สำนักพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ตื้อของบปี 55 เพิ่มเป็น 890 ล้านบาท เสนอ ครม.สัปดาห์นี้ ยัน ต้องทำงานให้ทันในกรอบแผน 3 ปี ไม่เช่นนั้นจะต้องล่าช้าออกไปเป็น 5 ปี ไม่ทันรับมือเสรีอาเซียน อาจทำไทยเสียโอกาสทางการแข่งขัน พร้อมโชว์เหตุผล ท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมสร้างรายได้หลักต่อปีเกือบ 7 แสนล้านบาท
นายอนุภาพ เกษรสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า ได้ส่งเรื่องถึงกรมการท่องเที่ยว ขอเพิ่มกรอบวงเงินงบประมาณประจำปี 2555 เป็น 890 ล้านบาท จากที่ คณะรัฐมนตรีอนุมัติกรอบวงเงินมาให้เพียง 600 ล้านบาท จากกรอบวงเงินที่เสนอขอไปครั้งแรกที่ 1,500 ล้านบาท คาดว่า ทางกระทรวงการท่องเที่ยวฯจะนำเสนอให้ ครม.พิจารณาภายในสัปดาห์นี้
ทั้งนี้ สาเหตุที่ต้องของบเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวจากปี 2554 ที่ได้รับจัดสรรงบประมาณอยู่ที่ 400 ล้านบาทเศษ ก็เพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ตามที่ทางสำนักฯได้จัดทำไว้ว่าจากการสำรวจแหล่งท่องเที่ยว และ ความจำเป็นในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเกือบ 200 แห่ง ทั่วประเทศในระยะเวลาดำเนินงาน 3 ปี นับจากปีงบประมาณ 2555-2557 จะได้ทันต่อการเติบโตของจำนวนนักท่องเที่ยว และ ทันกับการแข่งขันที่จะเกิดขึ้นภายหลังการเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียน ซึ่งการได้งบประมาณในวงเงินจำกัด จะมีผลทำให้แผนดำเนิงานที่วางไว้จะล่าช้าออกไปอีกเกือบ เท่าตัว หรือ ต้องใช้เวลาดำเนินงานเป็น 4-5 ปี
สำหรับเหตุผลและความจำเป็น ที่ สำนักฯ ยังยืนยัน ที่จะขอเพิ่มวงเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรร จาก 600 ล้านบาท เป็น 890 ล้านบาท มาจากการคำนวนการเติบโตของเศรษฐกิจประเทศ ที่มาจากรายได้การท่องเที่ยวเป็นหลัก โดยอุตสาหกรรมท่องเที่ยว สามารถสร้างเม็ดเงินเข้าสู่ประเทศได้ราวปีละ 6-7 แสนล้านบาท ดังนั้น รัฐบาลควรให้ความสำคัญของการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวควบคู่ไปกับรายได้และจำนวนนักท่องเที่ยวที่เติบโต ซึ่ง โครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ที่เสนอขอไปนั้น เป็นโครงการที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช. ทั้งสิ้น คือเป็นแหล่งท่องเที่ยวในแผนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวใน 8 คลัสเตอร์ ทั่วประเทศ เช่น โครงการรอยัลโคสต์ โครงการภาคเหนือตอนบท อารยธรรมล้านนา เป็นต้น
“เหตุผลที่รัฐต้องปรับลดวงเงิน เพราะมีเงินงบประมาณอยู่จำกัด ต้องจัดสรรให้ทุกกระทรวง โดยท่องเที่ยวยังถูกมองว่าเป็นกระทรวงเล็ก จึงอาจให้ความสำคัญน้อยกว่ากระทรวงขนาดใหญ่ ขณะที่สำนักงบประมาณ ก็คิดจากฐานปีก่อน ซึ่งจะปรับเพิ่มได้ราว 20% ซึ่งการได้งบจำกัด ก็ถือเป็นปัญหาและอุปสรรค ในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ตามแผนงานที่วางไว้ และถ้างานล่าช้า ก็จะทำให้ไทยสูญเสียโอกาสทางการแข่งขันภายหลังเปิดเสรีอาเซียน”
อย่างไรก็ตาม สำนักพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว จะเน้นการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ในส่วนของพื้นที่ที่ไม่มีเจ้าภาพ คือ ไม่ทับซ้อนกับ พื้นที่ในความดูแลของกระทรวงอื่นๆ และพื้นที่ดูแลของจังหวัดหรือชุมชน
นายอนุภาพ เกษรสุวรรณ ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว กรมการท่องเที่ยว กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา เปิดเผยว่า ได้ส่งเรื่องถึงกรมการท่องเที่ยว ขอเพิ่มกรอบวงเงินงบประมาณประจำปี 2555 เป็น 890 ล้านบาท จากที่ คณะรัฐมนตรีอนุมัติกรอบวงเงินมาให้เพียง 600 ล้านบาท จากกรอบวงเงินที่เสนอขอไปครั้งแรกที่ 1,500 ล้านบาท คาดว่า ทางกระทรวงการท่องเที่ยวฯจะนำเสนอให้ ครม.พิจารณาภายในสัปดาห์นี้
ทั้งนี้ สาเหตุที่ต้องของบเพิ่มขึ้นกว่าเท่าตัวจากปี 2554 ที่ได้รับจัดสรรงบประมาณอยู่ที่ 400 ล้านบาทเศษ ก็เพื่อให้สอดคล้องกับแผนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ตามที่ทางสำนักฯได้จัดทำไว้ว่าจากการสำรวจแหล่งท่องเที่ยว และ ความจำเป็นในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวเกือบ 200 แห่ง ทั่วประเทศในระยะเวลาดำเนินงาน 3 ปี นับจากปีงบประมาณ 2555-2557 จะได้ทันต่อการเติบโตของจำนวนนักท่องเที่ยว และ ทันกับการแข่งขันที่จะเกิดขึ้นภายหลังการเปิดเขตการค้าเสรีอาเซียน ซึ่งการได้งบประมาณในวงเงินจำกัด จะมีผลทำให้แผนดำเนิงานที่วางไว้จะล่าช้าออกไปอีกเกือบ เท่าตัว หรือ ต้องใช้เวลาดำเนินงานเป็น 4-5 ปี
สำหรับเหตุผลและความจำเป็น ที่ สำนักฯ ยังยืนยัน ที่จะขอเพิ่มวงเงินงบประมาณที่ได้รับจัดสรร จาก 600 ล้านบาท เป็น 890 ล้านบาท มาจากการคำนวนการเติบโตของเศรษฐกิจประเทศ ที่มาจากรายได้การท่องเที่ยวเป็นหลัก โดยอุตสาหกรรมท่องเที่ยว สามารถสร้างเม็ดเงินเข้าสู่ประเทศได้ราวปีละ 6-7 แสนล้านบาท ดังนั้น รัฐบาลควรให้ความสำคัญของการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวควบคู่ไปกับรายได้และจำนวนนักท่องเที่ยวที่เติบโต ซึ่ง โครงการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ที่เสนอขอไปนั้น เป็นโครงการที่ได้รับความเห็นชอบจากสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ หรือ สศช. ทั้งสิ้น คือเป็นแหล่งท่องเที่ยวในแผนพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวใน 8 คลัสเตอร์ ทั่วประเทศ เช่น โครงการรอยัลโคสต์ โครงการภาคเหนือตอนบท อารยธรรมล้านนา เป็นต้น
“เหตุผลที่รัฐต้องปรับลดวงเงิน เพราะมีเงินงบประมาณอยู่จำกัด ต้องจัดสรรให้ทุกกระทรวง โดยท่องเที่ยวยังถูกมองว่าเป็นกระทรวงเล็ก จึงอาจให้ความสำคัญน้อยกว่ากระทรวงขนาดใหญ่ ขณะที่สำนักงบประมาณ ก็คิดจากฐานปีก่อน ซึ่งจะปรับเพิ่มได้ราว 20% ซึ่งการได้งบจำกัด ก็ถือเป็นปัญหาและอุปสรรค ในการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ตามแผนงานที่วางไว้ และถ้างานล่าช้า ก็จะทำให้ไทยสูญเสียโอกาสทางการแข่งขันภายหลังเปิดเสรีอาเซียน”
อย่างไรก็ตาม สำนักพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว จะเน้นการพัฒนาแหล่งท่องเที่ยว ในส่วนของพื้นที่ที่ไม่มีเจ้าภาพ คือ ไม่ทับซ้อนกับ พื้นที่ในความดูแลของกระทรวงอื่นๆ และพื้นที่ดูแลของจังหวัดหรือชุมชน