ปัญหารถไฟสายสีแดงไม่จบ คลังยื้อเซ็นสัญญา 1 ติงให้ ร.ฟ.ท.ประมูลครบทั้ง 3 สัญญาก่อน หวั่นค่าก่อสร้างพุ่งเกินกรอบ ขณะที่สัญญา 2 ยังเจรจาค่าก่อสร้างไม่จบส่วนสัญญา 3 ติดปมเข้าข่ายฮั้ว ส่อล้มประมูล ร.ฟ.ท. แก้ปัญหาช่วงตลิ่งชันดีเดย์ 5 ธ.ค.เปิดวิ่งดีเซลฟรี 3 เดือน
แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ ร.ฟ.ท.ไม่สามารถลงนามสัญญาก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต กับกิจการร่วมค้า SU ประกอบด้วยบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ในสัญญา 1 (งานโยธาสำหรับสถานีกลางบางซื่อ และศูนย์ซ่อมบำรุง) วงเงิน 29,826 ล้านบาทได้ เนื่องจากกระทรวงการคลังไม่เห็นด้วยโดยต้องการให้ประกวดราคาสัญญา 2 (งานโยธาสำหรับทางรถไฟ) ระยะทาง 21 กิโลเมตร มูลค่า 18,000 ล้านบาท และสัญญา 3 (งานระบบรถไฟฟ้าและเครื่องกลรวมงานจัดซื้อตู้รถไฟฟ้า) วงเงิน 26,272 ล้านบาทให้ครบก่อน เพื่อสรุปวงเงินรวมทั้งโครงการว่าเกินกรอบหรือไม่ และจะคุ้มค่าต่อการลงทุนหรือไม่
ทั้งนี้ มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 55 เห็นชอบเพิ่มกรอบวงเงินค่าก่อสร้างรถไฟสายสีแดง สัญญา 1 จากกรอบวงเงิน 27,134 ล้านบาท เป็นวงเงิน 29,826 ล้านบาท ซึ่งไม่เกิน 10% โดยแนบความเห็นดังกล่าวของคลังไว้ด้วย โดยในส่วนของ ร.ฟ.ท.เห็นว่า ครม.มีมติให้เดินหน้าเซ็นสัญญา1 กับกลุ่ม SU ได้ ส่วนสัญญา 2 และ 3 ดำเนินการประมูลและสรุปเสนออีกครั้งเพื่อดูภาพรวมทั้งโครงการ ส่วนจะเดินหน้าอย่างไรคงต้องเป็นระดับกระทรวงที่จะต้องพิจารณาร่วมกัน โดยคาดว่าจะได้ข้อยุติภายในเดือนตุลาคมนี้
โดยก่อนหน้านี้ ร.ฟ.ท.กำหนดลงนามสัญญา 1 กับกลุ่ม SU วันที่ 10 ตุลาคม แต่ในที่ประชุมติดตามงานรถไฟซึ่งนายกรัฐมนตรีเป็นประธานเมื่อวันที่ 9 ตุลาคมที่ผ่านมา คลังได้ทักท้วงกรณีดังกล่าว ทำให้ ร.ฟ.ท.ต้องเลื่อนการเซ็นสัญญาออกไปซึ่งแนวทางแก้ปัญหาเพื่อไม่ให้เกิดความล่าช้า ร.ฟ.ท.อาจจะต้องเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท. ที่มีนางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน และเสนอมากระทรวงคมนาคม เพื่อเข้าสู่ที่ประชุม ครม. ขออนุมัติลงนามสัญญาที่ 1 ก่อน
“ตามมติ ครม. ร.ฟ.ท.เห็นว่าให้เซ็นสัญญา 1 ได้ ส่วนสัญญา 2 กับ 3 ประมูลเสร็จให้เสนอ ครม.อีกครั้ง เพื่อดูว่ากรอบวงเงินเป็นยังไง ไม่ใช่รอให้ประมูลครบทั้ง 3 สัญญา ซึ่งตอนนี้ต้องยอมรับว่าค่าก่อสร้างคงต้องปรับขึ้น ตามราคาวัสดุที่เพิ่มขึ้น และเทียบกับสัญญา 1 ที่ค่าก่อสร้างปรับขึ้นไปก่อนแล้ว” แหล่งข่าวกล่าว
ส่วนสัญญาก่อสร้างที่ 2 อยู่ระหว่างการเจรจากับบริษัท อิตาเลียน-ไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเสนอราคาต่ำสุด ที่ 24,102 ล้านบาท ส่วนสัญญา 3 ซึ่งติดปัญหาผู้ยื่นข้อเสนออาจเข้าข่าย มีผลประโยชน์ทับซ้อน ซึ่งล่าสุดคณะกรรมการกฤษฎีกา ตอบว่าไม่ขัดแย้งข้อกฎหมาย และให้ร.ฟ.ท.พิจารณารายละเอียดและตีความกฎหมายว่าเข้าข่ายฮั้วหรือไม่เอง ซึ่ง ร.ฟ.ท.ยังไม่สามารถเดินหน้าประกวดราคาได้ เพราะกระทรวงการคลังต้องการให้ยกเลิกการประกวดราคา เนื่องจากมีความสุ่มเสี่ยงว่าจะเกิดการร้องเรียนในภายหลัง และเห็นว่าหากการกู้เงินต่างประเทศมีปัญหาก็ให้เปลี่ยนมาใช้แหล่งเงินภายในประเทศแทน ซึ่งต้องรอมติที่ชัดเจนจากบอร์ด ร.ฟ.ท.ก่อน
อย่างไรก็ตาม ปัญหาการประมูลรถไฟสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ที่ล่าช้าได้ส่งผลให้การเดินรถไฟช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ทาง ราง ระบบอาณัติสัญญาณ สถานีและสิ่งอำนวยความสะดวกเสร็จเรียบร้อยแล้วล่าช้าไปด้วย โดย ร.ฟ.ท.จะแก้ปัญหาด้วยการนำรถดีเซลรางมาวิ่งให้บริการโดยไม่เก็บค่าโดยสารจากสถานี ตลิ่งชัน-บางบำหรุ-บางซ่อน ตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม 2555 เป็นเวลา 3 เดือน จากนั้นจะดูความต้องการของประชาชนและจำนวนผู้โดยสาร รวมถึงขีดความสามารถในการให้บริการของ ร.ฟ.ท.อีกครั้ง
แหล่งข่าวจากการรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) เปิดเผยว่า ขณะนี้ ร.ฟ.ท.ไม่สามารถลงนามสัญญาก่อสร้างโครงการรถไฟฟ้าสายสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต กับกิจการร่วมค้า SU ประกอบด้วยบริษัท ซิโน-ไทย เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) และบริษัท ยูนิค เอ็นจิเนียริ่ง แอนด์ คอนสตรัคชั่น จำกัด (มหาชน) ในสัญญา 1 (งานโยธาสำหรับสถานีกลางบางซื่อ และศูนย์ซ่อมบำรุง) วงเงิน 29,826 ล้านบาทได้ เนื่องจากกระทรวงการคลังไม่เห็นด้วยโดยต้องการให้ประกวดราคาสัญญา 2 (งานโยธาสำหรับทางรถไฟ) ระยะทาง 21 กิโลเมตร มูลค่า 18,000 ล้านบาท และสัญญา 3 (งานระบบรถไฟฟ้าและเครื่องกลรวมงานจัดซื้อตู้รถไฟฟ้า) วงเงิน 26,272 ล้านบาทให้ครบก่อน เพื่อสรุปวงเงินรวมทั้งโครงการว่าเกินกรอบหรือไม่ และจะคุ้มค่าต่อการลงทุนหรือไม่
ทั้งนี้ มติคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 3 กรกฎาคม 55 เห็นชอบเพิ่มกรอบวงเงินค่าก่อสร้างรถไฟสายสีแดง สัญญา 1 จากกรอบวงเงิน 27,134 ล้านบาท เป็นวงเงิน 29,826 ล้านบาท ซึ่งไม่เกิน 10% โดยแนบความเห็นดังกล่าวของคลังไว้ด้วย โดยในส่วนของ ร.ฟ.ท.เห็นว่า ครม.มีมติให้เดินหน้าเซ็นสัญญา1 กับกลุ่ม SU ได้ ส่วนสัญญา 2 และ 3 ดำเนินการประมูลและสรุปเสนออีกครั้งเพื่อดูภาพรวมทั้งโครงการ ส่วนจะเดินหน้าอย่างไรคงต้องเป็นระดับกระทรวงที่จะต้องพิจารณาร่วมกัน โดยคาดว่าจะได้ข้อยุติภายในเดือนตุลาคมนี้
โดยก่อนหน้านี้ ร.ฟ.ท.กำหนดลงนามสัญญา 1 กับกลุ่ม SU วันที่ 10 ตุลาคม แต่ในที่ประชุมติดตามงานรถไฟซึ่งนายกรัฐมนตรีเป็นประธานเมื่อวันที่ 9 ตุลาคมที่ผ่านมา คลังได้ทักท้วงกรณีดังกล่าว ทำให้ ร.ฟ.ท.ต้องเลื่อนการเซ็นสัญญาออกไปซึ่งแนวทางแก้ปัญหาเพื่อไม่ให้เกิดความล่าช้า ร.ฟ.ท.อาจจะต้องเสนอคณะกรรมการ (บอร์ด) ร.ฟ.ท. ที่มีนางสร้อยทิพย์ ไตรสุทธิ์ รองปลัดกระทรวงคมนาคมเป็นประธาน และเสนอมากระทรวงคมนาคม เพื่อเข้าสู่ที่ประชุม ครม. ขออนุมัติลงนามสัญญาที่ 1 ก่อน
“ตามมติ ครม. ร.ฟ.ท.เห็นว่าให้เซ็นสัญญา 1 ได้ ส่วนสัญญา 2 กับ 3 ประมูลเสร็จให้เสนอ ครม.อีกครั้ง เพื่อดูว่ากรอบวงเงินเป็นยังไง ไม่ใช่รอให้ประมูลครบทั้ง 3 สัญญา ซึ่งตอนนี้ต้องยอมรับว่าค่าก่อสร้างคงต้องปรับขึ้น ตามราคาวัสดุที่เพิ่มขึ้น และเทียบกับสัญญา 1 ที่ค่าก่อสร้างปรับขึ้นไปก่อนแล้ว” แหล่งข่าวกล่าว
ส่วนสัญญาก่อสร้างที่ 2 อยู่ระหว่างการเจรจากับบริษัท อิตาเลียน-ไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) ซึ่งเสนอราคาต่ำสุด ที่ 24,102 ล้านบาท ส่วนสัญญา 3 ซึ่งติดปัญหาผู้ยื่นข้อเสนออาจเข้าข่าย มีผลประโยชน์ทับซ้อน ซึ่งล่าสุดคณะกรรมการกฤษฎีกา ตอบว่าไม่ขัดแย้งข้อกฎหมาย และให้ร.ฟ.ท.พิจารณารายละเอียดและตีความกฎหมายว่าเข้าข่ายฮั้วหรือไม่เอง ซึ่ง ร.ฟ.ท.ยังไม่สามารถเดินหน้าประกวดราคาได้ เพราะกระทรวงการคลังต้องการให้ยกเลิกการประกวดราคา เนื่องจากมีความสุ่มเสี่ยงว่าจะเกิดการร้องเรียนในภายหลัง และเห็นว่าหากการกู้เงินต่างประเทศมีปัญหาก็ให้เปลี่ยนมาใช้แหล่งเงินภายในประเทศแทน ซึ่งต้องรอมติที่ชัดเจนจากบอร์ด ร.ฟ.ท.ก่อน
อย่างไรก็ตาม ปัญหาการประมูลรถไฟสีแดง ช่วงบางซื่อ-รังสิต ที่ล่าช้าได้ส่งผลให้การเดินรถไฟช่วงบางซื่อ-ตลิ่งชัน ซึ่งขณะนี้ได้ดำเนินการก่อสร้างโครงสร้างพื้นฐาน ทาง ราง ระบบอาณัติสัญญาณ สถานีและสิ่งอำนวยความสะดวกเสร็จเรียบร้อยแล้วล่าช้าไปด้วย โดย ร.ฟ.ท.จะแก้ปัญหาด้วยการนำรถดีเซลรางมาวิ่งให้บริการโดยไม่เก็บค่าโดยสารจากสถานี ตลิ่งชัน-บางบำหรุ-บางซ่อน ตั้งแต่วันที่ 5 ธันวาคม 2555 เป็นเวลา 3 เดือน จากนั้นจะดูความต้องการของประชาชนและจำนวนผู้โดยสาร รวมถึงขีดความสามารถในการให้บริการของ ร.ฟ.ท.อีกครั้ง