คนไทยชื่นชอบความบันเทิง ส่งตลาดหนังสือนวนิยายบูม “สถาพรบุ๊คส์” เสริมทัพอีก 2 สำนักพิมพ์ จับฐานผู้อ่านครอบคลุมทุกเซกเมนต์ พร้อมต่อยอดผุด “สถาพรแอพพลิเคชั่น” ชิงพื้นที่เวลาอ่านบนหน้าจอโทรศัพท์ มือถือปีหน้า มั่นใจสิ้นปีรายได้เติบโต 5-6% เท่าตลาดรวมหนังสือ มูลค่า 21,000 ล้านบาทในสิ้นปีนี้
นายวรพันธ์ โลกิตสถาพร นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่าย หนังสือแห่งประเทศไทย และในฐานะกรรมการผู้จัดการบริษัท สถาพรบุ๊คส์ จำกัด เปิดเผยว่า ทิศทางตลาดหนังสือในประเทศ ไทยมูลค่ากว่า 21,000 ล้านบาท ที่มองว่าจะเติบโต 5-6% ในสิ้นปีนี้นั้น พบว่ากลุ่มหนังสือที่ได้รับความนิยม และมีอัตราการเติบโต รวมถึงมีการแข่งขันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง คือ กลุ่มนวนิยาย ส่วนสำคัญมองว่าคนไทยชอบความบันเทิงมาก กว่าเรื่องเครียด
โดยในช่วงปีที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าตลาดนวนิยายมีการแข่งขันสูง และมีเป็นจำนวนมากบนแผงหนังสือ ในขณะที่กำลังซื้อของผู้บริโภคมีอยู่อย่างจำกัด ดังนั้นทางบริษัทจึงมุ่งนำเสนอนวนิยายในรูปแบบของการออกเป็นซีรีส์ ถือเป็นช่องว่างของตลาดที่ได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้อ่าน ที่สำคัญยังต่อยอดนวนิยายเรื่องใหม่สู่การนำไปผลิตเป็นละครบนฟรีทีวีได้อีกทางหนึ่ง และหากเรตติ้งละครดี ยิ่งส่งผลให้นวนิยายชุดนั้นๆมียอดขาย ที่ดีตามไปด้วย ซึ่งในปีนี้นวนิยายที่ถูกนำไปสร้างเป็นละครแล้ว คือ The Sixth Sense สื่อรักสัมผัสหัวใจ ที่เพิ่งจบไป ทางช่อง3 และที่กำลังจะถ่ายทำมีอยู่อีก 2 ซีรีส์ คือ สุภาพบุรุษจุฑาเทพ และ Rising Sun กับทางช่อง 3 เช่นเดียวกัน
และจากการเติบโตของกลุ่มนวนิยาย ล่าสุดในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ทางบริษัทได้เพิ่มสำนักพิมพ์ขึ้นมาอีก 2 สำนักพิมพ์ เพื่อให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น คือ สำนักพิมพ์มายดรีม เจาะกลุ่มนวนิยายที่สะท้อนความเป็นจริงในสังคม และสำนักพิมพ์ทศพร ผลิตหนังสือที่มีสาระทั่วไป ส่งผลให้ปัจจุบันบริษัทมีสำนักพิมพ์ในเครือทั้งสิ้น 10 สำนักพิมพ์ ประกอบด้วย สถาพรบุ๊คส์, พิมพ์คำ, บีไบรท์, ปริ๊นเซส, Sugar Beat, Z-Girl, เพชรการเรือน, ธรรมสถาพร,ทศพร และมายดรีม โดยรายได้หลักกว่า 50% มาจากสำนักพิมพ์สถาพรบุ๊คส์ และพิมพ์คำ ซึ่งในปีนี้มองว่าจะมีรายได้เติบโตขึ้น 5-6% เท่ากับภาพรวมของตลาด
นายวรพันธ์กล่าวต่อว่า ในช่วงต้นปีนี้ทางบริษัทจะมีบริการสถาพรแอพพลิเคชั่น ด้วย จากเดิมที่มีบริการสั่งซื้อหนังสือในช่องทางออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของบริษัทอยู่แล้ว ซึ่งเดิมเตรียมที่จะเปิดตัวในงานมหกรรมหนังสือแห่งชาติครั้งที่ 17 นี้ แต่มีปัญหาทางด้านเทคนิคจึงต้องเลื่อนออกไปเป็นต้นปีหน้าแทน พร้อมนำเสนอนวนิยายเรื่องใหม่ๆ ที่ออกสู่ตลาดในช่วงเวลานั้นๆ มั่นใจว่าจะช่วยให้รายได้จากออนไลน์ที่ทำได้ปีละ 5% ของรายได้รวม มีอัตราโตขึ้นอีก 50% ได้ในปีหน้า
นายวรพันธ์ โลกิตสถาพร นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่าย หนังสือแห่งประเทศไทย และในฐานะกรรมการผู้จัดการบริษัท สถาพรบุ๊คส์ จำกัด เปิดเผยว่า ทิศทางตลาดหนังสือในประเทศ ไทยมูลค่ากว่า 21,000 ล้านบาท ที่มองว่าจะเติบโต 5-6% ในสิ้นปีนี้นั้น พบว่ากลุ่มหนังสือที่ได้รับความนิยม และมีอัตราการเติบโต รวมถึงมีการแข่งขันสูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง คือ กลุ่มนวนิยาย ส่วนสำคัญมองว่าคนไทยชอบความบันเทิงมาก กว่าเรื่องเครียด
โดยในช่วงปีที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าตลาดนวนิยายมีการแข่งขันสูง และมีเป็นจำนวนมากบนแผงหนังสือ ในขณะที่กำลังซื้อของผู้บริโภคมีอยู่อย่างจำกัด ดังนั้นทางบริษัทจึงมุ่งนำเสนอนวนิยายในรูปแบบของการออกเป็นซีรีส์ ถือเป็นช่องว่างของตลาดที่ได้รับการตอบรับที่ดีจากผู้อ่าน ที่สำคัญยังต่อยอดนวนิยายเรื่องใหม่สู่การนำไปผลิตเป็นละครบนฟรีทีวีได้อีกทางหนึ่ง และหากเรตติ้งละครดี ยิ่งส่งผลให้นวนิยายชุดนั้นๆมียอดขาย ที่ดีตามไปด้วย ซึ่งในปีนี้นวนิยายที่ถูกนำไปสร้างเป็นละครแล้ว คือ The Sixth Sense สื่อรักสัมผัสหัวใจ ที่เพิ่งจบไป ทางช่อง3 และที่กำลังจะถ่ายทำมีอยู่อีก 2 ซีรีส์ คือ สุภาพบุรุษจุฑาเทพ และ Rising Sun กับทางช่อง 3 เช่นเดียวกัน
และจากการเติบโตของกลุ่มนวนิยาย ล่าสุดในช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ทางบริษัทได้เพิ่มสำนักพิมพ์ขึ้นมาอีก 2 สำนักพิมพ์ เพื่อให้ครอบคลุมทุกกลุ่มเป้าหมายมากขึ้น คือ สำนักพิมพ์มายดรีม เจาะกลุ่มนวนิยายที่สะท้อนความเป็นจริงในสังคม และสำนักพิมพ์ทศพร ผลิตหนังสือที่มีสาระทั่วไป ส่งผลให้ปัจจุบันบริษัทมีสำนักพิมพ์ในเครือทั้งสิ้น 10 สำนักพิมพ์ ประกอบด้วย สถาพรบุ๊คส์, พิมพ์คำ, บีไบรท์, ปริ๊นเซส, Sugar Beat, Z-Girl, เพชรการเรือน, ธรรมสถาพร,ทศพร และมายดรีม โดยรายได้หลักกว่า 50% มาจากสำนักพิมพ์สถาพรบุ๊คส์ และพิมพ์คำ ซึ่งในปีนี้มองว่าจะมีรายได้เติบโตขึ้น 5-6% เท่ากับภาพรวมของตลาด
นายวรพันธ์กล่าวต่อว่า ในช่วงต้นปีนี้ทางบริษัทจะมีบริการสถาพรแอพพลิเคชั่น ด้วย จากเดิมที่มีบริการสั่งซื้อหนังสือในช่องทางออนไลน์ผ่านเว็บไซต์ของบริษัทอยู่แล้ว ซึ่งเดิมเตรียมที่จะเปิดตัวในงานมหกรรมหนังสือแห่งชาติครั้งที่ 17 นี้ แต่มีปัญหาทางด้านเทคนิคจึงต้องเลื่อนออกไปเป็นต้นปีหน้าแทน พร้อมนำเสนอนวนิยายเรื่องใหม่ๆ ที่ออกสู่ตลาดในช่วงเวลานั้นๆ มั่นใจว่าจะช่วยให้รายได้จากออนไลน์ที่ทำได้ปีละ 5% ของรายได้รวม มีอัตราโตขึ้นอีก 50% ได้ในปีหน้า