เอกชนท่องเที่ยว ค้านเต็มเหนี่ยว กรณี สำนักงานประกันสังคม เตรียมเรียกเก็บเงินจากค่าเซอร์วิสชาร์จเข้ากองทุนประกันสังคม อ้างเป็นเงินที่ได้จำนวนไม่แน่นอนไม่ควรคิดเป็นเงินเดือน อีกทั้งยังซ้ำเติมให้ ลูกจ้างและผู้ประกอบการต้องมีรายจ่ายเพิ่มขึ้น พร้อมจี้ประกันสังคม แจงรายละเอียดการใช้เงินแบบโปร่งใส
นายกงกฤช หิรัญกิจ ประธานฝ่ายนโยบาย สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ สทท. เปิดเผยว่า สทท. ไม่เห็นด้วย กับกรณีที่สำนักงานประกันสังคม จะให้นำเงินค่าบริการเซอร์วิสชาร์จที่พนักงานโรงแรมได้รับไปคำนวนรวมกับเงินเดือน เพื่อเป็นรายได้หักเงินเข้าสมทบกองทุนประกันสังคม เพราะค่าบริการเซอร์วิสชาร์จ ไม่ใช่ค่าจ้าง แต่เป็นสวัสดิการที่ผู้ประกอบการให้ลูกจ้าง หากจะนำเงินส่วนนี้ไปคิดรวม อาจเป็นผลให้ผู้ประกอบการไม่อยากให้สวัสดิการอะไรกับพนักงานในรูปแบบนี้ เพราะไม่มั่นใจว่า จะถูกสำนักงานประกันสังคมเสนอให้มาคำนวนเงินสมทบกองทุนฯ หรือไม่ เมื่อใด
ทั้งนี้การให้ สวัสดิการค่าอาหารกับพนักงาน เป็นค่าเซอร์วิสชาร์จ เพราะต้องการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง โดยเซอร์วิสชาร์จ จะเป็นรายได้ที่ไม่คงที่ ขึ้นอยู่กับปริมาณลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการ หากมีลูกค้ามาก ก็จะได้เซอร์วิสชาร์จมาก แต่ถ้าช่วงไหนลูกค้าน้อย ก็ได้น้อย ซึ่งไม่ถูกต้อหากจะนำไปคำนวนเป็นรายได้ เพื่อเก็บเงินสมทบเข้ากองทุนประกันฯ
“นโยบายของรัฐบาลใหม่ ที่จะปรับขึ้นค่าแรงเป็น 300 บาทต่อวัน ผู้ประกอบการก็ต้องนำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนฯสูงอยู่แล้ว รัฐจึงไม่ควรเพิ่มภาระให้แก่ผู้ประกอบการ ด้วยการคำนวนค่าเซอร์วิจชาร์จอีก”
อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการโรงแรม ในฐานะนายจ้างที่ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนฯ ร่วมกับลูกจ้าง ในกรณีที่ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนฯ มากขึ้น ก็อยากเห็นรายละเอียดการใช้เงินกองทุนฯ ด้วยว่ามีความโปร่งใสแค่ไหน โดยควรมีการชี้แจ้งการใช้เงินกับนายจ้างด้วย ในลักษณะเดียวกับที่ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือ กบข. ที่ชี้แจงเป็นประจำ เพราะทุกวันนี้จ่ายเงินสมทบกองทุนฯ ไป แต่ไม่เคยทราบข้อมูลเลยว่า เงินที่จ่ายไปถูกนำไปใช้ทำอะไรบ้าง มีวิธีบริหารจัดการเงินอย่างไร
ทางด้านนายประกิจ ชินอมรพงษ์ นายกสมาคมโรงแรมไทย หรือ ทีเอชเอ กล่าวว่า ล่าสุด ทีเอชเอ ได้ทำหนังสือ ยื่นคัดค้านการเรียกเก็บค่าเซอร์วิสชาร์จ คำนวนเงินสมทบเข้ากองทุนฯ ไปยังสำนักงานประกันสังคมแล้ว แต่ยังไม่มีหนังสือตอบกลับ โดยในการประชุมคณะกรรมการและสมาชิกประจำเดือน ในวันที่ 26 ก.ค.นี้ จะนำประเด็นนี้เข้าหารือด้วยว่า
สำนักงานประกันสังคมส่งหนังสือมาเรียกเก็บค่าเซอร์วิสชาร์จ คำนวนเงินสมทบกองทุนฯ โดยจะเรียกเก็บย้อนหลัง 2 ปี รวมทั้งกรณีรัฐบาลจะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท เพราะ เบื้องต้นไม่เห็นด้วยกับการเก็บค่าเซอร์วิสชาร์จ คำนวนเงินสมทบกองทุนฯ เพราะจะส่งผลให้พนักงานโรงแรม ต้องมีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ส่วนผู้ประกอบการก็จะมีต้นทุนการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน
นายกงกฤช หิรัญกิจ ประธานฝ่ายนโยบาย สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หรือ สทท. เปิดเผยว่า สทท. ไม่เห็นด้วย กับกรณีที่สำนักงานประกันสังคม จะให้นำเงินค่าบริการเซอร์วิสชาร์จที่พนักงานโรงแรมได้รับไปคำนวนรวมกับเงินเดือน เพื่อเป็นรายได้หักเงินเข้าสมทบกองทุนประกันสังคม เพราะค่าบริการเซอร์วิสชาร์จ ไม่ใช่ค่าจ้าง แต่เป็นสวัสดิการที่ผู้ประกอบการให้ลูกจ้าง หากจะนำเงินส่วนนี้ไปคิดรวม อาจเป็นผลให้ผู้ประกอบการไม่อยากให้สวัสดิการอะไรกับพนักงานในรูปแบบนี้ เพราะไม่มั่นใจว่า จะถูกสำนักงานประกันสังคมเสนอให้มาคำนวนเงินสมทบกองทุนฯ หรือไม่ เมื่อใด
ทั้งนี้การให้ สวัสดิการค่าอาหารกับพนักงาน เป็นค่าเซอร์วิสชาร์จ เพราะต้องการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง โดยเซอร์วิสชาร์จ จะเป็นรายได้ที่ไม่คงที่ ขึ้นอยู่กับปริมาณลูกค้าที่เข้ามาใช้บริการ หากมีลูกค้ามาก ก็จะได้เซอร์วิสชาร์จมาก แต่ถ้าช่วงไหนลูกค้าน้อย ก็ได้น้อย ซึ่งไม่ถูกต้อหากจะนำไปคำนวนเป็นรายได้ เพื่อเก็บเงินสมทบเข้ากองทุนประกันฯ
“นโยบายของรัฐบาลใหม่ ที่จะปรับขึ้นค่าแรงเป็น 300 บาทต่อวัน ผู้ประกอบการก็ต้องนำส่งเงินสมทบเข้ากองทุนฯสูงอยู่แล้ว รัฐจึงไม่ควรเพิ่มภาระให้แก่ผู้ประกอบการ ด้วยการคำนวนค่าเซอร์วิจชาร์จอีก”
อย่างไรก็ตาม ผู้ประกอบการโรงแรม ในฐานะนายจ้างที่ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนฯ ร่วมกับลูกจ้าง ในกรณีที่ต้องจ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนฯ มากขึ้น ก็อยากเห็นรายละเอียดการใช้เงินกองทุนฯ ด้วยว่ามีความโปร่งใสแค่ไหน โดยควรมีการชี้แจ้งการใช้เงินกับนายจ้างด้วย ในลักษณะเดียวกับที่ กองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ หรือ กบข. ที่ชี้แจงเป็นประจำ เพราะทุกวันนี้จ่ายเงินสมทบกองทุนฯ ไป แต่ไม่เคยทราบข้อมูลเลยว่า เงินที่จ่ายไปถูกนำไปใช้ทำอะไรบ้าง มีวิธีบริหารจัดการเงินอย่างไร
ทางด้านนายประกิจ ชินอมรพงษ์ นายกสมาคมโรงแรมไทย หรือ ทีเอชเอ กล่าวว่า ล่าสุด ทีเอชเอ ได้ทำหนังสือ ยื่นคัดค้านการเรียกเก็บค่าเซอร์วิสชาร์จ คำนวนเงินสมทบเข้ากองทุนฯ ไปยังสำนักงานประกันสังคมแล้ว แต่ยังไม่มีหนังสือตอบกลับ โดยในการประชุมคณะกรรมการและสมาชิกประจำเดือน ในวันที่ 26 ก.ค.นี้ จะนำประเด็นนี้เข้าหารือด้วยว่า
สำนักงานประกันสังคมส่งหนังสือมาเรียกเก็บค่าเซอร์วิสชาร์จ คำนวนเงินสมทบกองทุนฯ โดยจะเรียกเก็บย้อนหลัง 2 ปี รวมทั้งกรณีรัฐบาลจะขึ้นค่าแรงขั้นต่ำเป็น 300 บาท เพราะ เบื้องต้นไม่เห็นด้วยกับการเก็บค่าเซอร์วิสชาร์จ คำนวนเงินสมทบกองทุนฯ เพราะจะส่งผลให้พนักงานโรงแรม ต้องมีภาระค่าใช้จ่ายเพิ่มขึ้น ส่วนผู้ประกอบการก็จะมีต้นทุนการดำเนินงานที่เพิ่มขึ้นเช่นกัน