คปภ.คาด สัดส่วนคนไทยทำประกันพุ่ง หลังเบี้ยประกันถูกลงต่ำกว่ามาเลย์-อินโด เผย สถิติเดือน ก.ค.เบี้ยรับตรงขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อนกว่า 12.51% อยู่ที่ 1.8 แสนล้านบาท คาดอัตรามรณะใหม่ช่วยหนุนธุรกิจโตอีก
นางจันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า หลังจากที่ คปภ.ได้ทำการปรับใช้อัตรามรณะใหม่แยกเพศ ปี 2551 แทนอัตรามรณะไทยปี 2540 เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม และสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปและทำให้เบี้ยประกันชีวิตถูกลงถึงร้อยละ 20 คาดว่า สัดส่วนของการทำประกันชีวิตของประชาชนในอนาคตจะสูงขึ้น ทั้งนี้ จากสถิติ ณ เดือนกรกฎาคม 2554 ธุรกิจประกันชีวิตมีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงทั้งสิ้น 180,711 ล้านบาท ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ถึงร้อยละ 12.51
“นอกจากอัตรามรณะใหม่แล้ว การที่สำนักงาน คปภ. มีมาตรการเชิงรุกในการส่งเสริมให้ประชาชนทั่วประเทศเห็นความสำคัญของการทำประกันภัย การพัฒนากรมธรรม์ประกันภัยสำหรับรายย่อย รวมถึงการพัฒนาช่องทางการจำหน่ายเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการ และสามารถเข้าถึงประชาชนได้ทุกระดับ ก็มีส่วนช่วยให้สัดส่วนการทำประกันชีวิตสูงขึ้นด้วยเช่นกัน” นางจันทรา กล่าว
ทั้งนี้ การกำหนดอัตราเบี้ยประกันชีวิตโดยทั่วเป็นไปตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย และสอดคล้องกับมาตรฐานการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัย ที่กำหนดโดยสมาคมผู้กำกับดูแลธุรกิจประกันภัยนานาชาติ (IAIS) โดยปัจจัยในการคำนวณขึ้นอยู่กับอัตรามรณะ อัตราดอกเบี้ย แบบประกันชีวิต พฤติกรรมความเสี่ยง และสุขภาพของแต่ละคน ซึ่งจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับข้อมูลทางสถิติของแต่ละประเทศ
นางจันทรา กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ บริษัทประกันชีวิต ยังต้องคำนึงภาวะเศรษฐกิจ สังคม สภาพสิ่งแวดล้อม และความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีประกอบกับค่าใช้จ่ายต่างๆ และช่องทางการจำหน่าย ซึ่งประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีความก้าวหน้าทางการแพทย์ สภาพสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการมีชีวิตที่ดีและยืนยาว ทำให้มีอัตราความเสี่ยงและการเสียชีวิตที่ต่ำกว่า ส่งผลให้ประเทศนั้นๆ มีเบี้ยประกันชีวิตที่ถูกลง
ทั้งนี้ การเปรียบเทียบเบี้ยประกันชีวิตควรเปรียบเทียบในกลุ่มประเทศที่มีสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ และสังคมที่ใกล้เคียงกัน ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบอัตราเบี้ยประกันชีวิตในกลุ่มบริษัทเครือเดียวกันในภูมิภาคอาเซียน เช่น มาเลเซีย และ อินโดนีเซีย พบว่า ประเทศไทยจะมีอัตราเบี้ยประกันชีวิตที่ถูกกว่า โดยปัจจุบันเบี้ยประกันภัยรวม 15 ปี ทุนประกันชีวิต 10 ล้านบาทของประเทศไทยอยู่ที่ 541,500. บาท ขณะที่มาเลเซีย อยู่ที่ 624,000.บาท และอินโดนีเซีย อยู่ที่ 681,000 บาท
ทั้งนี้ นอกจากปัจจัยข้างต้นแล้ว หากมีจำนวนกรมธรรม์ประกันภัยมากขึ้นก็จะทำให้อัตราเบี้ยประกันภัยถูกลง ซึ่งทาง คปภ.อยากให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการประกันภัย และซื้อประกันภัยเพิ่มมากขึ้น และการซื้อควรเลือกซื้อกรมธรรม์ประกันภัยกับตัวแทน/นายหน้า ที่มีใบอนุญาตจากนายทะเบียนเท่านั้น ศึกษารายละเอียดและเลือกซื้อกรมธรรม์ประกันภัยให้เหมาะสมกับความต้องการ และความสามารถในการชำระเบี้ยประกันภัยด้วย
นางจันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย (คปภ.) เปิดเผยว่า หลังจากที่ คปภ.ได้ทำการปรับใช้อัตรามรณะใหม่แยกเพศ ปี 2551 แทนอัตรามรณะไทยปี 2540 เพื่อให้สอดคล้องกับสภาพแวดล้อม และสังคมที่เปลี่ยนแปลงไปและทำให้เบี้ยประกันชีวิตถูกลงถึงร้อยละ 20 คาดว่า สัดส่วนของการทำประกันชีวิตของประชาชนในอนาคตจะสูงขึ้น ทั้งนี้ จากสถิติ ณ เดือนกรกฎาคม 2554 ธุรกิจประกันชีวิตมีเบี้ยประกันภัยรับโดยตรงทั้งสิ้น 180,711 ล้านบาท ขยายตัวจากช่วงเดียวกันของปีก่อน ถึงร้อยละ 12.51
“นอกจากอัตรามรณะใหม่แล้ว การที่สำนักงาน คปภ. มีมาตรการเชิงรุกในการส่งเสริมให้ประชาชนทั่วประเทศเห็นความสำคัญของการทำประกันภัย การพัฒนากรมธรรม์ประกันภัยสำหรับรายย่อย รวมถึงการพัฒนาช่องทางการจำหน่ายเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการ และสามารถเข้าถึงประชาชนได้ทุกระดับ ก็มีส่วนช่วยให้สัดส่วนการทำประกันชีวิตสูงขึ้นด้วยเช่นกัน” นางจันทรา กล่าว
ทั้งนี้ การกำหนดอัตราเบี้ยประกันชีวิตโดยทั่วเป็นไปตามหลักคณิตศาสตร์ประกันภัย และสอดคล้องกับมาตรฐานการกำกับดูแลธุรกิจประกันภัย ที่กำหนดโดยสมาคมผู้กำกับดูแลธุรกิจประกันภัยนานาชาติ (IAIS) โดยปัจจัยในการคำนวณขึ้นอยู่กับอัตรามรณะ อัตราดอกเบี้ย แบบประกันชีวิต พฤติกรรมความเสี่ยง และสุขภาพของแต่ละคน ซึ่งจะแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับข้อมูลทางสถิติของแต่ละประเทศ
นางจันทรา กล่าวอีกว่า นอกจากนี้ บริษัทประกันชีวิต ยังต้องคำนึงภาวะเศรษฐกิจ สังคม สภาพสิ่งแวดล้อม และความเจริญก้าวหน้าทางเทคโนโลยีประกอบกับค่าใช้จ่ายต่างๆ และช่องทางการจำหน่าย ซึ่งประเทศที่พัฒนาแล้วจะมีความก้าวหน้าทางการแพทย์ สภาพสิ่งแวดล้อมที่เอื้ออำนวยต่อการมีชีวิตที่ดีและยืนยาว ทำให้มีอัตราความเสี่ยงและการเสียชีวิตที่ต่ำกว่า ส่งผลให้ประเทศนั้นๆ มีเบี้ยประกันชีวิตที่ถูกลง
ทั้งนี้ การเปรียบเทียบเบี้ยประกันชีวิตควรเปรียบเทียบในกลุ่มประเทศที่มีสภาพแวดล้อมทางเศรษฐกิจ และสังคมที่ใกล้เคียงกัน ทั้งนี้ เมื่อเปรียบเทียบอัตราเบี้ยประกันชีวิตในกลุ่มบริษัทเครือเดียวกันในภูมิภาคอาเซียน เช่น มาเลเซีย และ อินโดนีเซีย พบว่า ประเทศไทยจะมีอัตราเบี้ยประกันชีวิตที่ถูกกว่า โดยปัจจุบันเบี้ยประกันภัยรวม 15 ปี ทุนประกันชีวิต 10 ล้านบาทของประเทศไทยอยู่ที่ 541,500. บาท ขณะที่มาเลเซีย อยู่ที่ 624,000.บาท และอินโดนีเซีย อยู่ที่ 681,000 บาท
ทั้งนี้ นอกจากปัจจัยข้างต้นแล้ว หากมีจำนวนกรมธรรม์ประกันภัยมากขึ้นก็จะทำให้อัตราเบี้ยประกันภัยถูกลง ซึ่งทาง คปภ.อยากให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการประกันภัย และซื้อประกันภัยเพิ่มมากขึ้น และการซื้อควรเลือกซื้อกรมธรรม์ประกันภัยกับตัวแทน/นายหน้า ที่มีใบอนุญาตจากนายทะเบียนเท่านั้น ศึกษารายละเอียดและเลือกซื้อกรมธรรม์ประกันภัยให้เหมาะสมกับความต้องการ และความสามารถในการชำระเบี้ยประกันภัยด้วย