กรมทรัพย์สินทางปัญญา วอนหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวบรวมรายชื่อภูมิปัญญาท้องถิ่นไทยจัดทำเป็นฐานข้อมูลให้ชัดเจน หวั่นต่างชาติแห่ขโมยไปใช้ทำไทยเสียประโยชน์ จี้คนเอาไปใช้แบ่งผลประโยชน์ให้ด้วย พร้อมหาทางยกร่างกฎหมายคุ้มครองเป็นการเฉพาะ
นางปัจฉิมา ธนสันติ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยถึงการคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นไทยว่า ปัจจุบัน ชาวต่างชาติมักนำภูมิปัญญาท้องถิ่นไทยไปต่อยอดใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ เช่น นำพันธุ์พืชสมุนไพรไทยไปเป็นส่วนประกอบในการผลิตยาแล้วนำออกขายทั่วโลก หรือลักลอบ นำเอาสารพันธุกรรมพืชของไทยออกไปนอกประเทศเพื่อใช้ประโยชน์ หรือนำไปจดเป็นสิทธิบัตรในประเทศของตน โดยไม่แจ้งให้ไทยได้รับทราบก่อน หรือไม่มีการแบ่งปันผลประโยชน์ ทำให้ไทยเสียประโยชน์มาก ซึ่งกรมต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวบรวมรายชื่อภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย และจัดทำเป็นฐานข้อมูลให้ชัดเจน เพื่อเป็นการปกป้องคุ้มครอง เพราะจะทำให้ทราบได้ว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทยมีอะไรบ้าง หากมีผู้ใดนำไปใช้จะได้รับทราบได้ทันที และสามารถเจรจาแบ่งปันผลประโยชน์ได้
ทั้งนี้ ปัจจุบันฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย กระจัดกระจายอยู่ที่หน่วยงานต่างๆ มีความซ้ำซ้อน คาบเกี่ยว และอยู่ในรูปแบบต่างๆ ทั้งที่เป็นเอกสาร และเป็นคำบอกเล่าที่ไม่มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
“ปัญหาของเรา คือ แม้จะมีหลายหน่วยงานดูแลภูมิปัญญาท้องถิ่น แต่ก็ยังไม่มีการรวบรวมรายชื่อไว้อย่างชัดเจน เช่น พันธุ์สมุนไพรไทย ศิลปะการแสดงพื้นบ้าน ทำให้เวลามีคนเอาไปใช้ ก็อาจอ้างได้ว่า เขาไม่ได้เอามาจากไทย แต่เอามาจากประเทศเพื่อนบ้านของไทย ซึ่งก็มีสิ่งเหล่านี้เหมือนกัน ก็ต้องพิสูจน์กันไปว่าใช่ของเราหรือไม่ แต่ถ้าเราเก็บรวบรวมทำเป็นฐานข้อมูลเผยแพร่อย่างชัดเจน เวลามีใครเอาไปใช้ ก็จะรู้ว่าเป็นของเรา และเจรจาให้เขาแบ่งปันผลประโยชน์ได้ด้วย” นางปัจฉิมา กล่าว
นางปัจฉิมา กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมา กรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกับประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ผลักดันการเจรจาจัดทำมาตรฐานระหว่างประเทศด้านการคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นในเวทีต่างๆ เช่น องค์การการค้าโลก (WTO) องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) เป็นต้น ซึ่งประมาณ 4 ปีที่ผ่านมา WIPO ได้มีการดำเนินการแล้ว แต่ต้องหยุดชะงักลง เพราะประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศ รวมถึงประเทศที่ไม่มีภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนเองไม่สนับสนุน โดยประเทศเหล่านี้มักนำภูมิปัญญาท้องถิ่นของประเทศอื่นไปใช้ประโยชน์
พร้อมกันนั้น เห็นว่า จะต้องมีการยกร่างกฎหมายภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย เพื่อให้ความคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นไทยบางอย่างที่ไม่มีกฎหมายคุ้มครอง และต้องมีหน่วยงานกลางที่ดูแลเป็นการเฉพาะ เพื่อให้การปกป้องคุ้มคอรงมีประสิทธิภาพมากที่สุด
ทั้งนี้ ในปัจจุบันภูมิปัญญาท้องถิ่นไทยแบ่งเป็น 3 หมวด ได้แก่ องค์ความรู้ของชุมชนท้องถิ่น, การแสดงออกซึ่งศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน และทรัพยากรพันธุกรรม ซึ่งมีกฎหมายเฉพาะภายใต้การกำกับดูแลของหลายหน่วยงาน เช่น กฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ.2542 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กฎหมายคุ้มครองพันธุ์สัตว์ ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กฎหมายคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกพ.ศ.2542 ของกระทรวงสาธารณสุข รวมถึงงานศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน ที่กระทรวงวัฒนธรรมดูแล และกฎหมายสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาดูแล เป็นต้น
นางปัจฉิมา ธนสันติ อธิบดีกรมทรัพย์สินทางปัญญา เปิดเผยถึงการคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นไทยว่า ปัจจุบัน ชาวต่างชาติมักนำภูมิปัญญาท้องถิ่นไทยไปต่อยอดใช้ประโยชน์ในเชิงพาณิชย์ เช่น นำพันธุ์พืชสมุนไพรไทยไปเป็นส่วนประกอบในการผลิตยาแล้วนำออกขายทั่วโลก หรือลักลอบ นำเอาสารพันธุกรรมพืชของไทยออกไปนอกประเทศเพื่อใช้ประโยชน์ หรือนำไปจดเป็นสิทธิบัตรในประเทศของตน โดยไม่แจ้งให้ไทยได้รับทราบก่อน หรือไม่มีการแบ่งปันผลประโยชน์ ทำให้ไทยเสียประโยชน์มาก ซึ่งกรมต้องการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง รวบรวมรายชื่อภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย และจัดทำเป็นฐานข้อมูลให้ชัดเจน เพื่อเป็นการปกป้องคุ้มครอง เพราะจะทำให้ทราบได้ว่า ภูมิปัญญาท้องถิ่นไทยมีอะไรบ้าง หากมีผู้ใดนำไปใช้จะได้รับทราบได้ทันที และสามารถเจรจาแบ่งปันผลประโยชน์ได้
ทั้งนี้ ปัจจุบันฐานข้อมูลภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย กระจัดกระจายอยู่ที่หน่วยงานต่างๆ มีความซ้ำซ้อน คาบเกี่ยว และอยู่ในรูปแบบต่างๆ ทั้งที่เป็นเอกสาร และเป็นคำบอกเล่าที่ไม่มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
“ปัญหาของเรา คือ แม้จะมีหลายหน่วยงานดูแลภูมิปัญญาท้องถิ่น แต่ก็ยังไม่มีการรวบรวมรายชื่อไว้อย่างชัดเจน เช่น พันธุ์สมุนไพรไทย ศิลปะการแสดงพื้นบ้าน ทำให้เวลามีคนเอาไปใช้ ก็อาจอ้างได้ว่า เขาไม่ได้เอามาจากไทย แต่เอามาจากประเทศเพื่อนบ้านของไทย ซึ่งก็มีสิ่งเหล่านี้เหมือนกัน ก็ต้องพิสูจน์กันไปว่าใช่ของเราหรือไม่ แต่ถ้าเราเก็บรวบรวมทำเป็นฐานข้อมูลเผยแพร่อย่างชัดเจน เวลามีใครเอาไปใช้ ก็จะรู้ว่าเป็นของเรา และเจรจาให้เขาแบ่งปันผลประโยชน์ได้ด้วย” นางปัจฉิมา กล่าว
นางปัจฉิมา กล่าวว่า ในช่วงที่ผ่านมา กรม และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ร่วมกับประเทศกำลังพัฒนาอื่นๆ ผลักดันการเจรจาจัดทำมาตรฐานระหว่างประเทศด้านการคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นในเวทีต่างๆ เช่น องค์การการค้าโลก (WTO) องค์การทรัพย์สินทางปัญญาโลก (WIPO) เป็นต้น ซึ่งประมาณ 4 ปีที่ผ่านมา WIPO ได้มีการดำเนินการแล้ว แต่ต้องหยุดชะงักลง เพราะประเทศพัฒนาแล้วหลายประเทศ รวมถึงประเทศที่ไม่มีภูมิปัญญาท้องถิ่นของตนเองไม่สนับสนุน โดยประเทศเหล่านี้มักนำภูมิปัญญาท้องถิ่นของประเทศอื่นไปใช้ประโยชน์
พร้อมกันนั้น เห็นว่า จะต้องมีการยกร่างกฎหมายภูมิปัญญาท้องถิ่นไทย เพื่อให้ความคุ้มครองภูมิปัญญาท้องถิ่นไทยบางอย่างที่ไม่มีกฎหมายคุ้มครอง และต้องมีหน่วยงานกลางที่ดูแลเป็นการเฉพาะ เพื่อให้การปกป้องคุ้มคอรงมีประสิทธิภาพมากที่สุด
ทั้งนี้ ในปัจจุบันภูมิปัญญาท้องถิ่นไทยแบ่งเป็น 3 หมวด ได้แก่ องค์ความรู้ของชุมชนท้องถิ่น, การแสดงออกซึ่งศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน และทรัพยากรพันธุกรรม ซึ่งมีกฎหมายเฉพาะภายใต้การกำกับดูแลของหลายหน่วยงาน เช่น กฎหมายคุ้มครองพันธุ์พืช พ.ศ.2542 ของกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ กฎหมายคุ้มครองพันธุ์สัตว์ ของกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กฎหมายคุ้มครองและส่งเสริมภูมิปัญญาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกพ.ศ.2542 ของกระทรวงสาธารณสุข รวมถึงงานศิลปวัฒนธรรมพื้นบ้าน ที่กระทรวงวัฒนธรรมดูแล และกฎหมายสิ่งบ่งชี้ทางภูมิศาสตร์ ที่กรมทรัพย์สินทางปัญญาดูแล เป็นต้น