ดีลการเมืองซื้อกิจการ “ฮัทช์” ได้ข้อยุติ ทรู ได้ข้อสรุปกับบริษัทในกุล่มฮัทชิสัน พร้อมกับลงนามสัญญาสายฟ้าแลบกับ กสท. มอบสิทธิ์บริการ 3G บนเทคโนโลยี HSPA ทั่วประเทศ นาน 15 ปี
ดีลการซื้อสัญญาการดำเนินธุรกิจ CDMA ในส่วนภาคกลางจาก บริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย จำกัด ผู้ให้บริการภายใต้แบรนด์ “ฮัทช์” ก็ถึงบทสรุปเมื่อบริษัทย่อยของบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือทรู ประกอบไปด้วยบริษัท เรียล มูฟ จำกัด และบริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด ได้เข้าซื้อหุ้นของบริษัทในกลุ่มฮัทชิสัน ประกอบไปด้วยบริษัท ฮัทชิสัน ไวร์เลส มัลติมีเดีย โฮลดิ้งส์ จำกัด บริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัด Rosy Legend Limited และ Prospect Gain Limited เป็นที่เรียบร้อย โดยฝ่ายกลุ่มบริษัทฮัทชิสันได้ทำการเคลียร์หนี้สินระหว่างกลุ่มบริษัทที่ซื้อขายให้ด้วย
นายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ กสท. กล่าวว่า การลงนามในสัญญาเข้าซื้อบริษัทในกลุ่มฮัทชิสันกับทางบริษัท เรียล มูฟ จำกัด และบริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด บริษัทย่อยของบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือทรู ในครั้งนี้เป็นประโยขน์กับทั้ง 2 ฝ่าย จะช่วยให้สามารถแข่งขันในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมต่อไปได้ ไม่ว่าจะเป็นการที่กสท.สามารถถ่ายโอนลูกค้าในระบบเดิมมายังเทคโนโลยีใหม่ ส่วนทางทรูก็สามารถให้บริการ 3G กับลูกค้าได้ครอบคลุมมากขึ้น
"เบื้องต้นในสัญญากำหนดระยะเวลาการถ่ายโอนลูกค้าจากระบบ CDMA เดิมมาเป็นระบบ HSPA ทั่วประเทศภายใน 2 ปี ส่วนเรื่องการเช่าเน็ตเวิร์ก จะทำให้ทางกสท.ลดความเสี่ยงในการลงทุน เนื่องจากทางทรูจะเป็นผู้ลงทุนอุปกรณ์ เพื่อให้กสท.นำไปขายปลีกกับผู้ให้บริการอื่นต่อไป"
โดยทางกสท.ได้มอบหมายให้บริษัท เรียล มูฟ จำกัด ดำเนินกิจการขายส่งบริการและขายต่อบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนเทคโนโลยี HSPA ของกสท.เป็นระยะเวลาประมาณ 15 ปี จนถึงปี 2569
นายจิรายุทธ กล่าวว่า ประโยชน์สำหรับลูกค้า CDMA ของกสท. นั้นถือเป็นการที่กสทอัปเกรดบริการให้กับลูกค้า โดยย้ายลูกค้าเดิมมาอยู่ในฐานเทคโนโลยีใหม่ และเชื่อว่าลูกค้าส่วนใหญ่จะมีความพอใจกับเทคโนโลยีใหม่ที่เป็น HSPA / HSPA+ ทำให้ลูกค้าสามารถหาซื้อโทรศัพท์ได้ง่ายขึ้น และยังส่งผลให้กสท สามารถมองไปยังการอัปเกรดเทคโนโลยีเป็น 4G ได้ในอนาคต
"กสท มีจุดแข็งในด้านเน็ตเวิร์กและสถานีฐาน แต่ไม่สามารถเคลื่อนไหวในการอัปเกรดอุปกรณ์ได้เหมือนบริษัทเอกชน จึงจำเป็นต้องร่วมกับทางกลุ่มทรู ที่จะเข้ามาช่วยอัปเกรดอุปกรณ์ให้สามารถรองรับเทคโนโลยีในอนาคตต่อไปได้"
นายจิรายุทธ เชื่อว่าความร่วมมือดังกล่าวไม่ได้เป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มทรู เนื่องจากการเจรจาในช่วงแรกไม่ได้มีเพียงแค่ทรูรายเดียว แต่ว่าจากการเจรจากับทุกๆ ราย และมองว่าทางทรู น่าจะเหมาะสม อีกทั้งทรูเป็นอีกหนึ่งบริษัทในสัมปทาน และเป็นบริษัทไทยเพียงรายเดียวที่อยู่ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม
นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่ผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การลงนามข้อตกลงดังกล่าวเกิดขึ้นระหว่างกลุ่มทรู ฮัทชิสัน และทางกสท.โทรคมนาคม จะช่วยให้ทางกลุ่มทรูสามารถให้บริการเครือข่ายไปได้อีก 14 ปี พร้อมทั้งสามารถให้บริการ 3G กับผู้บริโภคได้
"สัญญาเบื้องต้น คือ กลุ่มทรูจะเช่าโครงข่ายของทาง กสท มาให้บริการในเทคโนโลยี 3G บนเทคโนโลยี HSPA พร้อมร่วมลงทุนอุปกรณ์บนสถานีฐานกว่า 3,000 สถานี เพื่อให้สามารถให้บริการได้ทั่วประเทศ จากงบการลงทุน 5-6 พันล้านบาท"
การร่วมมือดังกล่าวถือเป็นทางออกสำคัญกับกลุ่มทรู ที่จะสามารถผลักดันให้ประเทศไทยสามารถเข้าสู่ยุค 3G ได้เต็มรูปแบบ นอกจากการดำเนินการของกลุ่มทีโอที ที่มีการให้บริการ 3G ในปัจจุบัน โดยทรูจะถือเป็นผู้นำโครงข่ายของ กสท มาให้บริการกับกลุ่มผู้บริโภคในเบื้องต้น
“ทางทรูจะรับรู้รายได้จากฮัทชิสันในสิ้นเดือนมกราคมนี้ ส่งผลให้สิ้นปีรายได้ของกลุ่มทรูจะเพิ่มขึ้นตามรายได้ของฮัทชิสัน จากปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 4,300 ล้านบาท ซึ่งรายได้ดังกล่าวอาจลดลงถ้าลูกค้าเกิดความไม่มั่นใจ ทำให้ทางกลุ่มทรูจำเป็นต้องสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า” นายศุภชัยกล่าว
ดีลการซื้อสัญญาการดำเนินธุรกิจ CDMA ในส่วนภาคกลางจาก บริษัท ฮัทชิสัน ซีเอที ไวร์เลส มัลติมีเดีย จำกัด ผู้ให้บริการภายใต้แบรนด์ “ฮัทช์” ก็ถึงบทสรุปเมื่อบริษัทย่อยของบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือทรู ประกอบไปด้วยบริษัท เรียล มูฟ จำกัด และบริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด ได้เข้าซื้อหุ้นของบริษัทในกลุ่มฮัทชิสัน ประกอบไปด้วยบริษัท ฮัทชิสัน ไวร์เลส มัลติมีเดีย โฮลดิ้งส์ จำกัด บริษัท บีเอฟเคที (ประเทศไทย) จำกัด Rosy Legend Limited และ Prospect Gain Limited เป็นที่เรียบร้อย โดยฝ่ายกลุ่มบริษัทฮัทชิสันได้ทำการเคลียร์หนี้สินระหว่างกลุ่มบริษัทที่ซื้อขายให้ด้วย
นายจิรายุทธ รุ่งศรีทอง กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท กสท โทรคมนาคม จำกัด (มหาชน) หรือ กสท. กล่าวว่า การลงนามในสัญญาเข้าซื้อบริษัทในกลุ่มฮัทชิสันกับทางบริษัท เรียล มูฟ จำกัด และบริษัท เรียล ฟิวเจอร์ จำกัด บริษัทย่อยของบริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือทรู ในครั้งนี้เป็นประโยขน์กับทั้ง 2 ฝ่าย จะช่วยให้สามารถแข่งขันในอุตสาหกรรมโทรคมนาคมต่อไปได้ ไม่ว่าจะเป็นการที่กสท.สามารถถ่ายโอนลูกค้าในระบบเดิมมายังเทคโนโลยีใหม่ ส่วนทางทรูก็สามารถให้บริการ 3G กับลูกค้าได้ครอบคลุมมากขึ้น
"เบื้องต้นในสัญญากำหนดระยะเวลาการถ่ายโอนลูกค้าจากระบบ CDMA เดิมมาเป็นระบบ HSPA ทั่วประเทศภายใน 2 ปี ส่วนเรื่องการเช่าเน็ตเวิร์ก จะทำให้ทางกสท.ลดความเสี่ยงในการลงทุน เนื่องจากทางทรูจะเป็นผู้ลงทุนอุปกรณ์ เพื่อให้กสท.นำไปขายปลีกกับผู้ให้บริการอื่นต่อไป"
โดยทางกสท.ได้มอบหมายให้บริษัท เรียล มูฟ จำกัด ดำเนินกิจการขายส่งบริการและขายต่อบริการโทรศัพท์เคลื่อนที่บนเทคโนโลยี HSPA ของกสท.เป็นระยะเวลาประมาณ 15 ปี จนถึงปี 2569
นายจิรายุทธ กล่าวว่า ประโยชน์สำหรับลูกค้า CDMA ของกสท. นั้นถือเป็นการที่กสทอัปเกรดบริการให้กับลูกค้า โดยย้ายลูกค้าเดิมมาอยู่ในฐานเทคโนโลยีใหม่ และเชื่อว่าลูกค้าส่วนใหญ่จะมีความพอใจกับเทคโนโลยีใหม่ที่เป็น HSPA / HSPA+ ทำให้ลูกค้าสามารถหาซื้อโทรศัพท์ได้ง่ายขึ้น และยังส่งผลให้กสท สามารถมองไปยังการอัปเกรดเทคโนโลยีเป็น 4G ได้ในอนาคต
"กสท มีจุดแข็งในด้านเน็ตเวิร์กและสถานีฐาน แต่ไม่สามารถเคลื่อนไหวในการอัปเกรดอุปกรณ์ได้เหมือนบริษัทเอกชน จึงจำเป็นต้องร่วมกับทางกลุ่มทรู ที่จะเข้ามาช่วยอัปเกรดอุปกรณ์ให้สามารถรองรับเทคโนโลยีในอนาคตต่อไปได้"
นายจิรายุทธ เชื่อว่าความร่วมมือดังกล่าวไม่ได้เป็นการเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มทรู เนื่องจากการเจรจาในช่วงแรกไม่ได้มีเพียงแค่ทรูรายเดียว แต่ว่าจากการเจรจากับทุกๆ ราย และมองว่าทางทรู น่าจะเหมาะสม อีกทั้งทรูเป็นอีกหนึ่งบริษัทในสัมปทาน และเป็นบริษัทไทยเพียงรายเดียวที่อยู่ในอุตสาหกรรมโทรคมนาคม
นายศุภชัย เจียรวนนท์ กรรมการผู้จัดการใหญ่และประธานเจ้าหน้าที่ผู้บริหาร บริษัท ทรู คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) กล่าวว่า การลงนามข้อตกลงดังกล่าวเกิดขึ้นระหว่างกลุ่มทรู ฮัทชิสัน และทางกสท.โทรคมนาคม จะช่วยให้ทางกลุ่มทรูสามารถให้บริการเครือข่ายไปได้อีก 14 ปี พร้อมทั้งสามารถให้บริการ 3G กับผู้บริโภคได้
"สัญญาเบื้องต้น คือ กลุ่มทรูจะเช่าโครงข่ายของทาง กสท มาให้บริการในเทคโนโลยี 3G บนเทคโนโลยี HSPA พร้อมร่วมลงทุนอุปกรณ์บนสถานีฐานกว่า 3,000 สถานี เพื่อให้สามารถให้บริการได้ทั่วประเทศ จากงบการลงทุน 5-6 พันล้านบาท"
การร่วมมือดังกล่าวถือเป็นทางออกสำคัญกับกลุ่มทรู ที่จะสามารถผลักดันให้ประเทศไทยสามารถเข้าสู่ยุค 3G ได้เต็มรูปแบบ นอกจากการดำเนินการของกลุ่มทีโอที ที่มีการให้บริการ 3G ในปัจจุบัน โดยทรูจะถือเป็นผู้นำโครงข่ายของ กสท มาให้บริการกับกลุ่มผู้บริโภคในเบื้องต้น
“ทางทรูจะรับรู้รายได้จากฮัทชิสันในสิ้นเดือนมกราคมนี้ ส่งผลให้สิ้นปีรายได้ของกลุ่มทรูจะเพิ่มขึ้นตามรายได้ของฮัทชิสัน จากปีที่ผ่านมาอยู่ที่ 4,300 ล้านบาท ซึ่งรายได้ดังกล่าวอาจลดลงถ้าลูกค้าเกิดความไม่มั่นใจ ทำให้ทางกลุ่มทรูจำเป็นต้องสร้างความมั่นใจให้กับลูกค้า” นายศุภชัยกล่าว