“คมนาคม” เตรียมโละจุดจอดรถตู้อนุสาวรีย์และอีกหลายจุดใน กทม.ระบุ เพื่อแก้ปัญหาจราจร เล็งจุดใหม่ จตุจักร, สายใต้และเอกมัย จุดจอดหลักทั้งรถตู้ บขส.และรถตู้ ขสมก.เดินหน้าจัดระเบียบ กวาดล้างรถเถื่อน สั่ง บขส., ขสมก.ทำแผนเชื่อมเส้นทางเน้นประชาชนต้องสะดวก ด้าน “โสภณ” ดีเดย์เปิดศูนย์ปลอดภัยรับสงกรานต์แห่งแรกที่ “ลำตะคอง”
นายประกิต พลเดช ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานกรรมการอำนวยการคณะกรรมการจัดระเบียบและแก้ปัญหารถยนต์โดยสารสาธารณะ (รถตู้) เปิดเผยภายหลังการประชุม วานนี้ (10 ก.พ.) ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องจุดจอดรถตู้โดยสารซึ่งจะต้องมีการกำหนดใหม่เพื่อแก้ปัญหาจราจร เนื่องจากมีการจอดบนผิวจราจรจำนวนมาก โดยมีมติให้ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) ไปทำรายละเอียดที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมากำหนดจุดจอดรถที่เหมาะสมร่วมกันโดยจะต้องมีการเชื่อมโยงการเดินทางเพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกมากที่สุด โดยคณะกรรมการจะประชุมเพื่อสรุปเรื่องนี้อีกครั้งในวันที่ 17 ก.พ.นี้ โดยจากข้อมูล ขณะนี้มีรถตู้โดยสารที่จดทะเบียนถูกต้องประมาณ 9,000 คัน แบ่งเป็นรถตู้ ขสมก.จำนวน 5,788 คัน 127 เส้นทาง รถตู้ บขส.จำนวน 3,476 คัน 59 เส้นทาง โดยที่ประชุมเห็นว่า รถตู้ บขส.ซึ่งวิ่งในเส้นทาง กทม.-ต่างจังหวัดนั้น จะต้องกำหนดจุดต้นทางและปลายทาง โดยไม่อนุญาตให้หยุดรับ-ส่งระหว่างทาง ซึ่งเบื้องต้นจุดจอดที่เหมาะสมสำหรับสายเหนือ คือ ที่จตุจักรสายตะวันตกและสายใต้ คือ สายใต้ใหม่ ส่วนสายตะวันออกคือเอกมัย ซึ่งจุดจอดดังกล่าวจะรวมถึงรถตู้ขสมก.ด้วย โดยจะพิจารณาจำนวนรถและขนาดพื้นที่อีกครั้ง ก่อนตัดสินใจ
นายประกิต กล่าวว่า บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิปัจจุบันเป็นจุดจอดรถตู้ทั้งสายต่างจังหวัดและรถตู้ขสมก.จำนวนมาก และกลายเป็นปัญหาจราจร ซึ่งหลักการเห็นว่า ไม่ควรมีการจอดรถตู้บริเวณดังกล่าว หรือหากจะมีก็อาจจะเหลือเพียงรถตู้ ขสมก.บางส่วนเท่านั้นส่วนรถตู้ต่างจังหวัดจะต้องออกไปจอดตามจุดที่กำหนดส่วนที่บริเวณห้างพาต้า, สะพานปิ่นเกล้า และถนนราชดำเนินจะยกเลิกการจอดทั้งหมด
“เป้าหมายในการกำหนดจุดจอดรถตู้ คือ เพื่อแก้ปัญหาจราจร โดยเฉพาะในจุดที่สำคัญเช่นอนุสาวรีย์ ซึ่งยอมรับว่า จะต้องลงพื้นที่ก่อนเริ่มมาตรการและต้องทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการด้วย นอกจากนี้การจัดระเบียบจะทำให้จัดการกับรถตู้เถื่อนได้อย่างเด็ดขาดด้วย” นายประกิต กล่าว
อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้จะต้องใช้มาตรการเข้มงวดกรณีรถตู้ บขส.จอดรับส่งผู้โดยสารระหว่างทางและหากฝ่าฝืนและถูกตักเตือนเป็นครั้ง 2-3 จะถูกเลิกสัญญาเดินรถทันที เพราะถือว่า ที่ผ่านมาผ่อนผันให้มากแล้วเนื่องจากเป็นการวิ่งทับเส้นทางรถ บขส.และรถร่วม บขส.ที่ได้รับสัมปทานถูกต้อง โดยคณะกรรมการจัดระเบียบและแก้ปัญหารถตู้ฯ มีหน้าที่ในการแก้ปัญหา 3 เรื่อง คือ 1.ที่จอดรถ 2.กฎระเบียบและข้อกฎหมายต่างๆ และ 3.ความปลอดภัยของผู้โดยสาร
***“โสภณ” ดีเดย์เปิดศูนย์ปลอดภัยรับสงกรานต์
นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ก่อนเทศกาลสงกรานต์ปีนี้จะมีการเปิดความปลอดภัยถาวรแห่งแรกเส้นทางตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณลำตะคอง และจะเปิดให้ครบ 4 แห่ง ภายในเดือน เม.ย.นี้ โดยเป้าหมายจะมีศูนย์ปลอดภัยครอบคลุมเส้นทางสายเหนือ,อีสานและใต้ แต่ละศูนย์ห่างกันประมาณ 250-300 กิโลเมตร ซึ่งภายในศูนย์ปลอดภัยจะมีจุดให้บริการตรวจเช็ครถโดยสารสาธารณะและจุดพักสำหรับคนขับรถ มีรถโมบายเคลื่อนที่ตรวจจับความเร็ว รถกู้ภัย ศูนย์ Call center ซึ่งจะสามารถประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกรณีเกิดเหตุการณ์ต่างๆ พร้อมกันนี้ กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) จะจัดรถตรวจการณ์วิ่งในเส้นทางสายต่างๆ ด้วย ซึ่งศูนย์แห่งนี้เป็นความร่วมมือระหว่างกรมทางหลวง และขบ.และระยะต่อไปซึ่งจะมีการเพิ่มจำนวนศูนย์มากขึ้นจะเปิดให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมเช่น หากเอกชนมีพื้นที่และต้องการให้ให้ใช้ทำเป็นศูนย์ก็สามารถเสนอได้ ซึ่งเป็นการช่วยลดงบประมาณของภาครัฐลงทางหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม วานนี้ (10 ก.พ.) สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้จัดสัมมนาการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านความปลอดภัยทางถนนของกระทรวงคมนาคมระยะ 5 ปี (2554-2558) เพื่อระดมความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงคมนาคม,มหาดไทย, สาธารณสุข, ศึกษาธิการ, สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, กรุงเทพมหานคร (กทม.) นักวิชาการประมาณ 300 คน ซึ่งสอดคล้องกับทศวรรษแห่งการดำเนินงานด้านความปลอดภัยบนท้องถนนของสหประชาชาติ โดยจะใช้เวลาศึกษา 8 เดือน (ก.ย.53- พ.ค.54) โดยแผนจะแบ่งเป็น 4 ยุทธศาสตร์ คือ 1.ด้านการบังคับใช้กฎหมาย 2.ด้านวิศวกรรม 3.ด้านการให้ความรู้ประชาสัมพันธ์การมีส่วนร่วม 4.ด้านการช่วยเหลือฉุกเฉิน
นายประกิต พลเดช ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงคมนาคม ในฐานะประธานกรรมการอำนวยการคณะกรรมการจัดระเบียบและแก้ปัญหารถยนต์โดยสารสาธารณะ (รถตู้) เปิดเผยภายหลังการประชุม วานนี้ (10 ก.พ.) ว่า ที่ประชุมได้พิจารณาเรื่องจุดจอดรถตู้โดยสารซึ่งจะต้องมีการกำหนดใหม่เพื่อแก้ปัญหาจราจร เนื่องจากมีการจอดบนผิวจราจรจำนวนมาก โดยมีมติให้ องค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ (ขสมก.) และบริษัท ขนส่ง จำกัด (บขส.) ไปทำรายละเอียดที่เกี่ยวข้องเพื่อนำมากำหนดจุดจอดรถที่เหมาะสมร่วมกันโดยจะต้องมีการเชื่อมโยงการเดินทางเพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกมากที่สุด โดยคณะกรรมการจะประชุมเพื่อสรุปเรื่องนี้อีกครั้งในวันที่ 17 ก.พ.นี้ โดยจากข้อมูล ขณะนี้มีรถตู้โดยสารที่จดทะเบียนถูกต้องประมาณ 9,000 คัน แบ่งเป็นรถตู้ ขสมก.จำนวน 5,788 คัน 127 เส้นทาง รถตู้ บขส.จำนวน 3,476 คัน 59 เส้นทาง โดยที่ประชุมเห็นว่า รถตู้ บขส.ซึ่งวิ่งในเส้นทาง กทม.-ต่างจังหวัดนั้น จะต้องกำหนดจุดต้นทางและปลายทาง โดยไม่อนุญาตให้หยุดรับ-ส่งระหว่างทาง ซึ่งเบื้องต้นจุดจอดที่เหมาะสมสำหรับสายเหนือ คือ ที่จตุจักรสายตะวันตกและสายใต้ คือ สายใต้ใหม่ ส่วนสายตะวันออกคือเอกมัย ซึ่งจุดจอดดังกล่าวจะรวมถึงรถตู้ขสมก.ด้วย โดยจะพิจารณาจำนวนรถและขนาดพื้นที่อีกครั้ง ก่อนตัดสินใจ
นายประกิต กล่าวว่า บริเวณอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิปัจจุบันเป็นจุดจอดรถตู้ทั้งสายต่างจังหวัดและรถตู้ขสมก.จำนวนมาก และกลายเป็นปัญหาจราจร ซึ่งหลักการเห็นว่า ไม่ควรมีการจอดรถตู้บริเวณดังกล่าว หรือหากจะมีก็อาจจะเหลือเพียงรถตู้ ขสมก.บางส่วนเท่านั้นส่วนรถตู้ต่างจังหวัดจะต้องออกไปจอดตามจุดที่กำหนดส่วนที่บริเวณห้างพาต้า, สะพานปิ่นเกล้า และถนนราชดำเนินจะยกเลิกการจอดทั้งหมด
“เป้าหมายในการกำหนดจุดจอดรถตู้ คือ เพื่อแก้ปัญหาจราจร โดยเฉพาะในจุดที่สำคัญเช่นอนุสาวรีย์ ซึ่งยอมรับว่า จะต้องลงพื้นที่ก่อนเริ่มมาตรการและต้องทำความเข้าใจกับผู้ประกอบการด้วย นอกจากนี้การจัดระเบียบจะทำให้จัดการกับรถตู้เถื่อนได้อย่างเด็ดขาดด้วย” นายประกิต กล่าว
อย่างไรก็ตาม หลังจากนี้จะต้องใช้มาตรการเข้มงวดกรณีรถตู้ บขส.จอดรับส่งผู้โดยสารระหว่างทางและหากฝ่าฝืนและถูกตักเตือนเป็นครั้ง 2-3 จะถูกเลิกสัญญาเดินรถทันที เพราะถือว่า ที่ผ่านมาผ่อนผันให้มากแล้วเนื่องจากเป็นการวิ่งทับเส้นทางรถ บขส.และรถร่วม บขส.ที่ได้รับสัมปทานถูกต้อง โดยคณะกรรมการจัดระเบียบและแก้ปัญหารถตู้ฯ มีหน้าที่ในการแก้ปัญหา 3 เรื่อง คือ 1.ที่จอดรถ 2.กฎระเบียบและข้อกฎหมายต่างๆ และ 3.ความปลอดภัยของผู้โดยสาร
***“โสภณ” ดีเดย์เปิดศูนย์ปลอดภัยรับสงกรานต์
นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม กล่าวว่า ก่อนเทศกาลสงกรานต์ปีนี้จะมีการเปิดความปลอดภัยถาวรแห่งแรกเส้นทางตะวันออกเฉียงเหนือ บริเวณลำตะคอง และจะเปิดให้ครบ 4 แห่ง ภายในเดือน เม.ย.นี้ โดยเป้าหมายจะมีศูนย์ปลอดภัยครอบคลุมเส้นทางสายเหนือ,อีสานและใต้ แต่ละศูนย์ห่างกันประมาณ 250-300 กิโลเมตร ซึ่งภายในศูนย์ปลอดภัยจะมีจุดให้บริการตรวจเช็ครถโดยสารสาธารณะและจุดพักสำหรับคนขับรถ มีรถโมบายเคลื่อนที่ตรวจจับความเร็ว รถกู้ภัย ศูนย์ Call center ซึ่งจะสามารถประสานงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้องกรณีเกิดเหตุการณ์ต่างๆ พร้อมกันนี้ กรมการขนส่งทางบก (ขบ.) จะจัดรถตรวจการณ์วิ่งในเส้นทางสายต่างๆ ด้วย ซึ่งศูนย์แห่งนี้เป็นความร่วมมือระหว่างกรมทางหลวง และขบ.และระยะต่อไปซึ่งจะมีการเพิ่มจำนวนศูนย์มากขึ้นจะเปิดให้เอกชนเข้ามามีส่วนร่วมเช่น หากเอกชนมีพื้นที่และต้องการให้ให้ใช้ทำเป็นศูนย์ก็สามารถเสนอได้ ซึ่งเป็นการช่วยลดงบประมาณของภาครัฐลงทางหนึ่ง
อย่างไรก็ตาม วานนี้ (10 ก.พ.) สำนักงานนโยบายและแผนการขนส่งและจราจร (สนข.) ได้จัดสัมมนาการจัดทำแผนปฏิบัติการด้านความปลอดภัยทางถนนของกระทรวงคมนาคมระยะ 5 ปี (2554-2558) เพื่อระดมความเห็นจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ กระทรวงคมนาคม,มหาดไทย, สาธารณสุข, ศึกษาธิการ, สำนักงานตำรวจแห่งชาติ, กรุงเทพมหานคร (กทม.) นักวิชาการประมาณ 300 คน ซึ่งสอดคล้องกับทศวรรษแห่งการดำเนินงานด้านความปลอดภัยบนท้องถนนของสหประชาชาติ โดยจะใช้เวลาศึกษา 8 เดือน (ก.ย.53- พ.ค.54) โดยแผนจะแบ่งเป็น 4 ยุทธศาสตร์ คือ 1.ด้านการบังคับใช้กฎหมาย 2.ด้านวิศวกรรม 3.ด้านการให้ความรู้ประชาสัมพันธ์การมีส่วนร่วม 4.ด้านการช่วยเหลือฉุกเฉิน