ปตท.ชูแผนลงทุน 10 ปีข้างหน้าทุ่มเงินลงทุน 3 ล้านล้านบาท รุกธุรกิจต่างประเทศ ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนของ ปตท.สผ.คาด สร้างรายได้เพิ่มขึ้นเป็น 6 ล้านล้านบาท ตั้งเป้าก้าวสู่ 1 ใน 100 บริษัทยักษ์นิตยสารฟอร์จูน แย้ม 22 ก.ค.นี้ ชงบอร์ดอนุมัติแผนยุทธศาสตร์ธุรกิจ 5 ปีข้างหน้า (2555-2559) ลงทุน 1 ล้านล้านบาท ทั้งในส่วน ปตท.สผ.รวมทั้งรุกธุรกิจถ่านหิน โรงไฟฟ้า และ FLNG มองอนาคตหากบริษัทลูกในต่างประเทศเข้มแข็งขึ้นมีแผนนำเข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นต่างประเทศด้วย แย้มปีนี้มีรายได้ทุบสถิติสูงสุดอีกอยู่ที่ 2.3-2.4 ล้านล้านบาท
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการบริหารบริษัท ในวันที่ 22 ก.ค.นี้ เพื่อพิจารณากำหนดแผนยุทธศาสต์การดำเนินธุรกิจ (Corperate Strategy) ของกลุ่ม ปตท.5 ปี (2555-2559) คาดว่า จะใช้เม็ดเงินลงทุนประมาณ 1 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนของบริษัท ปตท.กว่า 3 แสนล้านบาท บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ.กว่า 4 แสนล้านบาท กลุ่มปิโตรเคมีและกลุ่มโรงกลั่นกว่า 2 แสนล้านบาท โดย 40% ของเงินลงทุนจะนำไปลงทุนในต่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลงทุนของ ปตท.สผ.
นายประเสริฐ กล่าวต่อไปว่า ด้วยนโยบายของปตท.ที่ต้องการก้าวสู่บริษัท 1 ใน 100 ของการจัดอันดับบริษัทใหญ่ในนิตยสารฟอร์จูนใน 10 ปีข้างหน้า (ปี 2563) จากปัจจุบันอยู่ที่อันดับ 128 ทำให้บริษัทฯเพิ่มขนาดการลงทุนในต่างประเทศ เพื่อที่จะสร้างผลตอบแทนการลงทุนให้มากขึ้น ดังนั้น การลงทุนของกลุ่ม ปตท.ในอีก 10 ปีข้างหน้า อาจจะต้องใช้เงินลงทุนสูงถึง 3 ล้านล้านบาท หรือ ประมาณ 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยกว่า 50% จะเป็นการลงทุนในต่างประเทศเน้นการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมและเมื่อดำเนินการได้ตามแผนธุรกิจใน 10 ปีนี้ เชื่อว่า ปตท.จะมีรายได้ประมาณ 2 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 6 ล้านล้านบาท หรือมีรายได้ในอีก 5 ปีข้างหน้า จะอยู่ที่ 4 ล้านล้านบาท และมีอัตรากำไรอยู่ที่ 4-5% ของรายได้รวม
นายประเสริฐ กล่าวต่อไปว่า แผนยุทธศาสตร์การลงทุน 5 ปีนี้ งบการลงทุนต่างๆ ของ ปตท. จะเน้นลงทุนในธุรกิจก๊าซธรรมชาติมากที่สุด ได้แก่ การลงทุนก่อสร้างคลังรับจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว หรือ แอลเอ็นจี ระยะที่ 2 โครงการวางท่อส่งก๊าซ ไปภาคเหนือและอีสาน และการวางท่อบนบกเส้นที่ 4 เพื่อเชื่อมคลังแอลเอ็นจีไปยังผู้ใช้ก๊าซฯ การขยายโครงการก๊าซธรรมชาติในรถยนต์ หรือ เอ็นจีวี ซึ่ง ปตท.ก็หวังว่ารัฐบาลใหม่จะพิจารณาเรื่องการปรับขึ้นราคาเอ็นจีวี
ส่วนการลงทุนในต่างประเทศนั้น จะเน้น 3 ธุรกิจหลัก คือ ธุรกิจถ่านหิน ที่อยู่ระหว่างการขยายการลงทุนในต่างประเทศนอกเหนือจากอินโดนีเซีย เช่น ประเทศบรูไน มาดากัสการ์ ออสเตรเลีย รวมถึงอยู่ระหว่างการเจรจาเพื่อเข้าไปซื้อกิจการเพิ่มเติม และโครงการโรงงานผลิตก๊าซธรรมชาติเหลวลอยน้ำ (FLNG) ที่ร่วมทุนกับ ปตท.สผ.ที่ออสเตรเลีย เพื่อนำก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) กลับมาจำหน่ายในไทย ส่วนการลงทุนในธุรกิจไฟฟ้า ส่วนใหญ่จะเป็นการลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งโรงไฟฟ้าพลังน้ำและถ่านหิน เพื่อขายไฟฟ้ากลับมาประเทศ โดยจะมุ่งการลงทุนไปยัง สปป.ลาว พม่า เป็นต้น
นายประเสริฐ กล่าวถึงการลงทุนของ ปตท.สผ.ว่า จากเป้าหมายของ ปตท.สผ.ที่จะผลิตปิโตรเลียมเพิ่มขึ้นจาก 3 แสนบาร์เรล/วัน เป็น 9 แสนบาร์เรล/วัน ในปี 2563 ทำให้ ปตท.สผ.ต้องมีการเข้าซื้อกิจการ (M&A) เพิ่มเติม ซึ่งเม็ดเงินที่ใช้ในการซื้อกิจการดังกล่าวนี้ยังไม่ได้รวมอยู่ในงบการลงทุนของเครือ ปตท.5 ปีข้างหน้า ซึ่งงบการลงทุนของ ปตท.สผ.กว่า 4 แสนล้านบาทนั้น ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในโครงการที่ชัดเจนอยู่แล้ว เพื่อรักษาระดับอัตราการผลิตปิโตรเลียมในอ่าวไทย โครงการ M9 โครงการมอนทาราที่ออสเตรเลีย โครงการที่เวียดนาม และออยล์แซนด์ ในแคนาดา
ส่วนงบการลงทุนในกลุ่มปิโตรเคมีและโรงกลั่น จะเน้นการลงทุนปรับปรุงคุณภาพน้ำมันให้ได้ตามมาตรฐานยุโรป 4 หรือ Euro4 และลงทุนในพลังงานทดแทน เช่น เอทานอล พลังงานแสงอาทิตย์ โดย บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) จะขยายการลงทุนไปยังธุรกิจเอทานอลมากขึ้น บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ขยายการลงทุนในธุรกิจเอทานอลและโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์
ด้านการลงทุนของ บริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน) และบริษัท ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน) อยู่ระหว่างขั้นตอนการควบรวมกิจการ เมื่อแล้วเสร็จจะมองโอกาสการลงทุนพิเศษในอนาคต อาทิ โครงการผลิตเม็ดพลาสติกเกรดพิเศษที่มีคุณภาพสูง และการผลิตที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย ส่วนบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) จะลงทุนตามแผนโครงการฟีนิกซ์ ซึ่งได้มีการอนุมัติโครงการลงทุนไปแล้วกว่า 85-90% โดยคาดว่าการลงทุนจะอนุมัติได้ครบในเร็วๆ นี้
ดังนั้น ผลการดำเนินงานในไตรมาส 2/2554 ปตท.คาดว่า มีกำไรสุทธิดีกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ไตรมาสแรกมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 3.45 หมื่นล้านบาท ทำให้ครึ่งปีแรกปตท.จะมีรายได้และกำไรสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และทั้งปีหากราคาน้ำมันยังอยู่ในระดับนี้ ก็จะยังเป็นปีที่ดีอีกปีหนึ่ง โดยมียอดขายทะลุ 2.3-2.4 ล้านล้านบาท สูงขึ้นจากปีที่ผ่านมา 1.9 ล้านล้านบาท
*** วางแผนนำบริษัทลูกใน ตปท.เข้าตลาด
นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่การเงิน บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ธุรกิจถ่านหินนับเป็นธุรกิจใหม่ขอ งปตท.ที่มีแนวโน้มสร้างรายได้ที่ดี เนื่องจากมีปริมาณสำรองถ่านหินทั่วโลกกว่า 120 ปี ขณะที่น้ำมันมีปริมาณสำรองเหลือเพียง 40 ปี และก๊าชธรรมชาติเหลือเพียง 60 ปี รวมทั้งถ่านหินยังเป็นเชื้อเพลิงราคาถูกอีกด้วย ซึ่งเป้าหมายการลงทุนในธุรกิจถ่านหินของ ปตท.จะเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 35-40 ล้านตัน ในปี 2558 และขยายเป็น 70 ล้านตันต่อปี ในปี 2563 โดยเน้นการขยายกิจการและขอสัมปทานใหม่ผ่านบริษัท ปตท.เอเชียแปซิฟิค ไมนิ่ง ที่มีเหมืองในอินโดนีเซีย ที่ปัจจุบันมีการผลิตถ่านหินกว่า 10 ล้านตันต่อปี และยังมีสัมปทานถ่านหินในบางประเทศ เช่น บรูไน เกาะมาดากัสการ์ และมองโกเลีย หากพบว่าพื้นที่สัมปทานถ่านหินมีศักยภาพก็พร้อมเข้าไปซื้อหุ้นเพิ่มในแหล่งสัมปทานเหมืองถ่านหินในบรูไน
เมื่อโครงการลงทุนต่างๆ ในต่างประเทศมีความเข้มแข็งขึ้น ปตท.มีแผนนำบริษัทเหล่านี้เข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นของประเทศนั้นๆ ทำให้บริษัทเหล่านี้สามารถระดมทุนเพื่อใช้ขยายธุรกิจโดยปตท.ไม่ต้องใส่เงินลงทุนเพิ่มเติม ส่วน ปตท.จะเข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศอื่นนอกเหนือจากตลาดหลักทรัพย์ของไทยหรือไม่ ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการศึกษาความเหมาะสมก่อน
***** สิ้นปีนี้สรุปความเป็นไปได้ FLNG
นายจิตรพงษ์ กว้างสุขสถิตย์ ประธานกรรมการและรักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า กลุ่ม ปตท.วางแผนสร้างเรือผลิตก๊าซธรรมชาติเหลว(FLNG ) ที่ออสเตรเลีย ขนาดกำลังผลิต ประมาณ 2 ล้านตันต่อปี ในปี 2559 ใช้งบลงทุนไม่ต่ำกว่า 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยจากแหล่ง Cash&Maple คาดว่าในปลายปีนี้จะรู้ผลการสำรวจปริมาณสำรองปิโตรเลียม หากพบมีปริมาณสำรองก๊าซมากเพียงพอก็พร้อมที่จะเดินหน้าโครงการทันที
นายสมพร วงศ์วุฒิพรชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานโครงการต่างประเทศ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิต จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ.กล่าวว่า การลงทุนในโครงการ FLNG ทำให้ไทยจัดหากก๊าซแอลเอ็นจีได้ในราคาถูกกว่าราคาแอลเอ็นจีในตลาดโลก ช่วยลดต้นทุนค่าเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าในอนาคต
ทั้งนี้ ปริมาณความต้องการก๊าซแอลเอ็นจีในการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเป็น 10 ล้านตันต่อปีในระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า จากปัจจุบันอยู่ที่ 5 ล้านตันต่อปี คาดว่าโครงการก่อสร้างเรือผลิตก๊าซแอลเอ็นจีจะใช้เวลาในการก่อสร้างประมาณ 3 ปี หลังจากที่ได้รับการอนุมัติจากบอร์ดแล้ว
นายประเสริฐ บุญสัมพันธ์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหารและกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) เปิดเผยว่า ในการประชุมคณะกรรมการบริหารบริษัท ในวันที่ 22 ก.ค.นี้ เพื่อพิจารณากำหนดแผนยุทธศาสต์การดำเนินธุรกิจ (Corperate Strategy) ของกลุ่ม ปตท.5 ปี (2555-2559) คาดว่า จะใช้เม็ดเงินลงทุนประมาณ 1 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นการลงทุนของบริษัท ปตท.กว่า 3 แสนล้านบาท บริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ.กว่า 4 แสนล้านบาท กลุ่มปิโตรเคมีและกลุ่มโรงกลั่นกว่า 2 แสนล้านบาท โดย 40% ของเงินลงทุนจะนำไปลงทุนในต่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่เป็นการลงทุนของ ปตท.สผ.
นายประเสริฐ กล่าวต่อไปว่า ด้วยนโยบายของปตท.ที่ต้องการก้าวสู่บริษัท 1 ใน 100 ของการจัดอันดับบริษัทใหญ่ในนิตยสารฟอร์จูนใน 10 ปีข้างหน้า (ปี 2563) จากปัจจุบันอยู่ที่อันดับ 128 ทำให้บริษัทฯเพิ่มขนาดการลงทุนในต่างประเทศ เพื่อที่จะสร้างผลตอบแทนการลงทุนให้มากขึ้น ดังนั้น การลงทุนของกลุ่ม ปตท.ในอีก 10 ปีข้างหน้า อาจจะต้องใช้เงินลงทุนสูงถึง 3 ล้านล้านบาท หรือ ประมาณ 1 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยกว่า 50% จะเป็นการลงทุนในต่างประเทศเน้นการสำรวจและผลิตปิโตรเลียมและเมื่อดำเนินการได้ตามแผนธุรกิจใน 10 ปีนี้ เชื่อว่า ปตท.จะมีรายได้ประมาณ 2 แสนล้านเหรียญสหรัฐฯ หรือประมาณ 6 ล้านล้านบาท หรือมีรายได้ในอีก 5 ปีข้างหน้า จะอยู่ที่ 4 ล้านล้านบาท และมีอัตรากำไรอยู่ที่ 4-5% ของรายได้รวม
นายประเสริฐ กล่าวต่อไปว่า แผนยุทธศาสตร์การลงทุน 5 ปีนี้ งบการลงทุนต่างๆ ของ ปตท. จะเน้นลงทุนในธุรกิจก๊าซธรรมชาติมากที่สุด ได้แก่ การลงทุนก่อสร้างคลังรับจ่ายก๊าซธรรมชาติเหลว หรือ แอลเอ็นจี ระยะที่ 2 โครงการวางท่อส่งก๊าซ ไปภาคเหนือและอีสาน และการวางท่อบนบกเส้นที่ 4 เพื่อเชื่อมคลังแอลเอ็นจีไปยังผู้ใช้ก๊าซฯ การขยายโครงการก๊าซธรรมชาติในรถยนต์ หรือ เอ็นจีวี ซึ่ง ปตท.ก็หวังว่ารัฐบาลใหม่จะพิจารณาเรื่องการปรับขึ้นราคาเอ็นจีวี
ส่วนการลงทุนในต่างประเทศนั้น จะเน้น 3 ธุรกิจหลัก คือ ธุรกิจถ่านหิน ที่อยู่ระหว่างการขยายการลงทุนในต่างประเทศนอกเหนือจากอินโดนีเซีย เช่น ประเทศบรูไน มาดากัสการ์ ออสเตรเลีย รวมถึงอยู่ระหว่างการเจรจาเพื่อเข้าไปซื้อกิจการเพิ่มเติม และโครงการโรงงานผลิตก๊าซธรรมชาติเหลวลอยน้ำ (FLNG) ที่ร่วมทุนกับ ปตท.สผ.ที่ออสเตรเลีย เพื่อนำก๊าซธรรมชาติเหลว (LNG) กลับมาจำหน่ายในไทย ส่วนการลงทุนในธุรกิจไฟฟ้า ส่วนใหญ่จะเป็นการลงทุนในประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งโรงไฟฟ้าพลังน้ำและถ่านหิน เพื่อขายไฟฟ้ากลับมาประเทศ โดยจะมุ่งการลงทุนไปยัง สปป.ลาว พม่า เป็นต้น
นายประเสริฐ กล่าวถึงการลงทุนของ ปตท.สผ.ว่า จากเป้าหมายของ ปตท.สผ.ที่จะผลิตปิโตรเลียมเพิ่มขึ้นจาก 3 แสนบาร์เรล/วัน เป็น 9 แสนบาร์เรล/วัน ในปี 2563 ทำให้ ปตท.สผ.ต้องมีการเข้าซื้อกิจการ (M&A) เพิ่มเติม ซึ่งเม็ดเงินที่ใช้ในการซื้อกิจการดังกล่าวนี้ยังไม่ได้รวมอยู่ในงบการลงทุนของเครือ ปตท.5 ปีข้างหน้า ซึ่งงบการลงทุนของ ปตท.สผ.กว่า 4 แสนล้านบาทนั้น ส่วนใหญ่เป็นการลงทุนในโครงการที่ชัดเจนอยู่แล้ว เพื่อรักษาระดับอัตราการผลิตปิโตรเลียมในอ่าวไทย โครงการ M9 โครงการมอนทาราที่ออสเตรเลีย โครงการที่เวียดนาม และออยล์แซนด์ ในแคนาดา
ส่วนงบการลงทุนในกลุ่มปิโตรเคมีและโรงกลั่น จะเน้นการลงทุนปรับปรุงคุณภาพน้ำมันให้ได้ตามมาตรฐานยุโรป 4 หรือ Euro4 และลงทุนในพลังงานทดแทน เช่น เอทานอล พลังงานแสงอาทิตย์ โดย บริษัท ไทยออยล์ จำกัด (มหาชน) จะขยายการลงทุนไปยังธุรกิจเอทานอลมากขึ้น บริษัท บางจากปิโตรเลียม จำกัด (มหาชน) ขยายการลงทุนในธุรกิจเอทานอลและโรงไฟฟ้าพลังแสงอาทิตย์
ด้านการลงทุนของ บริษัท ปตท. เคมิคอล จำกัด (มหาชน) และบริษัท ปตท.อะโรเมติกส์และการกลั่น จำกัด (มหาชน) อยู่ระหว่างขั้นตอนการควบรวมกิจการ เมื่อแล้วเสร็จจะมองโอกาสการลงทุนพิเศษในอนาคต อาทิ โครงการผลิตเม็ดพลาสติกเกรดพิเศษที่มีคุณภาพสูง และการผลิตที่มีผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมน้อย ส่วนบริษัท ไออาร์พีซี จำกัด (มหาชน) จะลงทุนตามแผนโครงการฟีนิกซ์ ซึ่งได้มีการอนุมัติโครงการลงทุนไปแล้วกว่า 85-90% โดยคาดว่าการลงทุนจะอนุมัติได้ครบในเร็วๆ นี้
ดังนั้น ผลการดำเนินงานในไตรมาส 2/2554 ปตท.คาดว่า มีกำไรสุทธิดีกว่าช่วงเดียวกันของปีก่อน ขณะที่ไตรมาสแรกมีกำไรสุทธิอยู่ที่ 3.45 หมื่นล้านบาท ทำให้ครึ่งปีแรกปตท.จะมีรายได้และกำไรสูงสุดเป็นประวัติการณ์ และทั้งปีหากราคาน้ำมันยังอยู่ในระดับนี้ ก็จะยังเป็นปีที่ดีอีกปีหนึ่ง โดยมียอดขายทะลุ 2.3-2.4 ล้านล้านบาท สูงขึ้นจากปีที่ผ่านมา 1.9 ล้านล้านบาท
*** วางแผนนำบริษัทลูกใน ตปท.เข้าตลาด
นายเทวินทร์ วงศ์วานิช ประธานเจ้าหน้าที่การเงิน บริษัท ปตท.จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า ธุรกิจถ่านหินนับเป็นธุรกิจใหม่ขอ งปตท.ที่มีแนวโน้มสร้างรายได้ที่ดี เนื่องจากมีปริมาณสำรองถ่านหินทั่วโลกกว่า 120 ปี ขณะที่น้ำมันมีปริมาณสำรองเหลือเพียง 40 ปี และก๊าชธรรมชาติเหลือเพียง 60 ปี รวมทั้งถ่านหินยังเป็นเชื้อเพลิงราคาถูกอีกด้วย ซึ่งเป้าหมายการลงทุนในธุรกิจถ่านหินของ ปตท.จะเพิ่มกำลังการผลิตเป็น 35-40 ล้านตัน ในปี 2558 และขยายเป็น 70 ล้านตันต่อปี ในปี 2563 โดยเน้นการขยายกิจการและขอสัมปทานใหม่ผ่านบริษัท ปตท.เอเชียแปซิฟิค ไมนิ่ง ที่มีเหมืองในอินโดนีเซีย ที่ปัจจุบันมีการผลิตถ่านหินกว่า 10 ล้านตันต่อปี และยังมีสัมปทานถ่านหินในบางประเทศ เช่น บรูไน เกาะมาดากัสการ์ และมองโกเลีย หากพบว่าพื้นที่สัมปทานถ่านหินมีศักยภาพก็พร้อมเข้าไปซื้อหุ้นเพิ่มในแหล่งสัมปทานเหมืองถ่านหินในบรูไน
เมื่อโครงการลงทุนต่างๆ ในต่างประเทศมีความเข้มแข็งขึ้น ปตท.มีแผนนำบริษัทเหล่านี้เข้าจดทะเบียนในตลาดหุ้นของประเทศนั้นๆ ทำให้บริษัทเหล่านี้สามารถระดมทุนเพื่อใช้ขยายธุรกิจโดยปตท.ไม่ต้องใส่เงินลงทุนเพิ่มเติม ส่วน ปตท.จะเข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ในประเทศอื่นนอกเหนือจากตลาดหลักทรัพย์ของไทยหรือไม่ ขณะนี้ยังอยู่ระหว่างการศึกษาความเหมาะสมก่อน
***** สิ้นปีนี้สรุปความเป็นไปได้ FLNG
นายจิตรพงษ์ กว้างสุขสถิตย์ ประธานกรรมการและรักษาการกรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท ปตท.อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวว่า กลุ่ม ปตท.วางแผนสร้างเรือผลิตก๊าซธรรมชาติเหลว(FLNG ) ที่ออสเตรเลีย ขนาดกำลังผลิต ประมาณ 2 ล้านตันต่อปี ในปี 2559 ใช้งบลงทุนไม่ต่ำกว่า 3,000 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยจากแหล่ง Cash&Maple คาดว่าในปลายปีนี้จะรู้ผลการสำรวจปริมาณสำรองปิโตรเลียม หากพบมีปริมาณสำรองก๊าซมากเพียงพอก็พร้อมที่จะเดินหน้าโครงการทันที
นายสมพร วงศ์วุฒิพรชัย ผู้ช่วยกรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มงานโครงการต่างประเทศ บริษัท ปตท.สำรวจและผลิต จำกัด (มหาชน) หรือ ปตท.สผ.กล่าวว่า การลงทุนในโครงการ FLNG ทำให้ไทยจัดหากก๊าซแอลเอ็นจีได้ในราคาถูกกว่าราคาแอลเอ็นจีในตลาดโลก ช่วยลดต้นทุนค่าเชื้อเพลิงในการผลิตไฟฟ้าในอนาคต
ทั้งนี้ ปริมาณความต้องการก๊าซแอลเอ็นจีในการผลิตไฟฟ้าของประเทศไทยมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นเป็น 10 ล้านตันต่อปีในระยะเวลา 5 ปีข้างหน้า จากปัจจุบันอยู่ที่ 5 ล้านตันต่อปี คาดว่าโครงการก่อสร้างเรือผลิตก๊าซแอลเอ็นจีจะใช้เวลาในการก่อสร้างประมาณ 3 ปี หลังจากที่ได้รับการอนุมัติจากบอร์ดแล้ว