ASTVผู้จัดการรายวัน - กนอ.เผย นักลงทุนต่างชาติไม่ย้ายฐานออกจากนิคมฯ สหรัตนนคร เหตุมั่นใจในแผนป้องกันน้ำท่วม ชี้ เขื่อนป้องกันน้ำท่วมเสร็จ ส.ค.ตามแผน นักลงทุนทยอยฟื้นการผลิตแล้ว 52% คาด มิ.ย.กลับมา 100%
นายนราพจน์ ทิวถนอม รองผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยภายหลังร่วมเป็นประธานในพิธีเปิดสายการผลิต (Mass Production) บริษัท ทีเอส เทค (ประเทศไทย) จำกัด วานนี้ (20 มี.ค.) ว่า บริษัท ทีเอส เทค ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ประเภทเบาะ และแผงประตูรถยนต์รายใหญ่ในนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร ได้เริ่มกลับมาผลิตชิ้นส่วนป้อนบริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด อีกครั้ง หลังจากประสบกับภาวะน้ำท่วม ซึ่งส่งผลให้ปัจจุบันมีผู้ประกอบการในนิคมฯ สหรัตนนคร กลับมาดำเนินการผลิตแล้ว จำนวน 24 ราย คิดเป็น 52% จากจำนวนโรงงานทั้งหมด 46 ราย สถานภาพการจ้างงานที่มีแรงงานกลับมาทำงานแล้วประมาณ 9,373 คน จากจำนวนแรงงานทั้งหมด 12,176 คน และคาดว่า จะกลับมาผลิตได้ครบ 100% ภายในเดือน มิ.ย.นี้
“นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศที่อยู่ในพื้นที่นิคมฯ สหรัตนนคร ขณะนี้ยังคงไม่ย้ายฐานการผลิตไปยังพื้นที่อื่นๆ แม้แผนบริหารจัดการน้ำท่วมอาจมีความล่าช้าไปบ้าง แต่ผู้ประกอบการยังคงเชื่อมั่นแผนบริหารจัดการน้ำของรัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมองว่าหากแนวคันดินป้องกันน้ำท่วมสร้างเสร็จตามแผนงาน ก็เชื่อว่า น่าจะรับมือกับปริมาณน้ำหลากในช่วงเดือน ส.ค.ได้อย่างแน่นอน” นายนราพจน์ กล่าว
สำหรับความคืบหน้าของการฟื้นฟูนิคมฯ สหรัตนนคร ขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับแผนการดำเนินงานของนิคมฯ สหรัตนนครใหม่ โดยไม่ต้องรอรายละเอียดการออกแบบเขื่อนกั้นน้ำรอบนิคมฯ แต่จะแบ่งการทำงานออกเป็นเฟส อาทิ งานถมดิน งานคอนกรีต และงานระบายน้ำ เพื่อให้งานเดินหน้าได้เร็วขึ้น โดยคาดว่า จะใช้งบประมาณการก่อสร้างเขื่อนคันดินป้องกันน้ำท่วม ประมาณ 428 ล้านบาทระยะทางประมาณ 7.3 กิโลเมตร (ไม่รวมถนนด้านหน้านิคมฯ อีก 3 กิโลเมตร ซึ่งอยู่ในส่วนความรับผิดชอบของกรมทางหลวง) โดยเฉลี่ยอยู่กิโลเมตรละ 60 ล้านบาท คาดว่า จะดำเนินการก่อสร้างตามแผนงานทันเดือน ส.ค.นี้
นิคมฯ สหรัตนนคร จัดตั้งเมื่อปี 2537 ที่ตั้ง ต.บางพระครู อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา มีเนื้อที่ทั้งหมด 2,050 ไร่ โดยได้ดำเนินการพัฒนาที่ดินแล้ว จำนวน 1,441 ไร่ กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมยาง พลาสติก หนังเทียม และอุตสาหกรรมเหล็ก และผลิตภัณฑ์โลหะ
นายนราพจน์ ทิวถนอม รองผู้ว่าการการนิคมอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย (กนอ.) เปิดเผยภายหลังร่วมเป็นประธานในพิธีเปิดสายการผลิต (Mass Production) บริษัท ทีเอส เทค (ประเทศไทย) จำกัด วานนี้ (20 มี.ค.) ว่า บริษัท ทีเอส เทค ผู้ผลิตชิ้นส่วนยานยนต์ ประเภทเบาะ และแผงประตูรถยนต์รายใหญ่ในนิคมอุตสาหกรรมสหรัตนนคร ได้เริ่มกลับมาผลิตชิ้นส่วนป้อนบริษัท ฮอนด้า ออโตโมบิล (ประเทศไทย) จำกัด อีกครั้ง หลังจากประสบกับภาวะน้ำท่วม ซึ่งส่งผลให้ปัจจุบันมีผู้ประกอบการในนิคมฯ สหรัตนนคร กลับมาดำเนินการผลิตแล้ว จำนวน 24 ราย คิดเป็น 52% จากจำนวนโรงงานทั้งหมด 46 ราย สถานภาพการจ้างงานที่มีแรงงานกลับมาทำงานแล้วประมาณ 9,373 คน จากจำนวนแรงงานทั้งหมด 12,176 คน และคาดว่า จะกลับมาผลิตได้ครบ 100% ภายในเดือน มิ.ย.นี้
“นักลงทุนทั้งในและต่างประเทศที่อยู่ในพื้นที่นิคมฯ สหรัตนนคร ขณะนี้ยังคงไม่ย้ายฐานการผลิตไปยังพื้นที่อื่นๆ แม้แผนบริหารจัดการน้ำท่วมอาจมีความล่าช้าไปบ้าง แต่ผู้ประกอบการยังคงเชื่อมั่นแผนบริหารจัดการน้ำของรัฐ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ซึ่งมองว่าหากแนวคันดินป้องกันน้ำท่วมสร้างเสร็จตามแผนงาน ก็เชื่อว่า น่าจะรับมือกับปริมาณน้ำหลากในช่วงเดือน ส.ค.ได้อย่างแน่นอน” นายนราพจน์ กล่าว
สำหรับความคืบหน้าของการฟื้นฟูนิคมฯ สหรัตนนคร ขณะนี้อยู่ระหว่างการปรับแผนการดำเนินงานของนิคมฯ สหรัตนนครใหม่ โดยไม่ต้องรอรายละเอียดการออกแบบเขื่อนกั้นน้ำรอบนิคมฯ แต่จะแบ่งการทำงานออกเป็นเฟส อาทิ งานถมดิน งานคอนกรีต และงานระบายน้ำ เพื่อให้งานเดินหน้าได้เร็วขึ้น โดยคาดว่า จะใช้งบประมาณการก่อสร้างเขื่อนคันดินป้องกันน้ำท่วม ประมาณ 428 ล้านบาทระยะทางประมาณ 7.3 กิโลเมตร (ไม่รวมถนนด้านหน้านิคมฯ อีก 3 กิโลเมตร ซึ่งอยู่ในส่วนความรับผิดชอบของกรมทางหลวง) โดยเฉลี่ยอยู่กิโลเมตรละ 60 ล้านบาท คาดว่า จะดำเนินการก่อสร้างตามแผนงานทันเดือน ส.ค.นี้
นิคมฯ สหรัตนนคร จัดตั้งเมื่อปี 2537 ที่ตั้ง ต.บางพระครู อ.นครหลวง จ.พระนครศรีอยุธยา มีเนื้อที่ทั้งหมด 2,050 ไร่ โดยได้ดำเนินการพัฒนาที่ดินแล้ว จำนวน 1,441 ไร่ กลุ่มอุตสาหกรรมเป้าหมายส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมเครื่องใช้ไฟฟ้า อิเล็กทรอนิกส์ อุตสาหกรรมยาง พลาสติก หนังเทียม และอุตสาหกรรมเหล็ก และผลิตภัณฑ์โลหะ