“สหภาพฯ ขสมก.จี้ “ชัจจ์” เร่งแก้ปัญหา ขสมก.ชงจัดหารถใหม่ 3,700 คัน ทั้งรถแอร์และร้อน พร้อมแนะซื้อที่สร้างอู่และปั๊มเอ็นจีวี ป้อนรถใหม่ใช้ก๊าซ และเปิดพื้นที่พัฒนาเชิงพาณิชย์หารายได้เพิ่มได้อีกด้วย ด้าน “คมนาคม” สรุปตรงกันหารถใหม่ 3,700 คัน แบ่ง แอร์-ร้อน ทำค่าตั๋วทางเลือก 2 แบบทั้งเหมาและเที่ยวเดียว เตรียมเสนอข้อมูล “สุกำพล-ชัจจ์” ตัดสินใจ
นายวีระพงศ์ วงแหวน เลขาธิการสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เปิดเผยว่า ในสัปดาห์นี้ สหภาพฯ จะเข้าพบ พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อขอรับทราบนโยบายพร้อมทั้งยื่นหนังสือเสนอแนวทางการแก้ปัญหาขสมก. โดยมี 3 เรื่องหลัก คือ 1.ขอให้เร่งรัดการจัดหารถใหม่จำนวน 3,742 คัน เป็นรถปรับอากาศ (รถแอร์) 2,592 คัน รถธรรมดา (รถร้อน) 1,200 คัน สำหรับบริการเชิงสังคม (PSO) เพื่อทดแทนรถเก่าที่ชำรุดและมีอายุใช้งานเฉลี่ยมากกว่า 18 ปี 2.ให้จัดหาที่ดินเป็นของตัวเอง เพื่อทำเป็นอู่จอดรถ พร้อมกับก่อสร้างสถานีบริการก๊าซเอ็นจี (ปั๊ม NGV) เพื่อบริการรถของ ขสมก.ด้วย นอกจากนี้ ยังสามารถพัฒนาพื้นที่ในเชิงพาณิชย์หารายได้เพิ่ม 3.จัดหาที่อยู่อาศัยให้พนักงาน
ส่วนกรณีที่ พล.ต.ท.ชัจจ์ มีนโยบายให้จัดหารถโดยสารใหม่ใช้ก๊าซเอ็นจีวี เป็นเชื้อเพลิงโดยวิธีเช่าและซื้ออย่างละครึ่งนั้น กลุ่มสหภาพฯ เห็นด้วยกับการจัดหารถใหม่ ไม่ว่าจะเป็นวิธีใด เพราะทั้งการซื้อและเช่าต่างก็มีทั้งข้อดี-ข้อเสีย ดังนั้น ต้องหาวิธีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ เช่น การซื้อมีข้อดี คือ สามารถบริหารจัดการได้เต็มที่เพราะเป็นรถของ ขสมก.เอง และจะช่วยประหยัดค่าซ่อมบำรุงในระยะแรก แต่อาจจะมีภาระเมื่อหมดอายุใช้งาน ซึ่งสหภาพฯเสนอให้บริจาคไปให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนในระหว่างการใช้งาน ให้จัดระบบการซ่อมบำรุงที่สามารถตรวจสอบได้เพื่อควบคุมการรั่วไหล ขณะที่วิธีเช่านั้น ก่อนหน้านี้มีข้อครหาเรื่องค่าซ่อมบำรุงในปีแรกสูงเกินไป
นายศรศักดิ์ แสนสมบัติ รองปลัดกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า เบื้องต้นได้หารือร่วมกับ ขสมก.แล้ว ในหลักการเห็นว่า ขสมก.ต้องการรถใหม่จำนวน 3,700 คัน โดยพิจารณาจากการเดินรถใน 155 เส้นทาง ควรมีจำนวนรถในระบบทั้งสิ้น 7,700 คัน ในขณะที่ในปัจจุบันมีรถในระบบทั้งหมดประมาณ 7,400 คัน แบ่งเป็นรถขสมก.จำนวน 3,500 คัน รถเอกชน จำนวน 3,900 คัน
นอกจากนี้ จะศึกษาเพื่อสรุปตัวเลขค่าใช้จ่ายและรายได้ต่อคัน เปรียบเทียบระหว่างวิธีซื้อกับเช่า รวมถึงแนวทางหลังปลดระวางรถเก่าที่มีอายุเกิน 17 ปี เช่น การแจกจ่ายออกไป โดยเน้นให้นำไปใช้งานนอกพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร (กทม.) ส่วนจะแจกจ่ายไปยังหน่วยงานใดนั้นขึ้นอยู่กับนโยบายจะพิจารณา
ทั้งนี้ หลักการในการจัดหารถใหม่ของ ขสมก.จะมีทั้งรถปรับอากาศและรถร้อน และกำหนดค่าโดยสารที่มีความหลากหลายมากขึ้น เบื้องต้นจะมีค่าโดยสาร 2 อัตรา เช่น รถปรับอากาศ แบบเหมาวันขึ้นกี่เที่ยวก็ได้ ค่าโดยสาร 30 บาท แบบเที่ยวเดียว 12 บาท รถร้อน แบบเหมาวัน 14 บาท แบบเที่ยวเดียว 6.50 บาทเป็นต้น อย่างไรก็ตาม จะเร่งสรุปเพื่อนำเสนอพล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และ พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม
นายวีระพงศ์ วงแหวน เลขาธิการสหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) เปิดเผยว่า ในสัปดาห์นี้ สหภาพฯ จะเข้าพบ พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม เพื่อขอรับทราบนโยบายพร้อมทั้งยื่นหนังสือเสนอแนวทางการแก้ปัญหาขสมก. โดยมี 3 เรื่องหลัก คือ 1.ขอให้เร่งรัดการจัดหารถใหม่จำนวน 3,742 คัน เป็นรถปรับอากาศ (รถแอร์) 2,592 คัน รถธรรมดา (รถร้อน) 1,200 คัน สำหรับบริการเชิงสังคม (PSO) เพื่อทดแทนรถเก่าที่ชำรุดและมีอายุใช้งานเฉลี่ยมากกว่า 18 ปี 2.ให้จัดหาที่ดินเป็นของตัวเอง เพื่อทำเป็นอู่จอดรถ พร้อมกับก่อสร้างสถานีบริการก๊าซเอ็นจี (ปั๊ม NGV) เพื่อบริการรถของ ขสมก.ด้วย นอกจากนี้ ยังสามารถพัฒนาพื้นที่ในเชิงพาณิชย์หารายได้เพิ่ม 3.จัดหาที่อยู่อาศัยให้พนักงาน
ส่วนกรณีที่ พล.ต.ท.ชัจจ์ มีนโยบายให้จัดหารถโดยสารใหม่ใช้ก๊าซเอ็นจีวี เป็นเชื้อเพลิงโดยวิธีเช่าและซื้ออย่างละครึ่งนั้น กลุ่มสหภาพฯ เห็นด้วยกับการจัดหารถใหม่ ไม่ว่าจะเป็นวิธีใด เพราะทั้งการซื้อและเช่าต่างก็มีทั้งข้อดี-ข้อเสีย ดังนั้น ต้องหาวิธีการบริหารจัดการที่มีประสิทธิภาพ เช่น การซื้อมีข้อดี คือ สามารถบริหารจัดการได้เต็มที่เพราะเป็นรถของ ขสมก.เอง และจะช่วยประหยัดค่าซ่อมบำรุงในระยะแรก แต่อาจจะมีภาระเมื่อหมดอายุใช้งาน ซึ่งสหภาพฯเสนอให้บริจาคไปให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ส่วนในระหว่างการใช้งาน ให้จัดระบบการซ่อมบำรุงที่สามารถตรวจสอบได้เพื่อควบคุมการรั่วไหล ขณะที่วิธีเช่านั้น ก่อนหน้านี้มีข้อครหาเรื่องค่าซ่อมบำรุงในปีแรกสูงเกินไป
นายศรศักดิ์ แสนสมบัติ รองปลัดกระทรวงคมนาคมกล่าวว่า เบื้องต้นได้หารือร่วมกับ ขสมก.แล้ว ในหลักการเห็นว่า ขสมก.ต้องการรถใหม่จำนวน 3,700 คัน โดยพิจารณาจากการเดินรถใน 155 เส้นทาง ควรมีจำนวนรถในระบบทั้งสิ้น 7,700 คัน ในขณะที่ในปัจจุบันมีรถในระบบทั้งหมดประมาณ 7,400 คัน แบ่งเป็นรถขสมก.จำนวน 3,500 คัน รถเอกชน จำนวน 3,900 คัน
นอกจากนี้ จะศึกษาเพื่อสรุปตัวเลขค่าใช้จ่ายและรายได้ต่อคัน เปรียบเทียบระหว่างวิธีซื้อกับเช่า รวมถึงแนวทางหลังปลดระวางรถเก่าที่มีอายุเกิน 17 ปี เช่น การแจกจ่ายออกไป โดยเน้นให้นำไปใช้งานนอกพื้นที่เขตกรุงเทพมหานคร (กทม.) ส่วนจะแจกจ่ายไปยังหน่วยงานใดนั้นขึ้นอยู่กับนโยบายจะพิจารณา
ทั้งนี้ หลักการในการจัดหารถใหม่ของ ขสมก.จะมีทั้งรถปรับอากาศและรถร้อน และกำหนดค่าโดยสารที่มีความหลากหลายมากขึ้น เบื้องต้นจะมีค่าโดยสาร 2 อัตรา เช่น รถปรับอากาศ แบบเหมาวันขึ้นกี่เที่ยวก็ได้ ค่าโดยสาร 30 บาท แบบเที่ยวเดียว 12 บาท รถร้อน แบบเหมาวัน 14 บาท แบบเที่ยวเดียว 6.50 บาทเป็นต้น อย่างไรก็ตาม จะเร่งสรุปเพื่อนำเสนอพล.อ.อ.สุกำพล สุวรรณทัต รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม และ พล.ต.ท.ชัจจ์ กุลดิลก รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม