“โออิชิ” กุมขมับ ฐานผลิตเส้นเลือดใหญ่นวนคร เป็นอัมพาต ผลิตไม่ได้ สินค้าเครื่องดื่มชาเขียวโออิชิสำรองแค่ 1 เดือน ส่วนร้านอาหารคาดเปิดได้อีกแค่ 14 วัน พร้อมเร่งเครื่องผลิตเครื่องดื่มโออิชิ ที่ อมตะชลบุรีแทน ก้มหน้าปรับลดเป้าการเติบโตลง 18%
นายแมทธิว กิจโอธาน กรรมการผู้จัดการ บริษัท โออิชิ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า จากปัญหาน้ำท่วมที่รุนแรงในหลายพื้นที่ของประเทศที่ส่งผลกระทบไปทั่วประเทศ และล่าสุดนิคมอุตสาหกรรมนวนครปทุมธานีเกิดปัญหาน้ำท่วมสูงกว่า 70 เซ็นติเมตรซึ่งเป็นสถานที่ตั้งโรงงานของโออิชินั้น ทำให้บริษัทฯได้ปรับลดเป้าหมายรายได้ในสิ้นปีนี้ลงจากเดิมที่ตั้งไว้ที่ 11,000ล้านบาท กำไรประมาณ 1,300 ล้านบาท เติบโต 20% จากปีที่แล้วที่มีรายได้รวมประมาณ 8,700 ล้านบาท กำไร 1,000 ล้านบาท เหลือเพียง 9,500 - 10,000 ล้านบาทในปีนี้ แต่ถ้าหากสถานการณ์วิกฤติ คาดว่าอาจจะเหลือรายได้เพียง 9,000 ล้านบาทเท่านั้น หรือเติบโตลดลง 18% จากเป้าหมายเดิมปีนี้
โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสที่สี่ที่เป็นฤดูกาลขายสำคัญที่คาดว่าจะมียอดขายรวม 3,000 ล้านบาท มาจากเครื่องดื่ม 1,800 ล้านบาท และมาจากอาหาร 1,200 ล้านบาท คาดว่าจะอาจจะกระทบอย่างมากทำให้ยอดขายหายไปกว่า 1,000 ล้านบาท เนื่องจากปัญหาน้ำท่วมที่กระทบต่อโรงงานผลิตที่นวนคร รวมทั้งกระทบต่อการขนส่งสินค้าและวัตถุดิบไปยังร้านค้าในเครือและช่องทางการจำหน่ายต่างๆ ขณะที่งบการตลาดปีนี้ตั้งไว้ 700 ล้านบาทใช้ไปแล้ว 500 ล้านบาท ส่วนที่เหลือคาดว่าจะนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและช่วยเหลือผู้ประสบภัย จากที่ช่วยเหลือไปแล้วรวม 100 ล้านบาท
ทั้งนี้โรงงานที่นวนครลงทุนไปรวมกว่า 4,000 ล้านบาทแล้วทั้งเฟสเก่าและเฟสใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวไป พื้นที่กว่า 60 ไร่ มีกำลังการผลิตเครี่องดื่มโออิชิ 30 ล้านขวดเพ็ทต่อเดือน และ 34 ล้านกล่องยูเอชทีต่อเดือน รวมกว่า 64 ล้านหน่วยต่อเดือน มีคนงาน 1,200 คนในโรงงานนี้ ได้หยุดการผลิตแล้วตั้งแต่วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคมที่ผ่านมา ส่งผลให้สินค้าจะหายไปจากท้องตลาดมากกว่า 64 ล้านหน่วยดังกล่าว ส่วนปริมาณสินค้าที่ยังอยู่ในโรงงานนำออกมาไม่ได้มีปริมาณ 125,000 หีบ ( 1 หีบมี 24 ขวด) แต่สามารถนำเครื่องดื่มโออิชิออกมาได้แล้วและยังรองรับได้อีก 30 วัน
ขณะที่สินค้าทางด้านอาหารนั้นก็ไม่สามารถผลิตได้เพราะครัวกลางที่นี่ผลิตไม่ได้เช่นกัน โดยมีปริมาณสินค้าอาหารสำรองสต๊อกไว้ประมาณ 11-14 วัน ที่จะสามารถป้อนให้กับร้านค้าในเครือโออิชิกว่า 120 สาขาในกรณีที่ซัปพลายเออร์ยังสามารถป้อนวัตถุดิบบางอย่างมาให้บริษัทฯได้ด้วย และหากวิกฤติจริงซัพพลายเออร์ส่งของให้ไม่ได้ นั่นหมายถึงว่า ร้านโออิชิจะปิดให้บริการภายใน 14 วันนับจากนี้ เพราะเราใช้วัถุดิบมากเช่น ปลา 70 ตันต่อเดือน ข้าว 30 ตันต่อเดือนเป็นต้น
อย่างไรก็ตาม บริษัทฯยังมีโรงงานที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะที่ชลบุรี ที่สามารถผลิตชาเขียวได้ 15 ล้านขวดเพ็ทต่อเดือน แต่ไม่มีโรงงานผลิตอาหาร โดยได้โยกย้ายพนักงานบางส่วนมาที่นี่แล้ว สำหรับสินค้าอาหารเช่น เกี๊ยวซ่ากับแซนด์วิชนั้นไม่มีการผลิตแล้ว แต่มีสต๊อกเหลือไว้ประมาณ 1 เดือน ซึ่งมียอดขายเฉลี่ย 30 ล้านบาทต่อเดือน ซึ่งบริษัทฯได้เตรียมแผนรับมือมาก่อนเกิดเหตุใหญ่ 2 สัปดาห์แล้ว
ส่วนผู้บริหารและพนักงานยังเหลือรวม 111 คนเพื่อช่วยกันทำเขื่อนดินและหาทางป้องกันน้ำท่วมเข้าโรงงาน โดยมีสต๊อกอาหารเหลือไว้ประมาณ 1 เดือนสำรองไว้ให้กับพนักงาน ขณะนี้สร้างเขื่อนดินสูง 3 เมตร กว้าง 3 เมตร รอบโรงงาน การย้ายระบบคอมพิวเตอร์และของสำคัญขึ้นไปชั้นสองแล้ว เครื่องสูบน้ำ 50 ตัว ปั๊มน้ำใหญ่อีก 2 ตัว มีเรือสำรองไว้ 9 ลำเพื่อขนพนักงานเมื่อเกิดวิกฤติ เป็นต้น ซึ่งใช้งบไปแล้วกว่า 8 ล้านบาท โดยโรงงานที่นวนครนี้มีการทำประกันไว้วงเงิน 3,400 ล้านบาท และคาดว่าหากเหตุการณ์สงบลงต้องใช้เวลาในการฟื้นฟูไม่ต่ำกว่า 3 - 6 เดือน
นายแมทธิว ยังได้กล่าวให้ความเห็นด้วยว่า หลังน้ำลดแล้วรัฐบาลควรที่จะช่วยเร่งสูบน้ำออกจากพื้นที่ที่น้ำท่วมเพื่อให้โรงงานสามารถกลับมาผลิตสินค้าได้ตามเดิมเร็วที่สุด รวมทั้งยกเว้นเรื่องภาษีเงินได้ต่างๆสำหรับผู้ที่ถูกน้ำท่วม และเร่งหาทางป้องกันเพื่อรับมือกับเหตุการณ์ในครั้งต่อไปอีก ให้ช่วยสูบน้ำออกจากพื้นที่ที่น้ำท่วมอย่างรวดเร็วเพื่อให้ธุรกิจกลับมาดำเนินการได้
นายแมทธิว กิจโอธาน กรรมการผู้จัดการ บริษัท โออิชิ จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า จากปัญหาน้ำท่วมที่รุนแรงในหลายพื้นที่ของประเทศที่ส่งผลกระทบไปทั่วประเทศ และล่าสุดนิคมอุตสาหกรรมนวนครปทุมธานีเกิดปัญหาน้ำท่วมสูงกว่า 70 เซ็นติเมตรซึ่งเป็นสถานที่ตั้งโรงงานของโออิชินั้น ทำให้บริษัทฯได้ปรับลดเป้าหมายรายได้ในสิ้นปีนี้ลงจากเดิมที่ตั้งไว้ที่ 11,000ล้านบาท กำไรประมาณ 1,300 ล้านบาท เติบโต 20% จากปีที่แล้วที่มีรายได้รวมประมาณ 8,700 ล้านบาท กำไร 1,000 ล้านบาท เหลือเพียง 9,500 - 10,000 ล้านบาทในปีนี้ แต่ถ้าหากสถานการณ์วิกฤติ คาดว่าอาจจะเหลือรายได้เพียง 9,000 ล้านบาทเท่านั้น หรือเติบโตลดลง 18% จากเป้าหมายเดิมปีนี้
โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสที่สี่ที่เป็นฤดูกาลขายสำคัญที่คาดว่าจะมียอดขายรวม 3,000 ล้านบาท มาจากเครื่องดื่ม 1,800 ล้านบาท และมาจากอาหาร 1,200 ล้านบาท คาดว่าจะอาจจะกระทบอย่างมากทำให้ยอดขายหายไปกว่า 1,000 ล้านบาท เนื่องจากปัญหาน้ำท่วมที่กระทบต่อโรงงานผลิตที่นวนคร รวมทั้งกระทบต่อการขนส่งสินค้าและวัตถุดิบไปยังร้านค้าในเครือและช่องทางการจำหน่ายต่างๆ ขณะที่งบการตลาดปีนี้ตั้งไว้ 700 ล้านบาทใช้ไปแล้ว 500 ล้านบาท ส่วนที่เหลือคาดว่าจะนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมและช่วยเหลือผู้ประสบภัย จากที่ช่วยเหลือไปแล้วรวม 100 ล้านบาท
ทั้งนี้โรงงานที่นวนครลงทุนไปรวมกว่า 4,000 ล้านบาทแล้วทั้งเฟสเก่าและเฟสใหม่ที่เพิ่งเปิดตัวไป พื้นที่กว่า 60 ไร่ มีกำลังการผลิตเครี่องดื่มโออิชิ 30 ล้านขวดเพ็ทต่อเดือน และ 34 ล้านกล่องยูเอชทีต่อเดือน รวมกว่า 64 ล้านหน่วยต่อเดือน มีคนงาน 1,200 คนในโรงงานนี้ ได้หยุดการผลิตแล้วตั้งแต่วันจันทร์ที่ 17 ตุลาคมที่ผ่านมา ส่งผลให้สินค้าจะหายไปจากท้องตลาดมากกว่า 64 ล้านหน่วยดังกล่าว ส่วนปริมาณสินค้าที่ยังอยู่ในโรงงานนำออกมาไม่ได้มีปริมาณ 125,000 หีบ ( 1 หีบมี 24 ขวด) แต่สามารถนำเครื่องดื่มโออิชิออกมาได้แล้วและยังรองรับได้อีก 30 วัน
ขณะที่สินค้าทางด้านอาหารนั้นก็ไม่สามารถผลิตได้เพราะครัวกลางที่นี่ผลิตไม่ได้เช่นกัน โดยมีปริมาณสินค้าอาหารสำรองสต๊อกไว้ประมาณ 11-14 วัน ที่จะสามารถป้อนให้กับร้านค้าในเครือโออิชิกว่า 120 สาขาในกรณีที่ซัปพลายเออร์ยังสามารถป้อนวัตถุดิบบางอย่างมาให้บริษัทฯได้ด้วย และหากวิกฤติจริงซัพพลายเออร์ส่งของให้ไม่ได้ นั่นหมายถึงว่า ร้านโออิชิจะปิดให้บริการภายใน 14 วันนับจากนี้ เพราะเราใช้วัถุดิบมากเช่น ปลา 70 ตันต่อเดือน ข้าว 30 ตันต่อเดือนเป็นต้น
อย่างไรก็ตาม บริษัทฯยังมีโรงงานที่นิคมอุตสาหกรรมอมตะที่ชลบุรี ที่สามารถผลิตชาเขียวได้ 15 ล้านขวดเพ็ทต่อเดือน แต่ไม่มีโรงงานผลิตอาหาร โดยได้โยกย้ายพนักงานบางส่วนมาที่นี่แล้ว สำหรับสินค้าอาหารเช่น เกี๊ยวซ่ากับแซนด์วิชนั้นไม่มีการผลิตแล้ว แต่มีสต๊อกเหลือไว้ประมาณ 1 เดือน ซึ่งมียอดขายเฉลี่ย 30 ล้านบาทต่อเดือน ซึ่งบริษัทฯได้เตรียมแผนรับมือมาก่อนเกิดเหตุใหญ่ 2 สัปดาห์แล้ว
ส่วนผู้บริหารและพนักงานยังเหลือรวม 111 คนเพื่อช่วยกันทำเขื่อนดินและหาทางป้องกันน้ำท่วมเข้าโรงงาน โดยมีสต๊อกอาหารเหลือไว้ประมาณ 1 เดือนสำรองไว้ให้กับพนักงาน ขณะนี้สร้างเขื่อนดินสูง 3 เมตร กว้าง 3 เมตร รอบโรงงาน การย้ายระบบคอมพิวเตอร์และของสำคัญขึ้นไปชั้นสองแล้ว เครื่องสูบน้ำ 50 ตัว ปั๊มน้ำใหญ่อีก 2 ตัว มีเรือสำรองไว้ 9 ลำเพื่อขนพนักงานเมื่อเกิดวิกฤติ เป็นต้น ซึ่งใช้งบไปแล้วกว่า 8 ล้านบาท โดยโรงงานที่นวนครนี้มีการทำประกันไว้วงเงิน 3,400 ล้านบาท และคาดว่าหากเหตุการณ์สงบลงต้องใช้เวลาในการฟื้นฟูไม่ต่ำกว่า 3 - 6 เดือน
นายแมทธิว ยังได้กล่าวให้ความเห็นด้วยว่า หลังน้ำลดแล้วรัฐบาลควรที่จะช่วยเร่งสูบน้ำออกจากพื้นที่ที่น้ำท่วมเพื่อให้โรงงานสามารถกลับมาผลิตสินค้าได้ตามเดิมเร็วที่สุด รวมทั้งยกเว้นเรื่องภาษีเงินได้ต่างๆสำหรับผู้ที่ถูกน้ำท่วม และเร่งหาทางป้องกันเพื่อรับมือกับเหตุการณ์ในครั้งต่อไปอีก ให้ช่วยสูบน้ำออกจากพื้นที่ที่น้ำท่วมอย่างรวดเร็วเพื่อให้ธุรกิจกลับมาดำเนินการได้