ASTVผู้จัดการรายวัน - กลุ่มธรรมาภิบาล และเครือข่ายผู้ถือหุ้น ยื่นหนังสือ “จารุพงศ์” ตรวจสอบนโยบายฝ่ายบริหารการบินไทย ถูกต้องหรือไม่ หลังออกมาตรการลดจำนวนนักบินผิดกฎการบิน เสี่ยงไม่ปลอดภัย พร้อมเตรียมยื่นคัดค้านขายหุ้น 2% สัปดาห์หน้าชี้ปิดทางประชาชนตรวจสอบความโปร่งใส
วานนี้ (25 ม.ค.) กลุ่มธรรมาภิบาลเครือข่ายภาคประชาชนต้านทุจริต คอร์รัปชันและประพฤติมิชอบ และนาวาอากาศตรี ถนิต พรหมสถิต ผู้ประสานงานเครือข่ายผู้ถือหุ้นการบินไทยและอดีตนักบินการบินไทย ได้ยื่นหนังสือถึง นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ขอให้ตรวจสอบการกระทำที่ผิดกฎการบินพลเรือนระหว่างประเทศของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หรือ (TG) เนื่องจากทำให้เกิดความเสียหายต่อความน่าเชื่อถือในความปลอดภัยที่จะใช้บริการ และมีผลกระทบประเทศไทยอย่างประเมินค่าไม่ได้ เนื่องจากการบินไทยเป็นสายการบินแห่งชาติ โดยขอให้ รมว.คมนาคม ตรวจสอบการกำหนดนโยบายของฝ่ายบริหารบริษัท ในการลดจำนวนนักบินเหลือ 2 คน ซึ่งไม่เป็นไปตามกฎการบินระหว่างประเทศ โดยอ้างเหตุลดค่าใช้จ่ายของบริษัทเป็นการกำหนดนโยบายที่ถูกต้องหรือไม่ และ ขอให้ตรวจสอบการบินในเส้นทางกรุงเทพฯ-ญี่ปุ่น และกรุงเทพฯ-เกาหลี ที่มีนักบินเพียง 2 คนว่ามีความปลอดภัยในการบินหรือไม่
ทั้งนี้ จากข้อมูลพบการกระทำความผิด ในเที่ยวบินของการบินไทยตลอดเดือนสิงหาคม 2554 ในเส้นทางการบินระหว่างประเทศไทย-ญี่ปุ่น และเส้นทางประเทศไทย-เกาหลี ช่วงเวลาบิน 00.00-05.00 น.นักบินได้ทำการบินโดยฝ่าฝืนกฎการบินพลเรือนระหว่างประเทศและไม่ปฏิบัติตามคู่มือปฏิบัติการบิน (OM-A) ในหัวข้อ 15.2 ข้อย่อยที่ 3 ที่ระบุว่า เที่ยวบินที่มีนักบิน 2 คนจะต้องเพิ่มนักบินอีก 1 คนเมื่อ FDP หรือเวลาเมื่อยล้ามากกว่า 6 ชั่วโมง หรือ 4 ชั่วโมง ตั้งแต่ 00.00-05.59 น.ซึ่งในข้อเท็จจริงช่วงเวลาดังกล่าวบริษัทไม่มีการเพิ่มนักบินให้ถูกต้องแต่อย่างมด โดยมีนักบินทำการบินเพียง 2 คน ซึ่งบริษัทอ้างว่าเป็นการปฏิบัติตามนโยบายของฝ่ายบริหารเพื่อลดค่าใช้จ่ายในบริษัท ซึ่งถือเป็นการกระทำที่ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ หรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของทั้งฝ่ายบริหารและนักบินที่ทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยในการใช้บริการ ซึ่งหากเกิดมีการร้องเรียน องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) เพื่อสอบสวนการกระทำความผิด จะเกิดผลกระทบและความเสียหายมหาศาลในเรื่องความน่าเชื่อถือต่อสายการบินไทย
โดยในการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบความปลอดภัยในการเดินอากาศ เมื่อวันที่ 26 พ.ค.2554 กรมการบินพลเรือน (บพ.) สั่งการให้คำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลักไม่ควรคำนึงถึงเรื่องผลประโยชน์ของบริษัท และให้ Operation อย่างเคร่งครัดในกรณีฉุกเฉินไม่สามารถปฏิบัติตามได้ขอให้รายงานให้ทราบ โดยเห็นว่าการออกข้อกำหนดใดๆ ที่เกี่ยวกับมาตรฐานในการกำหนดเวลาทำการบิน (Flight Time and Duty Time Regulation) จะต้องระมัดระวังอย่างมาก ซึ่ง บพ.จะเป็นเจ้าภาพพิจารณาข้อกำหนดที่ชัดเจน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ซึ่งจะส่งผลต่อภาพลักษณ์ของบริษัท
กัปตัน ถนิต พรหมสถิต กล่าวว่า ต้องยื่นหนังสือถึงรมว.คมนาคมเพื่อตรวจสอบนายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ การบินไทย เนื่องจากเป็นการนำมาตรฐานด้านความปลอดภัยไปอ้างอิงกับเรื่องลดค่าใช้จ่ายไม่ได้ ซึ่งการทำผิดกติกา ถ้ามีปัญหาเกิดขึ้นจะทำอย่างไร หากสภาพอากาศไม่ดี เที่ยวบินล่าช้าทำให้นักบินเหนื่อยอ่อนล้าปฏิบัติการบินได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จะทำอย่างไร ถ้าต้องการลดค่าใช้จ่าย เพราะผลประกอบการปี 2554 ของบริษัทจะขาดทุนแต่ทำให้ความปลอดภัยลดลงก็ไม่ถูกต้อง ซึ่งเรื่องนี้ไม่ได้เป็นความลับภายในบริษัทเพราะมีกลุ่มนักบินร้องเรียนต้องการให้แก้ไขให้ถูกต้อง
นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.คมนาคม กล่าวว่า ได้รับหนังสือร้องเรียนแล้ว แต่ยังไม่ได้อ่านรายละเอียด ทั้งนี้ในเรื่องความปลอดภัยเป็นเรื่องสำคัญและกระทบต่อภาพลักษณ์ ซึ่งจะต้องหารือและสอบถามข้อเท็จจริงกับ นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ การบินไทย และนายอำพน กิตติอำพน ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) ก่อน จึงจะแสดงความคิดเห็นได้
ด้าน นายนักบุญ กล่าวว่า สัปดาห์หน้าจะเข้ายื่นหนังสือถึง นายจารุพงศ์ เพื่อแสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยกับการขายหุ้นการบินไทย 2% ให้กองทุนวายุภักษ์ หลังจากได้ยื่นหนังสือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ไม่ให้ขายหุ้นบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ไปแล้ว โดยเห็นว่า จะเห็นว่าเมื่อทั้งการบินไทย และ ปตท.เป็นบริษัท ประชาชนคนไทยจะไม่สามารถเข้าไปตรวจสอบได้อีก โดยทั้ง 2 องค์กร มีงบจำนวนมาก เช่น งบด้านประชาสัมพันธ์ มีหลายพันล้านบาทต่อปี
วานนี้ (25 ม.ค.) กลุ่มธรรมาภิบาลเครือข่ายภาคประชาชนต้านทุจริต คอร์รัปชันและประพฤติมิชอบ และนาวาอากาศตรี ถนิต พรหมสถิต ผู้ประสานงานเครือข่ายผู้ถือหุ้นการบินไทยและอดีตนักบินการบินไทย ได้ยื่นหนังสือถึง นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม ขอให้ตรวจสอบการกระทำที่ผิดกฎการบินพลเรือนระหว่างประเทศของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หรือ (TG) เนื่องจากทำให้เกิดความเสียหายต่อความน่าเชื่อถือในความปลอดภัยที่จะใช้บริการ และมีผลกระทบประเทศไทยอย่างประเมินค่าไม่ได้ เนื่องจากการบินไทยเป็นสายการบินแห่งชาติ โดยขอให้ รมว.คมนาคม ตรวจสอบการกำหนดนโยบายของฝ่ายบริหารบริษัท ในการลดจำนวนนักบินเหลือ 2 คน ซึ่งไม่เป็นไปตามกฎการบินระหว่างประเทศ โดยอ้างเหตุลดค่าใช้จ่ายของบริษัทเป็นการกำหนดนโยบายที่ถูกต้องหรือไม่ และ ขอให้ตรวจสอบการบินในเส้นทางกรุงเทพฯ-ญี่ปุ่น และกรุงเทพฯ-เกาหลี ที่มีนักบินเพียง 2 คนว่ามีความปลอดภัยในการบินหรือไม่
ทั้งนี้ จากข้อมูลพบการกระทำความผิด ในเที่ยวบินของการบินไทยตลอดเดือนสิงหาคม 2554 ในเส้นทางการบินระหว่างประเทศไทย-ญี่ปุ่น และเส้นทางประเทศไทย-เกาหลี ช่วงเวลาบิน 00.00-05.00 น.นักบินได้ทำการบินโดยฝ่าฝืนกฎการบินพลเรือนระหว่างประเทศและไม่ปฏิบัติตามคู่มือปฏิบัติการบิน (OM-A) ในหัวข้อ 15.2 ข้อย่อยที่ 3 ที่ระบุว่า เที่ยวบินที่มีนักบิน 2 คนจะต้องเพิ่มนักบินอีก 1 คนเมื่อ FDP หรือเวลาเมื่อยล้ามากกว่า 6 ชั่วโมง หรือ 4 ชั่วโมง ตั้งแต่ 00.00-05.59 น.ซึ่งในข้อเท็จจริงช่วงเวลาดังกล่าวบริษัทไม่มีการเพิ่มนักบินให้ถูกต้องแต่อย่างมด โดยมีนักบินทำการบินเพียง 2 คน ซึ่งบริษัทอ้างว่าเป็นการปฏิบัติตามนโยบายของฝ่ายบริหารเพื่อลดค่าใช้จ่ายในบริษัท ซึ่งถือเป็นการกระทำที่ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ หรือปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบของทั้งฝ่ายบริหารและนักบินที่ทำให้เกิดความไม่ปลอดภัยในการใช้บริการ ซึ่งหากเกิดมีการร้องเรียน องค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) เพื่อสอบสวนการกระทำความผิด จะเกิดผลกระทบและความเสียหายมหาศาลในเรื่องความน่าเชื่อถือต่อสายการบินไทย
โดยในการประชุมคณะกรรมการพัฒนาระบบความปลอดภัยในการเดินอากาศ เมื่อวันที่ 26 พ.ค.2554 กรมการบินพลเรือน (บพ.) สั่งการให้คำนึงถึงความปลอดภัยเป็นหลักไม่ควรคำนึงถึงเรื่องผลประโยชน์ของบริษัท และให้ Operation อย่างเคร่งครัดในกรณีฉุกเฉินไม่สามารถปฏิบัติตามได้ขอให้รายงานให้ทราบ โดยเห็นว่าการออกข้อกำหนดใดๆ ที่เกี่ยวกับมาตรฐานในการกำหนดเวลาทำการบิน (Flight Time and Duty Time Regulation) จะต้องระมัดระวังอย่างมาก ซึ่ง บพ.จะเป็นเจ้าภาพพิจารณาข้อกำหนดที่ชัดเจน เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอุบัติเหตุที่อาจจะเกิดขึ้นได้ ซึ่งจะส่งผลต่อภาพลักษณ์ของบริษัท
กัปตัน ถนิต พรหมสถิต กล่าวว่า ต้องยื่นหนังสือถึงรมว.คมนาคมเพื่อตรวจสอบนายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ การบินไทย เนื่องจากเป็นการนำมาตรฐานด้านความปลอดภัยไปอ้างอิงกับเรื่องลดค่าใช้จ่ายไม่ได้ ซึ่งการทำผิดกติกา ถ้ามีปัญหาเกิดขึ้นจะทำอย่างไร หากสภาพอากาศไม่ดี เที่ยวบินล่าช้าทำให้นักบินเหนื่อยอ่อนล้าปฏิบัติการบินได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ จะทำอย่างไร ถ้าต้องการลดค่าใช้จ่าย เพราะผลประกอบการปี 2554 ของบริษัทจะขาดทุนแต่ทำให้ความปลอดภัยลดลงก็ไม่ถูกต้อง ซึ่งเรื่องนี้ไม่ได้เป็นความลับภายในบริษัทเพราะมีกลุ่มนักบินร้องเรียนต้องการให้แก้ไขให้ถูกต้อง
นายจารุพงศ์ เรืองสุวรรณ รมว.คมนาคม กล่าวว่า ได้รับหนังสือร้องเรียนแล้ว แต่ยังไม่ได้อ่านรายละเอียด ทั้งนี้ในเรื่องความปลอดภัยเป็นเรื่องสำคัญและกระทบต่อภาพลักษณ์ ซึ่งจะต้องหารือและสอบถามข้อเท็จจริงกับ นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ การบินไทย และนายอำพน กิตติอำพน ประธานคณะกรรมการ (บอร์ด) ก่อน จึงจะแสดงความคิดเห็นได้
ด้าน นายนักบุญ กล่าวว่า สัปดาห์หน้าจะเข้ายื่นหนังสือถึง นายจารุพงศ์ เพื่อแสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยกับการขายหุ้นการบินไทย 2% ให้กองทุนวายุภักษ์ หลังจากได้ยื่นหนังสือรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงาน ไม่ให้ขายหุ้นบริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) ไปแล้ว โดยเห็นว่า จะเห็นว่าเมื่อทั้งการบินไทย และ ปตท.เป็นบริษัท ประชาชนคนไทยจะไม่สามารถเข้าไปตรวจสอบได้อีก โดยทั้ง 2 องค์กร มีงบจำนวนมาก เช่น งบด้านประชาสัมพันธ์ มีหลายพันล้านบาทต่อปี