บอร์ดอนุมัติ กสท เดินหน้าเจรจากลุ่มทรู หลังบริการ CDMA เจอทางตัน ต้องหันหา 3G HSPA เพื่อเป็นทางออกของธุรกิจมือถือ ที่ต้องปรับรูปแบบและทิศทางใหม่ ส่วนมาตรา 22 และ 13 ส่งให้กระทรวงไอซีทีพิจารณาแล้ว ขณะที่ “จิรายุทธ” ยันไม่ได้ถูกปลด หรือลาออกจากตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่
นายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม กล่าวว่า ที่ประชุมบอร์ดกสท เมื่อวันที่ 14 ม.ค.ที่ผ่านมา ได้รับทราบมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 ธ.ค.53 ให้ยกเลิกการซื้อกิจการ CDMA ในส่วนของภาคกลาง 25 จังหวัด จากบริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย (ฮัทช์) และรับทราบข้อเสนอของกลุ่มทรู คอร์ปอเรชั่น ที่จะมาดำเนินการเกี่ยวกับ 3G HSPA ร่วมกับ กสท
การพิจารณาข้อเสนอดังกล่าวบอร์ดได้อนุมัติให้ไปเจรจาเกี่ยวกับเงื่อนไขหลักในสัญญาที่จะไปดำเนินการร่วมกับกลุ่มทรู เพราะภาพรวมของธุรกิจ 3G ขณะนี้ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) ก็มีสัญญากับทีโอที ขณะที่บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) ก็จะมีการขยายโครงข่าย HSPA บนโครงข่ายเดิม ซึ่งจะต้องผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการมาตรา 22 ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ ปี 2535 และจะต้องผ่านมติ ครม.ด้วย
ทั้ งทรู และดีแทค มีแผนงานที่ชัดเจน แต่ทรูต้องมีการเจรจากับ กสท เพื่อพิจารณารูปแบบ 3G HSPA ใหม่ กสท เองก็มีแผนจะเปลี่ยนเทคโนโลยีอยู่แล้ว เพราะ CDMA เจอทางตัน และขณะนี้เริ่มเห็นความชัดเจนแล้วว่าแนวทางเทคโนโลยีจะต้องไป LTE ซึ่งหลายประเทศทั่วโลกเริ่มทำไปแล้ว ทั้งนี้การทำ HSPA Plus แล้วไป LTE ลงทุนไม่มาก เพียงแค่อัปเกรดซอฟต์แวร์ และเปลี่ยนการ์ดก็สามารถใช้ได้ทันที่
‘ทรูก็ต้องดิ้นเพราะคู่แข่งไปกันแล้ว สัญญาสัมปทานก็จะหมด จึงต้องซื้อฮัทช์ ถ้าตกลงซื้อกิจการได้และตกลงกับ กสท ได้ก็จะเป็นการแก้ปัญหาให้กับ ทรู และ กสท ซึ่งก็จะเป็น Win Win แต่ถ้าไม่ทำเราก็เดินหน้ากับฮัทช์ต่อไปอีก 5 ปีตามสัญญา แต่กลางปีนี้ยิ่งจะแย่ เพราะดีแทคขึ้น HSPA ทีโอที เอไอเอส ก็จะให้บริการ 3G’
นายจิรายุทธ กล่าวว่า ในการเจรจากับกลุ่มทรูจะเป็นการพิจารณารูปแบบโครงสร้างการทำธุรกิจ ซึ่งต้องรออัยการสูงสุดพิจารณาเรื่องเงื่อนไขต่างๆ ว่า กสท ได้เปรียบเสียเปรียบอย่างไรก่อน หลังจากนั้นค่อยเข้าสู่แนวทางการทำธุรกิจมือถือรูปแบบใหม่ของ กสท เพราะ กสท มีใบอนุญาต (ไลเซนส์) ประเภทที่ 3 คือ มีโครงข่ายเป็นของตัวเอง หลังจากนั้น จะเป็นการทำตลาดในรูปแบบขายส่ง-ขายปลีก (โฮลเซลล์-รีเซลล์) ให้กับทรู และจะทำโฮลเซลล์เองบางส่วน ซึ่งเป็นตลาดเฉพาะกลุ่มของ กสท คือ กลุ่มองค์กร หน่ายงานราชการ รัฐวิสาหกิจ เป็นต้น
สำหรับการให้บริการโทรศัพท์มือถือรูปแบบใหม่ที่จะร่วมมือกับกลุ่มทรูนั้น กสท เป็นเจ้าของโครงข่าย โดยให้เอกชนเป็นผู้ติดตั้งอุปกรณ์แอคทีฟ อีควิปเมนต์ใหม่แล้วให้ กสท เช่า ซึ่งกรรมการผู้จัดใหญ่ กสท ยืนยันว่า เป็นไปตามระเบียบพัสดุ ซึ่ง กสท มีการเช่าประจำอยู่แล้ว เช่น การเช่าวงจรระว่างประเทศหรือแบนด์วิธระหว่างประเทศ ที่มีการนำไปทำคอลลิ่ง การ์ด
โทร.ไปต่างประเทศ ซึ่งมีการทำลักษณะนี้กันมานานแล้ว ส่วนเรื่องของค่าเช่ายังไม่มีตัวเลขที่ชัดเจนเพราะยังอยู่ระหว่างการเจรจา คาดว่า จะสามารถสรุปได้ภายใน 2 สัปดาห์
ทั้งนี้ การทำตลาดแบบโฮลเซลล์-รีเซลล์ ตามธุรกิจรูปแบบใหม่ของ กสท จะมีระยะเวลาไม่เกิน 14 ปีตามที่ กสท ได้สิทธิในการให้บริการ ส่วนพันธมิตรของ กสท จะสามารถทำตลาดได้กี่ปีขึ้นอยู่กับข้อตกลง สำหรับการเจรจากับกลุ่มทรูตามรูปแบบใหม่ของธุรกิจจะต้องทำสัญญา 2 ฉบับคือ สัญญาเกี่ยวกับการให้บริการ 3G HSPA กับการให้บริการ CDMA
เพราะต้องดูแลลูกค้าที่มีอยู่ไปจนกว่าจะมีการย้ายเทคโนโลยีและฐานลูกค้าจาก CDMA ไปเป็น 3G HSPA ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้เวลาประมาณ 2 ปี
‘เราจะดูแลลูกค้า CDMA ไปอีก 2 ปีเมื่อย้ายเทคโนโลยีเสร็จก็จะปิดบริการ CDMA ทันที’
นายจิรายุทธ กล่าวว่า การทำตลาดแบบโฮลเซลล์-รีเซลล์จะเข้าข่าย MVNO (ผู้รับช่วงให้บริการ) ที่ขัดกับ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่มีผลบังคับใช้หรือไม่นั้นในส่วนพันธมิตรของ กสทตามโมเดลใหม่สามารถทำได้เพราะกสทยึดตามประกาศเดิมของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.)
ปัจจุบันโครงข่ายที่ให้บริการระบบ CDMA ทั่วประเทศมีประมาณ 3 พันสถานีฐาน ซึ่งสามารถอัปเกรดเพื่อให้บริการ 3G HSPA ได้ และ กสท มีแผนจะขยายโครงข่ายให้ถึง 5 พันสถานีฐานภายใน 3 ปี จึงจะสามารถครอบคลุมพื้นที่การให้บริการทั่วประเทศได้ประมาณ 90% ส่วนงบการดำเนินการก็ต้องเสนอสภาพัฒน์ฯก่อนเข้าครม.ตามขั้นตอน
ส่วนการดำเนินการของคณะกรรมการมาตรา 22 ซึ่งเป็นการเจรจาเกี่ยวกับสัญญาของดีแทคนั้น กสท ได้ส่งเรื่องไปที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) แล้วประมาณ 1 สัปดาห์ ขณะที่การเจรจาเรื่องผลประโยชน์ ของคณะกรรมการมาตรา ตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯปี 35 กับทรูก็ได้ส่งเรื่องไปที่กระทรวงไอซีทีพิจารณาแล้วเมื่อวันที่ 13 ม.ค.ที่ผ่านมา
‘ทั้งเรื่องมาตรา 22 มาตรา 13 เป็นการเจรจากันว่าทำอย่างไรจะให้ กสท ได้ผลประโยชน์เพิ่มขึ้นซี่งกสทได้ส่งผลการพิจารณาให้ไอซีทีแล้ว’
พร้อมกันนี้ นายจิรายุทธ ยืนยันว่า ไม่ได้ถูกปลด หรือลาออกจากตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท แต่อย่างใด
***จเรรัฐปัดนั่งเก้าอี้ซีอีโอ
นายจเรรัฐ ปิงคลาศัย กล่าวว่า ข่าวลือที่ว่าจะเข้ามาเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่คนใหม่ของกสทนั้นเป็นเรื่องที่มั่วมากและไม่เข้าใจว่าผู้ที่ปล่อยข่าวมีวัตถุประสงค์อะไร เพราะแม้เขาจะเป็นที่ปรึกษารมว.ไอซีที แต่ก็ไม่ได้เป็นเพื่อนสนิท เพราะอายุน้อยกว่าและเข้ามาในฐานะคนช่วยทำงาน โดยผ่านมาจากความคุ้นเคยที่ได้ทำงานใกล้ชิด กับ สุรินทร์ พิศสุวรรณ มาก่อนหน้านี้ จึงได้ถูกเสนอตัวให้เข้ามาช่วยงานในเรื่องโทรคมนาคม
ในส่วนของตำแหน่งผู้บริหารของ กสท ก็ไม่เคยได้รับการเสนอชื่อหรือทาบทามให้มารับตำแหน่ง และหากมีการทาบทามก็คงไม่รับ เพราะอุตสาหกรรมโทรคมอยู่ในรอยต่อ ยังไม่เรียบร้อยลงตัว และมีแรงเสียดทานในเรื่องกฎหมายหลายเรื่องในขณะที่องค์กรกำกับดูแลก็ยังไม่สมบูรณ์เพราะยังไม่เกิด กสทช.
‘ตอนนี้ผมสบายดี ยังไม่อยากหาเรื่องเดือดร้อนที่ผ่านมาเข้าไปบริหาร ดราก้อนวันและขายกิจการไปให้กลุ่มคันทรี กรุ๊ป ก็มีเงินพอที่ไม่ต้องดิ้นรน แต่อนาคตหากทุกอย่างนิ่งและชัดเจนก็ค่อยมาว่ากันใหม่ เพราะตอนนี้ไม่ว่าจะเป็นทีโอที หรือ กสท ก็ไม่เอา เพราะเข้าไปคงวุ่นวายปวดหัว และคงทำอะไรไม่ได้รวมทั้งการเมืองไทยก็ยังไม่นิ่งพอ’
***เปิดเงื่อนไขทรู
นายอธึก อัศวานันท์ รองประธานกรรมการและหัวหน้าคณะผู้บริหารฝ่ายกฎหมาย กลุ่มทรู กล่าวว่า การซื้อขายกิจการกับกลุ่มฮัทชิสันจะเสร็จสมบูรณ์เมื่อทรูได้มีการเซ็นสัญญาใหม่กับกสท โดยข้อเสนอที่กลุ่มทรูเจรจากับ กสท คือ ในการขยายโครงข่าย HSPA เมื่อทรูต้องการให้บริการในพื้นที่ไหนและจำเป็นต้องมีการขยายโครงข่าย ก็จะเสนอให้กสทพิจารณา
หาก กสท ไม่สามารถขยายโครงข่ายได้ เพราะความล่าช้าในการเป็นรัฐวิสาหกิจ ทรูก็พร้อมที่จะลงทุนขยายโครงข่ายให้ก่อน และหลังจากนั้น จะเปิดโอกาสให้กสทเข้ามาซื้อโครงข่ายคืนได้ในภายหลัง ในราคาที่เป็นธรรมโดยมีบริษัทกลางมาประเมินมูลค่าโครงข่าย
สำหรับเงื่อนไขการทำตลาดแบบโฮลเซลล์-รีเซลล์นั้น จะหมายถึงทรูจะเช่าใช้คาปาซิตี้ของระบบ กสท โดยคิดอัตราตามจำนวนข้อมูล หรือเมกะไบต์ที่ทรูจะนำไปขายต่อบริการให้ลูกค้า
นายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม กล่าวว่า ที่ประชุมบอร์ดกสท เมื่อวันที่ 14 ม.ค.ที่ผ่านมา ได้รับทราบมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 28 ธ.ค.53 ให้ยกเลิกการซื้อกิจการ CDMA ในส่วนของภาคกลาง 25 จังหวัด จากบริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย (ฮัทช์) และรับทราบข้อเสนอของกลุ่มทรู คอร์ปอเรชั่น ที่จะมาดำเนินการเกี่ยวกับ 3G HSPA ร่วมกับ กสท
การพิจารณาข้อเสนอดังกล่าวบอร์ดได้อนุมัติให้ไปเจรจาเกี่ยวกับเงื่อนไขหลักในสัญญาที่จะไปดำเนินการร่วมกับกลุ่มทรู เพราะภาพรวมของธุรกิจ 3G ขณะนี้ บริษัท แอดวานซ์ อินโฟร์ เซอร์วิส (เอไอเอส) ก็มีสัญญากับทีโอที ขณะที่บริษัท โทเทิ่ล แอ็คเซ็ส คอมมูนิเคชั่น (ดีแทค) ก็จะมีการขยายโครงข่าย HSPA บนโครงข่ายเดิม ซึ่งจะต้องผ่านการพิจารณาของคณะกรรมการมาตรา 22 ของ พ.ร.บ.ว่าด้วยการให้เอกชนเข้าร่วมหรือดำเนินการในกิจการของรัฐ ปี 2535 และจะต้องผ่านมติ ครม.ด้วย
ทั้ งทรู และดีแทค มีแผนงานที่ชัดเจน แต่ทรูต้องมีการเจรจากับ กสท เพื่อพิจารณารูปแบบ 3G HSPA ใหม่ กสท เองก็มีแผนจะเปลี่ยนเทคโนโลยีอยู่แล้ว เพราะ CDMA เจอทางตัน และขณะนี้เริ่มเห็นความชัดเจนแล้วว่าแนวทางเทคโนโลยีจะต้องไป LTE ซึ่งหลายประเทศทั่วโลกเริ่มทำไปแล้ว ทั้งนี้การทำ HSPA Plus แล้วไป LTE ลงทุนไม่มาก เพียงแค่อัปเกรดซอฟต์แวร์ และเปลี่ยนการ์ดก็สามารถใช้ได้ทันที่
‘ทรูก็ต้องดิ้นเพราะคู่แข่งไปกันแล้ว สัญญาสัมปทานก็จะหมด จึงต้องซื้อฮัทช์ ถ้าตกลงซื้อกิจการได้และตกลงกับ กสท ได้ก็จะเป็นการแก้ปัญหาให้กับ ทรู และ กสท ซึ่งก็จะเป็น Win Win แต่ถ้าไม่ทำเราก็เดินหน้ากับฮัทช์ต่อไปอีก 5 ปีตามสัญญา แต่กลางปีนี้ยิ่งจะแย่ เพราะดีแทคขึ้น HSPA ทีโอที เอไอเอส ก็จะให้บริการ 3G’
นายจิรายุทธ กล่าวว่า ในการเจรจากับกลุ่มทรูจะเป็นการพิจารณารูปแบบโครงสร้างการทำธุรกิจ ซึ่งต้องรออัยการสูงสุดพิจารณาเรื่องเงื่อนไขต่างๆ ว่า กสท ได้เปรียบเสียเปรียบอย่างไรก่อน หลังจากนั้นค่อยเข้าสู่แนวทางการทำธุรกิจมือถือรูปแบบใหม่ของ กสท เพราะ กสท มีใบอนุญาต (ไลเซนส์) ประเภทที่ 3 คือ มีโครงข่ายเป็นของตัวเอง หลังจากนั้น จะเป็นการทำตลาดในรูปแบบขายส่ง-ขายปลีก (โฮลเซลล์-รีเซลล์) ให้กับทรู และจะทำโฮลเซลล์เองบางส่วน ซึ่งเป็นตลาดเฉพาะกลุ่มของ กสท คือ กลุ่มองค์กร หน่ายงานราชการ รัฐวิสาหกิจ เป็นต้น
สำหรับการให้บริการโทรศัพท์มือถือรูปแบบใหม่ที่จะร่วมมือกับกลุ่มทรูนั้น กสท เป็นเจ้าของโครงข่าย โดยให้เอกชนเป็นผู้ติดตั้งอุปกรณ์แอคทีฟ อีควิปเมนต์ใหม่แล้วให้ กสท เช่า ซึ่งกรรมการผู้จัดใหญ่ กสท ยืนยันว่า เป็นไปตามระเบียบพัสดุ ซึ่ง กสท มีการเช่าประจำอยู่แล้ว เช่น การเช่าวงจรระว่างประเทศหรือแบนด์วิธระหว่างประเทศ ที่มีการนำไปทำคอลลิ่ง การ์ด
โทร.ไปต่างประเทศ ซึ่งมีการทำลักษณะนี้กันมานานแล้ว ส่วนเรื่องของค่าเช่ายังไม่มีตัวเลขที่ชัดเจนเพราะยังอยู่ระหว่างการเจรจา คาดว่า จะสามารถสรุปได้ภายใน 2 สัปดาห์
ทั้งนี้ การทำตลาดแบบโฮลเซลล์-รีเซลล์ ตามธุรกิจรูปแบบใหม่ของ กสท จะมีระยะเวลาไม่เกิน 14 ปีตามที่ กสท ได้สิทธิในการให้บริการ ส่วนพันธมิตรของ กสท จะสามารถทำตลาดได้กี่ปีขึ้นอยู่กับข้อตกลง สำหรับการเจรจากับกลุ่มทรูตามรูปแบบใหม่ของธุรกิจจะต้องทำสัญญา 2 ฉบับคือ สัญญาเกี่ยวกับการให้บริการ 3G HSPA กับการให้บริการ CDMA
เพราะต้องดูแลลูกค้าที่มีอยู่ไปจนกว่าจะมีการย้ายเทคโนโลยีและฐานลูกค้าจาก CDMA ไปเป็น 3G HSPA ซึ่งคาดว่าจะต้องใช้เวลาประมาณ 2 ปี
‘เราจะดูแลลูกค้า CDMA ไปอีก 2 ปีเมื่อย้ายเทคโนโลยีเสร็จก็จะปิดบริการ CDMA ทันที’
นายจิรายุทธ กล่าวว่า การทำตลาดแบบโฮลเซลล์-รีเซลล์จะเข้าข่าย MVNO (ผู้รับช่วงให้บริการ) ที่ขัดกับ พ.ร.บ.องค์กรจัดสรรคลื่นความถี่และกำกับการประกอบกิจการวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ และกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) ที่มีผลบังคับใช้หรือไม่นั้นในส่วนพันธมิตรของ กสทตามโมเดลใหม่สามารถทำได้เพราะกสทยึดตามประกาศเดิมของคณะกรรมการกิจการโทรคมนาคมแห่งชาติ (กทช.)
ปัจจุบันโครงข่ายที่ให้บริการระบบ CDMA ทั่วประเทศมีประมาณ 3 พันสถานีฐาน ซึ่งสามารถอัปเกรดเพื่อให้บริการ 3G HSPA ได้ และ กสท มีแผนจะขยายโครงข่ายให้ถึง 5 พันสถานีฐานภายใน 3 ปี จึงจะสามารถครอบคลุมพื้นที่การให้บริการทั่วประเทศได้ประมาณ 90% ส่วนงบการดำเนินการก็ต้องเสนอสภาพัฒน์ฯก่อนเข้าครม.ตามขั้นตอน
ส่วนการดำเนินการของคณะกรรมการมาตรา 22 ซึ่งเป็นการเจรจาเกี่ยวกับสัญญาของดีแทคนั้น กสท ได้ส่งเรื่องไปที่กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ไอซีที) แล้วประมาณ 1 สัปดาห์ ขณะที่การเจรจาเรื่องผลประโยชน์ ของคณะกรรมการมาตรา ตาม พ.ร.บ.ร่วมทุนฯปี 35 กับทรูก็ได้ส่งเรื่องไปที่กระทรวงไอซีทีพิจารณาแล้วเมื่อวันที่ 13 ม.ค.ที่ผ่านมา
‘ทั้งเรื่องมาตรา 22 มาตรา 13 เป็นการเจรจากันว่าทำอย่างไรจะให้ กสท ได้ผลประโยชน์เพิ่มขึ้นซี่งกสทได้ส่งผลการพิจารณาให้ไอซีทีแล้ว’
พร้อมกันนี้ นายจิรายุทธ ยืนยันว่า ไม่ได้ถูกปลด หรือลาออกจากตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ กสท แต่อย่างใด
***จเรรัฐปัดนั่งเก้าอี้ซีอีโอ
นายจเรรัฐ ปิงคลาศัย กล่าวว่า ข่าวลือที่ว่าจะเข้ามาเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่คนใหม่ของกสทนั้นเป็นเรื่องที่มั่วมากและไม่เข้าใจว่าผู้ที่ปล่อยข่าวมีวัตถุประสงค์อะไร เพราะแม้เขาจะเป็นที่ปรึกษารมว.ไอซีที แต่ก็ไม่ได้เป็นเพื่อนสนิท เพราะอายุน้อยกว่าและเข้ามาในฐานะคนช่วยทำงาน โดยผ่านมาจากความคุ้นเคยที่ได้ทำงานใกล้ชิด กับ สุรินทร์ พิศสุวรรณ มาก่อนหน้านี้ จึงได้ถูกเสนอตัวให้เข้ามาช่วยงานในเรื่องโทรคมนาคม
ในส่วนของตำแหน่งผู้บริหารของ กสท ก็ไม่เคยได้รับการเสนอชื่อหรือทาบทามให้มารับตำแหน่ง และหากมีการทาบทามก็คงไม่รับ เพราะอุตสาหกรรมโทรคมอยู่ในรอยต่อ ยังไม่เรียบร้อยลงตัว และมีแรงเสียดทานในเรื่องกฎหมายหลายเรื่องในขณะที่องค์กรกำกับดูแลก็ยังไม่สมบูรณ์เพราะยังไม่เกิด กสทช.
‘ตอนนี้ผมสบายดี ยังไม่อยากหาเรื่องเดือดร้อนที่ผ่านมาเข้าไปบริหาร ดราก้อนวันและขายกิจการไปให้กลุ่มคันทรี กรุ๊ป ก็มีเงินพอที่ไม่ต้องดิ้นรน แต่อนาคตหากทุกอย่างนิ่งและชัดเจนก็ค่อยมาว่ากันใหม่ เพราะตอนนี้ไม่ว่าจะเป็นทีโอที หรือ กสท ก็ไม่เอา เพราะเข้าไปคงวุ่นวายปวดหัว และคงทำอะไรไม่ได้รวมทั้งการเมืองไทยก็ยังไม่นิ่งพอ’
***เปิดเงื่อนไขทรู
นายอธึก อัศวานันท์ รองประธานกรรมการและหัวหน้าคณะผู้บริหารฝ่ายกฎหมาย กลุ่มทรู กล่าวว่า การซื้อขายกิจการกับกลุ่มฮัทชิสันจะเสร็จสมบูรณ์เมื่อทรูได้มีการเซ็นสัญญาใหม่กับกสท โดยข้อเสนอที่กลุ่มทรูเจรจากับ กสท คือ ในการขยายโครงข่าย HSPA เมื่อทรูต้องการให้บริการในพื้นที่ไหนและจำเป็นต้องมีการขยายโครงข่าย ก็จะเสนอให้กสทพิจารณา
หาก กสท ไม่สามารถขยายโครงข่ายได้ เพราะความล่าช้าในการเป็นรัฐวิสาหกิจ ทรูก็พร้อมที่จะลงทุนขยายโครงข่ายให้ก่อน และหลังจากนั้น จะเปิดโอกาสให้กสทเข้ามาซื้อโครงข่ายคืนได้ในภายหลัง ในราคาที่เป็นธรรมโดยมีบริษัทกลางมาประเมินมูลค่าโครงข่าย
สำหรับเงื่อนไขการทำตลาดแบบโฮลเซลล์-รีเซลล์นั้น จะหมายถึงทรูจะเช่าใช้คาปาซิตี้ของระบบ กสท โดยคิดอัตราตามจำนวนข้อมูล หรือเมกะไบต์ที่ทรูจะนำไปขายต่อบริการให้ลูกค้า