ASTVผู้จัดการรายวัน-คปภ.มั่นใจทั้งปี ธุรกิจประกันภัยโต 16.23% กวาดเบี้ยตรงกว่า 4.89 แสนล้านบาท หลังสัญญาณเศรษฐกิจดี ขณะเดียวกันเตรียมใช้ RBC ใหม่ 1 กันยายนนี้ สุดปลื้มทุกบริษัทผ่านเกณฑ์เรียบร้อย หลังทดสอบไปแล้ว 2 ครั้ง พร้อมเล็งตั้งศูนย์ข้อมูลปกป้องลูกค้าโทรศัพท์ โยนเอกชน-สมาคมที่เกี่ยวข้องหาแนวทางปฏิบัติรวมกันภายใน 18 เดือน
นางจันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.) เปิดเผยว่า จากการแนวโน้มเศรษฐกิจที่อยู่ในเกณฑ์ดี รวมถึงการฟื้นตัวของการส่งออก และการส่งมอบรถยนต์ น่าจะทำให้ธุรกิจประกันภัยเติบโตอย่างต่อเนื่องไปถึงสิ้นปี โดยคาดว่าจะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 16.23% คิดเป็นเบี้ยประกันภัยรับตรงประมาณ 4.89 แสนล้านบาท แบ่งเป็นธุรกิจประกันชีวิตประมาณ 3.5 แสนล้านบาทหรือเติบโตประมาณ 18.74% และธุรกิจประกันภัย 1.37 แสนล้านบาท เติบโตขึ้นประมาณ 10.30%
ทั้งนี้ การเติบโตดังกล่าวจะส่งผลให้สัดส่วนเบี้ยประกันภัยต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(จีดีพี)อยู่ที่ 4.67% ตรงตามที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาการประกันภัยฉบับที่ 2
สำหรับการขยายตัวของธุรกิจประกันภัยในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมาพบว่า ธุรกิจประกันภัยมีเบี้ยรับโดยตรง 2.23 แสนล้านบาท เติบโตขึ้น 13.45% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีจำนวนกรมธรรมรวมเพิ่มขึ้น 11.61% อยู่ที่ประมาณ 39 ล้านราย ส่วนธุรกิจประกันชีวิตมีเบี้ยประกันภัยรับตรง 1.54 ล้านบาท เติบโตจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ 12.58% และมีจำนวนกรมธรรม์เพิ่มขึ้น 8.25% คิดเป็นจำนวนประมาณ 17 ล้านราย
ขณะที่ธุรกิจประกันวินาศภัยมีเบี้ยประกันภัยรับตรง 6.8 หมื่นล้านบาท เติบโตจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 15.44% และมีจำนวนกรมธรรม์เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 14.56% อยู่ที่ประมาณ 21 ล้านราย
"จะเห็นได้ว่าการประกันภัยมีการเติบโตมากขึ้นโดยเฉพาะในส่วนของการประกันภัยและวินาศภัย ที่ประชาชนเริ่มให้ความสำคัญกับสุขภาพ และความปลอดภัยทางชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มมากขึ้น"นางจันทรากล่าว
นางจันทรา กล่าวอีกว่า นอกจากการขยายตัวของธุรกิจประกันภัยที่เป็นไปตามเป้าแล้ว ในวันที่ 1 กันยายนนี้ ทางคปภ. จะมีการบังคับใช้การกำกับเงินกองทุนตามระดับความเสี่ยง( RBC) เพื่อให้บริษัทประกันภัยมีเงินกองทุนเพียงพอที่จะรองรับความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นได้ รวมถึงสร้างศักยภาพธุรกิจประกันภัยไทยให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล
ทั้งนี้ ก่อนการประกาศใช้เกณฑ์ดังกล่าวทางคปภ.ได้จัดให้มีการทดสอบกับการดำรงเงินกองทุนตามระดับความเสี่ยงจำนวน 2 ครั้งด้วยกัน โดยการทดสอบครั้งแรกกับสมมติฐานที่เข้มงวดกว่าปกติปรากฏว่ามีเพียง 5 บริษัทจาก 90 บริษัทเท่านั้นที่ไม่ผ่านการทดสอบ ส่วนการทดสอบครั้งที่ 2 ใช้การทดสอบตามเกณฑ์ปกติปรากฎว่าทุกบริษัทสามารถผ่านการทดสอบในครั้งนี้ได้ ซึ่งนับเป็นที่น่าพอใจอย่างยิ่ง
อย่างไรก็ตาม คปภ.ได้กำหนดแนวทางในการดำรงเงินกองทุนตามเกณฑ์ RBC อย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้บริษัทประกันภัยมีการปรับตัว โดยในตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน -31 ธันวาคม 2555 กำหนดอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนสำหรับเข้าแทรกแซงบริษัทไว้ที่125% และหลังจากวันที่ 1 มกราคม 2256 เป็นต้นไปจะเพิ่มขึ้นเป็น 140%
ตั้งศูนย์ข้อมูลเทเล
นางจันทรา กล่าวอีกว่า ในส่วนของการดูแลช่องทางการจำหน่ายนั้น ขณะนี้คปภ.ได้มีแผนการควบคุมข้อมูลเพื่อป้องกันความเป็นส่วนตัวของประชาชนจากการจำหน่ายประกันภัยผ่านทางโทรศัพท์ โดยมีการมอบหมายให้ผู้ประกอบการและสมาคมฯ ต่างๆ ที่เกียวข้องจัดทำแผนงานรองรับแนวทางดังกล่าว ซึ่งหลังจากนี้จะให้เวลาในการศึกษาและรวบรวมข้อมูลประมาณ 18 เดือนก่อนมีการดำเนินการปฏิบัติในขั้นต่อไป
ด้าน นายสาระ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการบริษัทเมืองไทยประกันชีวิต จำกัด กล่าวว่า ในเรื่องของการจัดทำแนวทางข้อมูลทางโทรศัพท์เป็น Do not call list จะมีหลายฝ่ายรวมถึงสมาคมฯที่เกี่ยวข้องมาพูดคุยกัน ซึ่งน่าจะจัดทำเป็น pool ข้อมูลที่ใช้รวมกันได้ แต่อย่างไรก็ตามมียังมีกฎหมายหลายที่เป็นข้อบังคับที่จะต้องนำมาพิจารณาก่อน และขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนมากนัก โดยจะต้องดูก่อนว่าประกาศของทางคปภ.จะออกมาอย่างไร
สัปดาห์ประกันภัย
นางจันทรา กล่าวว่า หลังจากในช่วงที่ผ่านมาธุรกิจประกันภัยมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทางคปภ.ยังเตรียมจัดงานสัปดาห์ประกันภัยครั่งที่ 3 ประจำปี 2554 ภายใต้แนวความคิด"สุขกาย สุขใจ ประกันภัยสู่ประชาชน" ณ อาคาร ชาเลนเจอร์ 2-3 อิมแพค เมืองทองธานี ระหว่างวันที่ 2-4 กันยายนนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนเห็นคุณค่า และประโยชน์ของการประกันภัยมากขึ้น
ทั้งนี้ ภายในงานนอกจากจะมีการออกบูธของบริษัทประกันภัย และสินค้า กรมธรรม์ ต่างๆ กว่า 100 คูหาแล้ว ยังจะมีการจัดการอบรมเพื่อส่งเสริมความรู้แก่ประชาชนทั่วไป และประชาชนที่ต้องการเข้ามาเป็นนายหน้าของบริษัทประกันภัยอีกด้วย
ด้าน ด้าน นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้เตรียมเข้าร่วมงานดังกล่าว โดยเปิดบูธไทยสมุทรฯ ที่ตกแต่งภายใต้ธีม “Ocean Group Island”และเตรียมนำเสนอผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตเพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์และความต้องการของลูกค้าที่หลากหลายทั้งแบบสะสมทรัพย์ แบบตลอดชีพ แบบการออมเพื่อการเกษียณ และแบบสัญญาเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มความคุ้มครองและผลประโยชน์ที่คุ้มค่ายิ่งขึ้น
นอกจากนี้ ยังได้ร่วมมือกับบริษัทในกลุ่มโอเชี่ยนกรุ๊ปนำเสนอแพคเกจที่พัก รีสอร์ท และคอนโดหรู จากบริษัท โอเชี่ยน พรอพเพอร์ตี้ จำกัด โปรแกรมการศึกษาหลักสูตรนานาชาติและค่าย English Summer Camp ในช่วงปิดภาคเรียนจากโรงเรียนนานาชาติเซนต์ สตีเฟ่นส์ และเครื่องแก้วคุณภาพส่งออกในราคาลดพิเศษ 50-70% จาก บริษัท โอเชียนกลาส จำกัด (มหาชน)
ส่วนกิจกรรมพิเศษ ไทยสมุทรฯ ได้เตรียมสร้างประสบการณ์ร่วมกับแบรนด์อย่างใกล้ชิดให้แก่ผู้ที่มาเยือนเกาะ “Ocean Group Island” กับกิจกรรม “Fan Fun แท้ on OLI Fanpage” โดยเปิดโอกาสผู้ที่เข้าเยี่ยมชมบูธได้ลุ้นรับรางวัลพิเศษรวมมูลค่ากว่า 7,000 บาทเพียงถ่ายภาพคู่กับบูธแล้วอัพโหลดภาพที่ www.facebook.com /thaisamut
นางจันทรา บูรณฤกษ์ เลขาธิการคณะกรรมการกำกับและส่งเสริมการประกอบธุรกิจประกันภัย(คปภ.) เปิดเผยว่า จากการแนวโน้มเศรษฐกิจที่อยู่ในเกณฑ์ดี รวมถึงการฟื้นตัวของการส่งออก และการส่งมอบรถยนต์ น่าจะทำให้ธุรกิจประกันภัยเติบโตอย่างต่อเนื่องไปถึงสิ้นปี โดยคาดว่าจะมีการขยายตัวเพิ่มขึ้นประมาณ 16.23% คิดเป็นเบี้ยประกันภัยรับตรงประมาณ 4.89 แสนล้านบาท แบ่งเป็นธุรกิจประกันชีวิตประมาณ 3.5 แสนล้านบาทหรือเติบโตประมาณ 18.74% และธุรกิจประกันภัย 1.37 แสนล้านบาท เติบโตขึ้นประมาณ 10.30%
ทั้งนี้ การเติบโตดังกล่าวจะส่งผลให้สัดส่วนเบี้ยประกันภัยต่อผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ(จีดีพี)อยู่ที่ 4.67% ตรงตามที่กำหนดไว้ในแผนพัฒนาการประกันภัยฉบับที่ 2
สำหรับการขยายตัวของธุรกิจประกันภัยในช่วงครึ่งปีที่ผ่านมาพบว่า ธุรกิจประกันภัยมีเบี้ยรับโดยตรง 2.23 แสนล้านบาท เติบโตขึ้น 13.45% เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน และมีจำนวนกรมธรรมรวมเพิ่มขึ้น 11.61% อยู่ที่ประมาณ 39 ล้านราย ส่วนธุรกิจประกันชีวิตมีเบี้ยประกันภัยรับตรง 1.54 ล้านบาท เติบโตจากช่วงเดียวกันของปีก่อนที่ 12.58% และมีจำนวนกรมธรรม์เพิ่มขึ้น 8.25% คิดเป็นจำนวนประมาณ 17 ล้านราย
ขณะที่ธุรกิจประกันวินาศภัยมีเบี้ยประกันภัยรับตรง 6.8 หมื่นล้านบาท เติบโตจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 15.44% และมีจำนวนกรมธรรม์เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อน 14.56% อยู่ที่ประมาณ 21 ล้านราย
"จะเห็นได้ว่าการประกันภัยมีการเติบโตมากขึ้นโดยเฉพาะในส่วนของการประกันภัยและวินาศภัย ที่ประชาชนเริ่มให้ความสำคัญกับสุขภาพ และความปลอดภัยทางชีวิตและทรัพย์สินเพิ่มมากขึ้น"นางจันทรากล่าว
นางจันทรา กล่าวอีกว่า นอกจากการขยายตัวของธุรกิจประกันภัยที่เป็นไปตามเป้าแล้ว ในวันที่ 1 กันยายนนี้ ทางคปภ. จะมีการบังคับใช้การกำกับเงินกองทุนตามระดับความเสี่ยง( RBC) เพื่อให้บริษัทประกันภัยมีเงินกองทุนเพียงพอที่จะรองรับความสูญเสียที่อาจเกิดขึ้นได้ รวมถึงสร้างศักยภาพธุรกิจประกันภัยไทยให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล
ทั้งนี้ ก่อนการประกาศใช้เกณฑ์ดังกล่าวทางคปภ.ได้จัดให้มีการทดสอบกับการดำรงเงินกองทุนตามระดับความเสี่ยงจำนวน 2 ครั้งด้วยกัน โดยการทดสอบครั้งแรกกับสมมติฐานที่เข้มงวดกว่าปกติปรากฏว่ามีเพียง 5 บริษัทจาก 90 บริษัทเท่านั้นที่ไม่ผ่านการทดสอบ ส่วนการทดสอบครั้งที่ 2 ใช้การทดสอบตามเกณฑ์ปกติปรากฎว่าทุกบริษัทสามารถผ่านการทดสอบในครั้งนี้ได้ ซึ่งนับเป็นที่น่าพอใจอย่างยิ่ง
อย่างไรก็ตาม คปภ.ได้กำหนดแนวทางในการดำรงเงินกองทุนตามเกณฑ์ RBC อย่างค่อยเป็นค่อยไป เพื่อให้บริษัทประกันภัยมีการปรับตัว โดยในตั้งแต่วันที่ 1 กันยายน -31 ธันวาคม 2555 กำหนดอัตราส่วนความเพียงพอของเงินกองทุนสำหรับเข้าแทรกแซงบริษัทไว้ที่125% และหลังจากวันที่ 1 มกราคม 2256 เป็นต้นไปจะเพิ่มขึ้นเป็น 140%
ตั้งศูนย์ข้อมูลเทเล
นางจันทรา กล่าวอีกว่า ในส่วนของการดูแลช่องทางการจำหน่ายนั้น ขณะนี้คปภ.ได้มีแผนการควบคุมข้อมูลเพื่อป้องกันความเป็นส่วนตัวของประชาชนจากการจำหน่ายประกันภัยผ่านทางโทรศัพท์ โดยมีการมอบหมายให้ผู้ประกอบการและสมาคมฯ ต่างๆ ที่เกียวข้องจัดทำแผนงานรองรับแนวทางดังกล่าว ซึ่งหลังจากนี้จะให้เวลาในการศึกษาและรวบรวมข้อมูลประมาณ 18 เดือนก่อนมีการดำเนินการปฏิบัติในขั้นต่อไป
ด้าน นายสาระ ล่ำซำ กรรมการผู้จัดการบริษัทเมืองไทยประกันชีวิต จำกัด กล่าวว่า ในเรื่องของการจัดทำแนวทางข้อมูลทางโทรศัพท์เป็น Do not call list จะมีหลายฝ่ายรวมถึงสมาคมฯที่เกี่ยวข้องมาพูดคุยกัน ซึ่งน่าจะจัดทำเป็น pool ข้อมูลที่ใช้รวมกันได้ แต่อย่างไรก็ตามมียังมีกฎหมายหลายที่เป็นข้อบังคับที่จะต้องนำมาพิจารณาก่อน และขณะนี้ยังไม่มีความชัดเจนมากนัก โดยจะต้องดูก่อนว่าประกาศของทางคปภ.จะออกมาอย่างไร
สัปดาห์ประกันภัย
นางจันทรา กล่าวว่า หลังจากในช่วงที่ผ่านมาธุรกิจประกันภัยมีการขยายตัวอย่างต่อเนื่อง ทางคปภ.ยังเตรียมจัดงานสัปดาห์ประกันภัยครั่งที่ 3 ประจำปี 2554 ภายใต้แนวความคิด"สุขกาย สุขใจ ประกันภัยสู่ประชาชน" ณ อาคาร ชาเลนเจอร์ 2-3 อิมแพค เมืองทองธานี ระหว่างวันที่ 2-4 กันยายนนี้ เพื่อเป็นการส่งเสริมให้ประชาชนเห็นคุณค่า และประโยชน์ของการประกันภัยมากขึ้น
ทั้งนี้ ภายในงานนอกจากจะมีการออกบูธของบริษัทประกันภัย และสินค้า กรมธรรม์ ต่างๆ กว่า 100 คูหาแล้ว ยังจะมีการจัดการอบรมเพื่อส่งเสริมความรู้แก่ประชาชนทั่วไป และประชาชนที่ต้องการเข้ามาเป็นนายหน้าของบริษัทประกันภัยอีกด้วย
ด้าน ด้าน นางนุสรา (อัสสกุล) บัญญัติปิยพจน์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท ไทยสมุทรประกันชีวิต จำกัด เปิดเผยว่า บริษัทฯ ได้เตรียมเข้าร่วมงานดังกล่าว โดยเปิดบูธไทยสมุทรฯ ที่ตกแต่งภายใต้ธีม “Ocean Group Island”และเตรียมนำเสนอผลิตภัณฑ์ประกันชีวิตเพื่อตอบสนองไลฟ์สไตล์และความต้องการของลูกค้าที่หลากหลายทั้งแบบสะสมทรัพย์ แบบตลอดชีพ แบบการออมเพื่อการเกษียณ และแบบสัญญาเพิ่มเติมเพื่อเพิ่มความคุ้มครองและผลประโยชน์ที่คุ้มค่ายิ่งขึ้น
นอกจากนี้ ยังได้ร่วมมือกับบริษัทในกลุ่มโอเชี่ยนกรุ๊ปนำเสนอแพคเกจที่พัก รีสอร์ท และคอนโดหรู จากบริษัท โอเชี่ยน พรอพเพอร์ตี้ จำกัด โปรแกรมการศึกษาหลักสูตรนานาชาติและค่าย English Summer Camp ในช่วงปิดภาคเรียนจากโรงเรียนนานาชาติเซนต์ สตีเฟ่นส์ และเครื่องแก้วคุณภาพส่งออกในราคาลดพิเศษ 50-70% จาก บริษัท โอเชียนกลาส จำกัด (มหาชน)
ส่วนกิจกรรมพิเศษ ไทยสมุทรฯ ได้เตรียมสร้างประสบการณ์ร่วมกับแบรนด์อย่างใกล้ชิดให้แก่ผู้ที่มาเยือนเกาะ “Ocean Group Island” กับกิจกรรม “Fan Fun แท้ on OLI Fanpage” โดยเปิดโอกาสผู้ที่เข้าเยี่ยมชมบูธได้ลุ้นรับรางวัลพิเศษรวมมูลค่ากว่า 7,000 บาทเพียงถ่ายภาพคู่กับบูธแล้วอัพโหลดภาพที่ www.facebook.com /thaisamut