ASTVผู้จัดการรายวัน - สมาคมผู้จัดพิมพ์และผู้จำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย(PUBAT) ประกาศมั่นใจอุตสาหกรรมสำนักพิมพ์โตต่อเนื่องกว่า 5% แม้ซวนเซหลังเจอน้ำท่วม ทุ่มทุกกลยุทธ์เพื่อเพิ่มอัตราการอ่านหนังสือของคนไทยเป็น 20 เล่มต่อปี เชื่อมั่น E-Book ไม่ฉุดยอดขายหนังสือเล่ม แถมยังช่วยเพิ่มให้โตขึ้น
นายวรพันธ์ โลกิตสถาพร นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และจำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (PUBAT) เปิดเผยว่า ในปีนี้ 2555 สมาคมฯ ตั้งเป้าหมายจะผลักดันให้อุตสาหกรรมหนังสือกลับมาเติบโตอย่างต่อเนื่องประมาณ 5% หลังประสบเหตุการณ์น้ำท่วมหนักในปีที่แล้ว อุตสาหกรรมสำนักพิมพ์โตเพียง 1.5%
“ปีที่แล้วอุตสาหกรรมหนังสือมีมูลค่าตลาดประมาณ 21,000-21,700 ล้านบาท โดยครึ่งปีแรกโตประมาณ 10% แต่ทั้งปีโตเพียง 1%-1.5% เพราะปัญหาน้ำท่วมกว่า 4 เดือน และสำนักพิมพ์ส่วนหนึ่งก็ได้รับความเสียหายจากสถานการณ์น้ำท่วมครั้งนั้น โดยมีมูลค่าความเสียหายรวมประมาณ 500 ล้านบาท “
ส่วนในแง่การเติบโตของสำนักพิมพ์นั้น สำนักพิมพ์ขนาดกลางมีสัดส่วนการเติบโตสูงสุดคือ 17.5% ต่อปี ในขณะที่สำนักพิมพ์ในกลุ่มผู้นำตลาดและสำนักพิมพ์ขนาดใหญ่ รายได้เติบโตเฉลี่ยประมาณ 5% และสำนักพิมพ์ขนาดเล็กเติบโตลดลงเหลือ 0.24% ซึ่งสำนักพิมพ์ขนาดเล็กที่ออกหนังสือจำนวนน้อยกว่า 10 เล่มต่อปี มักไม่มีงบประมาณด้านการตลาด หรือการส่งเสริมการขาย จึงยากที่จะต่อสู้ในธุรกิจ ซึ่งทางสมาคมฯ ได้เตรียมวางแผนรองรับโดยให้ความรู้และช่วยเหลือ เพราะหวังให้สำนักพิมพ์เล็กดำรงอยู่และมีการเติบโตต่อเนื่อง
ในปีนี้ สมาคมฯคาดว่า อุตสาหกรรมสำนักพิมพ์จะกลับมาเติบโตไม่น้อยว่า 5% หรือ มีมูลค่าตลาดรวมไม่น้อยกว่า 22,800 ล้านบาท เพราะสถานการณ์น้ำท่วมเริ่มคลี่คลาย และภาพรวมของเศรษฐกิจที่ดีขึ้น รวมถึงเราได้รับการสนับสนุนของหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนและปีนี้ จะรุกหนักในการรณรงค์สร้างวัฒนธรรมการอ่าน ตั้งเป้าหมายให้คนไทยอ่านหนังสือมากขึ้น 4 เท่า หรืออ่านคนละ 20 เล่มต่อปี
โดยปีนี้สมาคมฯ มีแผนจะจัดงานมหกรรมหนังสือ ทั่วทุกภูมิภาค อาทิ งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติและสัปดาห์หนังสือนานาชาติ, งานเทศกาลหนังสือเด็กและเยาวชน, งานมหกรรมหนังสือระดับชาติ รวมถึงงานสัปดาห์หนังสือภูมิภาคที่ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี และ จ. อุบลราชธานี ที่จัดเป็นประจำต่อเนื่องทุกปี และจะขยายไปยังอ.หาดใหญ่ จ.สงขลาด้วย เพื่อกระจายการอ่านไปสู่ในทุกภูมิภาคทุกท้องถิ่นของสังคมไทย
ในส่วนของกระแส E-Book นั้น นายวรพันธ์มองว่า แทปเล็ทคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟนและหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) มีแนวโน้มที่จะได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น ซึ่งถือเป็นช่องทางใหม่ที่จะมีส่วนช่วยส่งเสริมให้คนไทยที่ชื่นชอบเทคโนโลยี มีช่องทางในการเข้าถึงการอ่านได้มากขึ้น ส่งผลให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมสำนักพิมพ์ต้องเริ่มกำหนดแผนรองรับความก้าวหน้าดังกล่าว และปรับตัวให้ทัน เชื่อว่าเทคโนโลยีดังกล่าวจะไม่ทำให้ยอดขายหนังสือตก แต่ในทางกลับกันสามารถช่วยเพิ่มยอดขายของสำนักพิมพ์ได้อีกด้วย
นายวรพันธ์ โลกิตสถาพร นายกสมาคมผู้จัดพิมพ์และจำหน่ายหนังสือแห่งประเทศไทย (PUBAT) เปิดเผยว่า ในปีนี้ 2555 สมาคมฯ ตั้งเป้าหมายจะผลักดันให้อุตสาหกรรมหนังสือกลับมาเติบโตอย่างต่อเนื่องประมาณ 5% หลังประสบเหตุการณ์น้ำท่วมหนักในปีที่แล้ว อุตสาหกรรมสำนักพิมพ์โตเพียง 1.5%
“ปีที่แล้วอุตสาหกรรมหนังสือมีมูลค่าตลาดประมาณ 21,000-21,700 ล้านบาท โดยครึ่งปีแรกโตประมาณ 10% แต่ทั้งปีโตเพียง 1%-1.5% เพราะปัญหาน้ำท่วมกว่า 4 เดือน และสำนักพิมพ์ส่วนหนึ่งก็ได้รับความเสียหายจากสถานการณ์น้ำท่วมครั้งนั้น โดยมีมูลค่าความเสียหายรวมประมาณ 500 ล้านบาท “
ส่วนในแง่การเติบโตของสำนักพิมพ์นั้น สำนักพิมพ์ขนาดกลางมีสัดส่วนการเติบโตสูงสุดคือ 17.5% ต่อปี ในขณะที่สำนักพิมพ์ในกลุ่มผู้นำตลาดและสำนักพิมพ์ขนาดใหญ่ รายได้เติบโตเฉลี่ยประมาณ 5% และสำนักพิมพ์ขนาดเล็กเติบโตลดลงเหลือ 0.24% ซึ่งสำนักพิมพ์ขนาดเล็กที่ออกหนังสือจำนวนน้อยกว่า 10 เล่มต่อปี มักไม่มีงบประมาณด้านการตลาด หรือการส่งเสริมการขาย จึงยากที่จะต่อสู้ในธุรกิจ ซึ่งทางสมาคมฯ ได้เตรียมวางแผนรองรับโดยให้ความรู้และช่วยเหลือ เพราะหวังให้สำนักพิมพ์เล็กดำรงอยู่และมีการเติบโตต่อเนื่อง
ในปีนี้ สมาคมฯคาดว่า อุตสาหกรรมสำนักพิมพ์จะกลับมาเติบโตไม่น้อยว่า 5% หรือ มีมูลค่าตลาดรวมไม่น้อยกว่า 22,800 ล้านบาท เพราะสถานการณ์น้ำท่วมเริ่มคลี่คลาย และภาพรวมของเศรษฐกิจที่ดีขึ้น รวมถึงเราได้รับการสนับสนุนของหน่วยงานต่างๆ ทั้งภาครัฐและเอกชนและปีนี้ จะรุกหนักในการรณรงค์สร้างวัฒนธรรมการอ่าน ตั้งเป้าหมายให้คนไทยอ่านหนังสือมากขึ้น 4 เท่า หรืออ่านคนละ 20 เล่มต่อปี
โดยปีนี้สมาคมฯ มีแผนจะจัดงานมหกรรมหนังสือ ทั่วทุกภูมิภาค อาทิ งานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติและสัปดาห์หนังสือนานาชาติ, งานเทศกาลหนังสือเด็กและเยาวชน, งานมหกรรมหนังสือระดับชาติ รวมถึงงานสัปดาห์หนังสือภูมิภาคที่ อ.ศรีราชา จ.ชลบุรี และ จ. อุบลราชธานี ที่จัดเป็นประจำต่อเนื่องทุกปี และจะขยายไปยังอ.หาดใหญ่ จ.สงขลาด้วย เพื่อกระจายการอ่านไปสู่ในทุกภูมิภาคทุกท้องถิ่นของสังคมไทย
ในส่วนของกระแส E-Book นั้น นายวรพันธ์มองว่า แทปเล็ทคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟนและหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ (E-Book) มีแนวโน้มที่จะได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น ซึ่งถือเป็นช่องทางใหม่ที่จะมีส่วนช่วยส่งเสริมให้คนไทยที่ชื่นชอบเทคโนโลยี มีช่องทางในการเข้าถึงการอ่านได้มากขึ้น ส่งผลให้ผู้ประกอบการในอุตสาหกรรมสำนักพิมพ์ต้องเริ่มกำหนดแผนรองรับความก้าวหน้าดังกล่าว และปรับตัวให้ทัน เชื่อว่าเทคโนโลยีดังกล่าวจะไม่ทำให้ยอดขายหนังสือตก แต่ในทางกลับกันสามารถช่วยเพิ่มยอดขายของสำนักพิมพ์ได้อีกด้วย