อังกฤษส่งทูตพบ”บุญทรง” เชิญ”ปู”เยือนเป็นทางการก.ค.นี้ หารือเพิ่มการค้า การลงทุน และเข้าร่วมพิธีเปิดโอลิมปิก พร้อมแสดงความเป็นห่วงไทยแก้กฎหมายต่างด้าว คุมเข้มค้าปลีกค้าส่ง และเปิดร้านถูกใจ กระทบการทำธุรกิจของต่างชาติ ไทยได้ทีทวงเปิดโอกาสพ่อครัว แม่ครัวไทยไปทำงาน
นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ นาย Asif Anwar Ahmad เอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักร ประจำประเทศไทย ได้เข้ามาพบปะหารือ และได้ติดตามความคืบหน้ากำหนดการเดินทางไปเยือนสหราชอาณาจักรอย่างเป็นทางการของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีของไทย เพื่อเข้าร่วมพิธีเปิดโอลิมปิก ครั้งที่ 30 ณ กรุงลอนดอน ช่วงเดือนก.ค.2555 และหารือถึงความร่วมมือในการเพิ่มมูลค่าการค้าและการลงทุนระหว่างกัน
ทั้งนี้ สหราชอาณาจักรได้แสดงความหวังที่จะสามารถเริ่มการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ไทย-สหภาพยุโรป (อียู) ได้ในอนาคตอันใกล้นี้ หลังจากที่ได้ชะลอมานาน เพราะเห็นว่าจะเป็นการเพิ่มโอกาสทางการค้าได้
ขณะเดียวกัน ได้แสดงความกังวลกรณีที่ไทยจะมีการปรับปรุงพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ซึ่งได้ยืนยันไปว่าเป็นการปรับปรุงเพื่อให้กฎหมายมีความชัดเจนมากขึ้น และไทยไม่มีนโยบายที่จะสร้างอุปสรรคต่อการค้าการลงทุนจากต่างประเทศ เช่นเดียวกับโครงการโชห่วยช่วยชาติ เป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ของชุมชน เพื่อให้ผู้มีรายได้น้อยสามารถซื้อสินค้าได้ในราคาถูกเท่านั้น ไม่ได้มีเป้าหมายในการแข่งขันกับเอกชน
อย่างไรก็ตาม ไทยได้ขอให้ทางสหราชอาณาจักรแก้ไขอุปสรรคทางการค้า เช่น นโยบายการเข้าเมืองและการจำกัดแรงงานต่างชาติที่ทำงานในสหราชอาณาจักรที่มีผลกระทบต่อแรงงานไทย โดยเฉพาะพ่อครัว แม่ครัวไทย ส่วนสหราชอาณาจักร ขอให้ไทยแก้ปัญหาการเก็บภาษีสรรพสามิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งมีการเก็บภาษีในอัตราที่แตกต่างกันระหว่างวอดก้าของสหภาพยุโรปกับสุราขาวของไทย เป็นต้น
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า ขณะนี้กระทรวงฯ กำลังอยู่ระหว่างการทบทวนบัญชีแนบท้ายพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว โดยเบื้องต้นมีการเสนอให้คุมเข้มธุรกิจค้าปลีก ค้าส่ง ต้องขออนุญาตทุกประเภท ซึ่งทำให้ต่างชาติเกิดความกังวลว่าจะกระทบต่อการเข้ามาลงทุน ส่วนการตัดธุรกิจซื้อขายสินค้าเกษตรในตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า และธุรกิจหลักทรัพย์ รวมถึงธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และธุรกิจเกี่ยวเนื่องจำนวน 18 ธุรกิจ ออกจากบัญชีแนบท้าย เห็นว่าเหมาะสม และเพิ่มการแข่งขัน
ส่วนโครงการโชห่วยช่วยชาติ จะเปิดร้านถูกใจจำนวน 10,000 ร้านค้า เพื่อจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นประมาณ 20 รายการในราคาถูกกว่าท้องตลาดปกติ 20% ซึ่งต่างชาติกังวลว่าจะเป็นการเปิดร้านค้าขึ้นมาแข่งขันในธุรกิจค้าปลีกของเอกชน
นายบุญทรง เตริยาภิรมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยว่า เมื่อเร็วๆ นี้ นาย Asif Anwar Ahmad เอกอัครราชทูตสหราชอาณาจักร ประจำประเทศไทย ได้เข้ามาพบปะหารือ และได้ติดตามความคืบหน้ากำหนดการเดินทางไปเยือนสหราชอาณาจักรอย่างเป็นทางการของน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีของไทย เพื่อเข้าร่วมพิธีเปิดโอลิมปิก ครั้งที่ 30 ณ กรุงลอนดอน ช่วงเดือนก.ค.2555 และหารือถึงความร่วมมือในการเพิ่มมูลค่าการค้าและการลงทุนระหว่างกัน
ทั้งนี้ สหราชอาณาจักรได้แสดงความหวังที่จะสามารถเริ่มการเจรจาข้อตกลงการค้าเสรี (FTA) ไทย-สหภาพยุโรป (อียู) ได้ในอนาคตอันใกล้นี้ หลังจากที่ได้ชะลอมานาน เพราะเห็นว่าจะเป็นการเพิ่มโอกาสทางการค้าได้
ขณะเดียวกัน ได้แสดงความกังวลกรณีที่ไทยจะมีการปรับปรุงพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว พ.ศ. 2542 ซึ่งได้ยืนยันไปว่าเป็นการปรับปรุงเพื่อให้กฎหมายมีความชัดเจนมากขึ้น และไทยไม่มีนโยบายที่จะสร้างอุปสรรคต่อการค้าการลงทุนจากต่างประเทศ เช่นเดียวกับโครงการโชห่วยช่วยชาติ เป็นโครงการที่มีวัตถุประสงค์เพื่อประโยชน์ของชุมชน เพื่อให้ผู้มีรายได้น้อยสามารถซื้อสินค้าได้ในราคาถูกเท่านั้น ไม่ได้มีเป้าหมายในการแข่งขันกับเอกชน
อย่างไรก็ตาม ไทยได้ขอให้ทางสหราชอาณาจักรแก้ไขอุปสรรคทางการค้า เช่น นโยบายการเข้าเมืองและการจำกัดแรงงานต่างชาติที่ทำงานในสหราชอาณาจักรที่มีผลกระทบต่อแรงงานไทย โดยเฉพาะพ่อครัว แม่ครัวไทย ส่วนสหราชอาณาจักร ขอให้ไทยแก้ปัญหาการเก็บภาษีสรรพสามิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ซึ่งมีการเก็บภาษีในอัตราที่แตกต่างกันระหว่างวอดก้าของสหภาพยุโรปกับสุราขาวของไทย เป็นต้น
รายงานข่าวจากกระทรวงพาณิชย์ แจ้งว่า ขณะนี้กระทรวงฯ กำลังอยู่ระหว่างการทบทวนบัญชีแนบท้ายพ.ร.บ.การประกอบธุรกิจของคนต่างด้าว โดยเบื้องต้นมีการเสนอให้คุมเข้มธุรกิจค้าปลีก ค้าส่ง ต้องขออนุญาตทุกประเภท ซึ่งทำให้ต่างชาติเกิดความกังวลว่าจะกระทบต่อการเข้ามาลงทุน ส่วนการตัดธุรกิจซื้อขายสินค้าเกษตรในตลาดซื้อขายสินค้าเกษตรล่วงหน้า และธุรกิจหลักทรัพย์ รวมถึงธุรกิจสัญญาซื้อขายล่วงหน้า และธุรกิจเกี่ยวเนื่องจำนวน 18 ธุรกิจ ออกจากบัญชีแนบท้าย เห็นว่าเหมาะสม และเพิ่มการแข่งขัน
ส่วนโครงการโชห่วยช่วยชาติ จะเปิดร้านถูกใจจำนวน 10,000 ร้านค้า เพื่อจำหน่ายสินค้าอุปโภคบริโภคที่จำเป็นประมาณ 20 รายการในราคาถูกกว่าท้องตลาดปกติ 20% ซึ่งต่างชาติกังวลว่าจะเป็นการเปิดร้านค้าขึ้นมาแข่งขันในธุรกิจค้าปลีกของเอกชน