ขาขึ้นคอมมูนิตีมอลล์มีสูง ปีนี้คาดผุดอีก 30 แห่ง “วันคลิก” สบช่องนั่งแท่นที่ปรึกษาเข้าแนะทางรวย หวังลูกค้า 20 ราย พร้อมรายได้ปีแรก 15 ล้านบาท
นางวีณา อรัญญเกษม กรรมการผู้จัดการ บริษัท วันคลิก มีเดีย แอนด์ มาร์เก็ตติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทที่ปรึกษาด้านการจัดการธุรกิจ และพัฒนาศูนย์การค้าแบบครบวงจร เปิดเผยว่า หลังจากทำงานด้านการบริหารศูนย์การค้ามากว่า 10 ปี ล่าสุดในช่วง ก.ย. 2554 ที่ผ่านมา ตนได้ออกมาเปิดบริษัทที่ปรึกษาด้านการจัดการธุรกิจ และพัฒนาศูนย์การค้าแบบครบวงจรขึ้น สำหรับกลุ่มศูนย์การค้าขนาดเล็กที่เรียกว่าชอปปิ้งมอลล์ และคอมมูนิตีมอลล์โดยเฉพาะ
เนื่องจากมองเห็นโอกาสทางธุรกิจ ทิศทางการเติบโตของคอมมูนิตีมอลล์ในไทย หรือในเอเชียมีสูงมากเมื่อเทียบกับยุโรป โดยแนวโน้มการเติบโตของชอปปิ้งมอลล์ที่แต่ละปีเติบโตไม่ต่ำกว่า 10% ขณะที่คอมมูนิตีมอลล์แนวโน้มเติบโตไม่ต่ำกว่า 20-30% หรือกว่า 30 แห่งที่จะเกิดขึ้นในปีนี้ จากปัจจุบันมีคอมมูนิตีมอลล์เกิดขึ้นแล้วกว่า 100 แห่งทั่วประเทศ และที่ประสบความสำเร็จมีเพียง 20% เท่านั้น ขณะเดียวกัน ในตลาดยังขาดผู้เชี่ยวชาญที่จะเข้ามาช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างแข็งแรง ถึงมีก็เป็นบริษัทต่างชาติ ซึ่งอุปสรรคอยู่ที่ภาษา จึงมองเห็นโอกาสในการเข้ามารุกเป็นที่ปรึกษาในครั้งนี้
ล่าสุดได้เปิดให้บริการ 3 แบบ คือ 1. ให้คำปรึกษาการทำชอปปิ้งมอลล์ และคอมมูนิตีมอลล์ ตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ 2. เป็นที่ปรึกษาในการวางแผนงานและกลยุทธ์ต่างๆ ให้บริษัทชั้นนำ เช่น BTS กรุ้ป และ 3. เทรนนิ่ง คาดว่าในปีแรกนี้จะมีลูกค้าประมาณ 20 ราย ส่วนใหญ่เป็นลูกค้าที่ให้ความสนใจจะเข้ามาลงทุนทำชอปปิ้งมอลล์รายใหม่ หรือในปีแรกนี้ (ก.ย. 54-ก.ย. 55) จะมีรายได้ที่ 15 ล้านบาท ซึ่งตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันทำรายได้ไปแล้ว 5 ล้านบาท และในปีต่อไปคาดว่าจะมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 15 ล้านบาทแน่นอน
นางวีณากล่าวต่อว่า จากประสบการณ์ที่ผ่านมามองว่าอุปสรรคที่ทำให้คอมมูนิตีมอลล์ไม่ประสบความสำเร็จ คือ 1. มีความเป็นเอาต์ดอร์ ซึ่งไลฟ์สไตล์คนไทยไม่ชอบเพราะอากาศร้อน 2. ที่จอดรถอยู่ไกลเกินไป ไม่เพียงพอ รวมถึงไม่มีหลังคา 3. ไม่มีการทำมาร์เกตติ้งดึงคนเข้าใช้บริการอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นสูตรสำเร็จของการเปิดให้บริการคอมมูนิตีมอลล์ เบื้องต้น คือ 1. ขนาดต้องไม่เล็กเกินไป หรือราว 8-10 ไร่ขึ้นไป การลงทุนไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท และไม่ใช่แบบเอาต์ดอร์ 2. ที่จอดรถควรเชื่อมกับตัวตึก หรือหากไม่เชื่อมควรอยู่ใกล้ตัวอาคาร รวมทั้งมีหลังคา 3. สินค้าและบริการต้องตอบโจทย์ลูกค้า และมีความหลากหลาย 4. ต้อมมีซูเปอร์มาร์เกต ซึ่งถือเป็นแม่เหล็กสำคัญที่จะช่วยดึงคนเข้าใช้บริการทุกวันอย่างต่อเนื่อง
นางวีณา อรัญญเกษม กรรมการผู้จัดการ บริษัท วันคลิก มีเดีย แอนด์ มาร์เก็ตติ้ง (ประเทศไทย) จำกัด บริษัทที่ปรึกษาด้านการจัดการธุรกิจ และพัฒนาศูนย์การค้าแบบครบวงจร เปิดเผยว่า หลังจากทำงานด้านการบริหารศูนย์การค้ามากว่า 10 ปี ล่าสุดในช่วง ก.ย. 2554 ที่ผ่านมา ตนได้ออกมาเปิดบริษัทที่ปรึกษาด้านการจัดการธุรกิจ และพัฒนาศูนย์การค้าแบบครบวงจรขึ้น สำหรับกลุ่มศูนย์การค้าขนาดเล็กที่เรียกว่าชอปปิ้งมอลล์ และคอมมูนิตีมอลล์โดยเฉพาะ
เนื่องจากมองเห็นโอกาสทางธุรกิจ ทิศทางการเติบโตของคอมมูนิตีมอลล์ในไทย หรือในเอเชียมีสูงมากเมื่อเทียบกับยุโรป โดยแนวโน้มการเติบโตของชอปปิ้งมอลล์ที่แต่ละปีเติบโตไม่ต่ำกว่า 10% ขณะที่คอมมูนิตีมอลล์แนวโน้มเติบโตไม่ต่ำกว่า 20-30% หรือกว่า 30 แห่งที่จะเกิดขึ้นในปีนี้ จากปัจจุบันมีคอมมูนิตีมอลล์เกิดขึ้นแล้วกว่า 100 แห่งทั่วประเทศ และที่ประสบความสำเร็จมีเพียง 20% เท่านั้น ขณะเดียวกัน ในตลาดยังขาดผู้เชี่ยวชาญที่จะเข้ามาช่วยให้ธุรกิจเติบโตได้อย่างแข็งแรง ถึงมีก็เป็นบริษัทต่างชาติ ซึ่งอุปสรรคอยู่ที่ภาษา จึงมองเห็นโอกาสในการเข้ามารุกเป็นที่ปรึกษาในครั้งนี้
ล่าสุดได้เปิดให้บริการ 3 แบบ คือ 1. ให้คำปรึกษาการทำชอปปิ้งมอลล์ และคอมมูนิตีมอลล์ ตั้งแต่ต้นน้ำไปจนถึงปลายน้ำ 2. เป็นที่ปรึกษาในการวางแผนงานและกลยุทธ์ต่างๆ ให้บริษัทชั้นนำ เช่น BTS กรุ้ป และ 3. เทรนนิ่ง คาดว่าในปีแรกนี้จะมีลูกค้าประมาณ 20 ราย ส่วนใหญ่เป็นลูกค้าที่ให้ความสนใจจะเข้ามาลงทุนทำชอปปิ้งมอลล์รายใหม่ หรือในปีแรกนี้ (ก.ย. 54-ก.ย. 55) จะมีรายได้ที่ 15 ล้านบาท ซึ่งตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันทำรายได้ไปแล้ว 5 ล้านบาท และในปีต่อไปคาดว่าจะมีรายได้ไม่ต่ำกว่า 15 ล้านบาทแน่นอน
นางวีณากล่าวต่อว่า จากประสบการณ์ที่ผ่านมามองว่าอุปสรรคที่ทำให้คอมมูนิตีมอลล์ไม่ประสบความสำเร็จ คือ 1. มีความเป็นเอาต์ดอร์ ซึ่งไลฟ์สไตล์คนไทยไม่ชอบเพราะอากาศร้อน 2. ที่จอดรถอยู่ไกลเกินไป ไม่เพียงพอ รวมถึงไม่มีหลังคา 3. ไม่มีการทำมาร์เกตติ้งดึงคนเข้าใช้บริการอย่างต่อเนื่อง ดังนั้นสูตรสำเร็จของการเปิดให้บริการคอมมูนิตีมอลล์ เบื้องต้น คือ 1. ขนาดต้องไม่เล็กเกินไป หรือราว 8-10 ไร่ขึ้นไป การลงทุนไม่ต่ำกว่า 100 ล้านบาท และไม่ใช่แบบเอาต์ดอร์ 2. ที่จอดรถควรเชื่อมกับตัวตึก หรือหากไม่เชื่อมควรอยู่ใกล้ตัวอาคาร รวมทั้งมีหลังคา 3. สินค้าและบริการต้องตอบโจทย์ลูกค้า และมีความหลากหลาย 4. ต้อมมีซูเปอร์มาร์เกต ซึ่งถือเป็นแม่เหล็กสำคัญที่จะช่วยดึงคนเข้าใช้บริการทุกวันอย่างต่อเนื่อง