรู้และรู้ผลการตอบรับได้อย่างรวดเร็ว ทำให้บริษัทสามารถตัดสินใจดำเนินการตลาดได้อย่างรวดเร็วแทนการทำวิจัยการตลาดที่ต้องใช้ระยะเวลานาน แต่ข้อที่ควรระวังสำหรับโซเชียลมีเดียคือ การเกิดอีม็อบขึ้น อย่างไรก็ตาม ขณะนี้เริ่มมีบางหน่วยงานที่ปรับการใช้งบการตลาดจากงบประชาสัมพันธ์มาใช้ดิจิตอลมีเดียเพิ่มขึ้น เพื่อให้เข้าถึงลูกค้าที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น แต่ก็มีบางองค์กรรู้ว่าดิจิตอลมีเดีย มีความสำคัญแต่ไม่รู้ว่าจะใช้ประโยชน์จากตรงนี้ได้อย่างไร
วันนี้ (13 พ.ย.) สมาคมการตลาดแห่งประเทศไทยจัดงานสัมมนาขึ้นในหัวข้อ Marketing in a Digital Era โดยมีนางสาวพรทิพย์ กองชุน หัวหน้าฝ่ายการตลาดกูเกิล ประเทศไทย กล่าวถึงบทบาทของดิจิตอลว่า ทุกวันนี้คนจะใช้อุปกรณ์การสื่อสาร 1 ใน 4 ที่ต้องมีคือ สมาร์ทโฟน แล็ปท็อป แท็บเลต หรือโทรทัศน์ และคงปฏิเสธไม่ได้ว่าพฤติกรรมของผู้บริโภคเปลี่ยนแปลงไปมาก ย้อนไปเมื่อ 5-6 ปีการซื้อสินค้าจะถูกกระตุ้นผ่านสื่อ และจะตัดสินใจซื้อสินค้าหรือไม่ต้องไปดูที่ชั้นวางสินค้า แต่ในยุคนี้เป็นการกระตุ้นผ่านสื่อเพื่อสร้างการรับรู้และจากนั้นก็หาข้อมูลโดยการค้นหาจากกูเกิล แต่การตัดสินใจซื้อไม่ได้อยู่ที่ ณ ร้านค้าอีกต่อไป ซึ่งเรียกยุคนี้ว่า The Zero Moment of Truth
จากการสำรวจพบว่าอัตราการค้นหาข้อมูลของผู้บริโภคไทยเป็นเวลาช่วงไพรม์ไทม์ ซึ่งเป็นช่วงที่คนดูละครทีวีและก็ใช้เวลาค้นหาไปด้วย โดย 75% ค้นหาข้อมูลเกี่ยวกับสินค้าและบริการ หรือเรียกว่า 8 ใน 10 คนจะใช้วิธีการค้นหา โดยคนไทยใช้เวลา 16.6 ชั่วโมงต่อสัปดาห์ในการใช้คอมพิวเตอร์มากกว่าการดูทีวีด้วยซ้ำ สำหรับ กูเกิล ก็เป็นเครื่องมือตัวหนึ่งในโลกดิจิตอลมีเดียที่จะช่วยบอกถึงเทรนด์ต่างๆ ที่เกิดขึ้นของโลกได้ อย่าง google trends ซึ่งเราจะได้รับรู้ว่าคนไทยและทั่วโลกค้นหาอะไรกัน อย่างตอนนี้กระแสที่แรงในไทยคือ การค้นหาละครเรื่องแรงเงา รองเท้าฟิตฟลอป ฯลฯ หรือกระทั่งกูเกิล พลัส เป็นเสมือนโซเชียลมีเดีย แพลตฟอร์ม
โดยยกตัวอย่างแบรนด์ที่ใช้เครื่องมือดังกล่าวแล้วประสบความสำเร็จ เช่น jeban.com “สร้างเป็นคอมมูนิตีสำหรับสาวๆ ที่ชื่นชอบการแต่งหน้า มีการสาธิตการแต่งหน้ารูปแบบต่างๆ อย่างไรก็ตาม สินค้าบางประเภทเหมาะสำหรับการขายในโลกออนไลน์ โดยเฉพาะกลุ่มธุรกิจบริการท่องเที่ยว โรงแรม ร้านอาหาร แต่ขณะที่สินค้าบางกลุ่มก็ไม่เหมาะต่อการซื้อขายทางออนไลน์ เช่น รถยนต์ อสังหาริมทรัพย์ แต่กุญแจแห่งความสำเร็จคือ การทำตลาดโซเชียลมีเดียพบว่า 78% ของคนใช้ออนไลน์มีเดีย ฟังและรับรู้ผ่านคนรอบข้าง และ 84% ออนไลน์มีเดียเป็นข้อมูลการตัดสินใจซื้อ หรือสรุปว่าคนจะไม่ฟังคนขายสินค้าอีกต่อไปแต่จะฟังจากคนรอบข้าง
เฟซบุ๊กชี้แฟนเพจหวังรับสิทธิประโยชน์
นางสาวปุณณดา เหลืองอร่าม ผู้จัดการฝ่ายขายเครือข่ายทางสังคมเฟซบุ๊ก กล่าวว่า ขณะนี้มีคนเข้าใช้เฟซบุ๊กที่แอ็กทีฟทั่วโลกร่วม 950 ล้านคน โดยพบว่าประเทศไทยมีคนใช้เฟซบุ๊ก 17.5 ล้านคน แบ่งออกเป็นผู้ชาย 51% และผู้หญิง 49% แต่ตัวเลขที่น่าสนใจคือ กรุงเทพฯ จัดว่าเป็นจังหวัดที่มีการคนสมัครเฟซบุ๊กมากที่สุดในโลก โดยมีจำนวน 9 ล้านคน โดยพฤติกรรมของคนไทยที่ใช้เฟซบุ๊กคือ มีการโพสต์ข้อความ 148 ล้านครั้งต่อเดือน และ 1,100 ล้านครั้งเป็นการแสดงความคิดเห็นคนอื่น กด like ราว 1.5 ล้านครั้ง การอัปโหลดรูปภาพ 247 ล้านครั้ง แต่ขณะนี้เฟซบุ๊กได้ลบจำนวนผู้ใช้เฟซบุ๊กออก 83 ล้านคน เนื่องจากพบว่าโดยมากเป็นคนเดียวแล้วเปิดขึ้นมาใช้หลายเพจ หรือบางคนมีอาชีพรับกด like
เฟซบุ๊กก็เป็นดิจิตอลมีเดียอีกตัวหนึ่งเช่นกัน ยกตัวอย่างกรณีสตาร์บัคส์ต้องการทำอีเวนต์ หรือทำโปรโมชัน สมัยก่อนเรามักจะแจกใบปลิว แต่การใช้โซเชียลมีเดียแค่มีแฟนเพจคลิก 1 ครั้งก็เท่ากับสามารถทำให้คนเห็นเพิ่มขึ้นมากมาย ซึ่งพบว่าผู้ใช้เฟซบุ๊ก 1 คนมีเพื่อนโดยเฉลี่ย 210 คน สิ่งสำคัญที่องค์กรหรือแบรนด์สินค้าต้องพึงระลึกคือ แฟนเพจบนเฟซบุ๊กมีความคาดหวังว่าจะได้รับผลประโยชน์ของการเป็นแฟนเพจ หรือมีเนื้อหาที่ดีโดนใจถึงเป็นแฟนเพจ และสิ่งสำคัญลูกค้าส่วนใหญ่รอส่วนลด มีการแจกบัตรฟรี ฯลฯ
เอ็นโซโก้ชู 6 เครื่องมือขายสินค้าออนไลน์
ด้านนายทอม ศรีวรากุล ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและผู้ก่อตั้ง บริษัทเอ็นโซโก้ จำกัด กล่าวว่า ประเทศไทยมีประชากร 67 ล้านคน โดยมี 24 ล้านคนที่ใช้ออนไลน์ และพบว่า 43% มีการซื้อสินค้าจากออนไลน์ หรือมีจำนวนคนราว 10 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากเมื่อ 2 ปีที่แล้วมีเพียง 7 ล้านคน ส่งผลให้มีเม็ดเงินหมุนเวียนร่วม 6 หมื่นล้านบาท แบ่งเป็น การสั่งซื้อสินค้าสำหรับผู้บริโภค 1.5 หมื่นล้านบาท และระหว่างธุรกิจกับธุรกิจ 4.5 หมื่นล้านบาท ส่วนหนึ่งเพราะการซื้อสินค้าทางออนไลน์สะดวก และสินค้าหรือบริการนั้นๆ มีราคาที่ถูกกว่าเมื่อไปซื้อสินค้า ณ ร้านค้า โดยเฉลี่ยการซื้อสินค้าผ่านทางออนไลน์คนไทยราว 1.3 หมื่นบาท
“สิ่งที่น่าสนใจ การ follow ขายสินค้าในทวิตเตอร์ได้ผลดีกว่าการแชร์ในเฟซบุ๊ก และสิ่งที่ผู้บริโภคสนใจที่จะได้รับจากการขายทางออนไลน์ คือมูลค่าที่จะได้รับและโดยเฉพาะการทำโปรโมชัน นอกจากนี้ยังมีอีก 6 เครื่องมือสำหรับการขับเคลื่อน การสร้างเรตติ้งวิว เรตแสดงความคิดเห็น แนะนำเพื่อนต่อๆ กัน การทำเป็นคอมมูนิตีหรือฟอรัม การแชร์ข้อมูลการซื้อขาย หรือกระทั่งการทำแอปพลิเคชันต่างๆ”
ดิจิตอลมีเดียปฏิวัติวงการสื่อสารมวลชน
นายสุทธิชัย หยุ่น ประธานกรรมการบริษัท เนชั่น มัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ในปี 2557 หรืออีก 2 ปีข้างหน้านี้ทุกอย่างจะเป็นโมบายล์ทั้งหมด หรือชีวิตของคนจะมีความสัมพันธ์กับดิจิตอลตลอดเวลา โดยพบว่าขณะนี้มีคนใช้อินเทอร์เน็ต 21% และใช้ดิจิตอลเมล 45% และดิจิตอลมีเดียก็กลายเป็นอีกเครื่องมือหนึ่งที่สำคัญอย่างยิ่ง อาทิ โซเชียลมีเดียเข้ามาช่วยปฏิวัติวงการข่าว ปรับให้การนำเสนอข่าวเป็นการสื่อสารสองทางมากขึ้น จากเดิมที่จะเป็นการสื่อสารเพียงทางเดียว อาทิ การให้ผู้ชมทางบ้านเข้ามาแสดงความคิดเห็นหัวข่าวหรือบอกเล่าถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ณ ขณะนั้น หรือกระทั่งเอื้อการทำงานถ่ายภาพ คลิป วิดีโอ ให้มีการนำเสนอข่าวได้อย่างรวดเร็วยิ่งขึ้น
ไม่เพียงเท่านั้น ในแง่ของการตลาด โซเชียลมีเดียเป็นเครื่องมือในการทดลองตลาดได้ผลดี สามารถสร้างการรับรู้และรู้ผลการตอบรับได้อย่างรวดเร็ว ทำให้บริษัทสามารถตัดสินใจดำเนินการตลาดได้อย่างรวดเร็วแทนการทำวิจัยการตลาดที่ต้องใช้ระยะเวลานาน แต่ข้อที่ควรระวังสำหรับโซเชียลมีเดียคือ การเกิดอีม็อบขึ้น อย่างไรก็ตาม ขณะนี้เริ่มมีบางหน่วยงานที่ปรับการใช้งบการตลาดจากงบประชาสัมพันธ์มาใช้ดิจิตอลมีเดียเพิ่มขึ้น เพื่อให้เข้าถึงลูกค้าที่เฉพาะเจาะจงมากขึ้น แต่ก็มีบางองค์กรรู้ว่าดิจิตอลมีเดีย มีความสำคัญแต่ไม่รู้ว่าจะใช้ประโยชน์จากตรงนี้ได้อย่างไร