นักวิชาการ-เอกชน แนะลดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ กลุ่มเบนซินควรกำหนดเวลาไม่เกิน 6 เดือน และไม่ควรลดทั้งหมด เหตุจะมีปัญหาการส่งเสริมพลังงานทดแทน และทำให้คนไทยไม่ประหยัด ซ้ำรอยดีเซลที่ตรึงยาวนานจนดันให้การใช้พุ่ง 54 ล้านลิตรต่อวัน ทั้งที่ส่วนหนึ่งติดเอ็นจีวีแทนแล้ว ขณะที่แอลพีจีและเอ็นจีวีส่อขยายเวลาตรึงราคา
นายมนูญ ศิริวรรณ นักวิชาการอิสระด้านพลังงาน เปิดเผยว่า กรณีที่ นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รมว.พลังงาน มีนโยบายที่จะลดการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงลงมา เพื่อลดค่าครองชีพของประชาชนนั้น เห็นว่า ไม่ควรจะลดการเก็บเงินกลุ่มเบนซินที่เหลือทั้งหมดลงทันที เพราะจะส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้ใช้ไม่ประหยัด และจะทำให้เบนซินราคาต่ำกว่าแก๊สโซฮอล์ ทำให้การที่จะหันกลับมาส่งเสริมพลังงานทดแทนภายหลังจะทำยาก และควรจะกำหนดระยะเวลาการลดไม่เกิน 6 เดือน
“ควรจะลดเก็บเงินเข้ากองทุน กลุ่มเบนซิน 91 แก๊สโซฮอล์ 91 และแก๊สโซฮอล์ 95 ลง 2.40 บาทต่อลิตร โดยยึดการเก็บเงินเข้ากองทุนฯ ของแก๊สโซฮอล์ 95 ที่เก็บอยู่ 2.40 บาทต่อลิตร เพื่อให้ราคาห่างจากเบนซิน 91 ในอัตราเดิม ส่วนดีเซลไม่ต้องทำอะไรจนถึง ก.ย.เพื่อสะสมเงินกองทุนไว้เมื่อถึงเวลาต้องขึ้นภาษีสรรพสามิตกลับมาที่ 5.80 บาทต่อลิตร” นายมนูญ กล่าว
อย่างไรก็ตาม หากตัดสินใจลดราคากลุ่มเบนซินลงแล้ว การที่รัฐบาลจะตัดสินใจขยับราคาแอลพีจีภาคขนส่งและเอ็นจีวีก็จะเป็นเรื่องไม่ง่ายนัก ดังนั้น รัฐบาลอาจจะต้องเลื่อนเวลาในการตรึงแอลพีจีภาคขนส่งและเอ็นจีวีไปอีกระยะหนึ่งก่อนชั่วคราวโดยอาจต้องยอมให้ฐานะกองทุนน้ำมันติดลบ ขณะเดียวกัน ดีเซลเมื่อสิ้นสุดมาตรการลดภาษีสรรพสามิตเดือน ก.ย.เห็นว่าไม่ควรจะขยายเวลา เพราะถือว่ารัฐได้ช่วยดูแลดีเซลมาเป็นเวลาที่นานแล้ว แต่อาจจะใช้วิธีลดเงินกองทุนที่เก็บสะสมไว้มาบรรเทาราคาที่จะต้องสูงขึ้นทันที 5.80 บาทต่อลิตรลง
นายเทียนไชย จงพีเพียร์ นักวิชาการอิสระด้านพลังงาน กล่าวว่า ส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับทุกแนวทางตรึงราคาพลังงาน เพราะควรจะสะท้อนกลไกตลาด ซึ่งที่ผ่านมา ทุกรัฐบาลได้ดำเนินการแล้ว ทำให้ทุกวันนี้ต้องมาแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าแทน โดยเห็นว่า การลดการเก็บเงินกองทุนน้ำมันฯ กลุ่มเบนซินลงมา ซึ่งการลดทำได้หลายวิธี เช่น ลดทันทีทั้งหมด ลดเพียงส่วนหนึ่ง แต่ควรจะกำหนดระยะเวลาลดเพียง 6 เดือนเท่านั้น
“คงอยู่ที่รัฐบาลจะบริหารจัดการอย่างไร โดยหากลดลงกลุ่มเบนซินทั้งหมดทันที ก็จะทำให้เงินกองทุนที่เหลืออยู่ทางบัญชี 1.4 หมื่นล้านบาท หมดลงใน 6 เดือน แต่การชำระหนี้จริงยังมีอยู่ ดังนั้น คงไม่มีทางเลือกนอกเหนือจากการเลื่อนการชำระหนี้ผู้ค้า ซึ่งรายใหญ่ คือ บมจ.ปตท. และหลังจากนั้นจะต้องดูว่าจะหาเงินจากที่ใด” นายเทียนไชย กล่าว
ทั้งนี้ กรณีดีเซล เมื่อสิ้นสุดมาตรการลดภาษีสรรพสามิตลง ก.ย.นี้ คงอยู่ที่การตัดสินใจของรัฐบาลที่จะต้องหารือทั้งคลังและพลังงาน เพราะต้องเกี่ยวข้องกับรายได้แผ่นดิน ซึ่งที่ผ่านมา การที่รัฐบาลตรึงราคาดีเซลในระยะเวลาที่นานเกินไปได้ส่งผลให้การใช้ดีเซลขยับเป็น 54 ล้านลิตรต่อวันทั้งที่เดิมการใช้อยู่เพียง 48 ล้านลิตร ขณะที่การใช้ส่วนหนึ่งหันไปติดเอ็นจีวี แต่ก็ไม่ได้ทำให้ดีเซลลดลงเป็นการชี้ให้เห็นว่าราคาที่ต่ำทำให้การใช้ไม่มีการประหยัด
นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การปรับลดอัตราจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ รัฐบาลต้องคำนึงถึงการส่งเสริมพลังงานทดแทน โดยเฉพาะแก๊สโซฮอล์ อี 10 อี 20 และ อี 85 เพราะหากลดเก็บเงินเบนซิน95 และ91 ราคาขายปลีกจะใกล้เคียงกับแก๊สโซฮอล์ทันที จะต้องมีการบริหารจัดเรื่องส่วนต่างราคาให้เหมาะสมด้วย ซึ่งรัฐบาลไม่ควรลดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ ทั้งหมด เนื่องจากระดับราคาน้ำมันอยู่ในช่วงขาลงอยู่แล้ว
นายมนูญ ศิริวรรณ นักวิชาการอิสระด้านพลังงาน เปิดเผยว่า กรณีที่ นายพิชัย นริพทะพันธุ์ รมว.พลังงาน มีนโยบายที่จะลดการเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันเชื้อเพลิงลงมา เพื่อลดค่าครองชีพของประชาชนนั้น เห็นว่า ไม่ควรจะลดการเก็บเงินกลุ่มเบนซินที่เหลือทั้งหมดลงทันที เพราะจะส่งผลต่อพฤติกรรมของผู้ใช้ไม่ประหยัด และจะทำให้เบนซินราคาต่ำกว่าแก๊สโซฮอล์ ทำให้การที่จะหันกลับมาส่งเสริมพลังงานทดแทนภายหลังจะทำยาก และควรจะกำหนดระยะเวลาการลดไม่เกิน 6 เดือน
“ควรจะลดเก็บเงินเข้ากองทุน กลุ่มเบนซิน 91 แก๊สโซฮอล์ 91 และแก๊สโซฮอล์ 95 ลง 2.40 บาทต่อลิตร โดยยึดการเก็บเงินเข้ากองทุนฯ ของแก๊สโซฮอล์ 95 ที่เก็บอยู่ 2.40 บาทต่อลิตร เพื่อให้ราคาห่างจากเบนซิน 91 ในอัตราเดิม ส่วนดีเซลไม่ต้องทำอะไรจนถึง ก.ย.เพื่อสะสมเงินกองทุนไว้เมื่อถึงเวลาต้องขึ้นภาษีสรรพสามิตกลับมาที่ 5.80 บาทต่อลิตร” นายมนูญ กล่าว
อย่างไรก็ตาม หากตัดสินใจลดราคากลุ่มเบนซินลงแล้ว การที่รัฐบาลจะตัดสินใจขยับราคาแอลพีจีภาคขนส่งและเอ็นจีวีก็จะเป็นเรื่องไม่ง่ายนัก ดังนั้น รัฐบาลอาจจะต้องเลื่อนเวลาในการตรึงแอลพีจีภาคขนส่งและเอ็นจีวีไปอีกระยะหนึ่งก่อนชั่วคราวโดยอาจต้องยอมให้ฐานะกองทุนน้ำมันติดลบ ขณะเดียวกัน ดีเซลเมื่อสิ้นสุดมาตรการลดภาษีสรรพสามิตเดือน ก.ย.เห็นว่าไม่ควรจะขยายเวลา เพราะถือว่ารัฐได้ช่วยดูแลดีเซลมาเป็นเวลาที่นานแล้ว แต่อาจจะใช้วิธีลดเงินกองทุนที่เก็บสะสมไว้มาบรรเทาราคาที่จะต้องสูงขึ้นทันที 5.80 บาทต่อลิตรลง
นายเทียนไชย จงพีเพียร์ นักวิชาการอิสระด้านพลังงาน กล่าวว่า ส่วนตัวไม่เห็นด้วยกับทุกแนวทางตรึงราคาพลังงาน เพราะควรจะสะท้อนกลไกตลาด ซึ่งที่ผ่านมา ทุกรัฐบาลได้ดำเนินการแล้ว ทำให้ทุกวันนี้ต้องมาแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าแทน โดยเห็นว่า การลดการเก็บเงินกองทุนน้ำมันฯ กลุ่มเบนซินลงมา ซึ่งการลดทำได้หลายวิธี เช่น ลดทันทีทั้งหมด ลดเพียงส่วนหนึ่ง แต่ควรจะกำหนดระยะเวลาลดเพียง 6 เดือนเท่านั้น
“คงอยู่ที่รัฐบาลจะบริหารจัดการอย่างไร โดยหากลดลงกลุ่มเบนซินทั้งหมดทันที ก็จะทำให้เงินกองทุนที่เหลืออยู่ทางบัญชี 1.4 หมื่นล้านบาท หมดลงใน 6 เดือน แต่การชำระหนี้จริงยังมีอยู่ ดังนั้น คงไม่มีทางเลือกนอกเหนือจากการเลื่อนการชำระหนี้ผู้ค้า ซึ่งรายใหญ่ คือ บมจ.ปตท. และหลังจากนั้นจะต้องดูว่าจะหาเงินจากที่ใด” นายเทียนไชย กล่าว
ทั้งนี้ กรณีดีเซล เมื่อสิ้นสุดมาตรการลดภาษีสรรพสามิตลง ก.ย.นี้ คงอยู่ที่การตัดสินใจของรัฐบาลที่จะต้องหารือทั้งคลังและพลังงาน เพราะต้องเกี่ยวข้องกับรายได้แผ่นดิน ซึ่งที่ผ่านมา การที่รัฐบาลตรึงราคาดีเซลในระยะเวลาที่นานเกินไปได้ส่งผลให้การใช้ดีเซลขยับเป็น 54 ล้านลิตรต่อวันทั้งที่เดิมการใช้อยู่เพียง 48 ล้านลิตร ขณะที่การใช้ส่วนหนึ่งหันไปติดเอ็นจีวี แต่ก็ไม่ได้ทำให้ดีเซลลดลงเป็นการชี้ให้เห็นว่าราคาที่ต่ำทำให้การใช้ไม่มีการประหยัด
นายอนุสรณ์ แสงนิ่มนวล กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การปรับลดอัตราจัดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ รัฐบาลต้องคำนึงถึงการส่งเสริมพลังงานทดแทน โดยเฉพาะแก๊สโซฮอล์ อี 10 อี 20 และ อี 85 เพราะหากลดเก็บเงินเบนซิน95 และ91 ราคาขายปลีกจะใกล้เคียงกับแก๊สโซฮอล์ทันที จะต้องมีการบริหารจัดเรื่องส่วนต่างราคาให้เหมาะสมด้วย ซึ่งรัฐบาลไม่ควรลดเก็บเงินเข้ากองทุนน้ำมันฯ ทั้งหมด เนื่องจากระดับราคาน้ำมันอยู่ในช่วงขาลงอยู่แล้ว