กรมพัฒนาธุรกิจการค้ากระตุ้นภาคธุรกิจส่งงบการเงินตามกฎหมาย หวังยกระดับมาตรฐานการประกอบการและธรรมาภิบาลในการดำเนินธุรกิจ เพื่อสร้างความเชื่อถือทั้งในประเทศ และระดับสากล
นายวิชัย โภชนกิจ รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีนิติบุคคลกว่า 30,000 รายละเลยต่อการปฏิบัติตามกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เช่น การไม่ส่งงบดุลซึ่งเป็นหลักฐานแสดงฐานะของธุรกิจ ภายใน 6 เดือนหลังปิดบัญชี การไม่จดทะเบียนเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงกรรมการหรือผู้มีอำนาจลงนาม ทำให้ภาคธุรกิจของไทยถูกมองว่าขาดธรรมาภิบาลและได้รับความเชื่อถือลดลง
ดังนั้น เพื่อป้องปรามไม่ให้ภาคธุรกิจกระทำการที่ฝ่าฝืนกฎหมาย นำส่งงบการเงินภายในกำหนด ซึ่งจะเป็นผลดีต่อภาคธุรกิจโดยตรง และสร้างความเชื่อถือต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม ผู้ประกอบการมีข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ที่ถูกต้องครบถ้วน สามารถแสดงให้เห็นถึงความโปร่งใส การมีธรรมาภิบาลและตรวจสอบได้ จึงได้มีการปรับขั้นตอนและการดำเนินการต่อผู้ที่ฝ่าฝืนให้มีความรุนแรงขึ้น โดยได้มีการแจ้งเตือนผ่านสื่อต่างๆ เป็นระยะๆ และปรับอัตราค่าปรับที่จะลงโทษผู้กระทำความผิดให้สูงขึ้น
โดยเฉพาะการนำส่งงบการเงิน กรมฯ จะให้ความสำคัญเป็นพิเศษ โดยการเรียกตรวจบัญชีผู้ที่ไม่ส่งงบอย่างละเอียด และลงโทษตามกฎหมายบัญชีด้วยหากพบมีการทำผิด แจ้งเตือนในหนังสือรับรองนิติบุคคล พร้อมนำชื่อขึ้นเว็บไซต์ของกรมฯ เพื่อให้สาธารณะได้รับทราบ และใช้ความระมัดระวังในการทำนิติกรรมด้วย และหากพบว่ามีการละเลยไม่ส่งงบดุลติดต่อกันเป็นเวลา 3 ปี กรมฯ ก็จะเพิกถอนหรือขีดชื่อออกจากทะเบียนธุรกิจ ซึ่งจะทำให้นิติบุคคลนั้นไม่สามารถทำนิติกรรมได้อีกต่อไป
พร้อมกันนี้ กรมฯ ได้อำนวยความสะดวกแก่ภาคธุรกิจมากขึ้น โดยได้มีการปรับวิธีการนำส่งงบการเงินเพื่อลดภาระแก่นิติบุคคล โดยนำส่งงบการเงินเพียง 1 ชุด ได้ที่ (1) ที่ทำการไปรษณีย์กว่า 1,300 แห่งทั่วประเทศ (2) สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขต 1-5 (3) สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดและสาขา หรือกรมพัฒนาธุรกิจการค้า สนามบินน้ำ ภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2555
ทั้งนี้ กรมฯ ได้ปรับอัตราค่าปรับใหม่ให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 17 เมษายน 2555 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกรมพัฒนาธุรกิจการค้า 1570 หรือ www.dbd.go.th
นายวิชัย โภชนกิจ รองอธิบดีกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เปิดเผยว่า ปัจจุบันมีนิติบุคคลกว่า 30,000 รายละเลยต่อการปฏิบัติตามกฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า เช่น การไม่ส่งงบดุลซึ่งเป็นหลักฐานแสดงฐานะของธุรกิจ ภายใน 6 เดือนหลังปิดบัญชี การไม่จดทะเบียนเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงกรรมการหรือผู้มีอำนาจลงนาม ทำให้ภาคธุรกิจของไทยถูกมองว่าขาดธรรมาภิบาลและได้รับความเชื่อถือลดลง
ดังนั้น เพื่อป้องปรามไม่ให้ภาคธุรกิจกระทำการที่ฝ่าฝืนกฎหมาย นำส่งงบการเงินภายในกำหนด ซึ่งจะเป็นผลดีต่อภาคธุรกิจโดยตรง และสร้างความเชื่อถือต่อระบบเศรษฐกิจของประเทศโดยรวม ผู้ประกอบการมีข้อมูลที่ใช้ในการวิเคราะห์ที่ถูกต้องครบถ้วน สามารถแสดงให้เห็นถึงความโปร่งใส การมีธรรมาภิบาลและตรวจสอบได้ จึงได้มีการปรับขั้นตอนและการดำเนินการต่อผู้ที่ฝ่าฝืนให้มีความรุนแรงขึ้น โดยได้มีการแจ้งเตือนผ่านสื่อต่างๆ เป็นระยะๆ และปรับอัตราค่าปรับที่จะลงโทษผู้กระทำความผิดให้สูงขึ้น
โดยเฉพาะการนำส่งงบการเงิน กรมฯ จะให้ความสำคัญเป็นพิเศษ โดยการเรียกตรวจบัญชีผู้ที่ไม่ส่งงบอย่างละเอียด และลงโทษตามกฎหมายบัญชีด้วยหากพบมีการทำผิด แจ้งเตือนในหนังสือรับรองนิติบุคคล พร้อมนำชื่อขึ้นเว็บไซต์ของกรมฯ เพื่อให้สาธารณะได้รับทราบ และใช้ความระมัดระวังในการทำนิติกรรมด้วย และหากพบว่ามีการละเลยไม่ส่งงบดุลติดต่อกันเป็นเวลา 3 ปี กรมฯ ก็จะเพิกถอนหรือขีดชื่อออกจากทะเบียนธุรกิจ ซึ่งจะทำให้นิติบุคคลนั้นไม่สามารถทำนิติกรรมได้อีกต่อไป
พร้อมกันนี้ กรมฯ ได้อำนวยความสะดวกแก่ภาคธุรกิจมากขึ้น โดยได้มีการปรับวิธีการนำส่งงบการเงินเพื่อลดภาระแก่นิติบุคคล โดยนำส่งงบการเงินเพียง 1 ชุด ได้ที่ (1) ที่ทำการไปรษณีย์กว่า 1,300 แห่งทั่วประเทศ (2) สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าเขต 1-5 (3) สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดและสาขา หรือกรมพัฒนาธุรกิจการค้า สนามบินน้ำ ภายในวันที่ 31 พฤษภาคม 2555
ทั้งนี้ กรมฯ ได้ปรับอัตราค่าปรับใหม่ให้มีผลบังคับใช้ในวันที่ 17 เมษายน 2555 สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ สายด่วนกรมพัฒนาธุรกิจการค้า 1570 หรือ www.dbd.go.th