ผู้ผลิตข้าวถุงเตรียมตบเท้า พบ “กิตติรัตน์” ขอไฟเขียวปรับขึ้นราคาข้าวถุง 10-15% หากรัฐบาลนำนโยบายจำนำข้าวกลับมาใช้ ส่วนผู้ส่งออกขอหารือด้วย เหตุราคาจำนำสูง ทำข้าวไทยแข่งขันได้ลำบากขึ้น แนะรัฐเป็นโต้โผขายข้าวนำออเดอร์แจกจ่ายผู้ส่งออก ยันการระบายข้าวในสต๊อกต้องเปิดโอกาสให้ทุกรายเท่าเทียมกัน อย่าเอื้อแค่รายใหญ่ “วัชรี” เผยข้าวถุงขึ้นราคาทันทีไม่ได้ ต้องพิจารณาต้นทุนก่อน ย้ำ อาจทำข้าวถุงธงฟ้าเพื่อบรรเทาผลกระทบ
นายสุเมธ เหล่าโมราพร ประธานผู้บริหารฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท ซีพี อินเตอรเทรด จำกัด เปิดเผยว่า หากรัฐบาลประกาศใช้นโยบายรับจำนำข้าวชัดเจนแล้ว สมาคมผู้ประกอบการข้าวถุงไทย จะขอเข้าพบ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์ เพื่อขอให้ผู้ประกอบการสามารถปรับขึ้นราคาข้าวถุง 10-15% จากราคาปัจจุบัน เพื่อให้สอดคล้องกับต้นทุนรับจำนำข้าวเปลือกที่ปรับขึ้นไปเป็นตันละ 1.5 หมื่นบาท สำหรับข้าวเปลือกเจ้า และตันละ 2 หมื่นบาท สำหรับข้าวหอมมะลิ โดยการปรับขึ้นราคาจะเป็นการทยอยปรับราคา เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบกับประชาชนมากจนเกินไป
ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมา สมาคมได้มีการหารือกับกรมการค้าภายในถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้นโยบายรับจำนำข้าวแล้ว ซึ่งกรมการค้าภายในเข้าใจ และต้องการให้ผู้ประกอบการทยอยปรับขึ้นราคา และไม่ให้ฉวยโอกาสปรับราคาสูงเกินต้นทุนที่แท้จริง โดยสมาคมเห็นด้วย และยืนยันว่า ข้าวถุงจะไม่ขาดแคลนอย่างแน่นอน
ส่วนกรณีที่รัฐบาลจะนำข้าวในสต๊อกมาจัดทำข้าวถุงธงฟ้า เพื่อบรรเทาผลกระทบให้กับประชาชน เห็นว่า ควรทำในพื้นที่มีปัญหา เพราะหากนำข้าวในสต๊อกที่มีอยู่ 2 ล้านตัน มาดำเนินการทั้งหมด จะทำให้เอกชนได้รับผลกระทบ และทำลายกลไกตลาด เพราะรัฐบาลจะตั้งราคาจำหน่ายแข่งขันกับเอกชนอย่างไรก็ได้
สำหรับการปรับขึ้นค่าแรงงานขั้นต่ำ 300 บาท/วัน ยังไม่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนข้าวถุงมากนัก เพราะการปรับขึ้นค่าแรงงานเป็นเฉพาะกลุ่มไม่ใช่ทั้งหมด ซึ่งในส่วนนี้ตนเห็นด้วย เพราะเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับแรงงานที่มีรายได้น้อย เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อในประเทศมีแนวโน้มสูงขึ้น
นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า สมาคมกำลังเตรียมข้อมูลเพื่อหารือกับ นายกิตติรัตน์ เกี่ยวกับผลกระทบจากโครงการับจำนำข้าวที่กำหนดจะดำเนินการฤดูกาลผลิตข้าวนาปี 2554/55 เดือน พ.ย.นี้ โดยจะหารือในประเด็นการลดผลกระทบต่อการส่งออกข้าว เพราะราคารับจำนำที่สูงขึ้นทำให้ไทยแข่งขันไม่ได้ ล่าสุด กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) ได้ออกมาคาดการณ์ว่า ปี 2555 การส่งออกข้าวไทยจะลดลงจากเฉลี่ย 10 ล้านตันเหลือเพียง 8 ล้านตัน เพราะราคาข้าวที่สูงขึ้นจากโครงการรับจำนำ ทำให้ไทยมีโอกาสสูญเสียตลาดส่งออก
ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ต้องหาแนวทางที่จะลดผลกระทบให้กับภาคส่งออกข้าว ซึ่งการให้เงินอุดหนุนภาคส่งออกข้าวโดยตรง ไม่สามารถทำได้ เพราะจะขัดต่อระเบียบองค์การการค้าโลก (WTO) ดังนั้น แนวทางที่สามารถนำมาใช้ได้ เช่น ให้รัฐออกไปขายข้าวในราคาแข่งขันได้ จากนั้นนำคำสั่งซื้อมาแจกจ่ายให้ผู้ส่งออกไปดำเนินการส่งออก และอีกแนวทางหนึ่ง คือ เสนอขายให้ผู้ส่งออกในประเทศในราคาที่แข่งขันได้และให้ผู้ส่งออกไปทำตลาดเอง
ขณะเดียวกัน จะหารือถึงการระบายข้าวในสต๊อกที่ได้มาจากการรับจำนำ โดยสมาคมฯ เห็นว่าควรดำเนินการให้โปร่งใส สามารถแบ่งให้เอกชนทุกรายได้มีโอกาสแข่งขันภายใต้เงื่อนไขการระบายที่ทุกรายสามารถยอมรับได้ เพื่อให้ผู้ส่งออกขนาดกลางและเล็กอยู่ได้ ไม่ควรเป็นการระบายที่เอื้อแต่รายใหญ่เท่านั้น
นางวัชรี วิมุกตายน อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า ต้องรอให้รัฐบาลประกาศใช้นโยบายรับจำนำข้าวก่อน จึงจะมาคุยเรื่องการปรับขึ้นราคาข้าวสารบรรจุถุง แต่ไม่ใช่ว่าเมื่อรัฐบาลรับจำนำข้าวแล้ว กรมฯ จะอนุมัติให้ปรับขึ้นราคาได้ตามที่ร้องขอมาทันที เพราะต้องพิจารณารายละเอียดก่อนว่าจะมีส่วนทำให้ต้นทุนราคาข้าวเพิ่มขึ้นจริงหรือไม่ และการเพิ่มขึ้นนั้นจำเป็นต้องปรับขึ้นราคาขายตามไปด้วยหรือไม่ อย่างไรก็ตาม เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และลดค่าครองชีพประชาชน กรมฯ อาจขอความร่วมมือนำข้าวสารในสต๊อกรัฐบาลออกมาผลิตเป็นข้าวสารบรรจุถุงขายในราคาถูก ซึ่งคงทำในปริมาณที่ไม่มากเกินไปจนกระทบกับผู้ประกอบการข้าวถุง
นายสุเมธ เหล่าโมราพร ประธานผู้บริหารฝ่ายปฏิบัติการ บริษัท ซีพี อินเตอรเทรด จำกัด เปิดเผยว่า หากรัฐบาลประกาศใช้นโยบายรับจำนำข้าวชัดเจนแล้ว สมาคมผู้ประกอบการข้าวถุงไทย จะขอเข้าพบ นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง รองนายกรัฐมนตรี และ รมว.พาณิชย์ เพื่อขอให้ผู้ประกอบการสามารถปรับขึ้นราคาข้าวถุง 10-15% จากราคาปัจจุบัน เพื่อให้สอดคล้องกับต้นทุนรับจำนำข้าวเปลือกที่ปรับขึ้นไปเป็นตันละ 1.5 หมื่นบาท สำหรับข้าวเปลือกเจ้า และตันละ 2 หมื่นบาท สำหรับข้าวหอมมะลิ โดยการปรับขึ้นราคาจะเป็นการทยอยปรับราคา เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบกับประชาชนมากจนเกินไป
ทั้งนี้ ในช่วงที่ผ่านมา สมาคมได้มีการหารือกับกรมการค้าภายในถึงผลกระทบที่อาจเกิดขึ้นจากการใช้นโยบายรับจำนำข้าวแล้ว ซึ่งกรมการค้าภายในเข้าใจ และต้องการให้ผู้ประกอบการทยอยปรับขึ้นราคา และไม่ให้ฉวยโอกาสปรับราคาสูงเกินต้นทุนที่แท้จริง โดยสมาคมเห็นด้วย และยืนยันว่า ข้าวถุงจะไม่ขาดแคลนอย่างแน่นอน
ส่วนกรณีที่รัฐบาลจะนำข้าวในสต๊อกมาจัดทำข้าวถุงธงฟ้า เพื่อบรรเทาผลกระทบให้กับประชาชน เห็นว่า ควรทำในพื้นที่มีปัญหา เพราะหากนำข้าวในสต๊อกที่มีอยู่ 2 ล้านตัน มาดำเนินการทั้งหมด จะทำให้เอกชนได้รับผลกระทบ และทำลายกลไกตลาด เพราะรัฐบาลจะตั้งราคาจำหน่ายแข่งขันกับเอกชนอย่างไรก็ได้
สำหรับการปรับขึ้นค่าแรงงานขั้นต่ำ 300 บาท/วัน ยังไม่ส่งผลกระทบต่อต้นทุนข้าวถุงมากนัก เพราะการปรับขึ้นค่าแรงงานเป็นเฉพาะกลุ่มไม่ใช่ทั้งหมด ซึ่งในส่วนนี้ตนเห็นด้วย เพราะเป็นการเพิ่มรายได้ให้กับแรงงานที่มีรายได้น้อย เนื่องจากภาวะเงินเฟ้อในประเทศมีแนวโน้มสูงขึ้น
นายชูเกียรติ โอภาสวงศ์ นายกกิตติมศักดิ์สมาคมผู้ส่งออกข้าวไทย กล่าวว่า สมาคมกำลังเตรียมข้อมูลเพื่อหารือกับ นายกิตติรัตน์ เกี่ยวกับผลกระทบจากโครงการับจำนำข้าวที่กำหนดจะดำเนินการฤดูกาลผลิตข้าวนาปี 2554/55 เดือน พ.ย.นี้ โดยจะหารือในประเด็นการลดผลกระทบต่อการส่งออกข้าว เพราะราคารับจำนำที่สูงขึ้นทำให้ไทยแข่งขันไม่ได้ ล่าสุด กระทรวงเกษตรสหรัฐฯ (USDA) ได้ออกมาคาดการณ์ว่า ปี 2555 การส่งออกข้าวไทยจะลดลงจากเฉลี่ย 10 ล้านตันเหลือเพียง 8 ล้านตัน เพราะราคาข้าวที่สูงขึ้นจากโครงการรับจำนำ ทำให้ไทยมีโอกาสสูญเสียตลาดส่งออก
ทั้งนี้ กระทรวงพาณิชย์ต้องหาแนวทางที่จะลดผลกระทบให้กับภาคส่งออกข้าว ซึ่งการให้เงินอุดหนุนภาคส่งออกข้าวโดยตรง ไม่สามารถทำได้ เพราะจะขัดต่อระเบียบองค์การการค้าโลก (WTO) ดังนั้น แนวทางที่สามารถนำมาใช้ได้ เช่น ให้รัฐออกไปขายข้าวในราคาแข่งขันได้ จากนั้นนำคำสั่งซื้อมาแจกจ่ายให้ผู้ส่งออกไปดำเนินการส่งออก และอีกแนวทางหนึ่ง คือ เสนอขายให้ผู้ส่งออกในประเทศในราคาที่แข่งขันได้และให้ผู้ส่งออกไปทำตลาดเอง
ขณะเดียวกัน จะหารือถึงการระบายข้าวในสต๊อกที่ได้มาจากการรับจำนำ โดยสมาคมฯ เห็นว่าควรดำเนินการให้โปร่งใส สามารถแบ่งให้เอกชนทุกรายได้มีโอกาสแข่งขันภายใต้เงื่อนไขการระบายที่ทุกรายสามารถยอมรับได้ เพื่อให้ผู้ส่งออกขนาดกลางและเล็กอยู่ได้ ไม่ควรเป็นการระบายที่เอื้อแต่รายใหญ่เท่านั้น
นางวัชรี วิมุกตายน อธิบดีกรมการค้าภายใน กล่าวว่า ต้องรอให้รัฐบาลประกาศใช้นโยบายรับจำนำข้าวก่อน จึงจะมาคุยเรื่องการปรับขึ้นราคาข้าวสารบรรจุถุง แต่ไม่ใช่ว่าเมื่อรัฐบาลรับจำนำข้าวแล้ว กรมฯ จะอนุมัติให้ปรับขึ้นราคาได้ตามที่ร้องขอมาทันที เพราะต้องพิจารณารายละเอียดก่อนว่าจะมีส่วนทำให้ต้นทุนราคาข้าวเพิ่มขึ้นจริงหรือไม่ และการเพิ่มขึ้นนั้นจำเป็นต้องปรับขึ้นราคาขายตามไปด้วยหรือไม่ อย่างไรก็ตาม เพื่อบรรเทาความเดือดร้อน และลดค่าครองชีพประชาชน กรมฯ อาจขอความร่วมมือนำข้าวสารในสต๊อกรัฐบาลออกมาผลิตเป็นข้าวสารบรรจุถุงขายในราคาถูก ซึ่งคงทำในปริมาณที่ไม่มากเกินไปจนกระทบกับผู้ประกอบการข้าวถุง