กรมการท่องเที่ยว แก้เกมเสนอรัฐตั้งเงินชดเชยกองถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย หลังหมดลุ้นขอเลิกภาษี VAT ล่าสุด เตรียมตั้งคณะทำงานพิจารณาร่างกฎเกณฑ์ เพื่อกำหนดเงื่อนไข ก่อนนำเข้า ครม.พิจารณา แย้มเบื้องต้นขอนำร่องชดเชย 5%
น.ส.วรรณสิริ โมรากุล ผู้อำนวยการกองกิจการภาพยนตร์ กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า เตรียมตั้งคณะทำงานพิจารณาการร่างกฎเกณฑ์การให้เงินชดเชยกองถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศที่เข้ามาถ่ายทำในประเทศไทย ซึ่งจะประกอบด้วย ตัวแทนจากภาพส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งรัฐและเอกชน ได้แก่ กรมการท่องเที่ยว
สมาคมผู้สนับสนุนภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย สำนักงบประมาณ เป็นต้น โดยคณะทำงาน จะมีหน้าที่ร่างกฎระเบียบเพื่อใช้เป็นเงื่อนไขให้กองถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย ที่ต้องการขอเงินชดเชย ให้มีความรอบคอบและรัดกุมมากที่สุด
ทั้งนี้ สืบเนื่องมาจากการที่ กองกิจการภาพยนตร์ ได้ยื่นเสนอขออินเซนทีฟ ให้แก่กองถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศที่เข้ามาถ่ายทำในประเทศไทย เพื่อใช้เป็นแรงจูงใจ ซึ่งได้นำเสนอขอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ไปหลายข้อรวมถึงการขอให้ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) 7% ให้แก่กองถ่ายทำด้วย แต่ล่าสุด มติ ครม.เห็นชอบเมื่องวันที่ 12 เม.ย.ที่ผ่านมา เพียงประเด็นเดียงคือ การยกเว้นภาษีนักแสดง ซึ่งจะเริ่มมีผลบังคับใช้ราวปลายเดือน เม.ย.54 - ธ.ค. 58
**ขอตั้งงบชดเชยให้กองถ่ายฯ***
ส่วนประเด็นการขอคืน กรมสรรพากร ให้เหตุผลว่า ไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากเกรงว่า จะกระทบกับโครงสร้างภาษีและจะไม่เป็นการยุติกรรมกับธุรกิจอื่นๆ ที่ต้องเสียภาษีเช่นกัน จึงแนะนำให้ กรมการท่องเที่ยว และสำนักงบประมาณ ไปหาทางออกด้วยการ ตั้งเป็นงบเพื่อชดเชยให้กับกองถ่ายทำภาพยนตร์ โดยให้นำใบเสร็จการใช้จ่ายเงินที่เกิดขึ้นในประเทศไทย มายื่นขอเป็นเงินชดเชยค่าใช้จ่ายในบางส่วนให้ เบื้องต้นคาดว่าจะเสนอชดเชยเงินให้ 5% ของยอดค่าใช้จ่าย
“เราต้องมาหารือร่วมกัน ร่างเป็นเงื่อนไขการขอเงินชดเชยให้มีความยุติธรรม เช่น ต้องเป็นใบเสร็จจากสถานประกอบการที่ถูกกฎหมาย ทั้งโรงแรมที่พัก บริษัทผู้ให้บริการเพื่อต้องการให้เงินเข้าสู่ระบบอย่างแท้จริง ส่วนงบประมาณที่จะใช้ชดเชย สำนักงบประมาณจะตั้งเป็นงบพิเศษให้เพื่อใช้สำหรับโครงการนี้โดยเฉพาะ โดยกระบวนการทั้งหม ต้องนำเสนอ ครม.เพื่อพิจารณาอนุมัติก่อนประกาศใช้ ซึ่งถ้าอุตสาหกรรมสามารถสร้างรายได้เข้าประเทศได้ 2 พันล้านบาท ก็ตั้งงบ 5% ของ 2 พันล้านบาท โดยเป็นตัวเลขที่น้อยเมื่อเทียบกับประเทศอื่นที่จะมีชื่อเรียกต่างกันไป เช่น สิงคโปร์ เรียกว่า ขอคืนทุนให้คืน 20% เป็นต้น”
**มีลุ้นได้หนังใหญ่จากยูนิเวอร์แซล***
ผู้อำนวยการกองกิจการภาพยนตร์ กล่าวอีกว่า ล่าสุด บริษัทยูนิเวอร์แซล ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เชิญทางกองกิจการภาพยนตร์ ไปให้ข้อมูล เรื่องความพร้อมของประเทศไทย เช่น อำนวยความสะดวกและโลเกชั่น ซึ่งเมื่อปีก่อนก็ได้ไปให้ข้อมูลบริษัทวอนเนอร์ ทำให้มีหนังฟอร์มใหญ่เข้ามาถ่ายทำเรื่อง แฮงโอเวอร์ ทุนสร้างกว่า 1 พันล้านบาท
สำหรับมาตรการยกเว้นค่าธรรมเนียมถ่ายทำภาพยนตร์ในพื้นที่ของส่วนราชการ 7 หน่วยงาน เช่น กรมอุทยาแห่งชาติ, กรมป่าไม้, กรมชลประทาน, กรมศิลปากร, กรมธนารักษ์, การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 1 ปี คือ ปี 54 ได้รับกระแสตอบรับจากกองถ่ายทำภาพยนตร์ต่างชาติดีมากอาจขอให้รัฐบาลต่ออายุมาตรการอีกในอนาคต แต่เปลี่ยนจากการยกเว้นค่าธรรมเนียม เป็นการลดค่าธรรมเนียมแทน
***วอนรัฐปราบเหลือบรีดไถ่***
ทางด้านแหล่งข่าวจากวงการผลิตภาพยนตร์ต่างประเทศในไทย กล่าวว่า ต้องการให้รัฐบาลช่วยลดปัญหาจากค่าใช้จ่ายปลีกย่อย ที่เกิดจากกลุ่มผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่นที่เข้าไปถ่ายทำภาพยนตร์ เพราะที่ผ่านมากองถ่ายทำแม้จะเสียค่าดำเนินงาน ตามเงื่อนไขอย่างถูกกฎหมายแล้ว แต่ก็ยังถูกเรียกเก็บเงินจากพื้นที่ที่ถ่ายทำ เช่น ค่าจอดรถในบริเวณใกล้เคียงสถานที่ราชการกับกองถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศที่เข้าไปใช้ ซึ่งกองถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศ ไม่เข้าใจว่าทำไมต้องเสียค่าใช้จ่ายปลีกย่อยและไม่มีใบเสร็จเช่นนี้ด้วย ซึ่งหากปล่อยให้มีมากขึ้นจะส่งผลเสียกับภาพลักษณ์ของประเทศไทย
นอกจากนั้น ยังต้องการให้รัฐแก้ไขระเบียการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการใช้สถานที่ราชการเพื่อถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศ ของบางหน่วยงาน ที่แพงเกินจริง เช่น ท่าอากาศยานไทย ที่คิดค่าธรรมเนียมใช้สถานที่เป็นรายชั่วโมง ซึ่งการถ่ายทำต้องใช้เวลาเป็นวันไม่ใช่เป็นชั่วโมง หรือบางหน่วยงานขึ้นราคาค่าธรรมเนียมการใช้สถานที่มากแบบไม่มีเหตุผล หากรัฐสะสางปัญหาที่กล่าวมาให้ลดลงหรือหมดไปได้ มั่นใจจะช่วยให้กองถ่ายหนังต่างประเทศสนใจเข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์ในประเทศไทยมากขึ้น
น.ส.วรรณสิริ โมรากุล ผู้อำนวยการกองกิจการภาพยนตร์ กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า เตรียมตั้งคณะทำงานพิจารณาการร่างกฎเกณฑ์การให้เงินชดเชยกองถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศที่เข้ามาถ่ายทำในประเทศไทย ซึ่งจะประกอบด้วย ตัวแทนจากภาพส่วนต่างๆ ที่เกี่ยวข้องทั้งรัฐและเอกชน ได้แก่ กรมการท่องเที่ยว
สมาคมผู้สนับสนุนภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย สำนักงบประมาณ เป็นต้น โดยคณะทำงาน จะมีหน้าที่ร่างกฎระเบียบเพื่อใช้เป็นเงื่อนไขให้กองถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศในประเทศไทย ที่ต้องการขอเงินชดเชย ให้มีความรอบคอบและรัดกุมมากที่สุด
ทั้งนี้ สืบเนื่องมาจากการที่ กองกิจการภาพยนตร์ ได้ยื่นเสนอขออินเซนทีฟ ให้แก่กองถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศที่เข้ามาถ่ายทำในประเทศไทย เพื่อใช้เป็นแรงจูงใจ ซึ่งได้นำเสนอขอต่อคณะรัฐมนตรี (ครม.) ไปหลายข้อรวมถึงการขอให้ยกเว้นภาษีมูลค่าเพิ่ม (VAT) 7% ให้แก่กองถ่ายทำด้วย แต่ล่าสุด มติ ครม.เห็นชอบเมื่องวันที่ 12 เม.ย.ที่ผ่านมา เพียงประเด็นเดียงคือ การยกเว้นภาษีนักแสดง ซึ่งจะเริ่มมีผลบังคับใช้ราวปลายเดือน เม.ย.54 - ธ.ค. 58
**ขอตั้งงบชดเชยให้กองถ่ายฯ***
ส่วนประเด็นการขอคืน กรมสรรพากร ให้เหตุผลว่า ไม่สามารถดำเนินการได้ เนื่องจากเกรงว่า จะกระทบกับโครงสร้างภาษีและจะไม่เป็นการยุติกรรมกับธุรกิจอื่นๆ ที่ต้องเสียภาษีเช่นกัน จึงแนะนำให้ กรมการท่องเที่ยว และสำนักงบประมาณ ไปหาทางออกด้วยการ ตั้งเป็นงบเพื่อชดเชยให้กับกองถ่ายทำภาพยนตร์ โดยให้นำใบเสร็จการใช้จ่ายเงินที่เกิดขึ้นในประเทศไทย มายื่นขอเป็นเงินชดเชยค่าใช้จ่ายในบางส่วนให้ เบื้องต้นคาดว่าจะเสนอชดเชยเงินให้ 5% ของยอดค่าใช้จ่าย
“เราต้องมาหารือร่วมกัน ร่างเป็นเงื่อนไขการขอเงินชดเชยให้มีความยุติธรรม เช่น ต้องเป็นใบเสร็จจากสถานประกอบการที่ถูกกฎหมาย ทั้งโรงแรมที่พัก บริษัทผู้ให้บริการเพื่อต้องการให้เงินเข้าสู่ระบบอย่างแท้จริง ส่วนงบประมาณที่จะใช้ชดเชย สำนักงบประมาณจะตั้งเป็นงบพิเศษให้เพื่อใช้สำหรับโครงการนี้โดยเฉพาะ โดยกระบวนการทั้งหม ต้องนำเสนอ ครม.เพื่อพิจารณาอนุมัติก่อนประกาศใช้ ซึ่งถ้าอุตสาหกรรมสามารถสร้างรายได้เข้าประเทศได้ 2 พันล้านบาท ก็ตั้งงบ 5% ของ 2 พันล้านบาท โดยเป็นตัวเลขที่น้อยเมื่อเทียบกับประเทศอื่นที่จะมีชื่อเรียกต่างกันไป เช่น สิงคโปร์ เรียกว่า ขอคืนทุนให้คืน 20% เป็นต้น”
**มีลุ้นได้หนังใหญ่จากยูนิเวอร์แซล***
ผู้อำนวยการกองกิจการภาพยนตร์ กล่าวอีกว่า ล่าสุด บริษัทยูนิเวอร์แซล ประเทศสหรัฐอเมริกา ได้เชิญทางกองกิจการภาพยนตร์ ไปให้ข้อมูล เรื่องความพร้อมของประเทศไทย เช่น อำนวยความสะดวกและโลเกชั่น ซึ่งเมื่อปีก่อนก็ได้ไปให้ข้อมูลบริษัทวอนเนอร์ ทำให้มีหนังฟอร์มใหญ่เข้ามาถ่ายทำเรื่อง แฮงโอเวอร์ ทุนสร้างกว่า 1 พันล้านบาท
สำหรับมาตรการยกเว้นค่าธรรมเนียมถ่ายทำภาพยนตร์ในพื้นที่ของส่วนราชการ 7 หน่วยงาน เช่น กรมอุทยาแห่งชาติ, กรมป่าไม้, กรมชลประทาน, กรมศิลปากร, กรมธนารักษ์, การรถไฟแห่งประเทศไทย (ร.ฟ.ท.) และการท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ 1 ปี คือ ปี 54 ได้รับกระแสตอบรับจากกองถ่ายทำภาพยนตร์ต่างชาติดีมากอาจขอให้รัฐบาลต่ออายุมาตรการอีกในอนาคต แต่เปลี่ยนจากการยกเว้นค่าธรรมเนียม เป็นการลดค่าธรรมเนียมแทน
***วอนรัฐปราบเหลือบรีดไถ่***
ทางด้านแหล่งข่าวจากวงการผลิตภาพยนตร์ต่างประเทศในไทย กล่าวว่า ต้องการให้รัฐบาลช่วยลดปัญหาจากค่าใช้จ่ายปลีกย่อย ที่เกิดจากกลุ่มผู้มีอิทธิพลในท้องถิ่นที่เข้าไปถ่ายทำภาพยนตร์ เพราะที่ผ่านมากองถ่ายทำแม้จะเสียค่าดำเนินงาน ตามเงื่อนไขอย่างถูกกฎหมายแล้ว แต่ก็ยังถูกเรียกเก็บเงินจากพื้นที่ที่ถ่ายทำ เช่น ค่าจอดรถในบริเวณใกล้เคียงสถานที่ราชการกับกองถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศที่เข้าไปใช้ ซึ่งกองถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศ ไม่เข้าใจว่าทำไมต้องเสียค่าใช้จ่ายปลีกย่อยและไม่มีใบเสร็จเช่นนี้ด้วย ซึ่งหากปล่อยให้มีมากขึ้นจะส่งผลเสียกับภาพลักษณ์ของประเทศไทย
นอกจากนั้น ยังต้องการให้รัฐแก้ไขระเบียการเรียกเก็บค่าธรรมเนียมการใช้สถานที่ราชการเพื่อถ่ายทำภาพยนตร์ต่างประเทศ ของบางหน่วยงาน ที่แพงเกินจริง เช่น ท่าอากาศยานไทย ที่คิดค่าธรรมเนียมใช้สถานที่เป็นรายชั่วโมง ซึ่งการถ่ายทำต้องใช้เวลาเป็นวันไม่ใช่เป็นชั่วโมง หรือบางหน่วยงานขึ้นราคาค่าธรรมเนียมการใช้สถานที่มากแบบไม่มีเหตุผล หากรัฐสะสางปัญหาที่กล่าวมาให้ลดลงหรือหมดไปได้ มั่นใจจะช่วยให้กองถ่ายหนังต่างประเทศสนใจเข้ามาถ่ายทำภาพยนตร์ในประเทศไทยมากขึ้น