พาณิชย์” เผย 3 เดือนแรก คู่ค้าไทยใช้มาตรการกีดกันสินค้าไทย ทั้งสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมรวม 24 รายการ เน้นคุมเข้มสารเคมีตกค้างในสินค้าเกษตรและอาหาร และจำกัดการใช้สารเคมีในสินค้าอุตสาหกรรม
นายสุรศักดิ์ เรียงเครือ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2554 (ม.ค.-มี.ค.) กรมฯ ได้ติดตามการใช้มาตรการทางการค้าที่มิใช่ภาษี (NTMs) ของประเทศคู่ค้าที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าไทย พบว่า มีการใช้มาตรการรวมทั้งสิ้น 24 มาตรการ โดยส่วนใหญ่เป็นมาตรการที่เน้นการตรวจเข้มสารตกค้างในสินค้าทั้งเกษตรและอุตสาหกรรม เพื่อสร้างความปลอดภัยของผู้บริโภค
ทั้งนี้ มาตรการ NTMs ที่ออกมาดังกล่าว เกี่ยวข้องกับสินค้าเกษตรและอาหาร 4 มาตรการ ได้แก่ 1.กฎหมายความปลอดภัยสินค้าอาหารฉบับปรับปรุงใหม่ของสหรัฐฯ (FDA Food Safety Modernization Act) ครอบคลุมอาหารทุกชนิด ยกเว้นเนื้อวัว หมู ไก่และไข่ โดย FDA จะระงับการจดทะเบียนโรงงานผลิต หากพบว่าอาหารที่นำเข้านั้นก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพผู้บริโภค 2.แคนาดา ได้แก้ไขเพิ่มเติมกฎระเบียบการรายงานเชื้อโรคและสุขอนามัยให้ครอบคลุมสัตว์น้ำ ผู้นำเข้า สัตวแพทย์ และผู้ตรวจทดสอบในห้องปฏิบัติการ
3.อียู เพิ่มความเข้มงวดการตรวจสอบสารตกค้าง แมลงศัตรูพืช และเชื้อจุลินทรีย์ในพืชและผลิตภัณฑ์ ส่งผลให้สินค้าผักของไทยได้รับผลกระทบ 5 หมวด 16 รายการ เช่น ถั่วฝักยาว มะเขือม่วง และผักตระกูลกะหล่ำ พริก และ 4.ฮ่องกง อยู่ระหว่างการพิจารณาปรับปรุงระเบียบนำเข้า Poultry Egg ให้รวมถึงไข่ของสัตว์ปีกที่มีเปลือกและปอกเปลือกแล้ว โดยต้องระบุข้อมูล ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขทะเบียนฟาร์มผู้ผลิตและโรงงานแปรรูป รวมทั้งข้อความว่าสินค้ามาจากเขตปลอดโรคไข้หวัดนก
นอกจากนี้ หากแยกเป็นรายประเทศ พบว่า อียูได้มีการออกมาตรการเข้มงวดมากที่สุดถึง 11 มาตรการ ในจำนวนนี้อิตาลีและอังกฤษออกมาตรการเข้มงวดกว่าระเบียบของอียู ในการบังคับติดฉลากแสดงแหล่งกำเนิดสินค้าอาหารทุกประเภท ขณะที่อียูบังคับเฉพาะผัก ผลไม้ ไข่ น้ำผึ้ง นมสด น้ำมันโอลีฟ และเนื้อวัวเท่านั้น และอังกฤษเอง โดยสมาคมผู้ค้าปลีกได้ออกมาตรฐาน BRC Issue 4 เน้นการลดความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายของสารเคมีจากวัสดุบรรจุภัณฑ์สู่อาหาร
ขณะที่ สหรัฐฯ มี 3 มาตรการ โดยหลายมลรัฐในสหรัฐฯ เช่น นิวยอร์ก อิลลินอยส์ วิสคอนซิน มินเนโซตา แมรีแลนด์ แมสซาชูเซตส์ คอนเนคติคัต และวอชิงตัน ได้ออกระเบียบห้ามใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อเด็กและสิ่งแวดล้อมในการผลิตภาชนะบรรจุอาหารและเครื่องดื่ม โดยเฉพาะสำหรับเด็กทารก เช่น สาร Bisphenol A (BPA) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง ภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นหนุ่มสาวเร็วเกินไป โรคเบาหวาน และไฮเปอร์ สารแคดเมียม ที่มีผลต่อไตและกระดูก สารเคมีที่เป็นพิษต่อระบบประสาทและระบบสืบพันธุ์ ตับ ระบบเลือดและ สมอง เป็นต้น
ส่วนประเทศอื่นๆ เช่น แคนาดา ออกระเบียบเข้มงวดการใช้สารตะกั่วในผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก สีและสารที่ใช้เคลือบผลิตภัณฑ์ มาเลเซียออกระเบียบการติดฉลาก 3P (Penggredan-คุณภาพ Pembungkusan-การบรรจุ Pelabelan-การติดฉลาก) ในสินค้าพืช ผักและผลไม้ ออสเตรเลียออกประกาศห้ามจำหน่ายสินค้าที่มีลักษณะเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคเป็นการถาวร เช่น ของเล่นที่มีสาร Phthalate (DEHP) เกิน 1% ไฟแช็กที่มีลักษณะเหมือนของเล่น เป็นต้น ทั้งนี้ ยังมีการออกมาตรฐานสิ่งทอฉบับใหม่ของจีนด้วย
นายสุรศักดิ์ เรียงเครือ รองอธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เปิดเผยว่า ในช่วง 3 เดือนแรกของปี 2554 (ม.ค.-มี.ค.) กรมฯ ได้ติดตามการใช้มาตรการทางการค้าที่มิใช่ภาษี (NTMs) ของประเทศคู่ค้าที่ส่งผลกระทบต่อการส่งออกสินค้าไทย พบว่า มีการใช้มาตรการรวมทั้งสิ้น 24 มาตรการ โดยส่วนใหญ่เป็นมาตรการที่เน้นการตรวจเข้มสารตกค้างในสินค้าทั้งเกษตรและอุตสาหกรรม เพื่อสร้างความปลอดภัยของผู้บริโภค
ทั้งนี้ มาตรการ NTMs ที่ออกมาดังกล่าว เกี่ยวข้องกับสินค้าเกษตรและอาหาร 4 มาตรการ ได้แก่ 1.กฎหมายความปลอดภัยสินค้าอาหารฉบับปรับปรุงใหม่ของสหรัฐฯ (FDA Food Safety Modernization Act) ครอบคลุมอาหารทุกชนิด ยกเว้นเนื้อวัว หมู ไก่และไข่ โดย FDA จะระงับการจดทะเบียนโรงงานผลิต หากพบว่าอาหารที่นำเข้านั้นก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพผู้บริโภค 2.แคนาดา ได้แก้ไขเพิ่มเติมกฎระเบียบการรายงานเชื้อโรคและสุขอนามัยให้ครอบคลุมสัตว์น้ำ ผู้นำเข้า สัตวแพทย์ และผู้ตรวจทดสอบในห้องปฏิบัติการ
3.อียู เพิ่มความเข้มงวดการตรวจสอบสารตกค้าง แมลงศัตรูพืช และเชื้อจุลินทรีย์ในพืชและผลิตภัณฑ์ ส่งผลให้สินค้าผักของไทยได้รับผลกระทบ 5 หมวด 16 รายการ เช่น ถั่วฝักยาว มะเขือม่วง และผักตระกูลกะหล่ำ พริก และ 4.ฮ่องกง อยู่ระหว่างการพิจารณาปรับปรุงระเบียบนำเข้า Poultry Egg ให้รวมถึงไข่ของสัตว์ปีกที่มีเปลือกและปอกเปลือกแล้ว โดยต้องระบุข้อมูล ชื่อ ที่อยู่ หมายเลขทะเบียนฟาร์มผู้ผลิตและโรงงานแปรรูป รวมทั้งข้อความว่าสินค้ามาจากเขตปลอดโรคไข้หวัดนก
นอกจากนี้ หากแยกเป็นรายประเทศ พบว่า อียูได้มีการออกมาตรการเข้มงวดมากที่สุดถึง 11 มาตรการ ในจำนวนนี้อิตาลีและอังกฤษออกมาตรการเข้มงวดกว่าระเบียบของอียู ในการบังคับติดฉลากแสดงแหล่งกำเนิดสินค้าอาหารทุกประเภท ขณะที่อียูบังคับเฉพาะผัก ผลไม้ ไข่ น้ำผึ้ง นมสด น้ำมันโอลีฟ และเนื้อวัวเท่านั้น และอังกฤษเอง โดยสมาคมผู้ค้าปลีกได้ออกมาตรฐาน BRC Issue 4 เน้นการลดความเสี่ยงต่อการแพร่กระจายของสารเคมีจากวัสดุบรรจุภัณฑ์สู่อาหาร
ขณะที่ สหรัฐฯ มี 3 มาตรการ โดยหลายมลรัฐในสหรัฐฯ เช่น นิวยอร์ก อิลลินอยส์ วิสคอนซิน มินเนโซตา แมรีแลนด์ แมสซาชูเซตส์ คอนเนคติคัต และวอชิงตัน ได้ออกระเบียบห้ามใช้สารเคมีที่เป็นอันตรายต่อเด็กและสิ่งแวดล้อมในการผลิตภาชนะบรรจุอาหารและเครื่องดื่ม โดยเฉพาะสำหรับเด็กทารก เช่น สาร Bisphenol A (BPA) ซึ่งเป็นสารก่อมะเร็ง ภูมิคุ้มกันบกพร่อง เป็นหนุ่มสาวเร็วเกินไป โรคเบาหวาน และไฮเปอร์ สารแคดเมียม ที่มีผลต่อไตและกระดูก สารเคมีที่เป็นพิษต่อระบบประสาทและระบบสืบพันธุ์ ตับ ระบบเลือดและ สมอง เป็นต้น
ส่วนประเทศอื่นๆ เช่น แคนาดา ออกระเบียบเข้มงวดการใช้สารตะกั่วในผลิตภัณฑ์สำหรับเด็ก สีและสารที่ใช้เคลือบผลิตภัณฑ์ มาเลเซียออกระเบียบการติดฉลาก 3P (Penggredan-คุณภาพ Pembungkusan-การบรรจุ Pelabelan-การติดฉลาก) ในสินค้าพืช ผักและผลไม้ ออสเตรเลียออกประกาศห้ามจำหน่ายสินค้าที่มีลักษณะเป็นอันตรายต่อผู้บริโภคเป็นการถาวร เช่น ของเล่นที่มีสาร Phthalate (DEHP) เกิน 1% ไฟแช็กที่มีลักษณะเหมือนของเล่น เป็นต้น ทั้งนี้ ยังมีการออกมาตรฐานสิ่งทอฉบับใหม่ของจีนด้วย