ครม.เห็นชอบ กทท.บริหารท่าเรือเชียงแสน 2 เตรียมพร้อมอุปกรณ์บริหารเชิงพาณิชย์ใน 3 เดือน ส่วนเชียงแสน 1 ให้ปรับเป็นท่าเรือท่องเที่ยว กรมเจ้าท่าเตรียมหารือกำหนดค่าตอบแทนและค่าเช่าที่เรียกเก็บจาก กทท.
นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วานนี้ (18 ม.ค.) ว่า ที่ประชุมเห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคม เสนอให้การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เป็นผู้บริหารจัดการท่าเรือเชียงแสน 2 จังหวัดเชียงราย แทนกรมเจ้าท่า ซึ่งเป็นเจ้าของโครงการและเป็นผู้ก่อสร้าง และเห็นชอบให้ปรับการใช้ประโยชน์ท่าเรือเชียงแสน 1 เป็นท่าเรือท่องเที่ยว โดยให้กระทรวงคมนาคม กรมธนารักษ์ และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ไปจัดทำข้อตกลงร่วมกันในการจัดหาแนวทางในการปรับปรุงท่าเรือเชียงแสน 1
ทั้งนี้ กทท.จะต้องเข้าพื้นที่เพื่อติดตั้งระบบพร้อมอุปกรณ์ 3 เดือน ก่อนจะเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์อย่างเป็นทางการ ซึ่งในการก่อสร้างท่าเทียบเรือเชียงแสนนั้น จะมี 3 ประเทศที่ได้รับประโยชน์ ประกอบด้วย ไทย ลาว และจีน โดยจะได้รับผลประโยชน์ทั้งการขนส่งสินค้า และการท่องเที่ยว โดยเฉพาะการขนส่งสินค้าประเภท ปาล์มน้ำมัน รถยนต์ และยาง
โดยโครงการก่อสร้างท่าเรือเชียงแสน 2 มีวงเงินลงทุนก่อสร้าง 1,546,400,000 บาท ซึ่งกรมเจ้าท่าได้ดำเนินการประกวดราคา และได้บริษัท พอร์ท แอนด์ มารีน คอร์ปอเรชั่น (พี.เอ.เอ็ม.) จำกัด เป็นผู้ก่อสร้าง โดยได้เริ่มก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 13 พ.ค.2552 ที่ผ่านมา และตามแผนงานจะสิ้นสุดในวันที่ 28 ธ.ค.2554 นี้ รวมระยะเวลาก่อสร้าง 960 วัน ซึ่งหลังจากก่อสร้างเสร็จ จะมีขีดความสามารถในการรองรับจำนวนเรือขนาด 350 ตันกรอส ได้พร้อมกัน 10 ลำ โดยจะมีการก่อสร้างท่าเรือลาดต่ำ 2 ท่า รองรับเรือขนส่งสินค้าทั่วไปได้ 6 ลำ และท่าเรือแนวดิ่ง 1 ท่า รองรับเรือขนส่งสินค้าแบบคอนเทนเนอร์ได้ 4 ลำ ซึ่งคาดว่าปีแรก จะมีสินค้าผ่านท่ากว่า 7.1 แสนตัน และรองรับนักท่องเที่ยวสูงสุดปีละ 55,356 คน
นายถวัลย์รัฐ อ่อนศิระ อธิบดีกรมเจ้าท่า กล่าวว่า หลังจากที่ครม.เห็นชอบให้กทท.เข้าไปบริหารจัดการ แทนกรมฯ แล้ว กระทรวงคมนามจะต้องมีการหารือกับกระทรวงการคลังอีกครั้ง เพื่อกำหนดค่าตอบแทน และอัตราค่าเช่าที่เหมาะสมด้วย
นายโสภณ ซารัมย์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม เปิดเผยภายหลังการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) วานนี้ (18 ม.ค.) ว่า ที่ประชุมเห็นชอบตามที่กระทรวงคมนาคม เสนอให้การท่าเรือแห่งประเทศไทย (กทท.) เป็นผู้บริหารจัดการท่าเรือเชียงแสน 2 จังหวัดเชียงราย แทนกรมเจ้าท่า ซึ่งเป็นเจ้าของโครงการและเป็นผู้ก่อสร้าง และเห็นชอบให้ปรับการใช้ประโยชน์ท่าเรือเชียงแสน 1 เป็นท่าเรือท่องเที่ยว โดยให้กระทรวงคมนาคม กรมธนารักษ์ และสำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ ไปจัดทำข้อตกลงร่วมกันในการจัดหาแนวทางในการปรับปรุงท่าเรือเชียงแสน 1
ทั้งนี้ กทท.จะต้องเข้าพื้นที่เพื่อติดตั้งระบบพร้อมอุปกรณ์ 3 เดือน ก่อนจะเปิดให้บริการเชิงพาณิชย์อย่างเป็นทางการ ซึ่งในการก่อสร้างท่าเทียบเรือเชียงแสนนั้น จะมี 3 ประเทศที่ได้รับประโยชน์ ประกอบด้วย ไทย ลาว และจีน โดยจะได้รับผลประโยชน์ทั้งการขนส่งสินค้า และการท่องเที่ยว โดยเฉพาะการขนส่งสินค้าประเภท ปาล์มน้ำมัน รถยนต์ และยาง
โดยโครงการก่อสร้างท่าเรือเชียงแสน 2 มีวงเงินลงทุนก่อสร้าง 1,546,400,000 บาท ซึ่งกรมเจ้าท่าได้ดำเนินการประกวดราคา และได้บริษัท พอร์ท แอนด์ มารีน คอร์ปอเรชั่น (พี.เอ.เอ็ม.) จำกัด เป็นผู้ก่อสร้าง โดยได้เริ่มก่อสร้างตั้งแต่วันที่ 13 พ.ค.2552 ที่ผ่านมา และตามแผนงานจะสิ้นสุดในวันที่ 28 ธ.ค.2554 นี้ รวมระยะเวลาก่อสร้าง 960 วัน ซึ่งหลังจากก่อสร้างเสร็จ จะมีขีดความสามารถในการรองรับจำนวนเรือขนาด 350 ตันกรอส ได้พร้อมกัน 10 ลำ โดยจะมีการก่อสร้างท่าเรือลาดต่ำ 2 ท่า รองรับเรือขนส่งสินค้าทั่วไปได้ 6 ลำ และท่าเรือแนวดิ่ง 1 ท่า รองรับเรือขนส่งสินค้าแบบคอนเทนเนอร์ได้ 4 ลำ ซึ่งคาดว่าปีแรก จะมีสินค้าผ่านท่ากว่า 7.1 แสนตัน และรองรับนักท่องเที่ยวสูงสุดปีละ 55,356 คน
นายถวัลย์รัฐ อ่อนศิระ อธิบดีกรมเจ้าท่า กล่าวว่า หลังจากที่ครม.เห็นชอบให้กทท.เข้าไปบริหารจัดการ แทนกรมฯ แล้ว กระทรวงคมนามจะต้องมีการหารือกับกระทรวงการคลังอีกครั้ง เพื่อกำหนดค่าตอบแทน และอัตราค่าเช่าที่เหมาะสมด้วย