ส.โรงแรม ขู่ รร.3 ดาว มีลุ้นขายกิจการ ถ้ารัฐขึ้นค่าแรงเป็น 300 บาทต่อวัน เข้าทางกลุ่มทุนตะวันออกกลาง และสิงคโปร์ ที่จ่อคิวรอซื้อ
นายสัมพันธ์ แป้นพัฒน์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ สมาคมโรงแรมไทย เปิดเผยว่า กรณีนโยบายรัฐบาลใหม่ เรื่องการปรับขึ้นค่าแรงงานขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน หากเริ่มดำเนินการจริง ประเมินว่า จะกระทบต่อผู้ประกบอการโรงแรมขนาดเล็ก ระดับโรงแรม 3 ดาว ที่ต้องแบกรับภาระต้นทุนสูงขึ้นอย่างมาก อาจมีผลทำให้ถึงกับต้องประกาศขายกิจการ โดยเฉพาะโรงแรมที่ตั้งในพื้นที่เชียงใหม่, พัทยา และกรุงเทพฯ เพราะปัจจุบันก็มีปัญหาจำนวนห้องพักสูงเกินความต้องการ หรือโอเวอร์ซัปพลาย ส่งผลให้เกิดสงครามราคากันอยู่แล้ว และหากสถานการณ์เป็นเช่นนี้จริง เชื่อว่า กลุ่มทุนจากประเทศในแถบตะวันออกกลาง และ สิงคโปร์ ซึ่งคอยหาโอกาสเข้าซื้อกิจการโรงแรมในประเทศไทยอยู่แล้ว จะเข้ามาได้ง่ายขึ้น เพราะเป็นกลุ่มทุนที่มีเงินพร้อมลงทุน
ส่วนกรณี สำนักงานประกันสังคม เรียกเก็บเงินประกันสังคมจากค่าเซอร์วิสชาร์จ ที่จ่ายให้กับพนักงาน และให้มีผลย้อนหลังถึง 2 ปีนั้น ล่าสุด สมาคมได้ทำหนังสือส่งกลับไปยังสำนักงานประกันสังคม เพื่อขอความชัดเจน ว่า ค่าเซอร์วิสชาร์จรูปแบบใดบ้างที่เข้าข่าย เพราะถ้าในแต่ละเดือนพนักงานได้ค่าเซอร์วิสชาร์จไม่เท่ากัน ก็ไม่น่าจะถือเป็นรายได้ประจำที่เข้าข่ายต้องเรียกเก็บเงิน เข้ากองทุน
***ขายล่วงหน้าถึงปี 55 แล้ว***
ทางด้าน นายประกิจ ชินอมรพงษ์ นายกสมาคมโรงแรมไทย หรือ ทีเอชเอ กล่าวว่า ค่าแรงแต่ละพื้นที่จ่ายไม่เท่ากัน โดเฉลี่ยอยู่ที่ 191-221 บาทต่อวัน หากเพิ่มเป็น 300 บาท เท่ากับต้นทุนค่าแรงเพิ่มอีก 30% ขณะที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ มีการขายห้องพักล่วงหน้าของปี 2555 ไปตั้งแต่ต้นปี 2554 แล้ว เป็นผลให้ผู้ประกอบการบางรายอาจ ทนแบกภาระไม่ไหว สำหรับอัตราเข้าพักโรงแรม เดือน มิ.ย. 54 โดยเฉลี่ยปรับเพิ่มขึ้นเกือบทุกพื้นที่ โดยกรุงเทพฯ โรงแรมขนาดมากกว่า 250 ห้อง อยู่ที่ 64-65% มากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งอยู่ที่ 41% คาดภาพรวมตลอดปีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าไทย จะสามารถทำได้ถึง 18 ล้านคนตามที่ภาครัฐคาดการณ์ไว้
นายสัมพันธ์ แป้นพัฒน์ ที่ปรึกษากิตติมศักดิ์ สมาคมโรงแรมไทย เปิดเผยว่า กรณีนโยบายรัฐบาลใหม่ เรื่องการปรับขึ้นค่าแรงงานขั้นต่ำ 300 บาทต่อวัน หากเริ่มดำเนินการจริง ประเมินว่า จะกระทบต่อผู้ประกบอการโรงแรมขนาดเล็ก ระดับโรงแรม 3 ดาว ที่ต้องแบกรับภาระต้นทุนสูงขึ้นอย่างมาก อาจมีผลทำให้ถึงกับต้องประกาศขายกิจการ โดยเฉพาะโรงแรมที่ตั้งในพื้นที่เชียงใหม่, พัทยา และกรุงเทพฯ เพราะปัจจุบันก็มีปัญหาจำนวนห้องพักสูงเกินความต้องการ หรือโอเวอร์ซัปพลาย ส่งผลให้เกิดสงครามราคากันอยู่แล้ว และหากสถานการณ์เป็นเช่นนี้จริง เชื่อว่า กลุ่มทุนจากประเทศในแถบตะวันออกกลาง และ สิงคโปร์ ซึ่งคอยหาโอกาสเข้าซื้อกิจการโรงแรมในประเทศไทยอยู่แล้ว จะเข้ามาได้ง่ายขึ้น เพราะเป็นกลุ่มทุนที่มีเงินพร้อมลงทุน
ส่วนกรณี สำนักงานประกันสังคม เรียกเก็บเงินประกันสังคมจากค่าเซอร์วิสชาร์จ ที่จ่ายให้กับพนักงาน และให้มีผลย้อนหลังถึง 2 ปีนั้น ล่าสุด สมาคมได้ทำหนังสือส่งกลับไปยังสำนักงานประกันสังคม เพื่อขอความชัดเจน ว่า ค่าเซอร์วิสชาร์จรูปแบบใดบ้างที่เข้าข่าย เพราะถ้าในแต่ละเดือนพนักงานได้ค่าเซอร์วิสชาร์จไม่เท่ากัน ก็ไม่น่าจะถือเป็นรายได้ประจำที่เข้าข่ายต้องเรียกเก็บเงิน เข้ากองทุน
***ขายล่วงหน้าถึงปี 55 แล้ว***
ทางด้าน นายประกิจ ชินอมรพงษ์ นายกสมาคมโรงแรมไทย หรือ ทีเอชเอ กล่าวว่า ค่าแรงแต่ละพื้นที่จ่ายไม่เท่ากัน โดเฉลี่ยอยู่ที่ 191-221 บาทต่อวัน หากเพิ่มเป็น 300 บาท เท่ากับต้นทุนค่าแรงเพิ่มอีก 30% ขณะที่ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ มีการขายห้องพักล่วงหน้าของปี 2555 ไปตั้งแต่ต้นปี 2554 แล้ว เป็นผลให้ผู้ประกอบการบางรายอาจ ทนแบกภาระไม่ไหว สำหรับอัตราเข้าพักโรงแรม เดือน มิ.ย. 54 โดยเฉลี่ยปรับเพิ่มขึ้นเกือบทุกพื้นที่ โดยกรุงเทพฯ โรงแรมขนาดมากกว่า 250 ห้อง อยู่ที่ 64-65% มากกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อนซึ่งอยู่ที่ 41% คาดภาพรวมตลอดปีจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้าไทย จะสามารถทำได้ถึง 18 ล้านคนตามที่ภาครัฐคาดการณ์ไว้