ป.ป.ช.สั่ง “คมนาคม” ชี้แจงเหตุปรับลดขนาดและความยาวเสาเข็ม รถไฟฟ้าสีม่วงสัญญา 1 เอื้อผู้รับเหมากลุ่ม ช.การช่าง ทำ รฟม.เสียหายกว่า 100 ล้านบาท “สุกำพล” ยันผู้เกี่ยวข้องต้องชี้แจงให้เกิดความเข้าใจและโปร่งใส ด้าน “สุพจน์” โยน รฟม.ชี้แจง เผยลดขนาดเสาเข็มเหตุพื้นที่ก่อสร้างจำกัด โดยมีการลดค่าก่อสร้างลงแล้ว
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 5 ก.ย.2554 ที่ผ่านมา ทางสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) โดย นายณรงค์ รัฐอมฤต รองเลขาธิการป.ป.ช.ได้ส่งหนังสือถึงปลัดกระทรวงคมนาคม ขอทราบข้อเท็จจริงและขอเอกสารหลักฐาน กรณีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบและรายละเอียดการก่อสร้างเสาตอม่อ ฐานราก และโครงสร้างยกระดับ โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่-บางซื่อ ) สัญญาที่ 1 ภายหลังลงนามในสัญญาก่อสร้างกับกลุ่มบริษัท CKTC เป็นผู้รับเหมาไปแล้ว ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการก่อสร้างทางวิศวกรรมและรูปแบบทางสถาปัตยกรรมผิดจากรูปแบบในสัญญาก่อสร้าง ทำให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้รับความเสียหาย เนื่องจาก ได้รับส่วนลดค่าก่อสร้างจำนวน 428 ล้านบาท ทั้งที่ควรได้ส่วนลดไม่ต่ำกว่า 500 ล้านบาท
สำหรับการเปลี่ยนแปลงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเสาเข็มจาก 80 เซนติเมตร เป็น 60 เซนติเมตร และความยาวรวมของเสาเข็มเปลี่ยนไปประมาณ 200,000 เมตร ซึ่ง รฟม.จะได้รับส่วนลดไม่
ต่ำกว่า 100 ล้านบาท โดย ป.ป.ช.ระบุให้ชี้แจงข้อเท็จจริงพร้อมเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณาให้ป.ป.ช. ภายใน 30 วัน อย่างไรก็ตาม กระทรวงคมนาคมได้ทำหนังสือ รฟม.โดย นายจำรูญ ตั้งไพศาลกิจ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ลงวันที่ 23 ก.ย. 2554 ให้ รฟม.ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วแจ้งผลการดำเนินการต่อกระทรวง ภายในวันที่ 30 ก.ย.2554 เพื่อแจ้ง ป.ป.ช.ให้ทราบต่อไป
พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ยังไมเห็นหนังสือร้องเรียนดังกล่าว โดยเห็นว่า รฟม.ต้องเป็นผู้ชี้แจงข้อเท็จจริง เพราะเป็นการร้องเรียนด้านเทคนิค ซึ่งการประมูลต่างๆ มีกติกาที่ชัดเจน สามารถตรวจสอบได้อยู่แล้ว และเชื่อว่า หาก รฟม.ชี้แจงข้อเท็จจริงไปก็คงไม่มีปัญหา โครงการรถไฟฟ้ามีทั้งผู้ออกแบบ และราคากลางที่เหมาะสมกำหนดโดยสำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง คงไม่สามารถปรับเปลี่ยนหรือแก้ไขได้ และเมื่อประมูลแล้ว จะมีคณะกรรมการตรวจการจ้าง ด้านเทคนิค คณะกรรมการด้านราคา ตรวจสอบอีกชั้นหนึ่ง
ส่วนกรณีที่กระทรวงคมนาคมจะมีการประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าอีกหลายสาย ตามนโยบายรัฐบาลที่จะก่อสร้างรถไฟฟ้าให้ครบ 10 สาย ภายใน 4 ปี จะกำกับดูแลและทำให้เกิดความโปร่งใส
อย่างไรก็ตาม พล.อ.อ.สุกำพล กล่าวว่า ถ้าเป็นโครงการที่ใช้เงินกู้จากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (ไจก้า) ก็จะมีกระบวนการตรวจสอบหลายครั้ง ส่วนที่ใช้เงินกู้ในประเทศ ก็มีขั้นตอนตรวจสอบ แบบดับเบิ้ลเช็คเหมือนกัน จึงไม่มีอะไรที่ต้องกังวล ยึดกติกาเป็นหลัก
“การประมูลมีกติกาชัดเจน มีคณะกรรมการตรวจสอบหลายชุด ทำอะไรนอกเหนือจากที่กำหนดไม่ได้ เรื่องร้องเรียนก็ถือเป็นปกติ แต่พวกที่ชอบร้องเรียนแล้วไม่เป็นเรื่องจริง ผมจะจำให้แม่นเลย” พล.อ.อ.สุกำพล กล่าว
ด้าน นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคมในฐานะประธานคณะกรรมการรฟม.กล่าวว่า ได้รับหนังสือจาก ป.ป.ช.และส่งเรื่องให้ รฟม.ชี้แจงแล้ว ยืนยันว่า การปรับลดขนาดเสาเข็มในการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง สัญญา ที่ 1 นั้น มีเหตุผลเนื่องจากปัญหาพื้นที่บริเวณก่อสร้างมีจำกัดจึงต้องปรับใช้เข็มแบบใหม่ สามารถรับน้ำหนักได้มากขึ้น ราคาถูกลง โดยทำให้บางจุดที่ต้องใช้เข็ม 2-3 ต้น เหลือเพียง 1 ต้นเป็นต้น และทำให้ราคาค่าก่อสร้างปรับลดลงไปหลายร้อยล้านบาท จึงไม่มีอะไรผิดปกติ
สำหรับโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ระยะทาง 23 กิโลเมตรสัญญาที่ 1 เป็นโครงสร้างยกระดับส่วนตะวันออก ระยะทาง 12 กิโลเมตร มีสถานีรถไฟฟ้ารวม 8 สถานี เริ่มจากสถานีเตาปูนถึงสถานีพระนั่งเกล้า และงานก่อสร้างทางวิ่งช่วงบางซื่อ-เตาปูน โดย รฟม.ได้ลงนามในสัญญาก่อสร้างกับกลุ่ม CKTC Joint Venture (บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) และ บริษัท โตคิว คอนสตรัคชั่น จำกัด) ผู้รับเหมา เมื่อวันที่ 26 ส.ค. 2552 วงเงินค่าก่อสร้าง 14,292 ล้านบาท ลดลงจากที่เสนอ 16,724 ล้านบาท หรือลดลง 11.5 % โดยในช่วงจากเตาปูน-สะพานพระนั่งเกล้า กิจการร่วมค้า ช.การช่าง-โตคิว ขอปรับแบบก่อสร้างใหม่ เนื่องจากแบบก่อสร้างที่ออกแบบไว้นานแล้วตั้งแต่ปี 2548 ขณะที่ปัจจุบันกายภาพพื้นที่เปลี่ยนไปมาก อย่าง ถนนรัตนาธิเบศร์ จากเดิมแค่ 4 -6 ช่องจราจร เป็น 12 ช่องจราจรแล้วทำให้พื้นที่เกาะกลางถนนที่จะใช้ก่อสร้างเล็กลงจากเดิม จึงขอปรับขนาดตอม่อให้เล็กลง
แหล่งข่าวจากกระทรวงคมนาคม เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 5 ก.ย.2554 ที่ผ่านมา ทางสำนักงานป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) โดย นายณรงค์ รัฐอมฤต รองเลขาธิการป.ป.ช.ได้ส่งหนังสือถึงปลัดกระทรวงคมนาคม ขอทราบข้อเท็จจริงและขอเอกสารหลักฐาน กรณีการเปลี่ยนแปลงรูปแบบและรายละเอียดการก่อสร้างเสาตอม่อ ฐานราก และโครงสร้างยกระดับ โครงการรถไฟฟ้าสายสีม่วง (บางใหญ่-บางซื่อ ) สัญญาที่ 1 ภายหลังลงนามในสัญญาก่อสร้างกับกลุ่มบริษัท CKTC เป็นผู้รับเหมาไปแล้ว ซึ่งถือเป็นการเปลี่ยนแปลงรูปแบบการก่อสร้างทางวิศวกรรมและรูปแบบทางสถาปัตยกรรมผิดจากรูปแบบในสัญญาก่อสร้าง ทำให้การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย (รฟม.) ได้รับความเสียหาย เนื่องจาก ได้รับส่วนลดค่าก่อสร้างจำนวน 428 ล้านบาท ทั้งที่ควรได้ส่วนลดไม่ต่ำกว่า 500 ล้านบาท
สำหรับการเปลี่ยนแปลงขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางเสาเข็มจาก 80 เซนติเมตร เป็น 60 เซนติเมตร และความยาวรวมของเสาเข็มเปลี่ยนไปประมาณ 200,000 เมตร ซึ่ง รฟม.จะได้รับส่วนลดไม่
ต่ำกว่า 100 ล้านบาท โดย ป.ป.ช.ระบุให้ชี้แจงข้อเท็จจริงพร้อมเอกสารหลักฐานที่เกี่ยวข้องเพื่อประกอบการพิจารณาให้ป.ป.ช. ภายใน 30 วัน อย่างไรก็ตาม กระทรวงคมนาคมได้ทำหนังสือ รฟม.โดย นายจำรูญ ตั้งไพศาลกิจ รองปลัดกระทรวงคมนาคม ลงวันที่ 23 ก.ย. 2554 ให้ รฟม.ดำเนินการตรวจสอบข้อเท็จจริงแล้วแจ้งผลการดำเนินการต่อกระทรวง ภายในวันที่ 30 ก.ย.2554 เพื่อแจ้ง ป.ป.ช.ให้ทราบต่อไป
พล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ยังไมเห็นหนังสือร้องเรียนดังกล่าว โดยเห็นว่า รฟม.ต้องเป็นผู้ชี้แจงข้อเท็จจริง เพราะเป็นการร้องเรียนด้านเทคนิค ซึ่งการประมูลต่างๆ มีกติกาที่ชัดเจน สามารถตรวจสอบได้อยู่แล้ว และเชื่อว่า หาก รฟม.ชี้แจงข้อเท็จจริงไปก็คงไม่มีปัญหา โครงการรถไฟฟ้ามีทั้งผู้ออกแบบ และราคากลางที่เหมาะสมกำหนดโดยสำนักงบประมาณ กระทรวงการคลัง คงไม่สามารถปรับเปลี่ยนหรือแก้ไขได้ และเมื่อประมูลแล้ว จะมีคณะกรรมการตรวจการจ้าง ด้านเทคนิค คณะกรรมการด้านราคา ตรวจสอบอีกชั้นหนึ่ง
ส่วนกรณีที่กระทรวงคมนาคมจะมีการประกวดราคาโครงการรถไฟฟ้าอีกหลายสาย ตามนโยบายรัฐบาลที่จะก่อสร้างรถไฟฟ้าให้ครบ 10 สาย ภายใน 4 ปี จะกำกับดูแลและทำให้เกิดความโปร่งใส
อย่างไรก็ตาม พล.อ.อ.สุกำพล กล่าวว่า ถ้าเป็นโครงการที่ใช้เงินกู้จากองค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของญี่ปุ่น (ไจก้า) ก็จะมีกระบวนการตรวจสอบหลายครั้ง ส่วนที่ใช้เงินกู้ในประเทศ ก็มีขั้นตอนตรวจสอบ แบบดับเบิ้ลเช็คเหมือนกัน จึงไม่มีอะไรที่ต้องกังวล ยึดกติกาเป็นหลัก
“การประมูลมีกติกาชัดเจน มีคณะกรรมการตรวจสอบหลายชุด ทำอะไรนอกเหนือจากที่กำหนดไม่ได้ เรื่องร้องเรียนก็ถือเป็นปกติ แต่พวกที่ชอบร้องเรียนแล้วไม่เป็นเรื่องจริง ผมจะจำให้แม่นเลย” พล.อ.อ.สุกำพล กล่าว
ด้าน นายสุพจน์ ทรัพย์ล้อม ปลัดกระทรวงคมนาคมในฐานะประธานคณะกรรมการรฟม.กล่าวว่า ได้รับหนังสือจาก ป.ป.ช.และส่งเรื่องให้ รฟม.ชี้แจงแล้ว ยืนยันว่า การปรับลดขนาดเสาเข็มในการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง สัญญา ที่ 1 นั้น มีเหตุผลเนื่องจากปัญหาพื้นที่บริเวณก่อสร้างมีจำกัดจึงต้องปรับใช้เข็มแบบใหม่ สามารถรับน้ำหนักได้มากขึ้น ราคาถูกลง โดยทำให้บางจุดที่ต้องใช้เข็ม 2-3 ต้น เหลือเพียง 1 ต้นเป็นต้น และทำให้ราคาค่าก่อสร้างปรับลดลงไปหลายร้อยล้านบาท จึงไม่มีอะไรผิดปกติ
สำหรับโครงการก่อสร้างรถไฟฟ้าสายสีม่วง ช่วงบางใหญ่-บางซื่อ ระยะทาง 23 กิโลเมตรสัญญาที่ 1 เป็นโครงสร้างยกระดับส่วนตะวันออก ระยะทาง 12 กิโลเมตร มีสถานีรถไฟฟ้ารวม 8 สถานี เริ่มจากสถานีเตาปูนถึงสถานีพระนั่งเกล้า และงานก่อสร้างทางวิ่งช่วงบางซื่อ-เตาปูน โดย รฟม.ได้ลงนามในสัญญาก่อสร้างกับกลุ่ม CKTC Joint Venture (บริษัท ช.การช่าง จำกัด (มหาชน) และ บริษัท โตคิว คอนสตรัคชั่น จำกัด) ผู้รับเหมา เมื่อวันที่ 26 ส.ค. 2552 วงเงินค่าก่อสร้าง 14,292 ล้านบาท ลดลงจากที่เสนอ 16,724 ล้านบาท หรือลดลง 11.5 % โดยในช่วงจากเตาปูน-สะพานพระนั่งเกล้า กิจการร่วมค้า ช.การช่าง-โตคิว ขอปรับแบบก่อสร้างใหม่ เนื่องจากแบบก่อสร้างที่ออกแบบไว้นานแล้วตั้งแต่ปี 2548 ขณะที่ปัจจุบันกายภาพพื้นที่เปลี่ยนไปมาก อย่าง ถนนรัตนาธิเบศร์ จากเดิมแค่ 4 -6 ช่องจราจร เป็น 12 ช่องจราจรแล้วทำให้พื้นที่เกาะกลางถนนที่จะใช้ก่อสร้างเล็กลงจากเดิม จึงขอปรับขนาดตอม่อให้เล็กลง