เผยผลสำรวจคอร์รัปชันไทยเดือน ธ.ค.54 ดีขึ้นจากเดือน มิ.ย.54 แต่ยังถือว่ารุนแรง ระบุเอกชนยังต้องจ่ายใต้โต๊ะสูงถึง 25-30% หรือกว่า 2 แสนล้านบาท ของงบรายจ่าย เผยอีก 5-10 ปีข้างหน้า เงินโกงอาจทะลุ 1 ล้านล้าน แฉหน่วยงานภาพลักษณ์สุดแย่ มีทั้งตำรวจ นักการเมือง กรมศุลกากร สรรพากร ภาคีเครือข่ายต้านคอร์รปชัน เล็งหามาตรการกดดันรัฐเอาผิดคนโกง
นางเสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจดัชนีสถานการณ์คอร์รัปชันไทยเดือน ธ.ค.2554 ที่สำรวจจากประชาชน ผู้ประกอบการ และข้าราชการ ภาครัฐทั่วประเทศ 2,400 ตัวอย่าง ระหว่างเดือน ธ.ค.2554-ม.ค.2555 โดยมีคะแนน 0-10 คะแนน (0 คะแนน คือ มีการคอร์รัปชันมากที่สุด และ 10 คะแนน คือ ไม่มีการคอร์รัปชัน) ว่า ดัชนีสถานการณ์คอร์รัปชันไทยโดยรวมอยู่ที่ 3.6 คะแนน จาก 3.3 คะแนนในการสำรวจครั้งก่อนเมื่อเดือน มิ.ย.2554 ส่วนดัชนีสถานการณ์คอร์รัปชันในปัจจุบันอยู่ที่ 3.3 คะแนน เพิ่มขึ้นจาก 3.1 และดัชนีแนวโน้มสถานการณ์คอร์รัปชันอยู่ที่ 3.9 คะแนน เพิ่มขึ้นจาก 3.8
“ดัชนีสถานการณ์การคอร์รัปชันแม้จะปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย แต่ภาพรวมยังอยู่ในระดับการคอร์รัปชันที่รุนแรงอยู่ ซึ่งส่วนที่ทำให้ดัชนีคอร์รัปชันไม่รุนแรงขึ้น เพราะการมีส่วนร่วมและตระหนักถึงปัญหาในหลายภาคส่วน ทำให้การคอร์รัปชันเป็นที่จับตามองมากขึ้น ส่งผลให้สถานการณ์เบาบางลงบ้าง ซึ่งทุกภาคส่วนต้องช่วยกันแก้ปัญหา และปลุกจิตสำนึกให้รู้ความรุนแรงของปัญหา และแนวทางการแก้ไข” นางเสาวณีย์ กล่าว
นางเสาวณีย์ กล่าวว่า เมื่อถามถึงการจ่ายเงินพิเศษให้หน่วยงานภาครัฐ และนักการเมืองที่ทุจริต เพื่อให้ได้สัญญาการทำงานผู้ตอบ 82.1% ระบุเคยจ่าย ส่วน 7.5% ระบุไม่ทราบ และอีก 5.5% ระบุไม่จ่าย โดยกลุ่มที่จ่ายเงินพิเศษ ส่วนใหญ่จ่ายมากกว่า 25% ของรายรับ รองลงมาจ่ายที่ 16-25% ของรายรับ ทั้งนี้ ประเมินว่า เงินที่จ่ายพิเศษ 25-30% ของมูลค่างาน คิดเป็นวงเงิน 172,920-227,616 ล้านบาท ของวงเงินงบลงทุนของภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ รวมกับค่าครุภัณฑ์ ที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง ในปีงบ 2554 ที่ 758,720 ล้านบาท หรือคิดเป็น 8.35-11% ต่องบประมาณรายจ่ายปี 2554 ที่ 2.07 ล้านล้านบาท และคิดเป็น 1.62-2.13% ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ของปี 2554 ที่ 10.66 ล้านล้านบาท
กิจกรรมที่มีโอกาสเกิดคอร์รัปชันมากที่สุด คือ ซ่อมและสร้างถนน สะพาน รองลงมา คือ การซื้ออุปกรณ์ของภาครัฐ การจ่ายเงินชดเชยช่วยน้ำท่วม การชดเชยพันธุ์พืช สัตว์ การให้ความช่วยเหลือด้านต่างๆ ตามนโยบายของรัฐ ขณะที่หน่วยงานภาครัฐที่ภาพลักษณ์ในการคอร์รัปชันมากที่สุด พบว่า เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ รองลงมา คือ นักการเมือง และนักการเมืองท้องถิ่นที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการอนุมัติโครงการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการ ทั้งกรมศุลกากร กรมสรรพากร กรมที่ดิน เป็นต้น ส่วนเมื่อถามถึงความถี่ที่ผู้ตอบมีส่วนจ่ายเงินพิเศษให้นั้น พบว่า เป็นตำรวจ ที่ประชาชนต้องจ่ายให้มากที่สุด
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า หากวงเงินงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเป็นปีละ 3 ล้านล้านบาท และยังมีการจ่ายเงินใต้โต๊ะอีก 25-30% จะทำให้เกิดความเสียหายเพิ่มเป็น 170,000-220,000 ล้าน หรือคิดเป็น 1.5-2.05 ต่อจีดีพี และหากยังมีการคอร์รัปชันต่อเนื่องในอีก 5-10 ปีข้างหน้า จะเกิดความเสียหายจากการคอร์รัปชันสูงถึง 800,000-1 ล้านล้านบาทได้ โดยในปี 2554 ไทยอยู่ในอันดับ 4 ของประเทศที่มีคอร์รัปชันน้อยที่สุดในอาเซียน รองจากสิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ส่วนในเอเชีย ไทยอยู่ในอันดับ 11 ของประเทศที่มีคอร์รัปชันมากที่สุดจาก 26 ประเทศ
นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานภาคีเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชัน กล่าวว่า สาเหตุที่ภาคเอกชนยังมีการจ่ายเงินใต้โต๊ะให้กับนักการเมือง และหน่วยงานภาครัฐ เพราะต้องการให้ได้สัญญาการทำงาน หากไม่จ่ายก็จะไม่ได้ ซึ่งขณะนี้ภาคีฯ กำลังหารือกันว่า จะมีวิธีการใดที่จะปรับเปลี่ยนกฎระเบียบ หรือกฎหมายของราชการ เพื่อให้ได้งานโดยไม่ต้องจ่ายสินบน และอาจกดดันให้ภาครัฐจัดการกับคนที่ทุจริตด้วย ขณะเดียวกัน ยังมีผู้ร้องเรียนเรื่องการคอร์รัปชันเข้ามายังภาคีฯ จำนวนมาก ซึ่งเรื่องที่ร้องเรียนและมีเอกสารหลักฐานประกอบชัดเจน รวมถึงผู้ร้องยินยอมเป็นพยานให้ ภาคีฯ ได้ส่งเรื่องไปยังสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตรวจสอบแล้ว และอยู่ระหว่างการทำเรื่องเพื่อสอบถามความคืบหน้าของการพิจารณา
นางเสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยถึงผลสำรวจดัชนีสถานการณ์คอร์รัปชันไทยเดือน ธ.ค.2554 ที่สำรวจจากประชาชน ผู้ประกอบการ และข้าราชการ ภาครัฐทั่วประเทศ 2,400 ตัวอย่าง ระหว่างเดือน ธ.ค.2554-ม.ค.2555 โดยมีคะแนน 0-10 คะแนน (0 คะแนน คือ มีการคอร์รัปชันมากที่สุด และ 10 คะแนน คือ ไม่มีการคอร์รัปชัน) ว่า ดัชนีสถานการณ์คอร์รัปชันไทยโดยรวมอยู่ที่ 3.6 คะแนน จาก 3.3 คะแนนในการสำรวจครั้งก่อนเมื่อเดือน มิ.ย.2554 ส่วนดัชนีสถานการณ์คอร์รัปชันในปัจจุบันอยู่ที่ 3.3 คะแนน เพิ่มขึ้นจาก 3.1 และดัชนีแนวโน้มสถานการณ์คอร์รัปชันอยู่ที่ 3.9 คะแนน เพิ่มขึ้นจาก 3.8
“ดัชนีสถานการณ์การคอร์รัปชันแม้จะปรับตัวดีขึ้นเล็กน้อย แต่ภาพรวมยังอยู่ในระดับการคอร์รัปชันที่รุนแรงอยู่ ซึ่งส่วนที่ทำให้ดัชนีคอร์รัปชันไม่รุนแรงขึ้น เพราะการมีส่วนร่วมและตระหนักถึงปัญหาในหลายภาคส่วน ทำให้การคอร์รัปชันเป็นที่จับตามองมากขึ้น ส่งผลให้สถานการณ์เบาบางลงบ้าง ซึ่งทุกภาคส่วนต้องช่วยกันแก้ปัญหา และปลุกจิตสำนึกให้รู้ความรุนแรงของปัญหา และแนวทางการแก้ไข” นางเสาวณีย์ กล่าว
นางเสาวณีย์ กล่าวว่า เมื่อถามถึงการจ่ายเงินพิเศษให้หน่วยงานภาครัฐ และนักการเมืองที่ทุจริต เพื่อให้ได้สัญญาการทำงานผู้ตอบ 82.1% ระบุเคยจ่าย ส่วน 7.5% ระบุไม่ทราบ และอีก 5.5% ระบุไม่จ่าย โดยกลุ่มที่จ่ายเงินพิเศษ ส่วนใหญ่จ่ายมากกว่า 25% ของรายรับ รองลงมาจ่ายที่ 16-25% ของรายรับ ทั้งนี้ ประเมินว่า เงินที่จ่ายพิเศษ 25-30% ของมูลค่างาน คิดเป็นวงเงิน 172,920-227,616 ล้านบาท ของวงเงินงบลงทุนของภาครัฐและรัฐวิสาหกิจ รวมกับค่าครุภัณฑ์ ที่ดิน และสิ่งปลูกสร้าง ในปีงบ 2554 ที่ 758,720 ล้านบาท หรือคิดเป็น 8.35-11% ต่องบประมาณรายจ่ายปี 2554 ที่ 2.07 ล้านล้านบาท และคิดเป็น 1.62-2.13% ต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (จีดีพี) ของปี 2554 ที่ 10.66 ล้านล้านบาท
กิจกรรมที่มีโอกาสเกิดคอร์รัปชันมากที่สุด คือ ซ่อมและสร้างถนน สะพาน รองลงมา คือ การซื้ออุปกรณ์ของภาครัฐ การจ่ายเงินชดเชยช่วยน้ำท่วม การชดเชยพันธุ์พืช สัตว์ การให้ความช่วยเหลือด้านต่างๆ ตามนโยบายของรัฐ ขณะที่หน่วยงานภาครัฐที่ภาพลักษณ์ในการคอร์รัปชันมากที่สุด พบว่า เป็นเจ้าหน้าที่ตำรวจ รองลงมา คือ นักการเมือง และนักการเมืองท้องถิ่นที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับการอนุมัติโครงการ และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกับการให้บริการ ทั้งกรมศุลกากร กรมสรรพากร กรมที่ดิน เป็นต้น ส่วนเมื่อถามถึงความถี่ที่ผู้ตอบมีส่วนจ่ายเงินพิเศษให้นั้น พบว่า เป็นตำรวจ ที่ประชาชนต้องจ่ายให้มากที่สุด
นายธนวรรธน์ พลวิชัย ผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวว่า หากวงเงินงบประมาณรายจ่ายเพิ่มเป็นปีละ 3 ล้านล้านบาท และยังมีการจ่ายเงินใต้โต๊ะอีก 25-30% จะทำให้เกิดความเสียหายเพิ่มเป็น 170,000-220,000 ล้าน หรือคิดเป็น 1.5-2.05 ต่อจีดีพี และหากยังมีการคอร์รัปชันต่อเนื่องในอีก 5-10 ปีข้างหน้า จะเกิดความเสียหายจากการคอร์รัปชันสูงถึง 800,000-1 ล้านล้านบาทได้ โดยในปี 2554 ไทยอยู่ในอันดับ 4 ของประเทศที่มีคอร์รัปชันน้อยที่สุดในอาเซียน รองจากสิงคโปร์ มาเลเซีย และอินโดนีเซีย ส่วนในเอเชีย ไทยอยู่ในอันดับ 11 ของประเทศที่มีคอร์รัปชันมากที่สุดจาก 26 ประเทศ
นายประมนต์ สุธีวงศ์ ประธานภาคีเครือข่ายต่อต้านคอร์รัปชัน กล่าวว่า สาเหตุที่ภาคเอกชนยังมีการจ่ายเงินใต้โต๊ะให้กับนักการเมือง และหน่วยงานภาครัฐ เพราะต้องการให้ได้สัญญาการทำงาน หากไม่จ่ายก็จะไม่ได้ ซึ่งขณะนี้ภาคีฯ กำลังหารือกันว่า จะมีวิธีการใดที่จะปรับเปลี่ยนกฎระเบียบ หรือกฎหมายของราชการ เพื่อให้ได้งานโดยไม่ต้องจ่ายสินบน และอาจกดดันให้ภาครัฐจัดการกับคนที่ทุจริตด้วย ขณะเดียวกัน ยังมีผู้ร้องเรียนเรื่องการคอร์รัปชันเข้ามายังภาคีฯ จำนวนมาก ซึ่งเรื่องที่ร้องเรียนและมีเอกสารหลักฐานประกอบชัดเจน รวมถึงผู้ร้องยินยอมเป็นพยานให้ ภาคีฯ ได้ส่งเรื่องไปยังสำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) ตรวจสอบแล้ว และอยู่ระหว่างการทำเรื่องเพื่อสอบถามความคืบหน้าของการพิจารณา