นายชัชชาติ สิทธิพันธุ์ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า ปัญหาการยิงบั้งไฟและปล่อยโคมลอย ส่งผลกระทบต่อการบินเพิ่มมากขึ้น เนื่องจากปัจจุบันมีเที่ยวบินเพิ่มขึ้นมาก โดยเฉพาะสายการบินต้นทุนต่ำ (Lowcost Airline) ในขณะที่การยิงบั้งไฟ และปล่อยโคมลอยมีตลอดเวลา ไม่จำกัดเฉพาะเทศกาลเหมือนเดิม จึงมีความเสี่ยงต่อการบินมากขึ้น โดยบั้งไฟจะพุ่งสูง ส่วนโคมจะลอยได้ไกลมาก โดยจะอยู่ในระดับความสูง 3,000-5,000 ฟุต ซึ่งเป็นระยะเครื่องบินร่อนขึ้นหรือลง ซึ่งอาจจะทำให้เกิดอันตรายต่อเครื่องบินได้ ซึ่งประชาชนยังขาดความเข้าใจต่อผลกระทบที่เกิดขึ้นกับการจราจรทางอากาศ จึงต้องมีการประชาสัมพันธ์ในพื้นที่ที่มีปัญหา และรณรงค์การปล่อยโคมลอยที่ถูกต้อง จัดทำพื้นที่โซนนิ่งตามแนวขึ้น-ลงอากาศยานรอบสนามบินเชียงใหม่
ทั้งนี้ จากสถิติพบว่า ในเดือน พ.ย.2554 มีการแจ้งขอปล่อยโคมลอยในบางจุดเกือบ 3,000 ลูก และแจ้งขอยิงบั้งไฟในพื้นที่ภาคอีสานมากถึง 628 ครั้ง บั้งไฟมีน้ำหนักตั้งแต่ 3-500 กก. และโคมลอยขนาดมากกว่า 1 ลบ.ม.จะส่งผลกต้องขออนุญาตก่อนปล่อย ตามข้อกำหนดให้แจ้งกรมการบินพลเรือน (บพ.) และบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย (บวท.) เพื่อจัดทำประกาศนักบิน (Notam) เพื่อเลี่ยงบินผ่านพื้นที่เสี่ยง ซึ่งไม่ควรยิงบั้งไฟ หรือปล่อยโคมลอยติดสนามบิน อย่างไรก็ตาม เห็นว่า การออกกฎหมายควบคุมเพิ่มเติมควรเป็นการกำหนดเวลาและสถานที่ปล่อยมากกว่า
นายวรเดช หาญประเสริฐ อธิบดีกรมการบินพลเรือน กล่าวว่า ช่วงเทศกาลจะมีการปล่อยโคมลอย และยิงบั้งไฟมากขึ้น ซึ่งจะต้องแจ้งก่อนยิง โดยโคมลอยหากปล่อยจำนวนมาก จะรบกวนการบิน หรือทำให้เครื่องยนต์เสียหายได้ ส่วนบั้งไฟหากพุ่งชนเครื่องบิน อาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้ ซึ่งตามกฎหมายถือว่าโคมลอยขนาดมากกว่า 1 ลบ.ม.เป็นอากาศยานเบากว่าอากาศตาม พ.ร.บ.เดินอากาศ พ.ศ.2497 การปล่อยต้องได้รับอนุญาต ฝ่าฝืนมีความผิดทางอาญาจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หากได้รับอนุญาต แต่ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขปรับไม่เกิน 50,000 บาท ส่วนโคมลอยขนาดไม่เกิน 1 ลบ.ม.ไม่ต้องขออนุญาตก่อน ส่วนบั้งไฟนั้น อยู่ระหว่างการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.อาวุธปืน เพื่อให้ควบคุมถึงด้วย โดยคาดว่า จะแล้วเสร็จในปีนี้ โดยจะถูกลงโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน-1 ปี หรือปรับ 1,000-14,000 บาท หากสร้างความเสียหาย
ทั้งนี้ จากสถิติพบว่า ในเดือน พ.ย.2554 มีการแจ้งขอปล่อยโคมลอยในบางจุดเกือบ 3,000 ลูก และแจ้งขอยิงบั้งไฟในพื้นที่ภาคอีสานมากถึง 628 ครั้ง บั้งไฟมีน้ำหนักตั้งแต่ 3-500 กก. และโคมลอยขนาดมากกว่า 1 ลบ.ม.จะส่งผลกต้องขออนุญาตก่อนปล่อย ตามข้อกำหนดให้แจ้งกรมการบินพลเรือน (บพ.) และบริษัท วิทยุการบินแห่งประเทศไทย (บวท.) เพื่อจัดทำประกาศนักบิน (Notam) เพื่อเลี่ยงบินผ่านพื้นที่เสี่ยง ซึ่งไม่ควรยิงบั้งไฟ หรือปล่อยโคมลอยติดสนามบิน อย่างไรก็ตาม เห็นว่า การออกกฎหมายควบคุมเพิ่มเติมควรเป็นการกำหนดเวลาและสถานที่ปล่อยมากกว่า
นายวรเดช หาญประเสริฐ อธิบดีกรมการบินพลเรือน กล่าวว่า ช่วงเทศกาลจะมีการปล่อยโคมลอย และยิงบั้งไฟมากขึ้น ซึ่งจะต้องแจ้งก่อนยิง โดยโคมลอยหากปล่อยจำนวนมาก จะรบกวนการบิน หรือทำให้เครื่องยนต์เสียหายได้ ส่วนบั้งไฟหากพุ่งชนเครื่องบิน อาจจะทำให้เกิดอุบัติเหตุร้ายแรงได้ ซึ่งตามกฎหมายถือว่าโคมลอยขนาดมากกว่า 1 ลบ.ม.เป็นอากาศยานเบากว่าอากาศตาม พ.ร.บ.เดินอากาศ พ.ศ.2497 การปล่อยต้องได้รับอนุญาต ฝ่าฝืนมีความผิดทางอาญาจำคุกไม่เกิน 1 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หากได้รับอนุญาต แต่ไม่ปฏิบัติตามเงื่อนไขปรับไม่เกิน 50,000 บาท ส่วนโคมลอยขนาดไม่เกิน 1 ลบ.ม.ไม่ต้องขออนุญาตก่อน ส่วนบั้งไฟนั้น อยู่ระหว่างการแก้ไขเพิ่มเติม พ.ร.บ.อาวุธปืน เพื่อให้ควบคุมถึงด้วย โดยคาดว่า จะแล้วเสร็จในปีนี้ โดยจะถูกลงโทษจำคุกตั้งแต่ 6 เดือน-1 ปี หรือปรับ 1,000-14,000 บาท หากสร้างความเสียหาย