เอไทม์ ชูผลวิจัย ผู้ฟังวิทยุ ผ่านมือถือ-อินเทอร์เน็ตสูง ลุยช่องทางนิวมีเดีย เจาะกลุ่มคนรุ่นใหม่ มั่นใจสิ้นปีกวาดรายได้ 650 ล้านบาท โต 10%
นางสายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา ประธานกรรมการบริหารร่วม บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาน) และกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ-ไทม์ มีเดีย จำกัด เปิดเผยว่า จกการวิจัยกลุ่มผู้ฟังวิทยุในกรุงเทพฯ ของบริษัท Circle จำกัด พบว่า ปัจจุบันไลฟ์สไตล์ผู้ฟังวิทยุหันมาฟังผ่านอุปกรณ์การรับฟังวิทยุอย่างมือถือ และอินเทอร์เน็ตมากขึ้น ตามไลฟ์สไตล์ของแต่ช่วงวัยในยุคดิจิทัล โดยจำนวนผู้ฟังไม่ได้ลดลง ซึ่งในปี 2553 มีผู้ฟังผ่านวิทยุ 56%, โทรศัพท์มือถือ 37% และอินเทอร์เน็ต 7% และปี 2554 สัดส่วนวิทยุลดลงเหลือ 51%, มือถือเพิ่มป็น 40% และ อินเทอร์เน็ต 8%
ล่าสุด บริษัทได้พัฒนาเทคโนโลยี ด้วยการขยาย “นิวมีเดีย” ในกลุ่มเว็บไซต์ ทั้ง 4 คลื่นวิทยุ นำเสนอผ่านทางเว็บไซต์ อีกทั้งยังสามารถรับฟังได้ผ่านเว็บไซต์ในเครือเอ-ไทม์ อีก 4 เว็บไซต์ด้วย ซึ่งเว็บไซต์ทั้งหมดมีจำนวนผู้เข้าเว็บกว่า 3 ล้านรายต่อเดือน หรือมีจำนวน 40 ล้านเพจวิวต่อเดือน นอกจากนี้ยังพัฒนาช่องทางการฟังวิทยุผ่านอินเตอร์เน็ตทางโทรศัพท์มือถือ เปิดตัวเมื่อเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา และการพัฒนาแอปพลิเคชัน วิทยุทั้ง 4 คลื่นผ่านไอโฟน เปิดตัว ก.ค.นี้ คาดว่า จะเข้าถึงกลุ่มผู้ฟังคนรุ่นใหม่ได้เพิ่มขึ้น
“มองว่า วิทยุเป็นสื่อที่ไม่มีวันตาย เพราะตลอด 20 ปี ที่บริหารคลื่นวิทยุในเครือเอไทม์ เชื่อว่าวิทยุจะไม่ได้รับผลกระทบจากสื่อใหม่ในยุคดิจิตอลแน่นอน แต่ก็ไม่เติบโตมากนัก ดังนั้นธุรกิจสื่อวิทยุในปัจจุบัน จึงต้องบริหารแบบครบวงจร ทำการการตลาด 360 องศา ต่อยอดธุรกิจในกลุ่มอื่นๆ ตอบโจทย์ลูกค้า”
จากปัจจุบันเอไทม์ มีทั้งหมด 4 คลื่น คือ เอฟเอ็ม 91.5, 94 EFM, 89 ชิลล์ เอฟเอ็ม และ 106.5 กรีนเวฟ จะมุ่งเน้นกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบครบวงจร ผสานการใช้สื่อวิทยุ และสื่ออื่นๆ ในเครือ เช่น ทีวีเทียม กระตุ้นภาพรวมบริษัทให้เติบโตในอัตรา 10% หรือมีรายได้ 650 ล้านบาทในสิ้นปีนี้
นางสุภาณี เดชาบูรณานท์ ประธานกรรมการ กุ๊ปเอ็ม ประเทศไทย กล่าวว่า พฤติกรรมของกลุ่มผู้ฟังในยุคนี้ จะฟังวิยุผ่านอินเทอร์เน็ตละมือถือมากขึ้น พบว่าอันดับ 1.ใช้งานเพื่อดูรูป 2.ดาวน์โหลดเพลง และ 3.ฟังเพลง ดังนั้น สื่อวิทยุในปัจจุบันยังเป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายเฉพาะกลุ่มเพื่อตอบโจทย์ด้านการประชาสัมพันธ์ ถือเป็นหนึ่งในเครื่องมือการตลาด ที่สามารถใช้งานร่วมกับกลยุทธ์หรือสื่ออื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพในยุคนี้
นางสายทิพย์ มนตรีกุล ณ อยุธยา ประธานกรรมการบริหารร่วม บริษัท จีเอ็มเอ็ม แกรมมี่ จำกัด (มหาน) และกรรมการผู้จัดการ บริษัท เอ-ไทม์ มีเดีย จำกัด เปิดเผยว่า จกการวิจัยกลุ่มผู้ฟังวิทยุในกรุงเทพฯ ของบริษัท Circle จำกัด พบว่า ปัจจุบันไลฟ์สไตล์ผู้ฟังวิทยุหันมาฟังผ่านอุปกรณ์การรับฟังวิทยุอย่างมือถือ และอินเทอร์เน็ตมากขึ้น ตามไลฟ์สไตล์ของแต่ช่วงวัยในยุคดิจิทัล โดยจำนวนผู้ฟังไม่ได้ลดลง ซึ่งในปี 2553 มีผู้ฟังผ่านวิทยุ 56%, โทรศัพท์มือถือ 37% และอินเทอร์เน็ต 7% และปี 2554 สัดส่วนวิทยุลดลงเหลือ 51%, มือถือเพิ่มป็น 40% และ อินเทอร์เน็ต 8%
ล่าสุด บริษัทได้พัฒนาเทคโนโลยี ด้วยการขยาย “นิวมีเดีย” ในกลุ่มเว็บไซต์ ทั้ง 4 คลื่นวิทยุ นำเสนอผ่านทางเว็บไซต์ อีกทั้งยังสามารถรับฟังได้ผ่านเว็บไซต์ในเครือเอ-ไทม์ อีก 4 เว็บไซต์ด้วย ซึ่งเว็บไซต์ทั้งหมดมีจำนวนผู้เข้าเว็บกว่า 3 ล้านรายต่อเดือน หรือมีจำนวน 40 ล้านเพจวิวต่อเดือน นอกจากนี้ยังพัฒนาช่องทางการฟังวิทยุผ่านอินเตอร์เน็ตทางโทรศัพท์มือถือ เปิดตัวเมื่อเดือน มิ.ย.ที่ผ่านมา และการพัฒนาแอปพลิเคชัน วิทยุทั้ง 4 คลื่นผ่านไอโฟน เปิดตัว ก.ค.นี้ คาดว่า จะเข้าถึงกลุ่มผู้ฟังคนรุ่นใหม่ได้เพิ่มขึ้น
“มองว่า วิทยุเป็นสื่อที่ไม่มีวันตาย เพราะตลอด 20 ปี ที่บริหารคลื่นวิทยุในเครือเอไทม์ เชื่อว่าวิทยุจะไม่ได้รับผลกระทบจากสื่อใหม่ในยุคดิจิตอลแน่นอน แต่ก็ไม่เติบโตมากนัก ดังนั้นธุรกิจสื่อวิทยุในปัจจุบัน จึงต้องบริหารแบบครบวงจร ทำการการตลาด 360 องศา ต่อยอดธุรกิจในกลุ่มอื่นๆ ตอบโจทย์ลูกค้า”
จากปัจจุบันเอไทม์ มีทั้งหมด 4 คลื่น คือ เอฟเอ็ม 91.5, 94 EFM, 89 ชิลล์ เอฟเอ็ม และ 106.5 กรีนเวฟ จะมุ่งเน้นกลยุทธ์การสื่อสารการตลาดแบบครบวงจร ผสานการใช้สื่อวิทยุ และสื่ออื่นๆ ในเครือ เช่น ทีวีเทียม กระตุ้นภาพรวมบริษัทให้เติบโตในอัตรา 10% หรือมีรายได้ 650 ล้านบาทในสิ้นปีนี้
นางสุภาณี เดชาบูรณานท์ ประธานกรรมการ กุ๊ปเอ็ม ประเทศไทย กล่าวว่า พฤติกรรมของกลุ่มผู้ฟังในยุคนี้ จะฟังวิยุผ่านอินเทอร์เน็ตละมือถือมากขึ้น พบว่าอันดับ 1.ใช้งานเพื่อดูรูป 2.ดาวน์โหลดเพลง และ 3.ฟังเพลง ดังนั้น สื่อวิทยุในปัจจุบันยังเป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพในการเข้าถึงกลุ่มเป้าหมายเฉพาะกลุ่มเพื่อตอบโจทย์ด้านการประชาสัมพันธ์ ถือเป็นหนึ่งในเครื่องมือการตลาด ที่สามารถใช้งานร่วมกับกลยุทธ์หรือสื่ออื่นๆ ได้อย่างมีประสิทธิภาพในยุคนี้